หลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก (4)
หัวข้อที่ผมจะนำมาเล่าประกอบด้วย ภูมิหลัง แนวคิดเบื้องต้น ประเภทของจิต การวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดเป้าหมาย หลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน การประเมินผลและการปรับเป้าหมาย สรุปและข้อคิดเห็น โดยในบทความ (2) ได้กล่าวถึงแนวคิดเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก สำหรับบทความ (4) เป็นการเล่าถึงหลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดเป้าหมายที่จะนำมาสั่งจิตใต้สำนึก ทำไมต้องสั่งจิตใต้สำนึก สภาวะที่จิตใต้สำนึกพร้อมจะรับคำสั่ง สรุปและข้อคิดเห็น 1.การวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดเป้าหมายที่จะนำมาสั่งจิตใต้สำนึก ผมได้กล่าวมาแล้วในบทความ (3) ประเภทของจิตว่า จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หากสิ่งใดที่จิตสำนึกได้ออกคำสั่งไปยังจิตใต้สำนึกบ่อย ๆ ในที่สุดจิตใต้สำนึกก็จะยอมรับคำสั่งของจิตสำนึก กลายเป็นระบบอัตโนมัติใหม่ของจิต หากเมื่อใดที่เราอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับสภาวะแวดล้อมที่จิตใต้สำนึกสะสมไว้เป็นระบบอัตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกก็จะสั่งให้ร่างกายตอบสนองสภาวะแวดล้อมดังกล่าวซึ่งเป็นสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การที่จะนำปัญหาใดมาสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อสร้างระบบอัตโนมัติใหม่ขึ้นมา เราควรที่จะวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดเป้าหมายที่เราต้องการจะสั่งจิตใต้สำนึกนั้น เป็นเป้าหมายที่เราต้องการจริง ๆ เพระหากไม่ใช่เป้าหมายที่เราต้องการจริง ๆ จิตใต้สำนึกจะไม่ยอมรับคำสั่งจากจิตสำนึก เมื่อจิตใต้สำนึกไม่ยอมรับคำสั่ง ย่อมหมายความว่า…