ประสบการณ์ในการบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด ปีพ.ศ.2547/2004 (4) ตอนนี้จะนำเสนอเป็นตอนสุดท้ายในส่วนที่เกี่ยวกับการทำลายสัตว์ปีกให้เป็นไปตามเป้า การฟื้นฟูความเชื่อมั่นในการบริโกคไข่ไก่และเนื้อไก่ และข้อสังเกตบางประการ
Table of Contents
ประสบการณ์
1.การทำลายสัตว์ปีกให้เป็นไปตามเป้า
เพื่อป้องกันมิให้ไวรัสไข้หวัดนกระบาดไปสู่คน จำเป็นต้องทำลายสัตว์ปีกที่คาดว่าจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อไวรัสไข้หวัดนกไปให้หมดสิ้น ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดทางกรมปศุสัตว์กับกระทรวงสาธารสุขคงจะได้หารือกันในรายละเอียด

สำหรับอำเภอเมืองชัยภูมิ ที่ผมดำรงตำแหนงนายอำเภอในขณะนั้น ผมได้รับทราบจากทางปศุสัตว์ จะต้องทำลายไก่ที่เลี้ยงในฟาร์ม และไก่บ้านบางส่วน รวมแล้วมีจำนวนมากกว่าหนึ่งแสนตัว โดยส่วนใหญ่เป็นไก่ของสหฟาร์ม ซึ่งเป็นบริษัทที่ส่งไก่ออกไปต่างประเทศมากที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย อีกส่วหนึ่งก็เป็นไก่ของชางบ้านที่เลี้ยงไว้ตามบ้าน

ในการทำลายทางปศุสัตว์ จะร่วมกับกำนันผู้ใหญ่บ้านท้องที่ รวมทั้งผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไปชี้แจงทำความเข้าใจกับตัวแทนฟาร์มเลี้ยงไก่ และชาวบ้านที่เลี้ยงไก่ให้ทราบถึงความจำเป็นที่ต้องทำลายไก่ เมื่อทำลายไก่เสร็จรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องขุดหลุมฝังให้ลึกพอที่จะทำให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค หากตำบลหมู่บ้านใดมีจำนวนไก่ที่จะต้องถูกทำลายมาก ก็จะใช้รถแบคโฮ ขุดและกลบฝังซากไก่ให้เรียบร้อย
นอกจากไก่ที่จะต้องถูกทำลายแล้ว ก็ยังมีสัตว์ปีกอย่างอื่น เช่น เป็ด และนกกระจอกเทศ
ผมยังจำได้ดีว่า ในท้องที่อำเภอเมืองชัยภูมิในขณะนั้น มีผู้นำนกกระจอดเทศมาเลี้ยงไว้ในฟาร์ม บนเส้นทางชัยภูมิ-บัวใหญ่ ในช่วงที่มีโรคไข้หวัดนกระบาด นกกระจอกเทศที่ฟาร์มดังกล่าวก็สูญหายไป เข้าใจว่า หากไม่เคลื่อนย้ายไปอยู่ที่อื่น ก็อาจจะถูกทำลาย คิดแล้วก็อดสงสารไม่ได้ที่นกกระเทศตัวใหญ่ ๆ จำนวนหนึ่งอาจจะต้องถูกทำลายลง
ในช่วงที่มีการทำลายสัตว์ปีกไปทั่วประเทศ ผมจำได้ดีว่า แอ๊ด คาราบาว เป็นคนหนึ่งที่ออกมาคัดค้านในการจะทำลายไก่ชน เพราะไก่ชนที่เก่ง ๆ มีราคาหลักแสนหลักล้านทีเดียว
2.การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
ในช่วงที่มีปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด ประชาชนผู้บริโภค จะไม่ยอมกินไข่และเนื้อไก่ เพราะเกรงว่าอาจจะติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก แต่พอหลังจากปัญหาดังกล่าวเบาบางลงแล้ว จังหวัดชัยภูมิร่มกับภาคเอกชนอย่างหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัด ก็ต้องรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการที่จะกลับมาบริโภคไข่และเนื้อไก่อีกครั้งหนึ่ง
ตามประสบการณ์ แสดงให้เห็นว่า การประชาสัมพันธ์รณรงค์สามารถทำได้หลายรูปแบบ รวมทั้งจัดให้มีการอภิปรายโดยเชิญตัวแทนภาคส่วนต่าง ๆ มาเป็นวิทยากร
หลังจากได้มีการรณรงค์สักระยะหนึ่งแล้ว ประชาชนผู้บริโภคกลัยมีความเชื่อมั่นเหมือนเดิมแล้ว เหตุการ์ก็กลับมาสู่สภาพปกติ

3.ข้อสังเกตบางประการ
เมื่อปีพ.ศ.2545-2547 รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ได้ทำการปฏิรูประบบราชการ เพื่อทำให้ขนาดของระบบรการเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น กระทรวงใด หรือหน่วยงานใด มีขนาดใหญ่ก็ผ่าตัดกระทรวงหรือหน่วยงนั้น โดยแบ่งเอางานบางส่วนของกระทรวง กรม หรือสำนักงาน แยกออกไปตั้งเป็นกระทรวง หรือกรมใหม่ หรือโอนไปรวมกับกระทรวงอื่น เช่น
โอนสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จากกระทรวงมหาดไทย ให้ไปรวมอยู่กับกระทรวงคมนาคม โอนกรมราชทัณฑ์ จากกระทรวงมหาดไทยไปรวมกับกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น
ยิ่งกว่านั้น ยังมีการยุบส่วนราชการประจำจังหวัดบางส่วนไปเป็นส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการคลัง ไม่ว่าจะเป็น สรรพการจังหวัด ราชพัสดุจังหวัด และสรรพสามิตจังหวัด
แต่บางส่วนราชการก็ยุบส่วนราชการส่วนภูมิภาคระดับอำเภอ ให้ไปรวมอยู่กับส่วนราชการประจำจังหวัด เช่น สหกรณ์อำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ เป็นต้น แต่สุดท้ายพบอุปสรรคในการทำงานไม่ราบรื่น จึงกลับแบ่งส่วนราชการให้กลับมาเป็นส่วนราชการประจำอำเภอเหมือนเดิมก็มี
เช่น สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ในช่วงที่เกิดปัญหาโรคไข้หวัดนก ว่าตามความจริงแล้ว สำนักงานปศุสัตว์อำเภอไม่มี แต่มีเจ้าหน้าที่คนเดิมคอยเป็นผู้ประสานงาน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายอำเภอกับปศุสัตว์ในช่วงเวลานั้น มิได้อยู่ในฐานะผู้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชา การที่งานผ่านไปได้ด้วยดี ก็ด้วยอาศัยอำนาจและบารมีของผู้ว่า ฯ ซีอีโอ นั่นเอง
แต่ภายหลังวิกฤตไข้หวัดนก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ยอมแบ่งส่วนราชการให้มีสำนักงานปศุปสัตว์อำเภอขึ้นตรงต่อนายอำเภอได้ตามเดิมจนกระทั่งทุกวันนี้ เพราะลักษณะงานของปศุสัตว์อำเภอมีความใกล้ชิดกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
4.สรุป
ประสบการณ์ในการบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดระบาด เมื่อปี พ.ศ.2547/2004 พอจะสรุปได้ว่า ระบบผู้ว่า ฯ ซีอีโอ ภายใต้การนำของ ท่านธวัช สุวุฒิกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ในขณะนั้น ได้มีบทบาทอย่างสำคัญในการบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเป็นที่พึงพอใจของประชาชนเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ภายใต้ระบบผู้ว่า ฯ ซีอีโอ หรือระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ เป็นระบบที่ต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้นำในการแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ไม่ต้องผลักภาระไปให้ส่วนกลางเหมือนอย่างในอดีต
ผู้ว่า ฯ ซีอีโอ จะต้องให้ความสำคัญแก่งานของทุกส่วนราชการที่อยู่ในพื้นที่ รวมตลอดถึงองค์กรภาคเอกชน เช่น หอการค้าจังหวัด สภาการท่องเที่ยวจังหวัด มูลนิธิ และสมาคมต่าง ๆ เพื่อผนึกกำลังทุกภาคส่วนเข้าด้วยกันในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดย ผู้ว่า ฯ ธวัช สุวุฒิกุล ได้ถือว่า การแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด เป็นวาระงานของจังหวัด ที่ทุกภาคส่วนจะต้องผนึกกำลังเข้าด้วยกันอย่างเต็มที และท่านได้เป็นผู้นำในการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยตนเอง นับตั้งแต่การวางแผน การนำแผนไปปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล
เครื่องมือสำคัญของระบบผู้ว่า ฯ ซีอีโอ คือ แผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์และงบประมาณประจำปีของจังหวัดตามแผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่นอกเหนือไปจากงบประมาณประจำปี ที่ส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดได้รับจากกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งเป็นต้นสังกัด

หัวใจสำคัญของระบบผู้ว่า ฯ ซีอีโอ คือ ความสำเร็จที่เกิดขึ้น เป็นความสำเร็จของทุกภาคส่วนหรือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มิใช่ความสำเร็จของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงหน่วยงานเดียว
ในบทความต่อไป ผมจะเล่าเรื่องการบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ซึ่งกำลังระบาดอย่างหนักในเวลานี้ให้ท่านฟัง โดยจะเปรียบเทียบให้เห็นความยากง่ายกับการบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด เมื่อปี พ.ศ.2547/2004
กรุณาติดตามอ่านต่อไป ขอบคุณมากครับ ขอให้ทุกท่านปลอดภัยจากโรคโควิด-19
ตอนต่อไปจะนำเสนอในวันศุกร์ที่ 10 เมษายน 2563 “ มองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์ฯ โรคไข้หวัดนก พ.ศ.2547 ”
สุดยอดค่ะท่านอาจารย์ อ่านตามที่ท่านเขียนเหมือนได้ทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมาได้อย่างีเลยค่ะ
คนุรุ่นเรา ๆ เคยมีประสบการณ์ในอดีต แต่คนรุ่นใหม่ไม่มีโอกาส ผมก็เลยอยากจะเล่าให้ฟัง เผื่อจะได้ข้อคิดอะไรดี ๆ บ้าง
อ่านเรื่องราวการทำงานของระบบราชการในยุคก่อน เพลินดีครับ การสั่งงาน ประสานงานระหว่างนายอำเภอกับหน่วยงานอื่นคงไม่ง่ายเหมือนทุกวันนี้
ใช่แล้ว ในช่วงเกิดวิกฤตโรคไข้หวัดนกระบาดปีพ.ศ.2547 เป็นช่วงทีอำเภอเหลือส่วนราชการสังกัดอำเภอน้อยกว่าเมื่อก่อนมาก
ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิรูประบบราชการในยุครัฐาล ทักษิณ ชินวัตร
อยากให้ปธีรศักดิ์ติดตามไปเรื่อย ๆ จะได้อ่านเรื่่องราวในอดีต ย้อนขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน อย่างตอนนี้ผมได้โพสต์ ภูมิหลังและแรงบันดาลใจเข้าสู่อาชีพนักปกครอง
มีเรื่องราวของกำนันเมื่อสัก 60 ปีมาแล้วให้อ่าน