การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: แนวคิด เหตุผล ความจำเป็น และคุณลักษณะพิเศษของการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ(3) 1

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: แนวคิด เหตุผล ความจำเป็น และคุณลักษณะพิเศษของการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ(3)

อาจจะมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์ ฯ โรคไข้หวัดนกระบาดปี พ.ศ.2547 ด้วยแนวคิด เหตุผล ความจำเป็น คุณลักษณะพิเศษ และข้อสังเกตของการใช้อำนาตตามพระราชกำหนด ฯ ดังนี้ 1.แนวคิดในการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ           การใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรงสาธารณสุขเป็นผู้รักษาการ มีขอบเขตการใช้อำนาจในการบริหารและสั่งการเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก จึงเหมาะกับกรณีเกิดโรคติดต่อระบาดแบบปกติทั่ว ๆ ไป ไม่อาจจะนำมาปรับใช้ในการแก้ปัญหากรณีเกิดโรคติดต่อระบาดอย่างร้ายแรงอย่างโรคโควิด-19 ได้             การแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ซึ่งกำลังระบาดไปทั่วโลกเวลานี้ ไม่เพียงแต่เป็นภาวะวิกฤตของประเทศไทยเท่านั้น แต่ถือเป็นภาวะวิกฤตของโลกด้วย ดังนั้น จึงต้องอาศัยอำนาจพิเศษในการแก้สถานการณ์ ด้วยการบูรณาการสรรพกำลังทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ภายใต้การสั่งการของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการบริหารคู่ขนานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเติมเต็มในส่วนที่อำนาจการบริหารหรืออำนาจสั่งการในส่วนที่อยู่นอกกรอบแนวคิด หลักการ และมาตรการของพระราชบัญญัติโรคติตต่อ พ.ศ.2558             ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการใช้อำนาจตาม พระราชกำหนด ฯ 2.เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้พระราชกำหนด ฯ…

Share on Social Media
%d bloggers like this: