การปฏิรูปการเมือง การปกครอง เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่ทำไมญี่ปุ่นเจริญกว่าไทยมาก (10) (New***) 1

การปฏิรูปการเมือง การปกครอง เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่ทำไมญี่ปุ่นเจริญกว่าไทยมาก (10) (New***)

การปฏิรูปการเมือง การปกครอง เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่ทำไมญี่ปุ่นเจริญกว่าไทยมาก นับเป็นบทความลำดับที่ 10 ของหมวด 9 เรื่องเล่า ประเทศไทย กับชาติมหาอำนาจ จะกล่าวถึง แรงบันดาลใจ การคุกคามของชาติมหาอำนาจตะวันตกต่อไทยและญี่ปุ่น การปฏิรูปการเมือง การปกครองในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 การปฏิรูปการเมือง การปกครอง ในสมัยจักรพรรดิเมจิ ผลของการปฏิรูปการเมืองการปกครองสมัยจักรพรรดิเมจิ เหตุผลที่ทำให้ญี่ปุ่นเจริญกว่าไทย สรุป และคุยกับดร.ชา 1.แรงบันดาลใจ           เมื่อครั้งผมได้เรียนปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์ ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือ NIDA ในช่วงปี 2518-2520 ผมประทับใจในคำสอนของอาจารย์ท่านหนึ่งที่ว่า ฝรั่งได้ศึกษาข้อมูลเชิงเปรียบเทียบในด้านการปฏิรูปประเทศของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการการปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นในยุคจักรพรรดิเมจิ             ในการศึกษาดังกล่าวพบว่า มีอะไรหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่สยามได้เปรียบญี่ปุ่นคือ สยามมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ในขณะที่ญี่ปุ่นไม่ค่อยมีทรัพยากรธรรมชาติมาก ดังนั้น สยามจึงน่าจะสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ากว่าญี่ปุ่น             แต่ข้อเท็จจริงที่พวกเราเห็นก็คือ ญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้าเหนือกว่าไทยหลายเท่าตัว…

ความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศ เป็นภูมิคุ้มกันให้ชาติไทย (9)(New***) 2

ความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศ เป็นภูมิคุ้มกันให้ชาติไทย (9)(New***)

1.ความนำ ความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศ เป็นภูมิคุ้มกันให้ชาติไทย เป็นบทความความลำดับที่ 9 ของหมวด 9 เรื่องเล่า ประเทศไทย กับชาติมหาอำนาจ โดยจะกล่าวถึง ความนำ ความสัมพันธ์กับมิตรประเทศในอดีต การเจริญพระราชไมตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า สรุป และคุยกับดร.ชา         อนึ่งในบทความที่แล้ว (8) ได้กล่าวถึง ระเบียบการ บริหารราชการแผ่นดิน-ต้องปฏิรูป เพื่อความอยู่รอดของสยาม           การที่รัฐหรือประเทศหนึ่งจะสามารถดำรงความเป็นเอกราชได้อย่างยั่งยืน นอกจากประเทศนั้นจะต้องมีความเข้มแข็งภายในแล้ว ยังจะต้องได้รับการรับรองและสนับสนุนจากมิตรประเทศด้วย             หากประเทศใดปิดประเทศ ไม่ยอมคบค้าสมาคมกับประเทศอื่นใด ประเทศนั้นต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีมิตรประเทศคอยสนับสนุนหรือช่วยเหลือทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม             โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ที่ทุกประเทศทั่วโลกเสมือนหนึ่งเป็นประเทศเดียวกัน ถือเป็นยุคโลกไร้พรมแดน เหตุการณ์ที่เกิดในประเทศหนึ่งอาจจะลุกลามไปสู่ประเทศอื่น ๆ ได้ไม่ยาก อย่างเช่นปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด เริ่มต้นที่ประเทศจีน…

ระเบียบการ บริหารราชการแผ่นดิน-ต้องปฏิรูปเพื่อความอยู่รอดของสยาม (8) 3

ระเบียบการ บริหารราชการแผ่นดิน-ต้องปฏิรูปเพื่อความอยู่รอดของสยาม (8)

“ระเบียบการ บริหารราชการแผ่นดิน-ต้องปฏิรูป เพื่อความอยู่รอดของสยาม ” เป็นบทคามลำดับที่ 8 ของหมวด 9 เรื่องเล่า ประเทศไทย กับชาติมหาอำนาจ โดยจะกล่าวถึง ความนำ ความสำคัญของระเบียบการ บริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบการ ฯ เดิม  ระเบียบการ ฯ ทีได้ปฏิรูปขึ้นใหม่  สรุป และคุยกับดร.ชา อนึ่ง บทความก่อนหน้านี้ คือ (7) เป็นเรื่องของเอกราช ของชาติ 1.ความนำ           หลังจากพม่าได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3  ต่อมาญวนและเขมรได้ตกเป็นของฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้สยามในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องตกอยู่ในภาวะคับขันเป็นที่สุด เพราะถูกบีบขนาบจากชาติมหาอำนาจนักล่าทั้งสองชาติ             เพื่อให้สยามสามารถฝ่าวิกฤตของชาติได้ ไม่ตกเป็นอาณานิคมหรือเมืองขึ้นของนักล่าเหมือนอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้พระพุทธเจ้าหลวงต้องทรงใช้ความสุขุมคัมภีรภาพวางกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ในการป้องกันและต่อสู้อย่างเต็มพระสติกำลังความสามารถ           ในที่สุด พระองค์จึงทรงเห็นว่า…

เอกราช ของชาติ คือชีวิตของประเทศ (7) 4

เอกราช ของชาติ คือชีวิตของประเทศ (7)

“เอกราช ของชาติ คือชีวิตของประเทศ” เป็นบทความลำดับที่ 7 ของหมวด 9 เรื่องเล่า ประเทศไทย กับชาติมหาอำนาจ  ประกอบด้วย ความนำ  เอกราชกับวันชาติ วันชาติของประเทศชั้นนำของโลก วันชาติของกลุ่มประเทศอาเซียน สรุป และคุยกับดร.ชา 1.ความนำ           หากประเทศเป็นคน เอกราชหรืออิสรภาพของชาติ ก็คือชีวิตของประเทศ ประเทศที่ไร้เอกราชหรือขาดอำนาจอธิปไตย เพราะต้องตกเป็นเมืองงขึ้นเขา ย่อมเท่ากับประเทศนั้นได้ตายไปแล้ว หมายความว่า ดินแดนแห่งนั้นไม่มีฐานะเป็นรัฐหรือประเทศอีกต่อไป            รัฐ             ดินแดนที่จะถือว่า เป็นรัฐ ตามหลักกฎหมายปกครอง ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 ประการคือ (1) ต้องมีดินแดนที่มีอาณาเขตอันแน่นอน (2)มีประชากรอาศัยอยู่พอสมควร (3) มีรัฐบาลปกครองหรือบริหารประเทศ และ(4) มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน             หากประเทศใดตกเป็นเมืองขึ้นเขา…

กว่าจะรักษา ดินแดน ไทยไว้ได้(6) 5

กว่าจะรักษา ดินแดน ไทยไว้ได้(6)

กว่าจะรักษา ดินแดน ไทยไว้ได้ เป็นบทความลำดับที่ 6 ของหมวด 9 เรื่องเล่า ประเทศไทย กับชาติมหาอำนาจ ประกอบด้วย ความนำ สถานการณ์คุกคามการรักษา ดินแดน ฯ ในรัชกาลก่อน สถานการณ์คุกคามการรักษา ดินแดน ฯ ในรัชกาลที่ 5  การเสียดินแดนในยุครัชกาลที่ 5 การเสียดินแดนที่ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงโทมนัสที่สุด สรุป และคุยกับดร. ชา อนึ่ง บทความก่อนหน้านี้ (5) ได้กล่าวถึง การ ประนีประนอม ได้ทำให้ชาติไทยรอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกา             1.ความนำ             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรชาวไทยนับตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ด้วยทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อพัฒนาสยามประเทศให้เป็นรัฐสมัยใหม่…

การประนีประนอม ทำให้ชาติไทยรอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกา (5) 6

การประนีประนอม ทำให้ชาติไทยรอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกา (5)

การประนีประนอมหรือการเจรจาทำความตกลง ทำให้ชาติไทยรอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกา หรือการตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก นับเป็นบทความลำดับที่ 5 ของหมวด 9 เรื่องเล่า ประเทศไทยกับชาติมหาอำนาจ โดยจะกล่าวถึง พระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 10 เกี่ยวกับการชุมนุม การประนีประนอมในยุครัชกาลที่ 3 การเจรจาทำความตกลงในยุครัชกาลที่ 4  สรุป และคุยกับดร.ชา             บทความก่อนหน้านี้ คือ บทความ (3) ศรัทธาต่อสถาบันหลักของชาติอย่างแรงกล้า ทำให้ไทยชนะสงครามเย็น 1.พระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 10 เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง           ในสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน กลุ่มม็อบที่เรียกชื่อว่า “ คณะราษฎร 2563”ได้ตั้งข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ให้นายกรัฐมนตรีลาออก ให้ยกร่างรัฐธรรมใหม่ และให้มีการปฏิรูปสถาบัน ท่ามกลางมีกระแสข่าวการแทรกแซงอำนาจอธิปไตยของไทยจากชาติมหาอำนาจตะวันตกบางชาติ                                                    มีครั้งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว…

ศรัทธาต่อสถาบันหลักของชาติอย่างแรงกล้า ทำให้ไทยชนะสงครามเย็น (4)(New***) 7

ศรัทธาต่อสถาบันหลักของชาติอย่างแรงกล้า ทำให้ไทยชนะสงครามเย็น (4)(New***)

ศรัทธาต่อสถาบันหลักของชาติอย่างแรงกล้า ทำให้ไทยชนะสงครามเย็น นับเป็นบทความลำดับที่ 4 ในหมวด ประเทศไทยกับชาติมหาอำนาจ โดยจะกล่าวถึง แนวคิดที่แตกต่างระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับลัทธิประชาธิปไตย ลัทธิหรืออุดมการณ์คอมมิวนิสต์นำมาเผยแพร่ในไทยตั้งแต่เมื่อใด แนวคิดหลักในการต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์ในสงครามเย็น ศรัทธาพระพุทธศาสนาในการต่อสู้สงครามเย็น ศรัทธาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในการต่อสู้เอาชนะสงครามเย็น สรุป และคุยกับดร.ชา             อนึ่ง ในบทความที่แล้ว 3 ผมได้เล่าให้ท่านทราบว่า รัฐ ไทยหรือประเทศไทย มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามเย็นอย่างไร 1.แนวคิดที่แตกต่างระหว่างลัทธิประชาธิปไตยและลัทธิคอมมิวนิสต์           การต่อสู้ในสงครามเย็น เป็นการต่อสู้กันในทางความคิดหรืออุดมการณ์ที่แตกต่างกัน การแพ้ชนะอยู่ที่ว่า ฝ่ายใดจะสามารถโฆษณาชวนเชื่อและสร้างผลงานให้ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับได้มากกว่ากัน เพราะต่างฝ่ายต่างนำเสนอว่า อุดมการณ์ของฝ่ายตนดีกว่าอุดมการณ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง             1.2 ลัทธิประชาธิปไตย Democracy           ลัทธิประชาธิปไตย เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างหนึ่งทีมีความเชื่อว่า ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน มีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค ประชาชนสามารถปกครองตนเองได้ รัฐบาลเป็นผู้รับใช้ประชาชน ไม่ใช่นายของประชาชน รัฐบาลเป็นเพียงผู้ที่ได้รับความยินยอมจากประชาชนให้เข้ามาบริหารประเทศภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง            …

รัฐไทย เกี่ยวข้องกับสงครามเย็นอย่างไร (3) (New***) 8

รัฐไทย เกี่ยวข้องกับสงครามเย็นอย่างไร (3) (New***)

รัฐไทย เกี่ยวข้องกับสงครามเย็นอย่างไร เป็นบทความลำดับที่ 3 ในหมวด เรื่องเล่า ประเทศไทย กับชาติมหาอำนาจ โดยจะกล่าวถึง ความหมายของสงครามเย็น สงครามเย็นระยะที่หนึ่ง สงครามเย็นระยะที่สอง  รัฐไทยเกี่ยวข้องกับสงครมเย็นอย่างไร สรุป และคุยกับดร.ชา 1.ความนำ           ในบทความที่แล้ว (2) ผมได้เล่าถึงเรื่อง ไทย แลนด์ หรือประเทศไทย ได้รับแรงกดดันจากชาติมหาอำนาจอย่างไร  โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค ยุคโบราณเป็นผลมาจากสงครามขยายอาณาเขตของพระมหากษัตริย์ ยุคที่สอง เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ยุคที่สาม เป็นผลมาจากการต่อสู้ทางอุดมการณ์และสงครามเย็น และยุคปัจจุบัน เป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์           สำหรับบทความนี้ คือ รัฐไทยหรือประเทศไทย มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามเย็นอย่างไร ผมคิดว่าหลายท่านคงอยากจะทราบ เพราะในยุคสงครามเย็นนั้น โลกของเราเต็มไปด้วยความตึงเครียดมาก โดยผมจะเล่าให้ท่านทราบตามหัวข้อดังนี้ คือ ความหมายของสงครามเย็น…

ไทย แลนด์หรือประเทศไทย ได้รับแรงกดดันจากชาติมหาอำนาจอย่างไร (2)(New***) 9

ไทย แลนด์หรือประเทศไทย ได้รับแรงกดดันจากชาติมหาอำนาจอย่างไร (2)(New***)

บทความนี้ นับเป็นบทความลำดับที่ 2 ในหมวด เรื่องเล่า ประเทศไทยกับชาติมหาอำนโดยจะกล่าวถึง ความนำ ผลจากสงครามขยายอาณาจักร ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลจากการต่อสู้ทางอุดมการณ์และสงครามเย็น ผลจากโลกาภิวัตน์ สรุป และคุยกับดร.ชา 1.ความนำ                         ในบทความที่แล้ว ผมได้กล่าวถึง สาเหตุทีทำให้ประเทศไทย ต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันของชาติมหาอำนาจตลอดมา นับตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา ผ่านมายุคกรุงรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งยุคปัจจุบัน  โดยมีชาติมหาอำนาจที่ได้แผ่อิทธิพลกดดันประเทศไทยหลายประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษหรือสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น                         สำหรับบทความนี้ ผมต้องการจะเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบว่า ชาติมหาอำนาจแผ่อิทธิพลและส่งแรงกดดันมายังไทย แลนด์หรือประเทศไทยได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่บางประเทศก็อยู่ห่างไกลเราคนละซีกโลก โดยผมขอแบ่งออกเป็นช่วง ๆ ดังนี้ ผลจากสงครามขยายอาณาเขต ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ผลจากการต่อสู้ทางอุดมการณ์และสงครามเย็น ผลจากโลกาภิวิตน์ 2.ผลจากสงครามขยายอาณาเขต          …

ประเทศไทย ต้องอยู่ท่ามกลางแรงกดดันของชาติมหาอำนาจตลอดมา เพราะเหตุใด (1) (New***) 10

ประเทศไทย ต้องอยู่ท่ามกลางแรงกดดันของชาติมหาอำนาจตลอดมา เพราะเหตุใด (1) (New***)

บทความนี้ นับเป็นบทความลำดับที่ 1 ของหมวด 9 เรื่องเล่า ประเทศไทยกับชาติมหาอำนาจ โดยจะกล่าวถึง แรงบันดาลใจในการเขียนบทความหมวดนี้  สาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องอยู่ภายใต้แรงกดกันของชาติมหาอำนาจตลอดมา ชาติมหาอำนาจที่ได้แข่งขันสร้างอิทธิพลในประเทศไทยในยุคต่าง ๆ และสรุป อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ผมได้เขียนบทความ หมวด เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา มาแล้ว จำนวน 8 บทความ โดยบทความล่าสุด คือ ทำไม การปฏิวัติรัฐประหาร จึงยากที่จะเกิดขึ้นได้ในอเมริกา ซึ่งเป็นชุดบทความที่จะช่วยให้ท่านมองเห็นภาพการเมืองการปกครองของอเมริกาซึ่งกำลังมีปัญหาต่อความมั่นคงของไทยอยู่ในเวลานี้ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 1.แรงบันดาลใจในการเขียนบทความหมวดนี้           การที่ผมเกิดแรงบันดาลใจเขียนบทความนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากเห็นว่า ประเทศไทยของเราในขณะนี้กำลังเผชิญวิกฤตการณ์การเมืองครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ด้วยสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ 1.1ความขัดแย้งระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า ความต้องการคนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งได้แสดงออกมาในรูปของข้อเรียกร้องในรูปแบบต่าง ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อม็อบเดินขบวนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 จนกระทั่งทุกวันนี้ โดยอ้างว่า ต้องการพัฒนาประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกโดยสมบูรณ์…

Share on Social Media
%d bloggers like this: