การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547 (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา
Table of Contents
1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด
อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย
1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก

ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ และยอดผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกวัน จนไม่อาจจะพยากรณ์ได้ว่า จะจบลงเมื่อใดและอย่างไร
เพราะแม้แต่ประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งชองโลกอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่อาจยับยั้งหรือแก้ปัญหาดังกล่าวได้ในขณะนี้ ตรงกันข้าม การระบาดของโรคโควิด-19 ในสหรัฐกลับมีตัวเลขพุ่งขึ้นสูงแซงหน้าทุกประเทศ ในด้านยอดผู้ติดเชื้อ และยอดผู้เสียชีวิตก็เป็นรองแค่อิตาลีและสเปน (10,096 คน) ดังตัวอย่างสถิติล่าสุด มีดังนี้
สถิติตัดยอดวันที่ 8 เมษายน 2563
จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก 1,002,159 คน รักษาหายแล้ว 208,949 คน และเสียชีวิตแล้ว 51,485 คน โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตแล้วลำดับต้น ๆ ของโลก ดังนี้ คือ
- – สหรัฐอเมริกา 223,339 คน (เสียชีวิต 5,548 คน -อิตาลี 115,242 คน (เสียชีวิต 13,915 คน) – เยอรมันนี 84,600 คน (เสียชีวิต 1,097 คน)
– จีน 82,432 คน (เสียชีวิต 3,322 คน)
– ฝรั่งเศส 59,929 คน (เสียชีวิต 4,503 คน)
– อิหร่าน 50,468 คน (เสียชีวิต 3,160 คน)
– อังกฤษ 34,164 คน (เสียชีวิต 2,921 คน)
นอกจากนี้ยังมีรายงานขององค์การอนามัยโลกว่า ขณะนี้มีประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวน 177 ประเทศและดินแดนต่าง ๆ ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19
เปรียบเทียบกับสถานกาณณ์โรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547
เมื่อเปรียบเทียบกับความรุนแรงของสถานการณ์โรคไข้หวัดนกระบาดเมื่อปี พ.ศ.2547/2004 ถือได้ว่า ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 เหนือกว่า หลายเท่า กล่าวคือ โรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2457/2004 มีการระบาดเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศเท่านั้น เช่น จีน ไทย เวียดนาม กัมพูชา โดยโรคไข้หวัดนก เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดกับสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ห่าน และนก การลุกลามไปสู่คนยังมีไม่มากนัก
1.2ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศทางยุโรป และอเมริกา ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ถือว่าน้อยกว่ามาก ทั้งในด้านยอดผู้ติดเชื้อ และยอดผู้เสียชีวิต ดังสถิติล่าสุด ข้างล่างนี้
ข้อมูลตัดยอดวันที่ 8 เมษายน 2563
จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 2,369 คน
รักษาหายแล้ว 888 คน
เสียชีวิต 30 คน
แม้ตัวเลขแสดงจำนวนผู้ติดเชื้อ และจำนวนผู้เสียชีวิตของเราจะน้อยกว่าประเทศทางยุโรปและอเมริกา แต่เราจะชล่าใจไม่ได้ ตราบใดที่ยังไม่สามารถผลิตวัคซินต่อต้านโรคโดวิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้ บุคลาการทางการแพทย์ ต้องทำงานด้วยความเหนื่อยยากและด้วยความเสี่ยงเพื่อช่วยชีวิตผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งตัวเลขยังไม่นิ่ง
โดยคณะรัฐมนตรี มีมติให้การแก้ปัญหาโรคโควิด-19 เป็นวาระแห่งชาติ
เปรียบเทียบกับความรุนแรงของโรคไข้หวัดนก ปี พ.ศ.2547
เนื่องจากโรคไข้หวัดนก เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นกับสัตว์ปีกโดยตรง การระบาดมาสู่คนยังมีไม่มาก ดังนั้น ความรุนแรงของโรคจึงอยู่ที่จำนวนสัตว์ปีที่ต้องถูกทำลายลงเป็นจำนวนมาก เฉพาะอย่างยิ่ง แค่อำเภอเมืองชัยภูมิที่ผมได้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ในขณะนั้น ก็มีจำนวนสัตว์ปีกที่ต้องถูกทำลายมากกว่าแสนตัวแล้ว

เมื่อเล่ามาถึงตรงนี้ ผมอยากให้ท่านลองสมมุติว่า ตัวท่านคือ สัตว์ปีก ท่านก็คงโอดครวญอย่างหนักเหมือนกันว่า ตัวท่านและญาติมิตรจำนวนมากต้องสังเวยชีวิตเพื่อให้มนุษชาติอยู่รอดได้เป็นจำนวนหลายล้านตัว
หากคิดในมุมนี้ ถือได้ว่า โรคไข้หวัดนก 2547 ก็รุนแรงเช่นกัน
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการแพร่ระบาดจากคนสู่คนได้โดยตรงและอย่างรวดเร็ว หากได้สัมผัสหรืออยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกักกันผู้ติดเชื้อไว้ต่างหาก ไม่ให้อยู่ใกล้คนอื่น เป็นระยะเวลา 14 วัน เพราะถ้าไม่กักกันไว้ต่างหากแล้ว ผู้ติดเชื้อย่อมจะเดินทางไปโน่นไปนี่ ไปถึงที่ไหนก็นำเชื้อติดตัวไปแพร่กระจายที่นั่น หากสามารถกักกันได้จริง ก็จะทำให้เชื้อไม่ลุกลามแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่น ๆ
ผิดกับโรคไข้หวัดนก เชื้อไวรัสเกิดในตัวสัตว์ปีก มิใช่มนุษย์ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เชื้อไวรัสไข้หวัดนกลุกลามไปสู่สัตว์ปีกด้วยกันเอง และอาจจะลุกลามไปสู่มนุษย์ได้ จึงจำเป็นต้องทำลายสัตว์ปีกที่อยู่ในข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไข้หวัดนก ไปให้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุดจนอยู่ในระดับที่น่าจะทำให้เกิดระดับความเชื่อมั่นว่า ปลอดภัย
2.แนวคิดในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นการแพร่ระบาดจากคนไปสู่คนได้โดยตรงและอย่างรวดเร็ว หากได้สัมผัสหรืออยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกักกันผู้ติดเชื้อไว้ต่างหาก ไม่ให้อยู่ใกล้คนอื่น เป็นระยะเวลา 14 วัน เพราะถ้าไม่กักกันไว้ต่างหากแล้ว ผู้ติดเชื้อย่อมจะเดินทางไปโน่นไปนี่ ไปถึงที่ไหนก็นำเชื้อติดตัวไปแพร่กระจายที่นั่น หากสามารถกักกันได้จริง ก็จะทำให้เชื้อไม่ลุกลามแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่น ๆ

ผิดกับโรคไข้หวัดนก เชื้อไวรัสเกิดในตัวสัตว์ปีก มิใช่มนุษย์ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เชื้อไวรัสไข้หวัดนกลุกลามไปสู่สัตว์ปีกด้วยกันและมนุษย์ จึงจำเป็นต้องทำลายสัตว์ปีกที่อยู่ในข่ายเป็น กลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไข้หวัดนก ไปให้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุดจนอยู่ในระดับที่น่าจะทำให้เกิดระดับความเชื่อมั่นว่า ปลอดภัย
3.สรุป
สถานการณ์ของโรคโควิด-19 ถือได้ว่า มีความรุนแรงมาก เพราะแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จากคนไปสู่คน โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนก่อน ต่อจากนั้นก็แพร่ระบาดไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย จนทำให้มีผู้ติดเชื้อและล้มตายเป็นจำนวนมาก และยังไม่อาจจะสรุปได้ว่า เมื่อใดการแพร่ระบาดจึงจะสิ้นสุด
โรควิด-19 เกิดขึ้นกับคน และแพร่ระบาดจากคนไปสู่คน จากประเทศนี้ไปสู่ประเทศนั้น ในขณะโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547 เกิดขึ้นกับสัตว์ปีก
แนวคิดในการแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก คือ ทำลายสัตว์ปีกที่เชื่อว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ไข้หวัดนกระบาด แต่โรคโควิด-19 ต้องมุ่งคุมพฤติกรรมของมนุษย์ทัังคนป่วย คนที่อยู่่ในกลุ่มเสี่ยง และบุคคลทั่วไป ไม่ให้เคลื่อนย้ายไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ส่วนผู้ต้องสงสัยว่าอาจจะมีรับเชื้อโรคโควิด-19 มา ต้องกักกันบริเวณเฝ่าดูอาการอย่างน้อย 14 วัน
ทันสมัยจังเลยค่ะท่านอาจารย์ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
ทุกวันนี้ยังมีประชาชนส่วนหนึ่งยังไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม กลับจากต่างจังหวัด/จังหวัดที่มีความเสี่ยง ยังไม่ยอมกักตัวเอง เตือนไม่ค่อยฟัง
ผมเห็นด้วยนะ ปธีรศักดิ์ขณะนี้กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่่แนวหน้า คงจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยไม่น้อยกับการตั้งด่านสกัด
หากมีอะไรจะเล่าให้พวกเราฟัง ก็เชิญได้ทุกเวลานะ ไม่ต้องเกรงใจ
ผมเห็นใจพวกเรามากนะที่ต้องทำงานในสถานการณ์ของความกดดันเช่นนี้ อดทนอีกหน่อย ไม่นานสถานการณ์ก็คงดีขึ้นเอง
โรคโควิด 19 มีโอกาสติดกับสัตว์ไหมครับ
ตามข้อมูลที่มีอยู่่เวลานี้ ยังไม่มีหรือยังไม่ปรากฎชัด ขอบคุณ ผู้หมวดพนารักษ์มากที่สละเวลาเข้ามามีส่วนร่วม
เห็นด้วยค่ะว่า ระดับรุนแรงการระบาดของโรคน่ากลัวพอๆกัน หากมองชีวิตมีค่าเท่ากัน แต่ครั้งนี้เกิดกับมนุษย์ ซึ่งอาจติดค้างสัตว์ปีกครั้งกระนู้น ยังไม่สามารถจ่ายคืนหนี้เบ็ดเสร็จได้ สถิติการติดเชื้อทั้งที่เปิดเผยและซ่อนยังพุ่งสูง คงได้แต่รอว่าจะมียารักษาโรคแบบเสถียร
ขอบคุณจุฑาธิป มาก ที่สละเวลามาร่วมแสงดความคิดเห็น ความเห็นของคุณจุฑาธิปดังกล่าว ผมว่า ก็น่าคิดเหมือนกัน