10+ ข้อคิดเห็นในการมองการบริหารสถานการณ์โควิด-19 (7) 1

10+ ข้อคิดเห็นในการมองการบริหารสถานการณ์โควิด-19 (7)

ผมได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการมองการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด เมื่อปี พ.ศ.2547 มาแล้วเป็นจำนวน 6 ตอน โดยตอนที่ (6) ว่าด้วยบทบาทในการบริหารของผู้ว่าราชการจังหวัด ฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในตอนนี้ผมจะแสดงข้อคิดเห็นบางประการให้ท่านทราบ             แต่ก่อนจะแสดงข้อคิดเห็นดังกล่าว  ผมขอทบทวนความรุนแรงของสถานการณ์และแนวทางในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 สักเล็กน้อย บทสรุป ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19                     เมื่อเปรียบเทียบกับโรคไข้หวัดนกระบาด เมื่อปีพ.ศ.2547 ถือได้ว่า โรคโควิด-19 มีความรุนแรงมากกว่าหลายเท่า เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์โดยตรง และมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จนทำให้มีคนติดเชื้อและเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก และยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงเมื่อใด และอย่างไร ส่วนโรคไข้หวัดนกระบาด เมื่อปีพ.ศ.2547 เป็นโรคที่เกิดกับสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ นก  ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย การแพร่ระบาดมิได้เกิดขึ้นทั่วโลก เกิดเฉพาะแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย  แนวคิดในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19              แนวคิดในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19…

Share on Social Media
%d bloggers like this: