นอกจากนายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ มาตรา 9 ประกาศข้อกำหนดหรือมาตรการที่ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้ว นายกรัฐมนตรียังได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้กำกับใน การบริหาร สถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติในเขตท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค การห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด การกักกันตัวเอง การเดินทางข้ามเขตจังหวัด มาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำในการจัดกิจกรรมอื่น ๆ
อนึ่ง ในบทความก่อนหน้านี้ คือ บทความ (4) ได้กล่าถึง การออกประกาศเพือใช้ในการบริหาร ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
Table of Contents
1.ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้กำกับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติ
1.1ความสำคัญของผู้กำกับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติ
ข้อกำหนดหรือมาตรการต่าง ๆ ที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการไว้ในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 จะไม่ทางสัมฤทธิ์ผล ถ้าขาดผู้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิดในระดับพื้นที่ทั่วราชกอาณาจักร นั่นคือผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
การเป็นผู้กำกับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติของผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นบทบาทของผู้ว่าฯ ซีอีโอ ซึ่งเป็นบทบาทเดียวกันกับบทบาทผู้ว่า ฯ ซีอีโอ เมื่อครั้งเกิดวิกฤตไข้หวัดนกระบาด ปี พ.ศ.2547 กล่าวคือ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องรับผิดชอบผลในภาพรวมในการปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือมาตรการต่าง ๆ ที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการไว้ในพื้นที่ของจังหวัด มิใช่ปล่อยให้หน่วยงานทางสาธารณสุขดำเนินการอย่างเดียวดาย
1.2 เครือข่ายในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19
การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะสามารถเป็นผู้กำกับการบริหารสถานการณ์ดังกล่าวตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายได้ทุกมิติ จะต้องอาศัยเครือข่ายในการปฏิบัติงาน ได้แก่

- คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
- ส่วนราขการประจำจังหวัดที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่ทำการปกครองจังหวัด ตำรวจภูธรจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด และประชาสัมพันธ์จังหวัด
- โรงพยาบาลต่าง ๆ
- นายอำเภอทุกอำเภอ และกำนันผู้ใหญ่บ้าน
- องค์กรปกครองท้องถิ่นทุกแห่ง
ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือวิกฤตเช่นนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัด จะต้องแสดงบทบาทภาวะผู้นำเชิงบูรณาการอย่างสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ โดยจะต้องระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาของชาติ ในส่วนที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัด
2.การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง และการปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัด โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งอาจใช้อำนาจตามมาตรา 35 ในการออกมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาของการเกิดโรคระบาดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตนเอง
2.1 การประกาศห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง หากเห็นว่า พื้นที่ใดเสี่ยงต่อการจะทำให้คนติดเชื้อโรค ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2558 ประกาศมิให้บุคคลเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงเด็ดขาด
2.2 การประกาศปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค หมายถึงสถานที่ซึ่งมีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกันและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคโควิด-19 เป็นการชั่วคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สนามมวย การแสดงหรือการเล่นละครสาธารณะ สถานประกอบการ อาบ อบนวด และนวดแผนโบราณ สปา สถานที่ออกกำลังกาย สถานบันเทิง

3.การห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด ฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 เมษายน 2563 ได้กำหนดเวลาที่ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานทั่วราชอาณาจักร ระหว่างเวลา 22.00-04.00 น.ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นมาตรการมิให้คนไปมั่วสุมกัน จะได้รีบกลับบ้าน

แต่ลำพังการออกมาตรการไว้ หากไม่มีการตั้งด่านคอยตรวจตราผู้ละเมิดคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ข้อกำหนดนี้ก็จะไม่มีผลทางปฏิบัติ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดต้องผนึกกำลังทหาร ตำรวจ และกำลังของฝ่ายปกครองในพื้นที่ตั้งด่านตรวจตรา หากพบว่ามีผู้ใดฝ่าฝืนก็จะต้องดำเนินคดีส่งฟ่องศาลโดยเร็ว
โทษของการฝ่าฝืนข้อกำหนดนี้ เป็นไปตามพระราชกำหนด ฯ มาตรา 18 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จะเห็นว่า โทษไม่น้อยเลย แถมการดำเนินคดีก็ไม่ยากใช่ไหมครับ
ผมเห็นว่า ข้อกำหนดเรื่องห้ามออกจากบ้านหรือเคหสถานในช่วงเวลาที่เรียกว่า เคอร์ฟิว ได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้การประชาสัมพันธ์ข้อกำหนดต่าง ๆ ของนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี เพราะช่วงแรก ๆ ของการออกประกาศข้อกำหนดดังกล่าว มีคนจงใจฝ่าฝืนและถูกดำเนินคดีไม่น้อย
การมีคนถูกดำเนินคดี ในมุมมองของการทำข่าว ถือว่า สามารถนำเสนอเป็นข่าวได้เป็นอย่างดี เพราะผู้คนสนใจที่จะชอบฟังข่าวไปลักษณะเช่นนี้อยู่แล้ว ดังนั้น หากมองในเชิงบวก ต้องขอบคุณบุคคลเหล่านี้ ที่ได้มีส่วนประชาสัมพันธ์ข้อกำหนดของนายกรัฐมนตรีให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายภายในเวลาอันรวดเร็ว และส่งผลดีไปยังข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
ผมคิดว่า หากการฝ่าฝืนข้อกำหนดต่าง ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ ประกาศไว้ ไม่มีโทษของการฝ่าฝืนดังกล่าวพร้อมทั้งการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนอย่างจริงจัง การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินโรคโควิด-19 คงจะไม่มีพลังในการขับเคลื่อนมากเช่นนี้
ท่านผู้อ่านว่าจริงไหมครับ
โปรดติดตามตอนต่อไปในวันพุธที่ 22 เมษายน 2563
ดร.ชา วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563
การนำเสนอข่าวการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฯ ต้องขอบคุณนักข่าว ที่นำเสนอข่าวเพื่อให้สังคมได้รู้ว่า มีการทำงานกันอย่างจริงจัง ลำพังหน่วยงานของทางราชการ เมื่อมีการจับกุม ก็จะมีการรายงานผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้นเท่านั้น หรือเป็นหน้าที่ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเท่านั้นในการแถลงข่าว หน่วยจับกุมมักจะไม่มีการทำข่าวกัน ซึ่งผมเห็นว่า ถ้าหน่วยจับกุมทำข่าวนอกจากจะเป็นการซ้ำเติมผู้ที่ถูกจับกุม และข้าราชการ มักมีกฎ ระเบียบ ครอบคลุมอยู่หลายอย่าง ซึ่งเขาแค่เป็นผู้ต้องหา จะผิดหรือไม่ ต้องรอให้ศาลตัดสิน จึงสุ่มเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องกลับ อาจมีผลต่อหน้าที่การงานได้ ครับ
ใช่ การนำข่าวการจับกุมผู้ฝ่าฝืนเคอร์ฟิว ตามพระราชกำหนดฯ ได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้มาตรการนี้ได้ผลดี
ทันสมัยเจังเลยค่ะอาจารย์
ผมก็พยายามคัดเลือกเรื่่องที่น่าจะอยู่ในความสนใจของสังคมมาเขียนก่อน