77 / 100

บทความที่แล้ว (2) ผมได้เล่าถึงประสบการณ์ ในการสอบเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอ ในบทคววาม (3) นี้ ผมจะเล่าถึงความเจริญก้าวหน้าของอาชีพปลัดอำเภอว่าไปได้ไกลแค่ไหน

ความเจริญก้าวหน้าของอาชีพปลัดอำเภอสามารถก้าวขึ้นไปถึงตำแหน่งปลัดอำเภออาวุโสหรือตำแหน่งเทียบเท่า คือ จ่าจังหวัด และป้องกันจังหวัด โดยจะขอเล่าเป็น ๓ ยุค คือ ยุคระบบชั้นยศ ยุคระบบพี.ซี. และยุคระบบแท่ง รวมทั้งเงินเพิ่มพิเศษตำแหน่งปลัดอำเภอ หรือพ.ป.ค.

ความเจริญก้าวหน้าของปลัดอำเภอมีขี้นไปตามลำดับจนถึงระดับชำนาญการพิเศษ
ความเจริญก้าวหน้าของปลัดอำเภอมีขี้นไปตามลำดับจนถึงระดับชำนาญการพิเศษ

๑.ความเจริญก้าวหน้ายุคระบบชั้นยศ

          ในยุคระบบชั้นยศ ความเจริญก้าวหน้าของปลัดอำเภอ สามารถสอบเลื่อนชั้นตำแหน่งจากตำแหน่งปลัดอำเภอตรี ขึ้นเป็นปลัดอำเภอโท หากสอบเลื่อนชั้นขึ้นเป็นปลัดอำเภอโทได้ เครื่องหมายประดับขีด จะเป็นสองขีดใหญ่

            ปลัดอำเภอโท จะได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอลำดับแรก จึงเรียกปลัดอำเภอโทอีกอย่างหนึ่งว่า ปลัดอำเภออาวุโส  อย่างไรก็ดี ปลัดอำเภอโทในอำเภอหนึ่ง อาจไม่ได้มีอยู่คนเดียว อาจมี ๒-๓ คนก็ได้ กล่าวคือ อาจมีปลัดอำเภอโทหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตร และปลัดอำเภอโทฝ่ายความมั่นคง

            ในยุคระบบชั้นยศนี้ อำเภอขนาดใหญ่หรืออำเภอชั้นหนึ่ง นายอำเภอจะเป็นนายอำเภอชั้นพิเศษ ส่วนอำเภอทั่วไป นายอำเภอจะเป็นนายอำเภอชั้นเอก แต่ในที่สุด นายอำเภอทุกอำเภอก็จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายอำเภอชั้นพิเศษทุกอำเภอ

๒.ความเจริญก้าวหน้ายุคระบบพี.ซี.

            ในยุคระบบพี.ซี. ตำแหน่งปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) มีตั้งแต่ระดับ ๓-๘  ตำแหน่งระดับ ๓-๕ เป็นตำแหน่งระดับควบ สามารถลื่นไหลได้ ไม่ยาก ส่วนตำแหน่งระดับ ๖ จะต้องสอบคัดเลือก แต่ต่อมาในภายหลัง ตำแหน่งระดับ ๖ ไม่ต้องสอบคัดเลือก แต่จะต้องผ่านการประเมินผลงาน ส่วนตำแหน่งระดับ ๗ จะต้องสอบคัดเลือกเพื่อเลื่อนตำแหนงขึ้นเป็นระดับ ๗

            ปลัดอำเภอ ผู้สอบเลื่อนระดับ ๗ ได้ จะได้รับแต่งตั้งจากนายอำเภอให้เป็นปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา หรือปลัดอำเภออาวุโส และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอลำดับแรกเช่นเดียวกับปลัดอำเภอชั้นโทในยุคระบบชั้นยศ ส่วนเครื่องหมายประดับขีดของปลัดอำเภอ ระดับ ๗ เป็นเครื่องหมายแบบสี่ขีดใหญ่ อย่างที่เรียกกันว่า เครื่องหมายของข้าราชการชั้นพิเศษ เช่นเดียวกับเครื่องหมายประดับขีดของนายอำเภอ

            ในระยะเวลาต่อมา อำเภอหนึ่งอาจมีปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง ๗)  ๒-๓ คน คือ นอกจากปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนาแล้ว ยังมีปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตร และปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง

            ในยุคนี้ นายอำเภอทั่วประเทศ เป็นนายอำเภอระดับ ๘

            ก่อนจะหมดยุคระบบพี.ซี. สำนักงานก.พ.ได้ปรับขยายตำแหน่งนายอำเภอขึ้นเป็นนายอำเภอระดับ ๙  หลังจากนั้นไม่นาน ก็ปรับขยายระดับตำแหน่งปลัดอำเภอขึ้นไปถึงระดับ ๘

            ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง ๘) เป็นตำแหน่งที่จะต้องสอบคัดเลือก ผู้สอบคัดเลือกเป็นระดับ ๘ ได้ จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นปลัดอำเภอ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานปกครอง หรือปลัดอำเภออาวุโส

๓.ความเจริญก้าวหน้ายุคระบบแท่ง

          ในยุคระบบแท่งหรือยุคปัจจุบัน ได้มีการปรับตำแหน่งปลัดอำเภอจากระบบพี.ซี. เข้าสู่ระบบแท่ง ดังนี้

            ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง ๓-๕) ปรับเป็นปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ)

            ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง ๖-๗) ปรับเป็นปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ)

            ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง ๘) ปรับเป็นปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) โดยได้รับอัตราเงินเดือนขั้นสูง ๕๘,๓๙๐ บาท ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๕๘

            ปัจจุบันมีตำแหนงปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) หรืออย่างที่ชอบเรียกกันว่า ปลัดอำเภอระดับ ๘ มีจำนวนอำเภอละ ๑-๒ คน คือ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มบริหารงานปกครองหรือปลัดอำเภออาวุโส และปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มบริหารงานทะเบียน  และคาดว่าภายในเวลาไม่นานนักจะมีตำแหน่งปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ) เพิ่มอีกตำแหนึ่ง คือ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มบริหารงานความมั่นคง

๔.เงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่งปลัดอำเภอ

          ภายใต้ระบบแท่ง และภายใต้รัฐบาล พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ได้เห็นความสำคัญของตำแหน่งปลัดอำเภอ ด้วยการกำหนดให้ปลัดอำเภอ ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งทีมีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงานปกครอง ในกรมการปกครอง ซึ่งเรียกโดยย่อว่า พ.ป.ค. ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศก.พ. ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๓) .พ.ศ.๒๕๖๐ โดยมีหลักเกณฑ์ สรุปได้ดังนี้

ความเจริญก้างหน้าในอาชีพการงาน นำมาซึ่งความสุข
วามเจริญก้างหน้าในอาชีพการงาน นำมาซึ่งความสุข

            ๔.๑ ต้องเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) ในสังกัดที่ทำการปกครองอำเภอ

            ๔.๒ ต้องได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสืบสวนคดีอาญา การอำนวยความเป็นธรรม การรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ การแก้ไขข้อขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การปราบปรามยาเสพติดและผู้มีอิทธิพล การจัดระเบียบสังคม หรืองานอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานปกครอง

            ๔.๓ ให้ได้รับเงิน พ.ป.ค. เดือนละ ๕,๐๐๐ บาท    

๕.สรุป

          อาชีพปลัดอำเภอ ถือได้ว่ามีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานไม่น้อยหน้าอาชีพอื่น ทั้งในยุคระบบชั้นยศ ยุคระบบพี.ซี. และยุคระบบแท่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคระบบแท่งหรือยุคปัจจุบัน ตำแหน่งปลัดอำเภอมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปถึงระดับชำนาญการพิเศษ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าปลัดอำเภอระดับ ๘

          ยิ่งกว่านั้น ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง) ในยุคปัจจุบันยังมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่งปลัดอำเภอ หรือ พ.ป.ค. เดือนละ ๕,๐๐๐ บาท อีกด้วย

          อาชีพปลัดอำเภอยุคปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานและมีสวัสดิการค่าตอบแทนดีกว่าสมัยก่อนมาก ผมคิดว่าก็สมควรจะให้เขานะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้ พวกเขากำลังทำงานหนักและมีความเสี่ยงในการต่อสู้กับโรคระบาดโควิด-19 กันอย่างหนักทั่วประเทศ ร่วมกับชาวสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

            ท่านเห็นด้วยกับผมไหม

ดร.ชา
๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓

ข่าวดี สำหรับท่านที่สนใจอยากจะอ่านเรื่องราวของอาชีพปลัดอำเภอให้จุใจ

โปรดคอยติดตาม หนังสืออีบุ๊ค เรื่องเล่า ดร.ขา สนุก และสร้างสรรค์ 369

ปลัดอำเภอ อาชีพนี้ ดี วางจำหน่ายแล้วทางเว็บไซต์

www.ookbee.com

www.se-ed.com www.mebmarket.com

ดร.ชา

29/05/21

ปกหนังสืออีบุ๊ค ดร.ชา  เล่ม 2
ปกหนังสืออีบุ๊ค ดร.ชา เล่ม 2

Dr.Char

Mr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***) 1

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***)

Share on Social Media facebook email 91 / 100 Powered by Rank Math SEO “มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” เป็นบทความลำดับที่ 13 หมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก จะกล่าวถึง ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของมองโกเลีย ข้อมูลมองโกเลียในปัจจุบันที่ควรทราบ   ประวัติย่อของมองโกเลีย  ยุคจักรวรรดิมองโกลอันยิ่งใหญ่  วิเคราะห์เปรียบเทียบอาณาจักรมองโกล กับจักรวรรดิบริติช สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369           บทความที่เกี่ยวข้อง ประวัติ จีน ก่อนจีนยุคใหม่ “ จักรวรรดิจักรมองโกล (1206-1368)  เป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกันใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 24,000,000…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

1 COMMENT

  1. เห็นด้วยค่ะอาจารย์

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: