70 / 100

ในบทความที่แล้ว (1) ผมได้เล่าว่า อาชีพนักปกครองเริ่มต้นด้วยตำแหน่งปลัดอำเภอ สำหรับบทความ (2) นี้ ผมจะเล่าถึงประสบการณ์และความประทับใจในการสอบเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอ โดยผมได้สอบแข่งขันเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๗ ซึ่งนับเป็นยุคสุดท้ายของระบบราชการพลเรือนแบบชั้นยศของประเทศไทย ผมขอย้อนอดีตเล่าเรื่องให้ท่านผู้อ่านฟังเกี่ยวกับประสบการณ์ของผมในการสอบเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอ ซึ่งได้แก่คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ จำนวนผู้สมัครสอบ หลักสูตรการสอบ การเตรียมตัวสอบ ผลของการสอบ และความประทับใจในการสอบแข่งขันเป็นปลัดอำเภอ

ประสบการณ์ในการวิ่งออกกำลังกาย หน้าโรงละครโอเปรา นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย
ประสบการณ์ในการวิ่งออกกำลังกาย หน้าโรงละครโอเปรา นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย

๑.คุณสมบัติของผู้มีสมัครสอบ

            ผู้ที่จะสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอตรี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ นอกจากจะต้องมีคุณวุฒิจบปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์แล้ว จะต้องเป็นเพศชายเท่านั้น 

            หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ผมขอเฉลยว่า ในยุคนั้น ชายหญิง ยังไม่มีสิทธิเท่าเทียมกัน โดยชายมีสิทธิเหนือว่าหญิง กล่าวคือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามกฎหมายว่าด้วยชื่อบุคคลในขณะนั้น  สามีเป็นหัวหน้าครอบครัว สามีเป็นผู้เลือกถิ่นที่อยู่ ภริยาต้องใช้นามสกุลของสามี บุตรต้องใช้นามสกุลของบิดา และหญิงมีสามีต้องใช้คำนำหน้าชื่อว่า นาง จะใช้คำว่า นางสาว เหมือนอย่างยุคปัจจุบันนี้ ไม่ได้

            ยิ่งกว่านั้น การสมัครรับราชการในบางตำแหน่งโดยเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวกับความมั่นคง เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทหารตำรวจที่เป็นตำแหน่งหลัก และปลัดอำเภอ ต้องเป็นเพศชายเท่านั้น จึงจะมีสิทธิสมัครสอบได้

เล่ามาถึงตรงนี้ ผมขอเล่าสอดแทรกเพื่อความเข้าใจอันดีของท่านผู้อ่าน เกี่ยวกับการใช้นามสกุล และคำนำหน้านามหญิงสักเล็กน้อย กล่าวคือ ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๔๘ มาตรา ๑๒ คู่สมรสมีสิทธฺิใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือชื่อสกุลเดิมของตนก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน และต่อมาได้มีพระราชบัญญัติคำนำหน้าหญิง พ.ศ.๒๕๕๑ กำหนดให้หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว ใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ก็ได้โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครั

            การที่หญิงไม่มีสิทธิสมัครสอบแข่งขันเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอ จึงทำให้การสอบเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอในยุคนั้น สามารถตัดคู่แข่งได้มากทีเดียว

๒.จำนวนผู้สมัครสอบ

          จำนวนผู้สมัครสอบเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอในครั้งนั้นมีจำนวนไม่มากนัก ด้วยเหตุผล ๒ ประการ  คือ

            ๒.๑ ผู้มีสิทธิสมัครสอบเป็นปลัดอำเภอในยุคนั้น ต้องเป็นเพศชายเท่านั้น

            ๒.๒ จำนวนบัณฑิตทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ในยุคนั้น ยังมีจำนวนไม่มากเหมือนสมัยนี้ เพราะมหาวิทยาลัยเปิดอย่างรามคำแหงเพิ่งสถาปนาขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๔ ยังผลิตบัณฑิตรุ่นแรกไม่ทัน มหาวิทยาลัยราชภัฏยังไม่เกิด ยังเป็นแค่วิทยาลัยครู โดยเพิ่งได้มีสถาปนาวิทยาลัยครูเป็นสถาบันราชภัฏเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ และได้มีการสถาปนาสถาบันราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗

ดังนั้น ผู้มีสิทธิสมัครสอบเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอ จึงมีแค่ผู้จากมหาวิทยาลัยของรัฐเพียงไม่กี่แห่ง ได้แก่ จุฬา ฯ ธรรมศาสตร์  เชียงใหม่ เกษตรศาสตร์  ผมจำได้ว่ามีจำนวนผู้สมัครราว ๆ ๖๐๐-๗๐๐ คนท่านั้นเ ในขณะที่มีตำแหน่งปลัดอำเภอว่างอยู่ประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ ตำแหน่ง

๓.หลักสูตรการสอบ การเตรียมตัวสอบ และผลการสอบ

๓.๑ หลักสูตรการสอบ

          หลักสูตรการสอบเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอในยุคนั้น ประกอบด้วยวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป วิชาเฉพาะตำแหน่ง และวิชาภาอังกฤษ   หากใครสอบผ่านข้อเขียน จึงจะได้เข้าสอบสัมภาษณ์   เนื่องจากจำนวนผู้สมัครสอบมีไม่มากนัก ข้อสอบทั้งหมดจึงเป็นข้อสอบแบบอัตนัย

            วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป   มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระเบียบการ ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง  ส่วนวิชาความรู้เฉพาะตำแหน่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติงานในตำแหน่งปลัดอำเภอ และวิชาภาษาอังกฤษ เป็นการแปลภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทย และแปลภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษ

๓.๒ การเตรียมตัวสอบ

          การเตรียมตัวสอบเข้ารับราชการปลัดอำเภอในยุคนั้น ก็ได้อาศัยรุ่นพี่ในมหาวิทยาลัยที่รับราชการอยู่ในกรมการปกครองเป็นอาสาสมัครหรือจิตอาสาเป็นติวเตอร์ให้ ในรุ่นที่ผมสอบมีพี่ประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์ เป็นหัวเรือใหญ่ ช่วยประสานรุ่นพี่ ๆ ที่มีความรู้ความสามารถในการสอบมาช่วยติว

          ในเวลาต่อมา พี่ประสิทธิ์ พรรณพิสุทธิ์ และรุ่นพี่หลาย ๆ คนที่กรุณาสละเวลามาเป็นติวเตอร์ให้รุ่นผม ได้เจริญก้าวหน้าในชีวิตราชการถึงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแทบทุกคน อาจจะเป็นเพราะอานิสงส์ส่วนหนึ่งมาจากความมีจิตอันเป็นกุศลสละเวลามาช่วยติวให้น้อง ๆ กระมัง

๓.๓ ผลการสอบ

          ผลการสอบแข่งขันเข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภอในครั้งนั้น มีคุณสมชาย ชุ่มรัตน์ สอบได้ที่ ๑ ของประเทศ  ซึ่งในเวลาต่อมา ท่านได้เจริญก้าวหน้าในอาชีพราชการไปตามลำดับ จนได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด และตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่จะเกษียณอายุราชการคือ ปลัดกระทรวงแรงงาน  ส่วนตัวผมเองสอบได้ลำดับที่ ๑๕

๔.ความประทับใจในการสอบแข่งขันเป็นปลัดอำเภอ

ความรู้สึกประทับใจ แสดงออกทางสีหน้า
ความรู้สึกประทับใจ แสดงออกทางสีหน้า

          ในการสอบแข่งขันเป็นปลัดอำเภอครั้งนั้น ผมมีความประทับใจอย่างหนึ่งที่อยากจะเล่าให้ท่านฟังคือ ผมยังจำได้ดีว่า ในตอนเข้าสอบสัมภาษณ์ กรรมการสอบสัมภาษณ์ผม คือ ท่านรองอธิบดีกรมการปกครอง คือ ท่านดำรง สุนทรศารทูล ซึ่งในเวลาต่อมาท่านได้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นอธิบดีกรมการปกครอง และปลัดกระทรวงมหาดไทย

            ท่านได้ตั้งคำถามผมว่า การที่เกิดจลาจลอย่างรุนแรงในประเทศมาเลเซีย ระหว่างคนเชื้อชาติจีนและคนเชื้อชาติมาเลย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ มีสาเหตุมาจากอะไร ประเทศไทยก็มีคนเชื้อชาติจีนมาก มีโอกาสจะเกิดความขัดแย้งทางเชื้อชาติอย่างรุนแรงเหมือนอย่างที่ได้เกิดในประเทศมาเลเซียหรือไม่

            ผมได้ตอบคำถามของท่านว่า การเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างคนเชื้อชาติจีนและคนเชื้อชาติมาเลย์ดังกล่าว มีสาเหตุสำคัญมาจากการนับถือศาสนาต่างกัน กล่าวคือ คนเชื้อชาติจีนนับถือศาสนาพุทธในขณะเดียวกันก็คุมเศรษฐกิจ แต่คนเชื้อชาติมาเลย์นับถือศาสนาอิสลาม มีความรู้สึกว่าคนเชื้อชาติจีนเอารัดเอาเปรียบ ทำให้เข้ากันได้ยาก จนนำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงกลายเป็นจลาจลหรือสงครามกลางเมือง

            แต่กรณีประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติไทยหรือเชื้อชาติจีน ต่างนับถือศาสนาพุทธเหมือนกันและต่างอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เหมือนกัน จึงทำให้เกิดความสามัคคีรักใคร่ปรองดองกัน ไม่มีทางที่จะเกิดการจลาจลทางเชื้อชาติเหมือนอย่างกรณีที่ได้เกิดขึ้นในมาเลเซียอย่างแน่นอน

          คำตอบดังกล่าวของผม ได้สร้างความพึงพอใจให้แก่ท่านรองอธิบดี ดำรง สุนทรสารทูล มาก โดยท่านเอาเรื่องคำตอบดังกล่าวของผม ไปเล่าให้ญาติของผมคนหนึ่ง ซึ่งทำงานอยู่ในกรมการปกครอง ณ เวลานั้น และเป็นบุคคลที่รู้จักคุ้นเคยกับท่านตามสมควรว่าผมตอบคำถามได้ดีมาก

ผมขอเล่าแทรกตรงนี้นิดหน่ึ่งว่า รองอธฺิบดีกรมการปกครองในอดีต คือผู้เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมาแล้ว เพราะกรมการปกครองในอดีตมีขอบข่ายงานกว้างขวางมาก โดยรวมเอาของคณะกรรมการการเลือกตั้ง งานของกรมป้องกันและบรรเทาสารณภัย แะงานของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันเข้าไว้ด้วย

ขอบเขตงานของกรมการปกครองเพิ่งมีขนาดเล็กลงก็ในช่วงที่มีการปฏิรูประบบราชการระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๗ ในยุคของรัฐบาล นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร หลังจากนั้นไม่นาน การแต่งตั้งรองอธิบดีกรมการปกครองจึงไม่ได้แต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวัดอีกต่อไป

            การมีผู้หลักผู้ใหญ่ในกรมการปกครองระดับรองอธิบดีแสดงออกถึงความชื่นชมในความรู้ความสามารถของผมเช่นนี้ ทำให้ผมเริ่มมีความสุขและความสนุกในการทำงานเป็นนักปกครองได้ทันทีทันใด

ถ้าหากเป็นท่านบ้าง ท่านจะมีความรู้สึกประทับใจอย่างผมไหม

ดร.ชา

๒๗  มีนาคม  ๒๕๖๓

พบกันใหม่ วันจันทร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๓ นะครับ

Dr.Char

Mr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***) 1

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***)

Share on Social Media facebook email 91 / 100 Powered by Rank Math SEO “มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” เป็นบทความลำดับที่ 13 หมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก จะกล่าวถึง ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของมองโกเลีย ข้อมูลมองโกเลียในปัจจุบันที่ควรทราบ   ประวัติย่อของมองโกเลีย  ยุคจักรวรรดิมองโกลอันยิ่งใหญ่  วิเคราะห์เปรียบเทียบอาณาจักรมองโกล กับจักรวรรดิบริติช สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369           บทความที่เกี่ยวข้อง ประวัติ จีน ก่อนจีนยุคใหม่ “ จักรวรรดิจักรมองโกล (1206-1368)  เป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกันใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 24,000,000…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: