69 / 100

สำหรับ บทความ (8) ระบบตำรวจ ของ เยอรมัน-ระบบตำรวจแตกต่างจากอเมริกา (ต่อ) จะเล่าเปรียบเทียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างของระบบตำรวจ เยอรมัน-อเมริกา และเยอรมัน-ไทย สรุป และปิดท้ายด้วย คุยกับดร.ชา

อนึ่ง บทความก่อนหน้านี้ คือ บทความ (7) ได้เล่าถึงระบบศาลของเยอรมัน และระบบตำรวจของเยอรมัน

1.คำนำ

            ดังได้เล่ามาแล้วว่า ประเทศเยอรมันเป็นประเทศรัฐรวมเช่นเดียวกับประเทศอเมริกา มีรัฐบาลสองระดับเหมือนกัน คือ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐ แต่ระบบตำรวจของเยอรมันก็มิได้เหมือนระบบตำรวจของอเมริกาเสียทีเดียว ยังมีข้อแตกต่างกันที่เห็นได้ชัด

            ส่วนไทยเป็นประเทศรัฐเดี่ยวที่มีการปกครองส่วนภูมิภาค มีรูปแบบการปกครองประเทศแตกต่างจากเยอรมัน จึงส่งผลให้มีระบบตำรวจที่แตกต่างกันเห็นได้อย่างชัดเจน

2.เปรียบเทียบระบบตำรวจเยอรมัน-อเมริกา

          การเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างระบบตำรวจของเยอรมัน กับระบบตำรวจของ อเมริกา อาจเปรียบเทียบให้เห็นตามหัวข้อ ดังนี้

            2.1. ภาพรวม แม้เยอรมันและอเมริกา ต่างเป็นประเทศรัฐรวมเหมือนกัน แต่ระบบตำรวจไม่ได้เหมือนกัน มีเหมือนกันเฉพาะตรงที่ทั้งสองประเทศต่างไม่ได้ใช้ระบบตำรวจแห่งชาติเหมือนกัน

            2.2 ระบบตำรวจของเยอรมันแบ่งออกเป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ ระบบตำรวจมลรัฐ และระบบตำรวจของรัฐบาลกลาง

การปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้นของตำรวจเยอรมัน (Wikipedia, Federal Police (Germanry), 18th August 2020)
การปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจค้นของตำรวจเยอรมัน (Wikipedia, Federal Police (Germanry), 18th August 2020)

            ประเทศเยอรมันถือเอาระบบตำรวจมลรัฐเป็นระบบตำรวจจหลักของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับระบบศาลของเยอรมัน ซึ่งให้ศาลสังกัดมลรัฐ ยกเว้นศาลสูงจึงให้เป็นศาลสังกัดสหพันธรัฐหรือรัฐบาลกลาง โดยตำรวจมลรัฐจะขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีมหาดไทยของแต่ละมลรัฐ

รถลาดตระเวนของตำรวจ แฮมเบอร์ก
(Wikipedia, Law Enforcement in Germany, 18th August 2020)
รถลาดตระเวนของตำรวจ แฮมเบอร์ก
(Wikipedia, Law Enforcement in Germany, 18th August 2020)

            อย่างไรก็ตาม สหพันธรัฐหรือรัฐบาลกลางก็มีตำรวจเป็นของตนเองขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรงมหาดไทยของรัฐบาลกลาง โดยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนทั้งทางบกและทางน้ำ ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยท่าอาศยานระหว่างประเทศ ท่าเรือ สถานีรถไฟและทางรถไฟ

            ยิ่งกว่านั้น ยังมีสำนักตำรวจสอบสวนพิเศษ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาที่เป็นความผิดร้ายแรงตามกฎหมายของรัฐบาลกลาง เช่น การก่อการร้ายต่าง ๆ และคอยให้ความสนับสนุนช่วยเหลือตำรวจมลรัฐเมื่อได้รับการร้องขอจากมลรัฐหรือเมื่อได้รับคำสั่งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลกลาง

            ส่วนระบบตำรวจท้องถิ่นนั้น ยังไม่มีถือว่ามีบทบาทมาก เพราะยังไม่มีมลรัฐใดให้ความสำคัญมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการดูแลด้านการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ถนนหนทาง ในทำนองเดียวกับเทศกิจของกรุงเทพมหานคร

            2.3 เมื่อเปรียบเทียบกับระบบตำรวจของอเมริกามีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ระบบตำรวจของอเมริกาแบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ คือ ระบบตำรวจของรัฐบาลกลาง ระบบตำรวจมลรัฐ และระบบตำรวจท้องถิ่น

            ตำรวจของรัฐบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลาง มีอยู่หลายสังกัด แต่ที่รู้จักกันดี คือ สำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง (The federal Bureau of Investigation: FBI.) สังกัดกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินสอบสวนคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของรัฐบาลกลาง และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ มีอำนาจหน้าที่การการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายต่าง ๆ

            ตำรวจมลรัฐ มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายของมลรัฐ

            และตำรวจท้องถิ่น คือ ตำรวจสังกัดเคาน์ตี และตำรวจสังกัดเทศบาล มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายของท้องถิ่นของตน

            ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ระบบตำรวจของอเมริกา แยกระบบตำรวจท้องถิ่นออกจากระบบตำรวจมลรัฐ ซึ่งทำให้ท้องถิ่นอเมริกามีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานตำรวจที่อยู่ในเขตอำนาจของตนได้อย่างเป็นรูปธรรม ในขณะระบบตำรวจเยอรมันไม่ได้แยกระบบตำรวจท้องถิ่นออกมาจากระบบระบบตำรวจมลรัฐ ดังนั้น อำนาจในการบริหารงานตำรวจจึงเป็นของมลรัฐอย่างชัดเจน

3.เปรียบเทียบระบบตำรวจ เยอรมัน-ไทย

          การที่ประเทศเยอรมันเป็นรัฐรวม แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว จึงมีผลต่อระบบตำรวจของแต่ละประเทศ กล่าวคือ ประเทศเยอรมันใช้ระบบตำรวจมลรัฐเป็นหลัก ส่วนระบบตำรวจสังกัดรัฐบาลกลางเป็นตัวเสริมในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เห็นว่า ควรจะเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรงดีกว่าให้เป็นอำนาจหน้าที่ของมลรัฐ ส่วนตำรวจท้องถิ่น ประเทศเยอรมันยังไม่ให้ความสำคัญมากนัก แต่ทั้งนี้เป็นเรื่องของแต่ละมลรัฐว่าจะให้ความสำคัญแก่ตำรวจท้องถิ่นมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาลกลาง

            ส่วนประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ใช้ระบบตำรวจแห่งชาติอย่างเดียว โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยยังไม่มีระบบตำรวจท้องถิ่น มีแค่เทศกิจของกรุงเทพมหานคร หรือเทศบาลขนาดใหญ่บางแห่ง

4.สรุป

          จุดแตกต่างที่สำคัญระหว่างระบบตำรวจเยอรมันและระบบตำรวจอเมริกา คือ ระบบตำรวจเยอรมันวางน้ำหนักไว้ที่ระบบตำรวจมลรัฐ แต่ละมลรัฐมีอิสระต่อกัน โดยมีระบบตำรวจของรัฐบาลกลางเป็นตัวเสริม ส่วนระบบตำรวจอเมริกา วางน้ำหนักไว้ 3 ระบบ คือ ระบบตำรวจของรัฐบาลกลาง ระบบตำรวจมลรัฐ และระบบตำรวจท้องถิ่น โดยถือหลักตำรวจของแต่ละระบบมีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายของตนเอง จึงมีอิสระต่อกัน อันเป็นผลดีในการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ทำให้ไม่เกิดการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่แห่งเดียวเหมือนอย่างระบบตำรวจไทย

คุยกับดร.ชา

          เรื่องเล่าระบบตำรวจ ฯ เยอรมันได้เล่ามาแล้ว  3 ตอน ตอนนี้เป็นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย ผมจึงคิดว่า น่าจะเชิญ ผู้กอง(นามสมมุติ) มาคุยต่อ จะได้ต่อเนื่อง

            “สวัสดีผู้กอง เราได้คุยกันเรื่องเล่าระบบตำรวจ ฯ เยอรมัน มาแล้ว 3 ตอน สำหรับตอนนี้เป็นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นตอนสุดท้าย อาจารย์อยากขอรบกวนผู้กองอีกสักครั้งหนึ่ง พอจะได้ไหม” ผมถามผู้กองตามมารยาทและด้วยความเกรงใจ

            “ด้วยความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งครับอาจารย์ ขอเชิญอาจารย์เปิดประเด็นเลย ”ผู้กองตอบด้วยความจริงใจ

            “ ขอบคุณมาก ผู้กอง ในความเห็นผู้กอง ระบบตำรวจเยอรมัน และระบบตำรวจตำรวจอเมริกามีข้อแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคืออะไร และเพราะอะไร ” ผมยิงคำถามทันที

            “ คือผมคิดว่า ระบบตำรวจอเมริกา เขาให้ความสำคัญแก่ระบบตำรวจท้องถิ่นมาก ท้องถิ่นของอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นเคาน์ตีหรือเทศบาล ต่างมีตำรวจเป็นของตนเอง เพื่อใช้เป็นหน่วยงานในการบังคับใช้กฎหมายของท้องถิ่นแต่ละแห่ง  ซึ่งระบบตำรวจท้องถิ่นของอเมริกาเขามีมาเป็นเวลายาวนานตั้งแต่ประเทศอเมริกายังไม่เกิด คือยังเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษอยู่ ดังนั้นเมื่อได้มารวมเป็นมลรัฐหนึ่ง ระบบตำรวจที่มีอยู่เดิมในแต่ละมลรัฐจึงได้ติดเข้าด้วย ” ผู้กองตอบแบบคนมองเห็นความแตกต่างได้อย่างทะลุเลยทีเดียว

            “ ผู้กองตอบได้ดี เข้าใจได้ชัดเจน แล้วทำไมระบบตำรวจเยอรมันจึงไม่ให้ความสำคัญแก่ตำรวจท้องถิ่นเหมือนอย่างอเมริกา ” ผมอดถามต่อไม่ได้เพื่อให้แน่ใจ

            “ ส่วนเยอรมันเขาไม่เคยให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการบริหารงตำรวจมาก่อน อีกทั้งแต่ละมลรัฐก็มีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง รูปแบบการปกครองของมลรัฐ รวมทั้งระบบตำรวจของมลรัฐจะเป็นอย่างไร ถือเป็นอำนาจอิสระของแต่ละมลรัฐจะกำหนดตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน ” ผู้กองตอบเป็นหลักการกว้าง ๆ

            “เป็นเช่นนี้เหรอ ผู้กอง  คราวนี้อยากให้เราลองเปรียบเทียบระบบตำรวจของเยอรมันกับระบบตำรวจของไทยว่า จุดแตกต่างที่สำคัญคืออะไร และถ้าเราอยากจะปรับระบบตำรวจไทยให้เป็นแบบระบบตำรวจเยอรมันพอจะไหวไหม ” ผมจี้ให้ผู้กองเปรียบเทียบกับระบบตำรวจของไทย

            “ ก็ไม่ยากอะไร เยอรมันเขาเป็นประเทศรัฐรวม มีรัฐบาลสองระดับ คือ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐ เขาวางน้ำหนักให้ระบบตำรวจมลรัฐเป็นระบบตำรวจหลักของประเทศ โดยมีตำรวจของรัฐบาลกลางเป็นระบบตำรวจเสริม

            แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง มีการปกครองส่วนภูมิภาค ดังนั้นระบบตำรวจที่เหมาะสมกับรูปแบบการปกครองของไทย ก็ต้องเป็นระบบตำรวจแห่งชาติ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยจะเป็นอย่างไรก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จะให้ผมพูดชัดลงไปก็ไม่ได้ เพราะขณะนี้กำลังมีการพิจารณาปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรมของไทยอยู่ ” ผู้กองตอบด้วยความระมัดระวัง

            “โอเค ผู้กอง ก็ถือว่า ผู้กองยังตอบได้ดีอยู่นะ วันนี้ต้องขอขอบคุณผู้กองเป็นพิเศษที่ยอมสละเวลามาพูดคุยกับอาจารย์ถึง 4 ครั้งติดต่อกัน มีโอกาสค่อยคุยกันใหม่นะ ขอให้ได้เลื่อนยศและตำแหน่งเร็ว ๆ อาจารย์เอาใจช่วย ” ผมกล่าวขอบคุณและอวยพรผู้กองตามธรรมเนียม

ดร.ชา

18/08/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18) (New***) 3

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18) (New***)

ชาว ไทย ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอุ้มหาย

รัฐ สมาชิกของสหภาพยุโรป มีประเทศอะไรบ้าง (3) 4

รัฐ สมาชิกของสหภาพยุโรป มีประเทศอะไรบ้าง (3)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “รัฐ สมาชิก สหภาพยุโรป มีประเทศอะไรบ้าง” เป็นบทความลำดับที่ 3 ของหมวด 15 เรื่องเล่า สหภาพยุโรปหรืออียู เนื้อหาประกอบด้วย ความนำ รัฐ สมาชิกรุ่นบุกเบิก หลักเกณฑ์ในการรับรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรป  แรงจูงใจในการสมัครเข้าเป็นภาคีของสหภาพยุโรป การขยายตัวครั้งที่หนึ่ง การขยายตัวครั้งที่สอง การขยายตัวครั้งที่สาม การขยายตัวครั้งที่สี่ การขยายตัวครั้งที่ห้า การขยายตัวครั้งที่หกประเทศที่รอโอกาสเข้าเป็นภาคีของอียู วิเคราะห์ความยากง่ายในการเข้าเป็นภาคีของอียู สรุป ถาม-ตอบ สนุกกับดร.ชา 369 1.ความนำ           แม้การรวมตัวของรัฐต่าง ๆ…

สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป มีอะไรบ้าง (2) 5

สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป มีอะไรบ้าง (2)

Share on Social Media facebook email 86 / 100 Powered by Rank Math SEO “สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป เป็นบทความลำดับที่ 2 ของหมวด 15 เรื่องเล่า สหภาพยุโรป หรืออียู” โดยจะกล่าวถึง สหภาพยุโรปยุโรปคืออะไร สถาบันหลักของสหภาพยุโรป คณะมนตรียุโรปหรือการประชุมสุดยอดยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป รัฐสภายุโรป ศาลยุติธรรมยุโรป  สถาบันหลักอื่น ๆ  สรุปและข้อคิดเห็น ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 3 1. สหภาพยุโรปคืออะไร           ก่อนจะกล่าวถึงสถาบันหลักของสหภาพยุโรปว่า มีอะไรบ้าง จำเป็นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า สหภาพยุโรปคืออะไรกัน มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่            …

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: