85 / 100

“การเลือกตั้ง ประธานาธิบดีอเมริกา ทำไมจึงดูสลับซับซ้อนมาก” เป็นบทความลำดับที่ 9 ของหมวด 8 เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา โดยจะกล่าวถึง ความนำ แนวคิดในการกำหนดที่มาของประธานาธิบดีอเมริกา ความสำคัญของตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาต่อเวทีโลก กระบวนการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาตามรัฐธรรมนูญ การลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปี 2020  สรุป และคุยกับดร.ชา

            อนึ่ง บทความก่อนหน้านี้ (8) ได้เล่าถึงเหตุผลตามรัฐธรรมนูญว่า ทำไม การปฏิวัติ รัฐประหาจึงยากที่จะเกิดขึ้นได้ในอเมริกา

Table of Contents

1.ความนำ

          หลังจากได้มีการหย่อนบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 46  รวมทั้งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และผู้ว่าการมลรัฐ ต่าง ๆ ที่ได้หมดวาระลง เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2021 ปรากฏว่า ผลการเลือกตั้งตำแหน่งอื่น ๆ นอกเหนือไปจากตำแหน่งประธานาธิบดี ไม่มีปัญหาอะไร

            แต่การลงคะแนนเลือกประธานาธิบดียังไม่ทราบผลเป็นทางการ และมีแนวโน้มไปในทิศทางจะเกิดความวุ่นวายมาก เพราะคะแนนที่ออกมาอย่างไม่เป็นทางการนั้น ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) มีคะแนนตามหลังผู้ท้าชิง คือ โจ ไบเดน (Joe Biden)  ทำให้ทรัมป์ มีแนวโน้มจะไม่ยอมรับผลการลงคะแนนและอาจนำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลสูง

            ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้คือ

  • แนวคิดในการกำหนดที่มาของประธานาธิบดีอเมริกา
  • ความสำคัญของตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา
  • กระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาตามรัฐธรรมนูญ
  • การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปี 2020

2.แนวคิดในการกำหนดที่มาของประธานาธิบดีอเมริกา

          ในบทความ (6) ผมได้กล่าวถึง การใช้นวัตกรรม ใหม่ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญอเมริกา ในส่วนที่เกี่ยวกับตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร คณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญมีความเห็นว่า ควรจะมีอำนาจมากกว่าผู้ว่าการมลรัฐ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้ แต่ต้องมีอำนาจน้อยกว่ากษัตริย์เพื่อป้องกันการหลงอำนาจ อันอาจจะนำไปสู่การเป็นเผด็จการหรือทรราชได้ในที่สุด

            คณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญมีความเห็นว่า ประธานาธิบดีอเมริกาต้องเป็นประมุขของประเทศที่สามารถปกป้องการคุกคามของพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งบริเตนได้ แต่ต้องไม่ผันแปรกลายเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 3 เสียเอง ดังนั้นจึงวางหลักไว้ว่า ตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาต้องได้รับเลือกตั้งทางอ้อม

3. ความสำคัญของตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาต่อเวทีโลก

          ด้วยอำนาจหน้าที่และบทบาทของผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา ทำให้ตำแหน่งนี้มีความสำคัญต่อเวทีโลก ดังนี้

ตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา มีบทบาทและอิทธิพลไปท่ั่วโลก
ตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา มีบทบาทและอิทธิพลไปท่ั่วโลก

            3.1 ประธานาธิบดีในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร

            ภายใต้ระบบการแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจ ประธานาธิบดีอเมริกา ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของประเทศ ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนทางอ้อม อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกินสองสมัย รวมเป็นระยะเวลาดำรงตำแหน่งได้ 8 ปี

            การที่ประธานาธิบดีอเมริกาสามารถดำรงตำแหน่งได้จนครบวาระ 4 ปี จึงทำให้เป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารที่มีเสถียรภาพ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจของสภาที่จะเอาประธานาธิบดีให้พ้นไปจากตำแหน่งเพราะเหตุงบประมาณไม่ผ่านการรับหลักการของสภาเหมือนอย่างนายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภา

โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีอเมริกา คนที่ 45(Wikipedia, Donald Trump. 9th December 2020)
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีอเมริกา คนที่ 45(Wikipedia, Donald Trump. 9th December 2020)

            3.2 ประธานาธิบดีในฐานะประมุขของประเทศ

             การที่ประธานาธิบดีอเมริกาเป็นทั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก ทำให้ประธานาธิบดี สามารถสร้างบทบาทเป็นผู้นำในเวทีการเมืองระหว่างประเทศได้ กล่าวคือ การกำหนดนโยบาย การแสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศของประธานาธิบดีอเมริกา จะได้รับความสนใจจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

            ทั้งนี้ เพราะนโยบายและแนวความคิดของประธานาธิบดีอเมริกาย่อมส่งผลกระทบไปทั่วโลก อย่างเช่น การทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในช่วงเวลาสี่ปีที่ผ่านมา (2017-2020)

            3.3 ประธานาธิบดีในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดของประเทศ

            ตามรัฐธรรมนูญอเมริกา มาตรา 2 อนุมาตรา 2 ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด (Commander-in-Chief) รวมทั้งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังอาสาสมัครของมลรัฐต่าง ๆ ในยามที่ความจำเป็นต้องเรียกใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ

                ด้วยอำนาจดังกล่าว จึงทำให้ประธานาธิบดีอเมริกาสามารถสั่งเคลื่อนย้ายกองกำลังทหารไปยังที่แห่งใดในโลกก็ได้ โดยไม่ต้องมีการประกาศสงครามถ้ามีความต้องการและจำเป็น ซึ่งเป็นอำนาจที่ใช้คุกคามประเทศที่ไม่เป็นมิตรกับอเมริกาได้ไม่ยาก

3.การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาตามรัฐธรรมนูญดูสลับซับซ้อน

          รัฐธรรมนูญอเมริกาที่เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีดูสลับซับซ้อน สรุปได้ ดังนี้

3.1 ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี (Elector)

                รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 2 วรรคสอง ให้สภานิติบัญญัติของแต่ละมลรัฐเป็นผู้มีอำนาจในการคัดเลือกบุคคลให้เป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี (Elector) โดยมีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาคองเกรสของแต่ละมลรัฐ แต่จะคัดเลือกเอาสมาชิกสภาคองเกรส  เข้ามาเป็นผู้เลือกตั้งของมลรัฐไม่ได้

            ตัวอย่าง

                มลรัฐที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 1 คน มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภา 2 คน จะมีจำนวนผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี จำนวน 3 คน

            3.2 การกำหนดวันเลือกผู้เลือกตั้ง (The time of choosing electors) และวันให้ผู้เลือกตั้งหย่อนบัตรเลือกประธานาธิบดี

            ให้เป็นอำนาจของสภาคองเกรส เป็นผู้กำหนดเป็นวันเดียวกันทั้งประเทศ (รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 2 วรรคสี่ )

            3.3 การหย่อนบัตรเลือกประธานาธิบดีของผู้เลือกตั้ง

            (รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 2 วรรคสาม และรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12/1804)

          เมื่อถึงวันหย่อนบัตรเลือกประธานาธิบดีของผู้เลือกตั้งตามที่สภาคองเกรสกำหนด ให้ผู้เลือกตั้งของแต่ละมลรัฐไปรวมกัน ณ สถานที่กำหนดไว้ของแต่ละมลรัฐ เพื่อทำการหย่อนบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี รวมทั้งรองประธานาธิบดี

            บัตรเลือกตั้ง มีอยู่ 2 ใบ ใบแรกสำหรับเลือกตั้งประธานาธิบดี และใบที่สอง สำหรับเลือกตั้งรองประธานาธิบดี

เมื่อได้หย่อนบัตรลงคะแนนแล้ว ให้แยกบัตรออกเป็นกล่อง กล่องแรก เป็นบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี และกล่องที่สอง เป็นบัตรเลือกตั้งรองประธานาธิบดี โดยมลรัฐต้องลงชื่อรับรองความถูกต้องแล้วส่งทางไปรษณีย์ละเบียนไปยังรัฐบาลกลางในนามของประธานวุฒิสภา

          3.4 การนับคะแนนจากบัตรเลือกตั้ง

(รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 2 วรรคสาม และรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12/1804)

เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับบัตรเลือกตั้งแล้ว ให้เรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อดำเนินการนับคะแนนต่อไป

ผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ต้องได้คะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เลือกตั้งทั้งหมด

3.5 กรณีไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนเสียงข้างมากเกินกว่ากึ่งหนึ่ง

(รัฐธรรมนูญ ฯ มาตรา 2 วรรคสาม และรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12/1804)

หากยังไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนเสียงข้างมากเกินกว่ากึ่งหนึ่ง กรณีเป็นตำแหน่งประธานาธิบดี ให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้เลือกตั้งต่อไป เพื่อหาผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงข้างมากเกินกว่ากึ่งหนึ่ง โดยมลรัฐหนึ่งให้เสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมกันเป็นหนึ่งเสียง

ทั้งนี้ องค์ประชุมดังกล่าวของสภาผู้แทนราษฎรต้องไม่น้อยกว่า 2/3

ส่วนกรณีไม่มีผู้ใดได้รับคะแนนเสียงในการเลือกตั้งเป็นรองประธานาธิบดีเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา โดยใช้หลักเกณฑ์ดำเนินการเช่นเดียวกันกับการเลือกประธานาธิบดีของสภาผู้แทนราษฎร

อนึ่ง ผมขอทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่า กรณีตาม 3.5 จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีเกินกว่า 2 คน เช่น มีผู้สมัครอิสระ 1-2 คน แต่ในทางปฏิบัติโอกาสที่ผู้สมัครในนามอิสระจะได้รับคะแนนจากผู้เลือกตั้งสูง ย่อมยากที่จะเป็นไปได้

4.การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปี 2020

          ตามปฏิทินเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปี 2020 มีกำหนดไว้ ดังนี้

            วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน 2020 (November 3, 2020)

วันเลือกตั้ง (General Election Day)

            วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2020 (Monday December 14, 2020)

            ผู้เลือกตั้งในแต่ละมลรัฐ (Electors) หย่อนบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี

            วันพุธที่ 6 มกราคม 2021 (Wednesday January 6, 2021)

            สภาคองเกรส นับคะแนนของผู้เลือกตั้งจากมลรัฐต่าง ๆ และรับรองผลการเลือกตั้ง

            (Congress counts and certifies the electoral votes)

วันพุธที่ 20 มกราคม 2021 (Wednesday January, 2021)

            วันสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี (Inauguration Day)

            ข้อสังเกต

          ตามปฏิทินเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปี 2020 แสดงให้เห็นว่า การหยอ่นบัตรลงคะแนนเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2020 เป็นเรื่องของแต่ละมลรัฐดำเนินการให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ได้ไปออกเสียงเพื่อเลือกผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีตามจำนวนที่แต่ละมลรัฐพึงมี

            ส่วนการให้ผู้เลือกตั้งของแต่ละมลรัฐ ไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีจริง ๆ คือ วันที่ 14 ธันวาคม 2020

            คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี (Electoral College)

            มีจำนวนทั้งหมด 538 คน ประกอบด้วยผู้เลือกตั้งจากมลรัฐต่าง ๆ 535 คน และผู้เลือกตั้งจากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.จำนวน 3 คน

            ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี จะต้องได้คะแนนจากผู้เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 270 คน

5.สรุป

          การลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา เป็นการลงคะแนนเลือกตั้งทางอ้อม กล่าวคือ ประชาชนเป็นผู้ออกเสียงเลือกผู้เลือกตั้งของแต่ละมลรัฐก่อนเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2020 ต่อจากนั้นผู้เลือกตั้งจำนวน 538 คน จึงจะไปหย่อนบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี รวมทั้งรองประธานาธิบดี ในวันที่ 14 ธันวาคม 2020

            ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี รวมทั้งรองประธานาธิบดี ต้องได้รับคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 270 เสียง

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม ศึกษาได้จาก คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

คู่สนทนาของผมวันนี้ ไม่มีใครเหมาะสมเท่ากับคุณเนรมิต (ชื่อสมมุติ) เพื่อนรักของผม ผู้เคยไปเรียนปริญญาตรี-โท ที่อเมริกา

“สวัสดีครับ คุณเนรมิต เราไม่ได้คุยกันมานานพอสมควร วันนี้ผมเห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จะเชิญท่านมาสนทนากันเกี่ยวกับเรื่องการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา ปี 2020 ซึ่งเพิ่งมีการลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2020

ผมขอเข้าประเด็นเลยนะ ทำไมการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาคราวนี้ดูเหมือนจะวุ่นวายมากกว่าทุกครั้ง ” ผมถามด้วยความกังขา

“ สวัสดีครับ ดร.ชา ผมดีใจที่ท่านกรุณาให้เกียรติเชิญผมมาสนทนากันอีกครั้งหนึ่ง

ในประเด็นที่ท่านถาม ผมมีความเห็นว่า สาเหตุที่ทำให้การลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาคราวนี้ดูสับสนวุ่นวายกว่าทุกครั้ง ก็เพราะประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ดูคะแนนจากการลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไปของแต่ละมลรัฐแล้วพบว่า มลรัฐที่ประชาชนออกเสียงเลือกลงคะแนนเลือกผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี ส่วนใหญ่จะเป็นมลรัฐที่เลือกผู้สมัครจากพรรคดีโมแครต คือ โจ ไบเดน มีมากกว่า จึงทำให้ท่านออกอาการหงุดหงิด

โจ ไบเดน วัย 78 ปี ผู้ที่กำลังจะชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอเมริกา คนที่ 46(Wikipedia, Joe Biden, 9th December 2020)
โจ ไบเดน วัย 78 ปี ผู้ที่กำลังจะชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอเมริกา คนที่ 46(Wikipedia, Joe Biden, 9th December 2020)

สไตล์ของทรัมป์ อย่างพวกเราได้เห็นหรือได้ยิน คือ ท่านเป็นคนชอบเอะอะโวยวาย หาว่า มีการโกงการลงคะแนนเลือกตั้ง เมื่อท่านโวยวายเช่นนี้ ข่าวจึงออกมาในเชิงว่า ท่านจะไม่ยอมรับผลการลงคะแนนเลือกตั้ง และอาจจะฟ้องร้องต่อศาลสูง ” คุณเนรมิต ตอบอย่างคนมองเห็นภาพการเมืองอเมริกันทะลุปรุโปร่ง

“ ผมอยากขอทราบความเห็นในประเด็นทีสอง คือ ทำไมการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาจึงดูสลับซับซ้อน จนยากที่คนต่างชาติจะเข้าใจ ” ผมถามเพื่อเอาคำตอบในเชิงลึก

สำหรับความเห็นในประเด็นนี้ ผมมีความเห็นเป็นสองประการ คือ

ประการแรก การลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นการลงคะแนนเลือกตั้งสองชั้น กล่าวคือ ประชาชนเลือกผู้เลือกตั้งของแต่ละมลรัฐก่อน อย่างการเลือกตั้งวันที่ 3 พฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมา ถ้าจะพูดให้ตรงกับข้อเท็จจริง คือ การเลือกผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีของแต่ละมลรัฐ ยังไม่ใช่การลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีจริง ๆ

หลังจากนั้น คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีจำนวนทั้งหมด 538 คน จะไปออกเสียงเลือกประธานาธิบดีอีกชั้นหนึ่ง ในวันที่ 14 ธันวาคม 2020 หากผู้สมัครคนใดได้รับเสียงข้างมากเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ผู้นั้นก็จะได้เป็นประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี กล่าวคือ ต้องได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีไม่น้อยกว่า 270 คะแนน

ประการที่สอง อเมริกาเป็นประเทศใหญ่ การลงคะแนนเลือกผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี เป็นอำนาจหน้าที่ของแต่ละมลรัฐในการบริหารจัดการ เวลาออกข่าวก็จะออกข่าวทีละมลรัฐ

ผู้สมัครแต่ละคน อาจจะได้คะแนนชนะในการลงคะแนนเลือกตั้งในบางมลรัฐ แต่ก็อาจจะแพ้ในอีกหลายมลรัฐ เวลาฟังข่าว พวกเราก็มักจะสบสันว่า อะไรกันแน่ เดี๋ยวแพ้ เดี๋ยวชนะ ” คุณเนรมิตตอบอย่างละเอียด

“ ผมขอถามประเด็นสุดท้าย เวลาออกข่าวแต่ละมลรัฐ จะมีข่าวออกมา ผู้สมัครคนใด ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชน (Popular vote) เท่าใด แต่บางครั้ง ผู้ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนมากกว่าไม่ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีก็มี น่าจะมีส่วนทำให้คนงงไหม ” ผมถามในสิ่งที่หลายคนอาจจะสงสัย

“ แน่นอน ดร.ชา เพราะคะแนนในการชี้ขาดว่า ใครได้รับเลือกตั้ง คือ คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งจำนวน 538 คนเท่านั้น ไม่ใช่คะแนนเสียงจากประชาชน เอาไว้คราวหน้า ถ้ามีโอกาสผมอยากจะขยายความเรื่องนี้ให้ท่านผู้เข้าใจอย่างชัดเจน ” คุณเนรมิตตอบแบบคิดว่า ท่านผู้อ่านจะไม่เข้าใจดี

“ดีมาก คุณเนรมิต วันนี้ขอขอบคุณมาก โอกาสหน้าค่อยคุยกันใหม่” ผมกล่าวขอบคุณพร้อมปิดการสนทนา

“ด้วยความยินดีครับ ดร.ชา”

ดร.ชา

9/12/20

Dr.Char

Mr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***) 2

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***)

Share on Social Media facebook email 91 / 100 Powered by Rank Math SEO “มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” เป็นบทความลำดับที่ 13 หมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก จะกล่าวถึง ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของมองโกเลีย ข้อมูลมองโกเลียในปัจจุบันที่ควรทราบ   ประวัติย่อของมองโกเลีย  ยุคจักรวรรดิมองโกลอันยิ่งใหญ่  วิเคราะห์เปรียบเทียบอาณาจักรมองโกล กับจักรวรรดิบริติช สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369           บทความที่เกี่ยวข้อง ประวัติ จีน ก่อนจีนยุคใหม่ “ จักรวรรดิจักรมองโกล (1206-1368)  เป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกันใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 24,000,000…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16) 3

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 5

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

5 COMMENTS

  1. ประธานาธิบดีของสหรัฐส่วนใหญ่จะชนะการเลือกตั้ง2สมัยติดต่อกัน แต่ประธานาธิบดีทรัมป์ได้เป็นสมัยเดียว ในมุมมองของอาจารย์ ทรัมป์มีจุดอ่อนตรงไหนคะ ขอบคุณค่ะ

    1. จุดอ่อนของทรัมป์ คือ ท่านไม่มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาก่อน รวมทั้งไม่เคยรับราชการมาก่อนด้วย เล่นการเมืองครั้งแรกก็ได้เป็นประธานาธิบดีเลย ผิดกับประธานาธฺบดีคนอื่นๆ ของอเมริกา ล้วนแล้วแต่เคยผ่านการดำร่งตำแหน่งทางการเมืองมากอ่น เช่น รองประธานาธิบดี ผู้ว่าการมลรัฐ สมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรี หรือเคยรับราชการททหารในช่วงสงครามโลก
      ดังน้ัน มุมมองหรือวิสัยทัศน์ของท่านจึงถนัดแต่มิติทางด้านธุรกิจ แต่มีจุดอ่อนในการตัดสินใจในมิติทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ ทำให้ความเป็นผู้นำของอเมริกาในเวทีการเมืองโลกถดถอยลงเป็นอันมาก

  2. ทรัมป์นำสหรัฐออกจากความร่วมมือข้อตกลงปารีส แต่ไบเดนได้นำสหรัฐเข้าร่วมข้อตกลงความร่วมมือปารีสอีกครั้ง จึงทำให้ไบเดนชนะการเลือกตั้ง ในมุมมองของอาจารย์มองเรื่องนี้อย่างไรคะขอบคุณค่ะ

    1. เรื่องนี้ คงไม่สำคัญถึงขั้นให้ไบเคนชนะเลือกตั้ง เป็นเพียงส่วนประกอบบ้าง เพราะคนมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งคือคนอเมริกัน ไม่ใช่ชาวโลก
      แต่ความล้มเหลวของทรัมป์ในการแก้ปัญหาโรคโคงิด-19 น่าจะส่งผลมากกว่า เนื่องจากมีผลหระทบต่อคนอเมริกันทั้งประเทศ

  3. ไจ ไบเดน ในอดีตเคยเป็นรองประกานาธิบดีสมัยโอบามา แต่ให้ทบทวนนโยบายโอบามาที่ดำเนินผิดพลาดต่อตะวันออกกลาง ด้านนนิวเคลียร์ อาจารย์คิดว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหนคะ ขอบคุณค่ะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: