ประสบการณ์ในการบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดปี พ.ศ.2547-การทำลายสัตว์ปีก และการฟื้นฟูความเชื่อมั่น(4) 1

ประสบการณ์ในการบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดปี พ.ศ.2547-การทำลายสัตว์ปีก และการฟื้นฟูความเชื่อมั่น(4)

ประสบการณ์ในการบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด ปีพ.ศ.2547/2004 (4) ตอนนี้จะนำเสนอเป็นตอนสุดท้ายในส่วนที่เกี่ยวกับการทำลายสัตว์ปีกให้เป็นไปตามเป้า การฟื้นฟูความเชื่อมั่นในการบริโกคไข่ไก่และเนื้อไก่ และข้อสังเกตบางประการ ประสบการณ์ 1.การทำลายสัตว์ปีกให้เป็นไปตามเป้า             เพื่อป้องกันมิให้ไวรัสไข้หวัดนกระบาดไปสู่คน จำเป็นต้องทำลายสัตว์ปีกที่คาดว่าจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อไวรัสไข้หวัดนกไปให้หมดสิ้น ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดทางกรมปศุสัตว์กับกระทรวงสาธารสุขคงจะได้หารือกันในรายละเอียด             สำหรับอำเภอเมืองชัยภูมิ ที่ผมดำรงตำแหนงนายอำเภอในขณะนั้น ผมได้รับทราบจากทางปศุสัตว์ จะต้องทำลายไก่ที่เลี้ยงในฟาร์ม และไก่บ้านบางส่วน รวมแล้วมีจำนวนมากกว่าหนึ่งแสนตัว โดยส่วนใหญ่เป็นไก่ของสหฟาร์ม ซึ่งเป็นบริษัทที่ส่งไก่ออกไปต่างประเทศมากที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย อีกส่วหนึ่งก็เป็นไก่ของชางบ้านที่เลี้ยงไว้ตามบ้าน             ในการทำลายทางปศุสัตว์ จะร่วมกับกำนันผู้ใหญ่บ้านท้องที่ รวมทั้งผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปชี้แจงทำความเข้าใจกับตัวแทนฟาร์มเลี้ยงไก่ และชาวบ้านที่เลี้ยงไก่ให้ทราบถึงความจำเป็นที่ต้องทำลายไก่  เมื่อทำลายไก่เสร็จรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องขุดหลุมฝังให้ลึกพอที่จะทำให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค หากตำบลหมู่บ้านใดมีจำนวนไก่ที่จะต้องถูกทำลายมาก ก็จะใช้รถแบคโฮ ขุดและกลบฝังซากไก่ให้เรียบร้อย             นอกจากไก่ที่จะต้องถูกทำลายแล้ว ก็ยังมีสัตว์ปีกอย่างอื่น เช่น เป็ด และนกกระจอกเทศ             ผมยังจำได้ดีว่า ในท้องที่อำเภอเมืองชัยภูมิในขณะนั้น มีผู้นำนกกระจอดเทศมาเลี้ยงไว้ในฟาร์ม บนเส้นทางชัยภูมิ-บัวใหญ่ ในช่วงที่มีโรคไข้หวัดนกระบาด…

Share on Social Media
%d bloggers like this: