การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิดข-19 ด้วยประสบการณ์ ฯ โรคไข้หวัดนกระบาด ปี พ.ศ.2547 อาจมองด้วยมิติทางด้านกฎหมายที่นำมาใช้บังคับ คือ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 พระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
Table of Contents
กฎหมายที่ใช้บังคับในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19
กฎหมายที่ใช้บังคับในการแก้ปัญหาโรควิด-19 มีอยู่ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และพระราชกำหนดในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
1.พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ
- กำหนดให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมควบคุโรคติดต่อ เป็นกรรมการและเลขานุการ
- กำหนให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ
- กำหนดให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ
2.พระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.254
ลำพังพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ไม่อาจที่จะแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดอย่างรุนแรงได้ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสั่งการกระทรวง กรม และหน่วยงานต่าง ๆ ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาผ่านรัฐมนตรี โดยสั่งการตรงไปที่ปลัดกระทรวง หรือกรมต่าง ๆ กฎหมายฉบับนี้ มีไว้ใช้ในยามประเทศเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง อย่างกรณีเกิดจลาจล ที่ลำพังตำรวจหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามปกติจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ มีจำเป็นต้องใช้ทหารร่วมด้วย
การใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีคิดออกนอกกรอบและใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศได้ รวมทั้งการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์
การบูรณาการเชิงสร้างรรค์หมายถึง การผนึกกำลังของทุกฝ่ายหรือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันทำงานหรือขับเคลื่อนหรือผลักดันงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีลักษณะสลับซับซ้อน เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ ซึ่งเป็นการยุ่งยากเกินกว่าที่บุคคลเดียวหรือหน่วยงานเดียวจะทำสำเร็จได้ภายในเวลาที่กำหนด
2.1 การใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ ในอดีต
การใช้บังคับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ2548 ได้ใช้ทุกรัฐบาล แต่ทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ได้ใช้เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองทั้งสิ้นและใช้บังคับในพื้นที่จำกัด ไม่ได้ครอบคลุมไปทั่วประเทศ
ครั้งที่ 1 สมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ครั้งที่ 2 สมัยรัฐบาลสมัคร สมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 เพื่อแก้ปัญหาผู้ชุมนุมถนนราชดำเนินโดยมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
ครั้งที่ 3 สมัยรัฐบาล สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 เพื่อแก้ปัญหากลุ่มพันธบิตรบุกยึดสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ
ครั้งที่ 4 สมัยรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2552 เพื่อแก้ปัญหาแนวร่วมเผด็จการแห่งชาติบุกขัดขวางการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ พัทยา ชลบุรี
ครั้งที่ 5 สมัยรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2552 เพื่อแก้ปัญหากลุ่มคนเสื้อแดงบุกยึดถนนราชดำเนิน
ครั้งที่ 6 สมัยรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 เพื่อแก้ปัญหากลุ่มคนเสื้อแดงบุกยึดสี่แยกราชประสงค์และบุกรัฐสภา
ครั้งที่ 7 สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557 เพื่อแก้ปัญหากลุ่มกปปส.ชัตดาวน์กรุงเทพ ฯ
2.2 การใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ ของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ครั้งที่ 8 สมัยรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 แตกต่างไปจากการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ ของรัฐบาลที่ผ่านมาทั้งหมด เพราะเป็นการใช้อำนาจเพื่อแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด โดยประกาศใช้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบทางการเมือง และใช้บังคับเฉพาะบางพื้นที่เหมือนการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ ครั้งก่อน ๆ

ส่วนการบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด ใช้เพียงกฎหมายที่อยู่ตามปกติ ปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 แต่เมื่อเกิดปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด เมื่อปี พ.ศ.2548 กฎหมายที่ใช้บังคับ คือ พระราชบัญญัติโรคระบาดพ.ศ.2549 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2546 ซึ่งขณะนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ความรุนแรงของปัญหา ไม่มากพอที่จะใช้กฎหมายพิเศษอย่างพระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
3.สรุป
การนำกฎหมายมาใช้บังคับในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด จำเป็นต้องใช้กฎหมายจำนวน 2 ฉบับคู่กัน คือ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และพระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพราะการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีตามพระราชกำหนด ฯ จะทำให้สามารถเติมเต็มในส่วนที่พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ยังขาดอยู่
การใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีตามพระราชกำหนด ฯ เป็นการบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดได้สัมฤทธิ์ผล โดยมีการแบ่งงานกันทำให้เหมาะสมกับภารกิจต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องทำ
ผมเชื่อว่า ท่านผู้อ่านคงจะพอเข้าใจเจตนารมณ์ในการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ เสริมเข้ามาในการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินโรคโควิด-19 ระบาด
พบกันใหม่วันพุธที่ 15 เมษายน 2563 ในตอน (3) กฎหมายที่นำมาใช้บังคับ (ต่อ)
ดร.ชา
วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2563