75 / 100

บทความ นั่งสมาธิ ด้วยสัมมาสติ เพื่อคลายทุกข์ จะกล่าวถึง สัมมาสติกับการนั่งสมาธิหรือเข้าสมาธิ เพื่อคลายทุกข์ สรุป และคุยกับดร.ชา เพื่อให้ท่านผู้ได้นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในเบื้องต้น

1.ความนำ

          ในบทความที่แล้ว คือ บทความ (7)ผมได้เล่าเรื่องการนั่งสมาธิ เพื่อให้ได้ฌาน หมายถึง รูปฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน  โดยองค์ประกอบของฌานมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ วิตก-วิจาร-ปิติ-สุข-เอกัคคตา

            ปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก-วิจาร-ปิติ-สุข-เอกัคคตา

            หาก ตัดวิตกวิจารออกได้ เหลือแต่ ปิติ-สุข-เอกัคคตา จะเป็นทุติยฌาน

            หาก ตัดปิติออกได้ เหลือแต่ สุข-เอกัคคตา จะเป็นตติยฌาน

            และหาก ตัดสุขออกได้ เหลือแต่ เอกัคคตา พร้อมกับเกิดอุเบกขาขึ้นมาจะเป็นจตุตถฌาน

          หากเราสามารถเข้าสมาธิได้ฌานสูงเท่าใด แสดงว่าจิตของเราย่อมมีความสงบสุขมากเท่านั้น

            สำหรับบทความนี้ ต้องการจะนำเสนอการนำสัมมาสติมาใช้ร่วมกับการเข้าสมาธิ เพื่อให้สามารถคลายทุกข์ได้

2.สัมมาสติ

          ดังได้กล่าวมาแล้วว่า มรรคแปดอันเป็นหนทางในการดับทุกข์ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนไว้ว่า สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มศีล กลุ่มสมาธิ และกลุ่มปัญญา โดยกลุ่มสมาธิประกอบด้วย สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) สัมมาสติ (สติชอบ) และสัมมาสมาธิ (สมาธิชอบ)

            ถ้าเช่นนั้น สัมมาสติ ตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ในมรรคแปด คืออะไร

            พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า การปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐาน 4 คือ สัมมาสติ ถ้าเช่นนั้น เราคงต้องดูว่า มหาสติปัฏฐาน 4 หมายถึงอะไร

            มหาสติปัฏฐาน หมายถึง การพิจารณาความไม่เที่ยงของ กาย เวทนา จิต และธรรม อยู่เนือง ๆ หากใครปฏิบัติได้อย่างไม่ย่อท้อ ย่อมมีโอกาสพ้นทุกข์ได้ในที่สุด หมายถึงไปความเป็นพระอรหันต์นั่นเอง

            แต่ถ้าความเพียรยังมีไม่มากพอ แม้จะยังไม่สามารถทำให้เราพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง แต่ก็จะสามารถทำให้เราคลายทุกข์ได้

            นี่คือวัตถุประสงค์หลักบทความชุด เรื่องเล่า ประสบการณ์ ปฏิบัติ เพื่อคลายทุกข์ ที่ผมได้นำมาเล่าให้ท่านทราบมาเป็นลำดับ นับตั้งแต่บทความ (1)

3.สัมมาสติ กับนั่งสมาธิ เพื่อคลายทุกข์

          หากท่านเข้าสมาธิอย่างเดียว เรียกว่า นั่งสมถกรรมฐาน คือ มุ่งให้จิตสงบอย่างเดียว เพื่อให้มีความสุขอันเกิดจากการทีจิตสงบ แต่ถ้าท่านใช้สัมมาสติเข้าร่วมกับสัมมาสมาธิ เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน คือ การใช้ปัญญาพิจารณาถึงความไม่เที่ยงตามกฎไตรลักษณ์ เพื่อลดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือเรียกรวมกันว่า นั่งสมถวิปัสสนากรรมฐาน

            การพิจารณาถึงความไม่เที่ยงตามกฎไตรลักษณ์ แบ่งออกได้ 4 อย่าง คือ

            3.1 การพิจารณาเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในกาย เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

            3.2 การพิจารณาเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนา เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

            3.3 การพิจารณาเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในจิต เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

            3.4 การพิจารณาเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในธรรม เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

            รายละเอียดเกี่ยวกับการพิจารณาเพื่อความยึดมั่นถือมั่นในแต่ละอย่างจะเป็นเช่นไร จะได้นำเสนอให้ท่านทราบตามลำดับต่อไป

4.การพิจารณาเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่น ควรกระทำเวลาใด

          ความจริงการพิจารณาเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่น ไม่ว่าจะเป็นความยึดมั่นถือมั่นในกาย ในเวทนา ในจิต และในธรรม ท่านอาจจะทำเมื่อก็ได้ แต่หากจิตใจท่านไม่สงบ การพิจารณาก็จะไม่ได้ผล ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้เจริญสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจเข้าออกก่อน อย่างที่เรียกว่า  อานาปานสติ

            เมื่อรู้สึกว่า จิตสงบแล้ว ก็ค่อยใช้สัมมาสติ คือ หลักมหาสติปัฏฐาน 4 เข้าร่วมพิจารณาเพื่อให้มองเห็นความไม่เที่ยงแท้ตามกฎไตรลักษณ์ นั่นคือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา กล่าวคือ การยึดมั่นถือมั่นมีแต่ทำให้เกิดทุกข์(ทุกขัง) เพราะไม่มีอะไรเที่ยงแท้นอน(อนิจจัง) ที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะไม่มีตัวตัวตน (อนัตตา) จึงป่วยการที่จะไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่มีตัวตน

            คำว่า จิตสงบ อาจจะเป็นขั้นตอนที่เข้าสู่ปฐมฌานแล้ว หรือเกือบจะเข้าสู่ปฐมฌานก็ได้

5.การพิจารณาเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในกาย

          พระพุทธองค์ทรงสอนไว้มหาสติปัฏฐานสูตรว่า การพิจารณาเพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในกาย อาจทำได้ 5 วิธี

          5.1 การกำหนดลมหายใจเข้าออก

                        เวลาหายใจเข้า-ออก ก็ให้รู้ว่า หายใจเข้าหรือหายใจออก ให้รู้ว่าลมหายใจสั้นหรือยาว ให้รู้ว่าลมหายใจหยาบหรือละเอียด ให้รู้ว่า กายสังขาร(ลมหายใจ )มีทั้งลมหายใจเข้าและหายใจออก และให้รู้วิธีการทำให้กายสังขาร (ลมหายใจ) ระงับลง

                   การพิจารณาลมหายใจเข้า-ออกเช่นนี้ จะทำให้เห็นความไม่เที่ยงแท้ของลมหายใจ ซึ่งมีการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปตลอดเวลาของลมหายใจเข้า-ออก

        5.2 การพิจารณากายในกาย

                      หมายถึง การพิจารณามองให้เห็นการเกิดขึ้น การดำรงอยู่ และการเสื่อมดับไปของกาย ทั้งกายภายนอก และกายภายใน   

                        การพิจารณากายภายนอก เช่า ผม เล็บ นิ้ว ผิว ขน

                        การพิจารณากายภายใน เช่น อวัยวะน้อยใหญ่ภายในกาย  ตับ ไต ไส้ พุง

                         การพิจารณาคือ การมองให้เห็นการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และการเสื่อมดับไปของกาย อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของกายว่า เป็นธรรมดา ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไร

                        ความทุกข์ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในกายภายนอก เช่น ไม่อยากให้ผิวหนังเหี่ยวย่น ไม่อยากให้ผมร่วง ผมบาง เพราะทำให้ไม่หล่อ ไม่สวย

                        ความทุกข์เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในกายภายใน เช่น ไม่อยากให้อวัยวะภายในเสื่อมไปตามวัย เพราะเป็นสาเหตุทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย

            การพิจารณาความทุกข์ที่เกิดจากกาย นอกจากพิจารณาจากลมหายใจเข้าออก และการพิจารณากายในกายแล้ว ยังมีการพิจารณาจากการกำหนดอิริยาบถ การนึกเห็นความไม่สะอาดของกาย การพิจารณาธาตุ 4 ในกาย และการพิจารณาร่างกายให้เห็นเหมือนซากศพ ซึ่งผมจะได้นำมาเล่าให้ท่านทราบในครั้งต่อไป  

6.สรุป

          การเข้าสมาธิ เพื่อคลายทุกข์ ด้วยสัมมาสติ เป็นการนำหลักสัมมาสมาธิ และหลักสัมมาสติ มาใช้ร่วมกัน กล่าวคือ ให้เริ่มต้นด้วยการเข้าสมาธิ จนจิตใจสงบพอสมควร อาจจะเป็นขั้นปฐมฌานหรือเกือบจะถึงปฐมฌานก็ได้

            หลังจากนั้นให้ใช้จิตพิจารณาความไม่เที่ยงของกาย เวทนา จิต และธรรม  เพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่น อันเป็นเหตุทำให้เราเกิดทุกข์

            ในบทความนี้ ได้กล่าวถึงวิธีการคลายความยึดมั่นถือมั่นในความไม่เที่ยงของกาย ด้วยการพิจารณาความไม่เที่ยงของลมหายใจ และความไม่เที่ยงของกายภายนอกและกายภายใน

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม ขอเชิญติดตามได้ใน คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

คุณบุญอนุสรณ์และเพื่อน ๆ  กำลังนั่งสมาธิ ด้วยสัมมาสติ เพื่อคลายทุกข์
คุณบุญอนุสรณ์และเพื่อน ๆ กำลังนั่งสมาธิ ด้วยสัมมาสติ เพื่อคลายทุกข์

          บุคคลที่ผมเชิญมาเป็นคู่สนทนาธรรมในวันนี้ คือ คุณบุญอนุสรณ์(ชื่อสมมุติ) ซึ่งเป็นบุคคลหมายเลข 7 ซึ่งมีอุปนิสัยและบุคลิกลักษณะเป็นคนชอบความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองและเป็นบุคคลที่ผมได้เชิญมาเป็นคู่สนทนาในเรื่องระบบตำรวจมาก่อนแล้ว

            “สวัสดี คุณบุญอนุสรณ์ วันนี้อาจารย์ขอรบกวนเวลาอีกสักครั้งหนึ่ง เพื่อสนทนาธรรมในหัวข้อ เข้าสมาธิ ด้วยสัมมาสติ เพื่อคลายทุกข์ ไม่ใช่เรื่องตำรวจเหมือนคราวที่แล้ว คงไม่ขัดข้องนะ ” ผมทักทายก่อนพร้อมกับบอกหัวข้อที่จะคุยกัน

            “ สวัสดีค่ะอาจารย์ เรื่องการเข้าสมาธินี่ ดิฉันชอบนะ เพราะคนวัยระดับดิฉัน ถ้าไม่รู้จักการนั่งสมาธิ เมื่อเกษียณอายุราชการไป อาจจะมีความทุกข์อย่างน้อยที่สุดในช่วงระยะเวลาหลังจากการถอดหัวโขน เนื่องจากอาจจะยังทำใจไม่ได้ ” คุณบุญอนุสรณ์ตอบรับหัวข้อที่จะคุยกันด้วยดี

            “ เอาล่ะ อาจารย์ขอนำเข้าสู่ประเด็นแรกเลยนะ ในฐานะคุณบุญอนุสรณ์เองก็ชอบเข้าวัดเข้าวาอยู่บ่อย ๆ เคยบวชชีพราหมณ์ก็หลายครั้ง คิดว่า มีความจำเป็นต้องไหว้พระสวดมนต์ก่อนจะนั่งสมาธิไหม เพราะเวลาไปวัด พระท่านจะพาไหว้พระสวดมนต์ก่อนที่จะให้นั่งสมาธิ ” ผมเริ่มเปิดประเด็นที่คิดว่าหลายคนอาจจะสงสัย

            “ อ๋อ อาจารย์ เวลาไปวัด พระท่านก็ต้องพาสวดมนต์ไหว้พระก่อน เพื่อทำให้จิตสงบพอสมควรก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยนั่งสมาธิ ก็จะทำให้เข้าสมาธิได้เร็ว หากใครสามารถฝึกปฏิบัติจนเข้าฌานได้แล้ว นั่งสมาธิแป๊บเดียว ก็จะเข้าฌานได้

            แต่ถ้าใครยังฝึกมาได้ไม่นาน แม้จะยังเข้าฌานไม่ได้ การสวดมนต์ไหว้ก่อนก็จะช่วยให้จิตสงบและนั่งสมาธิได้ผลดี อาจจะได้สมาธิระดับกลาง อย่างที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ ก็ยังดี ” คุณบุญอนุสรณ์ตอบเหมือนคนที่เข้าถึงฌานได้แล้ว

            “สรุปแล้ว ก่อนนั่งสมาธิ ควรจะไหว้พระสวดมนต์ก่อน แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป ถูกต้องไหม ” ผมแทนหลาย ๆ คน

            “ใช่ค่ะ แต่การไหว้พระสวดมนต์ ก็มีอานิสงส์ของผลบุญมากเหมือนกันนะอาจารย์ ทำให้ได้สวดบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ เสริมบุญบารมี ” คุณบุญอนุสรณ์กล่าวเสริมเล็กน้อย

คุณบุุญอนุสรณ์ ชอบไปกราบสักการะพระธาตุพนม เพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต
คุณบุุญอนุสรณ์ ชอบไปกราบสักการะพระธาตุพนม เพื่อความเป็นสิริมงคลของชีวิต

            “ ถ้างั้น เรามาคุยในประเด็นที่สองเลยนะ เวลาคุณบุญอนุสรณ์ นั่งสมาธิ หายใจเข้าออกพร้อมกับภาวนา พุท-โธ คุณบุญอนุสรณ์ นึกถึงอะไรบ้าง ” ผมเริ่มถามลึกเข้าไปอีก

          “ ในช่วงแรก ๆ ก็ไม่ได้นึกถึงอะไร นึกแต่คำภาวนา พุท-โธ พร้อมกับตามลมหายใจ เข้า-ออก ๆ ไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่า จิตสงบพอสมควร ดิฉันก็ใช้จิตพิจารณาว่า แท้ที่จริง กายเรานี้ประกอบด้วยลมหายใจเข้า-ออก ลมหายใจยาว-ลมหายใจสั้น ลมหายใจหยาบ-ลมหายใจละเอียด สลับไปมา อันแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงอย่างหนึ่งของลมหายใจหรือกาย ทำให้เรามีสติรู้ทันลมหายใจของเรา ไม่เกิดความประมาท ไม่ยึดติดอะไร เพราะเป็นธรรมดาของลมหายใจต้องเป็นอย่างนี้ ”คุณบุญอนุสรณ์ เล่าตามความรู้สึกที่แท้จริงของตน

            “ แสดงว่า คุณบุญอนุสรณ์ได้ใช้สัมมาสติพิจารณากาย คือ ลมหายใจเข้า-ออก ทำให้รู้เท่าทันลมหายใจ ถ้าเช่นนั้นเรามาคุยในประเด็นที่สามหรือประเด็นสุดท้าย ที่ว่า การพิจารณากาย อย่างที่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายความว่ากระไร ” ผมถามเจาะลึกเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง

            “ อ๋อ อย่างที่เรียกว่า การพิจารณากายในกายนั้นเหรอ ดิฉันเข้าใจอย่างนี้ว่า กายของคนเรา แบ่งออกเป็นกายภายนอก และกายภายใน

            การพิจารณากายภายนอก หมายถึง การใช้จิตพิจารณา กายในส่วนที่เรามองเห็นด้วยตาของเรา เช่น ผม ขน ผิวหนัง ฟัน เล็บ เป็นต้น ให้พิจารณาว่า กายภายนอกของเรา มีเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และเสื่อมสลายไป เป็นธรรมดา เราจะฝืนไม่ได้

            อย่างเช่น ผิวหนัง พอเราแก่ตัวเข้ามา ผิวหนังของเราก็นะเหี่ยว ไม่เต่งตีงเหมือนเราตอนยังเด็ก หรือตอนเป็นหนุ่มเป็นสาว หรือฟันของเรา พอแก่ตัวเข้ามา ฟันของเราก็จะหลุดไป หรือมีอาการปวด เราก็ต้องถอนไป เป็นธรรมดา ไม่มีใครหลีกหนีพ้นได้

            การพิจารณากายภายนอกเช่นนี้บ่อย ๆ จะทำให้เราไม่ยึดติดในสังขารที่ร่วงโรยไปตามกาลเวลา จะได้ไม่ยึดติดในความหล่อหรือความสวย เพราะถึงอย่างไร ก็จะไม่คงอยู่ตลอดไป ถึงแม้จะทำศัลยกรรมหรือกินอาหารเสริมหมดเงินทองไปมากเพียงใด ก็อยู่ได้แค่ชั่วคราว ไม่นานก็เสื่อมสลายไปเช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรจะปล่อยวาง ไม่ต้องยึดติดให้เกิดความทุกข์เปล่า ๆ  ” คุณบุญอนุสรณ์ สาธยายค่อนข้างยืดยาว คงกลัวผมไม่เข้าใจ

            “ ดีมาก คุณบุญอนุสรณ์ แล้วการพิจารณากายภายในหละ หลวงพ่อสอนไว้อย่างไร ” ผมรีบทักท้วงเพราะกลัวคุณบุญอนุสรณ์ลืม

            “ ก็คงคล้าย ๆ กัน เพียงแต่กายภายใน เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตา กายภายในเช่น ตับ ไต ปอด หัวใจ ไส้ กระเพาะ หลอดลม เป็นต้น อวัยวะภายในเหล่านี้ เมื่อตอนเรายังอายุน้อยหรือตอนที่ยังเป็นหนุ่มสาวก็แข็งแรงทำหน้าที่ได้ดี แต่เราอายุมากขึ้น ก็จะเริ่มมีอาการเสื่อม

            การที่อวัยวะภายในมีอาการเสื่อม ก็จะทำให้เราเจ็บป่วย เป็นโรคนี้โรคนั้น เช่น เบาหวาน โรคไขมันสูง ความดัน ดังนั้น จึงควรจะพิจารณาให้เห็นความเสื่อมถอยหรือเสื่อมสลายของอวัยวะเหล่านี้ว่า เป็นธรรมดา ไม่ช้าก็เร็ว อาการเสื่อมถอยหรือเสื่อมสลายย่อมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้มีสติ ไม่เกิดอาการวิตกกังวลมากเกินไป จะได้ไม่ทุกข์มาก

            แต่ดิฉันไม่ได้พูดว่า หากเจ็บป่วยไม่ต้องรักษานะคะ การรักษาก็ทำไป เพื่อยืดเวลาของการเสื่อมถอยหรือเสื่อมสลายของอวัยวะเหล่านี้ออกไปสักช่วงเวลาหนึ่ง แต่ในไม่ช้าก็ต้องเสื่อมถอยหรือเสื่อมสลายเช่นกัน ” คุณบุญอนุสรณ์สาธยายราวกับว่าปลงได้แล้ว

            “ อาจารย์ขอถามจริง ๆ ว่า บรรดาอาหารเสริม หรือเครื่องสำอางต่าง ๆ คุณบุญอนุสรณ์ให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด ” ผมถามสัพยอกแบบคนคุ้นเคยกัน

          “ ถ้าตอบตอบตรง ดิฉันก็ให้ความสำคัญอยู่บ้าง ไม่ถึงกับปล่อยปละเลย แต่ก็ไม่ถึงกับทุ่มจนหมดเนื้อหมดตัว ทำพอประมาณ คือทำแบบพอเพียงตามที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านได้สอนพวกเราไว้”

คุณบุญอนุสรณ์ตอบแบบขำ ๆ ตัวเอง

            “ ดีแล้ว คุณบุญอนุสรณ์ เดินสายกลาง ดีที่สุด ไม่เปลืองเงินทองมาก แต่อาจารย์มองดูแล้ว คุณบุญอนุสรณ์ยังไม่แก่เลย แถมดูอ่อนกว่าวัยเสียด้วย

            วันนี้ อาจารย์ คงขอรบกวนเท่านี้ ขอบคุณมาก โอกาสหน้าค่อยเชิญมาใหม่ ขออวยพรให้คุณบุญอนุสรณ์มีสุขภาพแข็ง ร่ำรวย และมีความสุขตลอดไป ” ผมกล่าวขอบคุณพร้อมกับปิดการสนทนา

            “ ขอบคุณมาก ด้วยความยินดีค่ะ อาจารย์ ” คุณบุญอนุสรณ์กล่าวตอบรับคำเชิญไว้ด้วยความเต็มใจ

“ ขออุทิศบุญกุศลที่เกิดจากเขียนบทความนี้เป็นธรรมทาน ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร และศัตรูหมู่มารทั้งหลาย ทุกภาพทุกชาติ ตั้งแต่อดีตชาติจนปัจจุบันชาติ”

ดร.ชา

25/09/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

6 COMMENTS

  1. ช่วงถามตอย ท่านอาจารยืก็ถามได้ดีมาก คู่สนทนาก็ตอบได้ดีมากเช่นกัน สุดยอดมากค่ะน่าติดตาม ไม่น่าเบื่อค่ะ

    1. อาจรย์ดีใจที่บทความถูกใจ่คุณบุญญสรณ์ ต้องขอขอบคุณมากที่ให้กำลังใจ เพื่อน ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้เขาว่า อย่างไรกันบ้าง รบกวนเล่าให้ฟังหน่่อย

  2. นั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจ เข้า ออก ทำไมทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนจากดินสู่ดาว
    พี่ที่หนูรู้จักชอบนั่งวิปัสสนา แล้วได้แต่งงานกับคนในตระกูลจิราธิวัฒน์ ผู้หญิงจบ
    จบ ป.6เท่านั้น มาเจอกันได้อย่างไร? แม่ฝ่ายชายมานั่งวิปัสสนาเหมือนกัน แล้วคุยถูกคอกัน
    จึงให้ลูกชายแต่งงานด้วย แล้วย้ายไปอยู่สวิตช์ ค่ะ

    คนที่2 เป็นพยาบาล ชอบนั่ง วิปัสสนาเหมือนกัน แต่มีครอบครัวแล้ว ยังไม่มีบุตร
    ต่อมาได้แต่งงานกับนายแพทย์ อยู่ที่ทำงานเดียวกัน เกิดชอบใจกันจนได้แต่งงานกัน
    แต่ก่อนก็ไม่ถูกใจนายแพทย์ หลังจากผู้หญิงเริ่มจริงจังกับการนั่งวิปัสสนา ชีวิตเปลี่ยน

    ขอบคุณค่ะ

    1. บุญที่เกิดจากการนั่งสมถวิปัสสนากรรมฐานเป็นบุญที่ยิ่งใหญ่เหนื่อกว่าบุญที่เกิดจาการให้ทานและรักษาศีล เมื่อชายหญิงมีบุญเสมอกัน แม้ฐานะสังคมอาจจะแตกต่างกัน
      แต่บุญอาจจะเกื้อหนุนให้มาพบกันและได้ครองคู่กันได้

  3. หนูดูนักร้องต่างชาติ ชื่อ ไบรอัน อดัม ร้องเพลงจากแท็บเล็ทค่ะ มีอาการขยับตัวไม่ได้ แต่มีสติพอรู้ว่าดูเพลงอยู่ ไม่มีกำลังที่จะพูดขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เป็นระยะเวลา30นาทีค่ะ
    จึงกลับมาเหมือนเดิม ในขณะที่ดูไม่ได้กำหนด ลม หายใจ แต่เป็นเอง หลังจากวันนั้นหนูไปเรียนภาษาอังกฤษนอนฟังขณะนอนหลับค่ะ หนูกลัว

    เรื่องที่สอง ขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆ จากคู่สนทนาของอาจารย์ด้วยค่ะ

    1. ต้องขอขอขฃบคุณ คุณณัชชามาก ที่กรุณามีส่วนร่วมด้วยการแสงดวามคิดเห็นดี ๆ เสมอมา

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: