หลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ใช้พระราชกำหนด ฯ นายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกคำสั่งตั้งศูนย์บริหารโควิด-19 และออกคำสั่งสร้างกลไกในการบริหาร
Table of Contents
1.การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
หลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ใช้พระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาใช้บังคับ นายกรัฐมนตรีจะต้องออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก่อน โดยนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในประกาศดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ให้ผลบังคับทุกท้องที่ทั่วราชกอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563
สาระสำคัญของประกาศดังกล่าว พอสรุปได้ดังนี้
– เหตุทีต้องออกประกาศดังกล่าวเพราะมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของผู้ได้รับเชื้อ
– ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค และยังไม่มียารักษาโดยตรง
– องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการระบาดใหญ่
– เป็นสถานการณ์ที่กระทบต่อความสบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งต้องใช้มาตรการเข้มงวดและเร่งด่วนเพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง
3.การจัดตั้งองค์กรในการแก้ปัญหา
เดิมกระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่ในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 โดยตรงตามนัยพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 แต่เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคได้ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2563 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 จัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 8 คือ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เรียกชื่อโดยย่อว่า “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19”

ตามคำสั่งจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการศูนย์ โดยให้โอนอำนาจสั่งการของรัฐมนตรีมาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีตามความจำเป็นแก่สถานการณ์เป็นการชั่วคราว เพื่อให้การสั่งการและการแก้ไขสถานการณ์เป็นไปโดยมีเอกภาพ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 มีอำนาจในการบริหารแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ระบาด ได้ในทุกมิติ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีสามารถสั่งการได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องติดกรอบหรือข้อจำกัดใด ๆ ตามแนวคิด การบูรณาการ เชิงสร้างสรรค์
4.การสร้างกลไกในการบริหาร
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เป็นศูนย์อำนวยการในการสั่งการ โดยรวมอำนาจสั่งการต่าง ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี เพื่อความเป็นเอกภาพ และรวดเร็ว ไม่ติดขัดปัญหาเรื่องต่างกระทรวง และต่างพรรคการเมืองที่อยู่ร่วมรัฐบาลผสม แต่ในการปฏิบัติการในแต่ละด้าน จำเป็นต้องมีกลไกไว้รองรับ

ในเรื่องนี้ ได้มีคำสั่งนากรัฐมนตรีที่ 4/2563 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 แต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบ และพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนี้
4.1ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสารณสุขทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
4.2 ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและการประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
4.3ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมสินค้า
4.4 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือผู้มีสัญชาติไทยในต่างประเทศ
4.5 ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสื่อสารคมนาคม และสื่อสังคมออนไลน์
4.6 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง
ท่านผู้อ่าน คงจะได้เห็นแล้วว่า ภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการศูนย์ มีกลไกต่าง ๆ เป็นฟันเฟืองที่จะขับเคลื่อนตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีได้ในทุกมิติหรือทุกด้านที่เกี่ยวข้องและจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างทันท่วงที
ในทางตรงข้าม หากมิได้จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 ขึ้นมา ปล่อยให้การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปกลไกปกติของราชการ ท่านผู้อ่านลองคิดดูว่า จะอืดอาดและล่าช้ามากเพียงใด นี่ขนาดได้สร้างกลไกพิเศษขึ้นมานะ การบริหารยังไม่ถูกใจคนบางกลุ่ม ดังจะเห็นได้จากยังมีการวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลอยุ่ตลอดเวลาเลย จริงไหม
5.ข้อสังเกตการสร้างกลไกในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินโรคโควิด-19
ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ภายใต้ศูนย์บริหารสถานกาณ์โควิด-19 มีกลไกรองรับไว้ 7 ด้าน คือ (1)ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2)ด้านการปกครอง โดยปลัดกระทรวงมหาดไทย (3)ด้านการควบคุมสินค้า โดยปลัดกระทรวงพาณิชย์ (4)ด้านการต่างประเทศ โดยปลัดกระทวงการต่างประเทศ (5)ด้านการสื่อสารคทนาคมและสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ โดยปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (6)ด้านความมั่นคง โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ(7)ด้านการประสานงานทั่วไป โดยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ผมอยากให้ท่านผู้อ่านลองหลับตาจินตนาการดูว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่มีอำนาจสั่งปลัดกระทรวงหรือตำแหน่งต่าง ๆ ที่เทียบเท่าข้างต้นในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินโรคโควิด-19 (แทนที่จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง 6-7 กระทรวง แถมยังมาจาก 3 พรรคการเมืองอีก ต่างคนต่างสั่งภายในขอบเขตอำนาจของกระทรวงตนเอง) จะยังมีปัญหาเกี่ยวกับพลังอำนาจในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นเอกภาพ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล อยู่อีกหรือไม่
ผมเชื่อว่า ทุกท่านมีคำตอบของตัวเองอยู่แล้ว ใชไหม
6.สรุป
การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรงและระบาดไปทั่วโลก ไม่อาจจะแก้ปัญหาด้วยการบริหาราชการตามปกติ คือ การปล่อยให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพียงกระทรวงเดียว จำเป็นต้องใช้อำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามนัยพระราชกำหนดการบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ด้วยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และจัดตั้ง “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ” ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยอำนาจในการสั่งการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาจะเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการแทนรัฐมนตรีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและฉับไวในการแก้ปัญหา
นอกจากนี้ ยังได้สร้างกลไกในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวไว้รองรับถึง 7 ด้าน โดยมีปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องและผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมที่จะรับคำสั่งของนายกรัฐมนตรีไปปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลได้ทันที แต่กระนั้นก็ตาม เสียงวิพากษ์วิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลก็ยังมีอยู่ตลอด
ในส่วนตัวผมคิดว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ก็รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติอยู่ตลอด ดังนั้น เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย การวิพากษ์วิจารณ์ก็น่าจะลดลง หรืออาจจะเปลี่ยนมาเป็นคำชมแทนก็ได้ ซึ่งเราก็คงต้องคอยติดตามดู
ส่วนการบริหารงานเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก เมื่อ ปี พ.ศ.2547 เป็นการบริหารราชชการตามปกติ มิได้เป็นการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน กล่าวคือ อำนาจหน้าที่ในการแก้ปัญหา เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์
ท่านผู้อ่าน คงจะพอมองเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่า การบริหารอันใดยากกว่ากัน ระหว่าง โรคโควิด-19 กับโรคไข้หวัดนก พ.ศ.2547
พบกันใหม่วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563
ดร.ชา
วันศุกร์ที่ 17 เมษายน 2563
ขอขอบคุณการวิเคาระห์การบริหารฯ จะนำไปต่อยอดสอนนศ. เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้หบากหลายมากยิ่งขึ้น
ดีครับ ท่านผศ.ดร.กาญจนา ขอบคุณครับ
ข้อทูลแน่น่นากค่ะ
ขอบคุณมาก คุณบุญญสรณ์ ก็เป็นการเล่าเรื่องที่อิงวิชาการอยู่่บ้าง
ผมเห็นว่าการบริหารงานในการแก้ปัญหาโรคโควิด 19 ถึงแม้จะใหญ่กว่าโรคไข้หวัดนก แต่ดูโควิด จะบริหารง่ายกว่า เพราะอำนาจการสั่่งการขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี ที่จะสามารถสั่งการขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าครับ
ใช่ แต่รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลผสม การจะดึงอำนาจมาอยู่่ในมือนายก ฯ โดยตรง ก็ไม่น่าจะง่ายนะ ถ้าสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยจริง ๆ
น่าสนใจครับ
อย่าลืมติดตามไปเรื่อย ๆ นะ ปเบนซ์