87 / 100

โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่มีอันตรายต่อเจ้าตัวมาก หากไม่สามารถรักษาให้หายได้ หลายคนอาจคิดสั้น ดังที่ปรากฏเป็นข่าวให้พวกเราเห็นกันอยู่บ่อย ๆ

บทความนี้ เป็นบทความลำดับที่ 9 ของหมวด 4 ประสบการณ์การสั่งจิตใต้สำนึก เพื่อความสุขและความสำเร็จ มีหัวข้อดังนี้ ความนำ โรคซึมเศร้า คืออะไร ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า แนวทางในการรักษาโดยทั่วไป การป้องกันและรักษาด้วยจิตใต้สำนึก เรื่องราวของสดสวย เ เรื่องราวของมานพ สรุป และคุยกับดร.ชา

อนึ่ง บทความก่อนหน้านี้ (8) ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้การสั่ง จิตใต้สำนึก ไม่ประสบความสำเร็จ

คนเป็นโรคซึมเศร้า มักมองตนเองในแง่ลบ และสิ้นหวัง (Wikipedia, โรคซีมเศร้า, 4 กุมภาพันธ์ 2021)
คนเป็นโรคซึมเศร้า มักมองตนเองในแง่ลบ และสิ้นหวัง (Wikipedia, โรคซีมเศร้า, 4 กุมภาพันธ์ 2021)

Table of Contents

1.ความนำ

            โลกยุคปัจจุบันนี้ เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย มีการต่อสู้แย่งชิงแข่งขันกันในทุกระดับ นับแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ ภูมิภาค ไปจนถึงระดับโลก

            การที่ต้องสู้แย่งชิงกันนั้น ทำให้ผู้ที่ผิดหวังหรือพ่ายแพ้ในการแข่งขันเกิดความเครียด และในที่สุดอาจจะนำไปสู่การเป็นโรคเครียดหรือซึมเศร้า

            จะเห็นได้ว่า โรคเครียดหรือซึมเศร้า เป็นอาการทางจิต หากแก้ไขอาการทางจิตได้ อาการของโรคก็จะทุเลาเบาบางลงตามลำดับ จนอาจจะหายขาดได้ในที่สุด

            บทความนี้ต้องการ นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับโรคดังกล่าว ทั้งในด้านความหมาย สาเหตุ แนวทางในการป้องกันและรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จิตใต้สำนึก รวมทั้งตัวอย่างประกอบเท่าที่ผมได้เคยสัมผัสหรือเห็นมา

2.โรคซึมเศร้า คืออะไร

      ตามวิกิพีเดีย ได้ให้ความหมายของคำว่า โรคซึมเศร้า (major depressive disorder-MDD) ไว้ว่า เป็นความผิดปกติทางจิต ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การสูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เกิดความเพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

            ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ  บางรายมีอาการตลอดเวลา โรคนี้สามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลายเรื่อง ๆ เช่น

           ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการนอนหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป

            ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เป็นผู้ใหญ่ ร้อยละ2 -7 เสียชีวิตจาการฆ่าตัวตาย และประมาณร้อยละ 60 ของกลุ่มผู้ฆ่าตัวตายดังกล่าวมีความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่นร่วมด้วย

            จะเห็นได้ว่า โรคซึมเศร้า หรือโรคภาวะซึมเศร้า  เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรืออาจจะรู้สึกว่า ตนเองด้อยค่า ซึ่งเป็นอาการที่มีความรุนแรงและยาวนานกว่าคนปกติทั่วไป ถึงขั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

3. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

ตามเว็บไซต์ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ มาโนช หล่อตระกูล ได้กล่าวถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญชองคนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า สรุปได้ดังนี้

            3.1 อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป

      คนที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า มักจะกลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ รู้สึกสะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย บางรายอาจจะมีจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส สดชื่นเหมือนเดิม บางรายรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดเสียทุกสิ่งทุกอย่าง บางคนมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย ดูอะไรช่างขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนเมื่อก่อน

3.2 ความคิดเปลี่ยนไป

คนที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า มักจะมีความรู้สึกว่า ทุกอย่างเลวร้ายหรือแย่ลง มองไปในอดีตเห็นแต่ความล้มเหลวของตนเอง ไม่มีใครช่วยได้ มองไม่เห็นอนาคต รู้สึกท้อแท้กับชีวิต ขาดความมั่นใจในตนเอง รู้สึกว่า ตนเองไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น แม้ว่าญาติพี่น้องหรือเพื่อนๆ จะยินดีให้ความช่วยเหลือก็ตาม

      ด้วยความคิดเช่นนี้ จึงอาจจะเกิดความคิดอยากจะตาย หากมีเหตุการณ์อะไรมากระทบกระเทือนจิตใจอาจจะเกิดอารมณ์ชั่ววูบถึงขั้นทำร้ายตนเองได้

3.3 สมาธิความจำแย่ลง 

        คนที่เป็นโรคภาวะซึมเศร้า มักจะเป็นคนหลงลืมง่าย จำไม่ได้ว่า วางสิ่งของไว้ที่ใด จำไม่ได้ว่า มีใครพูดอะไรกับตน จิตใจเหม่อลอย อ่านหนังสือได้ไม่ถึงหน้า ดูทีวีนาน ๆ ก็ไม่รู้เรื่อง ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง ทำงานผิด ๆ ถูก ๆ

3.4 มีอาการทางร่างกาย

            คนที่เป็นโรคภาวะซึมเศร้า มักจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวมีแรง ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากจะทำอะไร ทำให้คนอื่นมองว่า เป็นคนขี้เกียจ มีปัญหาในการนอนหลับ นอนหลับยาก เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงมาก มีอาการท้องผูก แน่นทอง ปากคอแห้ง ปวดหัว หรือปวดเมื่อยตามตัว 

3.5 ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป 

        ผู้ป่วยเป็นโรคนี้ มักจะดูเซื่องซึมลง ไม่แจ่มใสร่าเริงเหมือนเมื่อก่อน ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย หากคนรอบข้างไม่เข้าใจหรือเห็นใจ อาจเกิดปากเสียงทะเละกันได้

3.6 การงานแย่ลง

            คนที่ป่วยเป็นโรคนี้ จะทำงานได้ไม่ดี เพราะความรับผิดชอบลดลง จะทำงานอย่างลวก ๆ พอให้พ้นไป ทำงานที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบไม่ได้เพราะขาดสมาธิ

3.7 อาการโรคจิต

        คนป่วยโรคนี้ หากอาการรุนแรง จะมีอาการของโรคจิตด้วย คือ มีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอน เช่น เชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้งตน หรือมีความประสงค์ร้ายต่อตน หรืออาจมีอาการหูแว่วได้ยินเสียงคนมาพูดคุยด้วย อาการเหล่านี้มักจะเป็นอยู่ชั่วคราว หากได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าลดลง อาการโรคจิตก็จะเบาบางลง

4. สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภาวะซึมเศร้า

          ตามเว็บไซต์ของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคภาวะซึมเศร้าว่า มีอยู่ 3 ประการ คือ

                4.1 เกิดจากกรรมพันธุ์

                พบว่า ภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัย  เช่น การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการทางจิตใจรวมทั้งปัจจัยทางชีวาภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ด้วย

                4.2 เกิดจากสารเคมีในสมอง

                พบว่า ผู้ป่วยโรคภาวะซึมเศร้า มีระบบสารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน โดยมีสารที่สำคัญลดต่ำลง คือ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine)  รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของเซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้ 

                4.3 ลักษณะนิสัย

                พบว่า บางคนมีนิสัยที่จะทำให้เกิดโรคภาวะซึมเศร้าได้ เช่น การมองเห็นตนเองในแต่แง่ลบ มองเห็นแต่ความบกพร่องของตนเองหรือการมองโลกในแง่ร้าย เมื่อเผชิญสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูกทอดทิ้ง จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย หากไม่ได้รับการแก้ไข ก็อาจจะกลายเป็นโรคภาวะซึมเศร้าได้

5.แนวทางในการรักษา

            แนวทางในการรักษาโรคภาวะซึมเศร้า อาจแบ่งเป็น 3 แนวทางกว้าง ๆ คือ

            5.1 การรักษาด้วยการไปพบจิตแพทย์

            หากมีอาการมาก จิตแพทย์อาจรรักษาด้วยการให้กินยาแก้ซึมเศร้า ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นหรืออาจจะหายขาดได้

            5.2 การรักษาด้วยพูดคุยทำความเข้าใจกับคนป่วย ให้เปลี่ยนมุมมองชีวิต

            หากคนป่วยไม่มีอาการมากจนเกินไป การพูดคุยทำความเข้าใจบ่อย ๆ กับคนป่วยให้เปลี่ยนมุมมองชีวิต อาการก็อาจจะทุเลาลง

            5.3 การรักษาด้วยการสั่งจิตใต้สำนึก

            การสั่งจิตใต้สำนึก จะทำให้คนป่วยมีอาการดีขึ้น เพราะอาการป่วยโรคภาวะซึมเศร้ามีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ การมีความคิดลบต่อตัวเอง

6.การป้องกันและรักษาด้วยจิตใต้สำนึก

        การออกคำสั่งจิตใต้สำนึก สามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและรักษาโรคภาวะซึมเศร้าได้ เพราะเป็นการแก้ที่ต้นตอ คือ จิต

            การสั่งจิตใต้สำนึกมีอยู่ 2 แนวทาง คือ

            6.1 การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก มีอยู่ 2 วิธี

                6.1.1 การท่องบ่นในสิ่งที่ต้องการจะได้หรือต้องการจะเป็น

            การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก หมายถึง การพูดหรือท่องชุดคำสั่งในสิ่งที่เราต้องการจะได้หรือต้องการจะเป็นด้วยเสียงอันดัง เพื่อให้ตัวเราได้ยินเสียงตนเอง วันละอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ ก่อนนอน และหลังตื่นนอน โดยแต่ละครั้งให้พูดหรือท่องข้อความที่เราเขียนไว้ซ้ำ ๆ หลายครั้ง พร้อมกับสร้างจินตนาการให้เห็นภาพแห่งความสำเร็จให้ชัดเจน จนเกิดความเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เราต้องการจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เราสร้างขึ้นมา ครั้งหนึ่งควรจะใช้เวลาประมาณ 5 นาที

            ตัวอย่างชุดคำสั่งจิตใต้สำนึก

          “นักจากวันนี้เป็นต้นไป เราจะเป็นคนมีจิตใจสงบ เบิกบาน มีจิตที่ผ่อนคลาย และมีความเชื่อมั่นในตนเอง เพราะเราก็เป็นคนหนึ่งที่มีความรู้สามารถ ไม่แพ้คนอื่น

          แม้จะปัญหาอะไรเกิดขึ้น เราก็สามารถแก้ไขหรือข้ามไปได้เหมือนคนปกติทั่วไป ”

                6.1.2 การสร้างสภาวะแวดล้อมในบ้าน

                   อาจจะเขียนข้อความในแผ่นกระดาษ ให้มีขนาดโตพอสมควร ปิดแสดงไว้ในห้องนอนหรือห้องรับแขก เพื่อสามารถมองเห็นข้อความที่จะใช้เป็นคำสั่งจิตใต้สำนึกได้บ่อย ๆ

                        การได้เห็นข้อความหรือการได้ยินคำสั่งจิตใต้สำนึกบ่อย ๆ จะทำให้คำสั่งนั้นฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา จนกระทั่งจิตใต้สำนึกเชื่อ ก็จะทำให้มีการกระทำในทางบวกหรือทางสร้างสรรค์ตามชุดคำสั่งจิตใต้สำนึกเกิดขึ้นได้จริง

          6.2 การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน

            การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน หมายถึง การสั่งจิตใต้สำนึกในใจ ไม่ได้พูดออกมาให้เห็นใครได้ยิน ได้ยินเฉพาะตัวเราคนเดียว

            การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน ปกติต้องนอนหงาย ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ตามกระบวนการสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน จนกระทั่งรู้สึกว่า ตัวเราตกอยู่ในภวังค์ หรือภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น แล้วจึงออกคำสั่งจิตใต้สำนึก

            ตัวอย่างการออกคำสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อป้องกันหรือรักษาโรคภาวะซึมเศร้า

            “ ด้วยพลังจิตใต้สำนึกอันไร้ขอบเขต นับจากวันนี้เป็นต้นไป ชีวิตของเราจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ไม่จมอยู่กับอดีตอีกต่อไป

            เราเป็นคนเข้มแข็ง เชื่อมั่นในตนเอง มีจิตใจแจ่มใส ร่าเริงเหมือนคนอื่น ๆ

            แม้มีปัญหาอุปสรรคใด ๆ  เราก็สามารถแก้ไขให้ผ่านพ้นไปได้เหมือนคนอื่น ๆ

        ชีวิตของเราก็เป็นปกติเหมือนคนอื่น ๆ ไม่มีอะไรแตกต่างกัน

            ทุกคนเป็นมิตรกับเรา ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ญาติพี่น้อง มิตรสหายล้วนเป็นมิตรกับเรา รักเราเหมือนที่เราก็รักเขา ”

            การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน อาจสั่งกลับกลับมา จนเกิดความรู้สึกผ่อนคลายและเชื่อมั่น ซึ่งอาจจะใช้เวลาระหว่าง 15-30 นาทีหรืออาจจะมากกว่าก็ได้

            การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน ควรจะทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือก่อนนอน และหลังตื่นนอน ครั้งละประมาณ 15-30 นาที

7.เรื่องราวของสดสวย

        จุดเริ่มต้น

สดสวย เป็นเพื่อนบ้านของผม อายุราว 50 ปี ผมทราบว่า สดสวยมีอาการเป็นโรคไตเสื่อมระยะที่ 4 ทำให้สดสวยทุกข์ใจมาก เกิดความเครียดจนเกือบจะกลายเป็นโรคภาวะซึมเศร้า น้ำหนักตัวลดลงหลายกิโล วันหนึ่งผมได้เจอสดสวย จึงได้ถามถึงอาการของโรคที่เกิดขึ้น พร้อมกับถามว่า ทุกวันนี้รักษาอย่างไร

สดสวยตอบผมว่า ก็ไปหาหมอโรงพยาบาลตามนัด แต่โรงพยาบาลไม่มียาแก้ไตเสื่อม เพียงแต่ตรวจและบอกได้ว่า ไตเสื่อมระยะเท่าใด  หากไตเสื่อมถึงระยะที่ห้า ก็คงต้องฟอกไตเหมือนอย่างคนอื่น ๆ

ชี้แนะทางเลือกใหม่

ผมรู้สึกสงสารสดสวย จึงให้คำแนะนำด้วยความคิดสร้างสรรค์ว่า ในเมื่อเรารักษาแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว อาการไตเสื่อมไม่ดีขึ้น ก็น่าจะลองรักษาแผนแพทย์ไทยดู ผมได้แนะนำให้แพทย์แผนไทยที่คลินิกแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วประเทศให้สดสวยได้คุยกัน ส่วนจะถูกใจหรือพอใจหรือไม่ ก็ให้ตัดสินใจเอาเอง

ผมได้บอกสดสวยว่า การรักษาที่คลินิกแพทย์แผนไทยดังกล่าว มีผลข้างเคียงอยู่อย่างหนึ่ง คือ          “ เราต้องเสียเงินค่ายาเอาเอง ไม่เหมือนการรักษาที่โรงพยาบาลหลวง ที่หลวงออกค่าใช้จ่ายให้ ” ผมอดสัพยอกสดสวยไม่ได้ ตามประสาคนคุ้นเคยกัน สดสวยอดหัวเราะชอบใจไม่ได้ราวกับว่าหายป่วยแล้ว

แพทย์แผนไทยคนนี้ เคยออกทีวีและยืนยันว่า โรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่หมอแผนปัจจุบันบอกว่า ยากที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่ที่คลินิกแพทย์แผนไทยดังกล่าวสามารถรักษาให้หายขาดได้

            หลังจากได้คุยกับแพทย์แผนไทยจากคลินิกดังกล่าวแล้ว สดสวยได้ปรึกษาครอบครัวก่อนจะตัดสินใจ ทีแรกครอบครัวไม่เห็นด้วย กลัวจะถูกหลอกเสียเงินทองเปล่า ๆ เพราะค่ายาที่ต้องกิน คิดเป็นจำนวนไม่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับฐานะของสดสวย

        ข้อแนะนำในการให้กำลังใจตนเอง

            แต่สดสวยบอกว่า ได้ตัดสินใจแล้วว่า จะขอเลือกการรักษากับแพทย์แผนไทยตามที่ผมได้แนะนำ เพราะมองไม่เห็นทางเลือกอื่นอีกแล้ว

            ผมได้แนะนำสดสวยว่า การรักษาโรคเรื้อรัง คนป่วยต้องมีจิตใจเข้มแข็ง และต้องมีความเชื่อมั่นในวิธีการรักษา จึงจะทำให้การรักษาประสบผลดียิ่งขึ้น เพราะการรักษาโรคเรื้อรังตามแนวแพทย์แผนไทยดังกล่าว ผู้ป่วยต้องปรับพฤติกรรมในการอยู่การกินหลายอย่าง ไม่ใช่หวังพึ่งแต่ยาจากหมออย่างเดียว

       สดสวยยอมทำตามคำแนะนำของผมทุกอย่างดังนี้

            ข้อแรก ให้ท่องบ่น ก่อนอนและหลังตื่นนอนทุกวันว่า

          “เราเชื่อมั่นว่า ภายในเวลา ไม่เกิน 3 เดือน นับจากวันนี้เป็นต้นไป อาการโรคไตเสื่อมของเราจะต้องดีขึ้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจ เพราะเราได้พบหมอและยาที่เราเชื่อมั่นแล้ว

            เราพร้อมที่จะปรับพฤติกรรมในการอยู่การกินของเราทุกอย่างให้สอดคล้องกับแนวทางที่คุณหมอกำหนดไว้ ”

            ข้อสอง ให้ไปวัดใดก็ได้ ที่สดสวยเชื่อถือและศรัทธา ขอบนบานต่อสิ่งศักดิ์ในวัดว่า หากหายป่วยจากโรคไตเสื่อม จะถวายอะไรก็ว่าไป ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของเรา

            ข้อสาม ให้ไปตรวจเลือดที่ ศูนย์แล็บ ของเอกชน เพื่อให้ทราบค่าการทำงานของไต เสร็จแล้วส่งผลการตรวจเลือดไปให้คลินิกแพทย์แผนไทยทราบและใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคและสั่งยาต่อไป

       เวลาผ่านไปหนึ่งเดือน

          สดสวยบอกว่า มีความรู้สึกว่า สุขภาพแข็งแรงดีขึ้นกว่าเดิมมาก จำนวนครั้งในการปัสสาวะตอนกลางคืนลดลงจากเดิม เหลือเพียง 1-2 ครั้งเหมือนคนปกติทั่วไป คนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ สามี และลูกที่เคยทะเลาะกันในเรื่องอาการป่วยที่สิ้นหวังของตน ก่อนที่จะหันมารักษาแนวแพทย์แผนไทย เวลานี้ได้หันกลับมาคืนดีกัน คุยกันสนุกสนานราวกับว่า ตนได้หายป่วยแล้ว ทั้ง ๆ ที่เวลาเพิ่งผ่านไปได้เดือนเดียว

       ยืนยันจะรักษาต่อไป

          แม้อาการป่วยโรคไตเสื่อมยังไม่หาย แต่อาการป่วยโดยรวมก็ดีขึ้น สดสวยบอกผมว่า จะรักษาต่อไป แม้ว่าอาจจะต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อย เพราะอาการโดยรวมดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด พร้อมกับกล่าวขอบคุณผมที่ให้คำแนะนำและคอยให้กำลังใจ

8.เรื่องของมานพ

            เมื่อครั้งผมยังรับราชการอยู่ ผมมีเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ชื่อว่า มานพ  เขาเป็นคนสุภาพเรียบร้อย น่ารักและน่าคบ

            แต่ชีวิตคนไม่มีอะไรแน่ ในปีสุดท้ายก่อนจะเกษียณอายุราชการ เขาได้รับคำสั่งให้ไปประจำที่ทำเนียบ เนื่องจากถูกหาว่า กระทำการทุจริตในเรื่องหนึ่ง ร่วมกับเพื่อน ๆ อีกหลายคน

            หลังจากได้เกษียณอายุราชการ มานพเอาแต่เก็บตัว ไม่ยอมออกจากบ้าน กลายเป็นโรคภาวะซึมเศร้า ในขณะเดียวกันเรื่องราวที่ถูกกล่าวหา ก็ยังไม่คืบหน้าไปถึงไหน จนเวลาผ่านไปร่วม 5-6 ปี ผมได้ทราบข่าวอันน่าเสียใจว่า มานพมีอาการเครียดหนัก กลายเป็นคนโรคภาวะซึมเศร้า และเป็นมะเร็ง ถึงแก่กรรมเสียแล้ว ในขณะที่เพื่อน ๆ ที่ร่วมชะตากรรมเดียวกัน ก็ยังมีชีวิตพร้อมที่จะเผชิญชะตากรรมต่อไป

            ผมอดคิดไม่ได้ว่า หากผมได้มีโอกาสให้คำแนะนะมานพ ให้รู้จักให้กำลังใจตนเองด้วยกระบวนสั่งจิตใต้สำนึก เรื่องราวของมานพก็อาจจะไม่จบลงด้วยความโศกเศร้าเช่นนี้ก็ได้

9.สรุป

          บทความนี้ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า โรคภาวะซึมเศร้า เป็นโรคที่อาจเกิดจากรรมพันธุ์ สารเคมีบางตัวในสมอง และอุปนิสัยบางอย่าง คนที่เป็นโรคนี้มักมองเห็นว่า ตนเองเป็นคนไม่มีคุณค่า เป็นคนชอบตำหนิตนเอง และถ้ามีอาการรุนแรงมาก อาจจะเกิดความเครียดหนักถึงขั้นคิดทำลายชีวิตตนเอง

            แนวทางในการรักษาโรคนี้ มีอยู่ 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ หากมีอาการรุนแรงมาก ควรจะไปพบจิตแพทย์ อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ แต่ถ้ามีอาการไม่มาก ก็อาจจะใช้แนวทาวการสั่งจิตใต้สำนึก เพื่อทำให้จิตเข้มแข็ง มองโลกในทางบวก ไม่ดูถูกตัวเอง

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ในหัวข้อ คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

คุณเอมกับสามี
คุณเอมกับสามี

          คู่สนทนาของผมในวันนี้ คือ คุณบุญญสรณ์หรือคุณเอม ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดกับผมมากคนหนึ่งเมื่อครั้งที่ผมยังรับราชการอยู่

            “สวัสดีคุณเอม วันนี้อาจารย์อยากจะชวนคุยเรื่องโรคภาวะซึมเศร้าหน่อย น่าสนใจไหม” ผมทักทายพร้อมบอกหัวข้อ

            “ ดีค่ะอาจารย์ โรคภาวะซึมเศร้านี้ ดิฉันเข้าใจว่า เป็นโรคที่เกิดจากความรู้สึกผิดหวัง ไม่สมหวัง ไม่ได้อย่างใจคิด หรือมีความวิตกกังวลในบางเรื่องหรือหลายเรื่อง โดยผู้ป่วยมักอยากอยู่คนเดียว รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มั่นใจในตัวเอง ส่วนใหญ่จะคิดไปในทางลบเกี่ยวกับตัวเอง หากเป็นมาก ๆ อาจจะทำร้ายตนเองหรือคนรอบข้างได้ ” คุณเอมรีบแสดงความเห็นก่อนที่ผมจะถาม

            “ดีมาก คุณเอม เป็นนิยามที่สั้น กระชับ และชัดเจนทีเดียว ว่าแต่คุณเอมเคยได้สัมผัสคนที่เป็นโรคภาวะซึมเศร้าด้วยตนเองบ้างไหม ” ผมเริ่มถามในประเด็นแรก

            “เคยค่ะ อาจารย์ ก็ลูกสาวเพื่อนบ้านดิฉันเอง วัน ๆ ก็ขลุกอยู่แต่ในห้อง ไม่พูดจากับใคร เรียบจบแล้วก็ไม่ยอมไปหางานทำ คงเป็นภาระให้พ่อแม่ต้องเลี้ยงดูตลอดไปนั่นแหละ

            บางครั้ง อาการกำเริบมาก เห็นด่าพ่อแม่ด้วยคำหยาบก็มี ” คุณเอมเล่าถึง

อาการลูกสาวของเพื่อนบ้าน

            “ อย่างนี้ก็แสดงว่า คุณเอม มองเห็นภาพของคนที่เป็นโรคภาวะซึมเศร้าได้อย่างชัดเจน

อาจารย์ขอถามในประเด็นต่อไปว่า คนที่เป็นโรคภาวะซึมเศร้านี้ มีจุดที่น่าเป็นห่วงที่สุด คืออะไร ” ผมถามถึงจุดอันตรายของคนเป็นโรคนี้

            “ ดิฉันคิดว่า คนที่เป็นโรคนี้ ถ้ามีอาการหนัก น่าจะมีแนวโน้มไปในทางฆ่าตัวเองหรือไม่ก็อาจทำร้ายคนรอบข้าง เพราะเห็นว่า ชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า อาจเป็นโรคเรื้องรังบางอย่าง รักษาเท่าใดก็ไม่หายเสียที จึงคิดสั้น ขนาดบางคนเคยเป็นคนชื่อเสียง มียศใหญ่โตถึงระดับพลตำรวจเอก ก็เคยมีข่าวในทำนองนี้ ”คุณเอมยกตัวอย่างระดับคนดังให้ฟัง

            “ อ๋อ อาจารย์นึกออกแล้วว่า คุณเอมหมายถึงใคร ถ้าอย่างนั้น อาจารย์ขอถามประเด็นที่สามว่า คนที่ป่วยเป็นโรคภาวะซึมเศร้าจำเป็นต้องไปพบจิตแพทย์ไหม ” ผมถามถึงแนวทางรักษา

คุณเอม ในอีกอิริยายาบถหนึ่ง
คุณเอม ในอีกอิริยายาบถหนึ่

            “ดิฉันคิดว่า ขึ้นอยู่กับอาการ เพราะการพาคนป่วยไปพบจิตแพทย์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หากเจ้าตัวไม่ยอมไปก็คงยากเหมือนกัน

            แม้ไปพบจิตแพทย์ แต่เมื่อกลับมาบ้าน เราคือคนในครอบครัวก็ต้องคงต้องช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด

            แต่ถ้าอาการไม่มาก ดิฉันคิดว่า น่าจะสอนให้คนป่วยรู้จักการออกคำสั่งจิตใต้สำนึก อาจจะเป็นการออกคำสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก หรือการออกคำสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน ตามที่อาจารย์ได้ชี้แนะแนวทางไว้

            ถ้าคนป่วยยอมรับการชี้แนะ ปัญหาอาการป่วยก็น่าจะค่อย ๆ ทุเลาเบาบางลง จนหายขาดได้ในที่สุด ” คุณเอมอธิบายรวดเดียวอย่างมั่นใจในความคิดเห็น

            “นั่นสินะ ผมเองก็คิดอย่างคุณเอมเหมือนกันว่า คนในครอบครัวจะสามารถแนะนำคนป่วยได้มากน้อยเพียงใด

            แต่อาจารย์คิดว่า ก็น่าจะลองดูนะ ไม่ลองก็ไม่รู้ ใช่ไหมคุณเอม” ผมแสดงความเห็นในเชิงตั้งคำถามไปด้วย

            “ดิฉันก็คิดเช่นนั้น ดูตัวอย่างเรื่องราวของคุณสดใส ที่อาจารย์เล่ามา จากคนหมดความหวังในการรักษาโรคไตเสื่อม กลับเป็นมีความหวังขึ้นมา พร้อมกับตั้งใจจะรักษาตามแนวทางใหม่ตามที่อาจารย์แนะนำ ” คุณเอมย้อนไปพูดถึงเรื่องราวของสดสวย

            “ เอาล่ะนะ คุณเอม วันนี้เราได้พูดคุยกันพอสมควรแล้ว อาจารย์ขอขอบคุณมากที่สละเวลาอันมีค่ามาพูดคุยในสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านไม่น้อย

            พบกันใหม่คราวต่อไป  โชคดี มีเงินใช้ ร่ำรวย ๆ ๆ ” ผมขอบคุณพร้อมอวยพร

            “ขอบคุณอาจารย์มาก มีโอกาสจะไปเยี่ยมอาจารย์ที่นครศรีธรรมราช จะถือโอกาสไปขอโชคลาภหรือไปแก้บนกับไอ้ไข่วัดเจดีย์ด้วย ” คุณเอมกล่าวแบบคนเคยไปแก้บนไอ้ไข่มาแล้วครั้งหนึ่ง

                                                ดร.ชา

                                                                        4/02/21

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

15 COMMENTS

  1. ขอบคุณคุณหมอเอมที่มาเป็นคู่สนทนากับอาจารย์ในวันนี้ด้วยค่ะ

    1. ขอบคุณ้ช่นกันค่ะที่ติดตามบทความและสาระดีๆ ที่ท่านอาจารย์ ดร.ชาตรีเขียน และแสดงว่าที่ดิฉันตอบในบทสนทนาท่านอาจารย์ได้ช่วยเรียบเรียงให้ด้วยเพือให้ท่านผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้นค่ะ อิอิ

  2. ในสภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และการว่างงานสูง ในบ้านเราเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้านอกจากการสั่งจิตแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ หรืออาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรคะ

    1. การสังจิตใต้สำนึกเป็นเพียงการเริ่มต้น การกระทำที่ตามมาต่างหากที่ทำให้เกิดความสำเร็จจริง ๆ

    2. การกระทำตามที่จิตใต้สำนึกสั่ง เป็นตัวที่ทำให้เกิดความสำเร็จ หากไม่มีการกระทำ ความสำเร็จก็จะไม่เกิดขึ้น

  3. ข่าวนำเสนอการฆ่าตัวตายของบุคคลมีชื่อเสียงของเกาหลี ส่วนใหญ่มีอายุ20ต้นๆ ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ทั้งที่ประเทศเกาหลีก็มีความเจริญก้าวหน้ากว่าบ้านเรา การฆ่าตัวตายไม่น่าจะเกิดขึ้นบ่อย
    หรืออาจารย์มองในแนวทางไหน ขอบคุณค่ะ

    1. ประเทศที่มีความเจริญทางวัตถุมาก ๆ ผู้คนอาจจะรู้สึกว้าเหว่หรือโดดเดี่ยวกว่าประเทศที่มีความเจริญทางวัตถุน้อย เพราะมีการแข่งขันสูงกว่า

  4. ว้าว อาจารย์เขียนดีม่กเลยค่ะ ไม่ผิดจากที่ตอบสักคำเลยค่ะ อ่านสนุกได้สาระมากๆ ค่ะ

    1. ขอบคุณมาก คุณบุญญสรณ์ ที่กรุณาสละเวลามาเป็นคู่สนทนากับอาจารย์ในบทความนี้ ทำให้บทความนี้ดูมีอรรถรสมากยิ่งขึ้น

      1. ท่านอาจารย์ช่วยเรียบเรียงเลยอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ

      2. ด้วยความยินดีค่ะท่านอาจารย์

  5. เป็นกำลังใจ ให้อาจารย์ และคอยติดตามผลงานอาจารย์ตลอดเลยค่ะ

  6. โอกาสหน้าคุณบุญญสรณ์ จะได้มาเล่าเรื่องจิตใต้สำนึกให้ฟังอีกไหมคะ อาจารย์

    1. ขอบพระคุณมรกค่ะที่ท่านให้ความสนใจการสนนา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าถ้าได้รับเชิญจากท่านอาจารย์ ดร.ชาตรี คงได้มาร่วมสนทนาอีกค่ะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: