68 / 100

Table of Contents

1.ความนำ

            เรื่องเล่า ดร.ชา สนุก และสร้างสรรค์ เป็นชื่อหัวข้อของเว็บไซต์ https://tridirek.com  ซึ่งเป็นชื่อล่าสุด ก่อนหน้านี้ได้เคยใช้ชื่ออื่นมาก่อนแล้วจำนวน 2 ครั้ง โดยมีความเป็นมาและเหตุผลในการเปลี่ยนชื่อหัวข้อเว็บแต่ละครั้ง

            เพื่อมิให้ท่านผู้อ่านเกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อหัวข้อเว็บว่า เป็นชื่ออะไรแน่ ผมจึงขอเล่าความเป็นมาและเหตุผลในการเปลี่ยนชื่อหัวข้อเว็บแต่ละครั้งให้ท่านทราบตามลำดับต่อไป

2.ชื่อหัวข้อเว็บครั้งแรก

          ชื่อหัวข้อเว็บเมื่อตอนเปิดตัวใหม่ ๆ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 ใช้ชื่อว่า               “รวมเรื่องเล่า สนุก และสร้างสรรค์ ชุดประสบการณ์ นักปกครอง ที่น่าสนใจ”   เนื่องจากผมได้กำหนดขอบเขตการนำเรื่องเสนอจากประสบการณ์การรับราชการเป็นนักปกครองของผมเป็นระยะเวลายาวนานร่วม 40 ปี ระหว่างปี พ.ศ.2517-2554

          การใช้ชื่อหัวข้อเว็บดังกล่าว เป็นการบอกแนวในการเขียนบทความว่า จะนำเอาประสบการณ์ของนักปกครอง ที่เห็นว่าน่าสนใจ มาบอกเล่า ให้สนุก พร้อมกับให้ข้อคิดที่สร้างสรรค์

3.ชื่อหัวข้อเว็บครั้งที่สอง

          ต่อมาผมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์นี้ คือ การนำเสนอบทความในรูปแบบของเล่าเรื่องด้วยการเอาประสบการณ์ในการรับราชการเป็นนักปกครองมาเป็นมุมมองในการเขียนเรื่องเป็นหลักในการเล่าเรื่องให้ท่านผู้อ่านทราบ มิใช่ เอาความสนุก เป็นตัวนำ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด จึงเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อหัวข้อเว็บใหม่ให้สอดคล้องกับแนวทางในการเขียนบทความจริง ๆ เป็น                                       “ รวมเรื่องเล่า ชุดประสบการณ์ นักปกครอง ที่น่าสนใจ สนุก และสร้างสรรค์”

4.การเล่าเรื่อง เวอร์ชั่นใหม่

          นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนชื่อหัวข้อเว็บครั้งที่สองแล้ว ผมยังได้ปรับรูปแบบในการเขียนบทความให้เป็นกันเองกับท่านผู้อ่านมากยิ่งขึ้น สร้างความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มเติม และเพิ่มความสนุกพร้อมกับสอดแทรกความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้นด้วยการเพิ่มหัวข้อ “คุยกับดร.ชา” ไว้ในตอนท้ายบทความที่ได้นำลงโพสต์แต่ละครั้ง นับตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นมา

            ปรากฏว่า การเพิ่มหัวข้อ คุยกับดร.ชา ไว้ตอนท้ายบทความ ได้สร้างความเข้าใจ ความสนุก และความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มเติมให้ท่านผู้อ่านได้เป็นอย่างดี

เรื่องเล่า ทำให้เกิดความสนุก เพลิดเพลินได้
เรื่องเล่า ทำให้เกิดความสนุก เพลิดเพลินได้

5.การเปลี่ยนชื่อหัวข้อเว็บครั้งล่าสุด

            ผมได้พิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่า การตั้งชื่อหัวข้อเว็บเป็นสิ่งสำคัญ หากสามารถตั้งชื่อให้ท่านผู้อ่านจดจำได้ง่าย น่าจะเป็นผลดีในการเผยแพร่มากกว่าชื่อที่จดจำได้ยาก จึงเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อหัวข้อเว็บใหม่เป็น “เรื่องเล่า ดร.ชา สนุก และสร้างสรรค์” หรืออาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า เรื่องเล่า ดร.ชา ด้วยเหตุผล ดังนี้

            5.1 เว็บนี้ เริ่มเป็นรู้จักแพร่หลายในหลายประเทศ

            นอกจากประเทศไทย ยังมีผู้ให้ความสนใจอ่านและติดตามบทความของเว็บนี้ในอีกหลายประเทศทั้งเอเชีย ยุโรป และอเมริกา เพราะขณะนี้เว็บนี้ได้เข้ารับอนุมัติให้อยู่ในระบบของ Google AdSense แล้ว ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2563 เป็นต้นมา

            5.2 เพื่อใช้เป็นยี่ห้อหรือแบรนด์เนมของเว็บไซต์

            เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถจดจำชื่อเว็บไซต์ได้ง่าย ชื่อหัวข้อเว็บ ก็ควรจะสั้น ๆ มีความหมายและบอกทิศทางในการเขียนได้ชัดเจน

            ผมอยากให้ท่านผู้อ่าน จดจำชื่อเว็บไซต์สั้น ๆ ว่า “ เรื่องเล่า ดร.ชา ” ส่วนคำว่า” สนุก และสร้างสรรค์” เป็นการบอกทิศทางในการเขียนบทความเรื่องเล่านี้ว่า นอกจากมีเนื้อหาได้สาระประโยชน์แล้ว ยังให้ความสนุกและความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย

ความสนุกและความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมองโลกในด้านบวก

เรื่องเล่า อาจจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
เรื่องเล่า อาจจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

            5.3 เพื่อขยายขอบเขตในการเขียนบทความให้กว้างขวางออกไป

            ในเมื่อเว็บนี้ เริ่มเป็นที่รู้จักแพร่หลายในหลายประเทศแล้ว ก็น่าจะนำเสนอบทความในขอบเขตที่กว้างขวางออกไปอีกนอกเหนือไปจากการอิงประสบการณ์นักปกครองแต่อย่างเดียว โดยยึดถือเอาความสนใจของท่านผู้อ่าน และความรู้ความสามารถในการเขียนบทความของผม เป็นหลักในการพิจารณาว่า จะเขียนบทความเรื่องอะไรดี

            แน่นอน ผมมีความรู้ความสามารถในการเขียนบทความเล่าเรื่องในหลายมิติ ตามพื้นฐานความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลาช้านาน

6.การขยายขอบเขตแนวทางการเขียนบทความ

          เมื่อได้เปลี่ยนชื่อหัวข้อเว็บเป็น “เรื่องเล่า ดร.ชา ฯ ” แล้ว ผมจึงขอขยายขอบเขตแนวทางการเขียนบทความเสียใหม่ โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะ เรื่องจากประสบการณ์นักปกครองเท่านั้น แต่จะขยายขอบเขตเป็นเรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ที่ผมได้สั่งสมมาเป็นเวลายาวนาน คือ

            6.1 พื้นฐานความรู้

            ผมเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท (สายวิทย์) หลังจากนั้นผมได้เรียนต่อในชั้นอดุมศึกษา ดังนี้

                         6.1.1 ด้านการเมืองการปกครอง

                         จบปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง (เกียรตินิยม) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                         6.1.2 ด้านการบริหาร

                        จบปริญญาโททางด้านพัฒนบริหารศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์     คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือNIDA

                         6.1.3 ด้านกฎหมาย

                     จบปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                       6.1.4 ด้านยุทธศาสตร์และภาวะผู้นำ

                  จบปริญญาเอก ทางด้านภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ความเป็นเลิศ (Strategic Leadership Supremacy) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

                        6.1.5 ด้านการเมืองการปกครองอเมริกาและรัฐธรรมนูญอเมริกา

                        นอกจากปริญญาต่าง ๆ ที่ได้รับมาข้างต้นแล้ว ผมยังได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทางออนไลน์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกจนได้รับ Certificate ทางด้านการเมืองการปกครองและรัฐธรรมนูญอเมริกา จำนวน 3 ใบ คือ

                        -Cert. in American Government (HarvardX/Harvard via edX..)

                        -Cert. in America’s Written Constitution (Yale via Coursera)

                        -Cert. in America’s Unwritten Constitution (Yale via Coursera)

             6.2 ประสบการณ์ในการทำงาน

                    ผมได้รับราชการเป็นนักปกครอง นับตั้งแต่ตำแหน่งปลัดอำเภอตรี ผ่านการดำรงตำแหน่งปลัดอำเภออาวุโส ผู้ตรวจการส่วนท้องถิ่นจังหวัด (ปัจจุบัน คือท้องถิ่นจังหวัด) จ่าจังหวัด จำนวน 2 จังหวัด  นายอำเภอ จำนวน 5 อำเภอ เป็นเวลา 14 ปี ปลัดจังหวัด และรองผู้ว่าราขการจังหวัด

            6.3 ประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัย

              ผมได้เป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโททางรัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นเวลา 9 ปี (2552-2560) โดยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ จำนวน 2 วิชา คือ วิชารัฐ อำนาจ และการบริหารนโยบายสาธารณะ และวิชาสัมมนาการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ

7. เรื่องเล่า จากประสบการณ์นักปกครอง

            สำหรับท่านผู้อ่านที่ได้ติดตามบทความเรื่องเล่านี้มาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น อาจจะสงสัยว่า เมื่อได้เปลี่ยนชื่อหัวข้อเว็บใหม่ เป็น “เรื่องเล่า ดร.ชา ฯ “ โดยตัดคำว่า ประสบการณ์ นักปกครองออกไป บทความเรื่องเล่า เกี่ยวกับประสบการณ์นักปกครองโดยตรง จะยังมีอยู่ไหม

            ผมขอยืนยันว่า จะยังคงมีอยู่ต่อไป โดยอาจจะจัดอยู่ในหมวด เรื่องเล่า เรื่องสั้น นักปกครอง  ซึ่งจะเป็นการนำเสนอในรูปแบบเรื่องสั้นจากเค้าโครงประสบการณ์จริง ของนักปกครองคนหนึ่ง เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาแนวคิด ภาวะผู้นำ กระบวนการตัดสินใจในการแก้ปัญหาและการพัฒนาท้องถิ่นภายใต้ภาวะข้อจำกัดของทรัพยากรในการบริหาร

            แต่การเล่าเรื่องในลักษณะเช่นนี้ จำเป็นต้องใช้ชื่อสถานที่และชื่อบุคคลในเรื่อง ที่สมมุติขึ้นมา เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่สถานที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม

8.สรุป

          เหตุผลและความจำเป็นในการเปลี่ยนชื่อหัวข้อเว็บ เป็น “ เรื่องเล่า ดร.ชา สนุก และสร้างสรรค์” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เรื่องเล่า ดร.ชา ” เพื่อใช้เป็นยี่ห้อหรือแบรนด์เนมของเว็บไซต์ https://tridirek.com  ตลอดจนเพื่อขยายขอบเขตของการเขียนเรื่องเล่า ให้กว้างขวางออกไปในหลายมิติ ตามความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของผม โดยจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องที่อิงประสบการณ์นักปกครองตามเจตนารมณ์เดิมเท่านั้น

            ขอขอบคุณ ทุกท่านที่ได้กรุณาสละเวลาอ่านบทความนี้ และหวังว่า ทุกท่านคงติดตามอ่านบทความ เรื่องเล่า ดร.ชา ฯ ตลอดไป

          หากท่านเห็นว่า บทความใน เรื่องเล่า ดร.ชา ฯ มีสาระประโยชน์ พร้อมกับสร้างความสุข ความสนุก และความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ท่าน แตกต่างไปจากบทความในเว็บอื่น ๆ  สมควรจะเผยแพร่ให้แก่ญาติมิตรคนสนิทของท่าน กรุณากดติดตาม (Subscribe) และกดแชร์ ไปยังบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในเครือข่ายของท่านด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

ด้วยจิตคารวะทุกท่าน

ดร.ชา

23/09/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)(New***) 2

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)(New***)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18) 5

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18)

ชาว ไทย ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอุ้มหาย

4 COMMENTS

  1. ดีค่ะท่านอาจารย์ลูกศิษย์สายปกครอง หรือสายอืายๆ สามารถอ่าจอละนำมาใช้ประโยชน์ค่ะ ได้ความบีนเทืงด้วย

  2. มหาวิทยาลัยเยล มีชื่อเสียงทางด้านกฎหมายค่ะ อาจารย์

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: