คุณสมบัติ อัน พึงประสงค์บางประการ ของประธานาธิบดีอเมริกา(13)(New****) 1

คุณสมบัติ อัน พึงประสงค์บางประการ ของประธานาธิบดีอเมริกา(13)(New****)

คุณสมบัติ อัน พึงประสงค์บางประการ ของ ประธานาธิบดีอเมริกา เป็นบทความลำดับที 13 ของหมวด 8 เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญ อเมริกา โดยจะกล่าวถึง ความนำ คุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ อายุของผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี อาชีพก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทางการเมือง คุณสมบัติและประสบการณ์ทางการเมืองของว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 46  วิเคราะห์ สรุป และคุยกับดร.ชา 1.ความนำ             ประธานาธิบดีอเมริกา ไม่เพียงแต่เป็นผู้นำของประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังมีฐานะเป็นผู้นำโลกโดยพฤตินัยด้วย ดังนั้น การศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับ คุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ ของประธานาธิบดีอเมริกา จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก             การหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์บางประการของประธานาธิบดีอเมริกา ในบทความนี้จะเน้นไปที่ข้อมูลเกี่ยวกับอายุ อาชีพ และประสบการณ์ทางการเมือง ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา จำนวน 45…

คะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง เป็นตัวตัดสินว่า ใครจะได้เป็นประธานาธิบดีอเมริกา (12)(New***) 2

คะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง เป็นตัวตัดสินว่า ใครจะได้เป็นประธานาธิบดีอเมริกา (12)(New***)

1.ความนำ           คะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง เป็นตัวตัดสินว่า ใครจะได้เป็นประธานาธิบดีอเมริกา เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา โดยจะกล่าวถึงสถิติในการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาที่ผ่านมาจำนวน 59 ครั้ง เพื่อชี้ให้เห็นว่า ผู้ได้รับเลือกตั้งได้เสียงของคณะผู้เลือกตั้งมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ ยังจะชี้เห็นว่า มีครั้งใดบ้างที่ผู้ได้รับเลือกตั้งได้เสียงความนิยมจากประชาชนน้อยกว่า ผู้แพ้เลือกตั้ง การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาเป็นที่สนใจของคนทั้งโลก ดังเช่นข่าวของบีบีซีนี้ เพราะประธานาธิบดีอเมริกามีบทบาทเป็นผู้นำโลก ดังนั้น การศึกษาวิธีได้มาซึ่งตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาจึงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจสำหรับชาวโลกเสมอ 2.ทบทวนบทความที่เกี่ยวข้อง           เพื่อความเข้าใจอันดี ท่านผู้อ่านอาจจะย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ คือ บทความ ผู้ชนะ เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา อยู่ในกำมือของคนเพียง 538 คนเท่านั้น  (10)           บทความนี้จะทำให้ท่านทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา (Electoral College) ได้แก่ ที่มาของคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา จำนวนผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา แยกตามมลรัฐ และทิศทางในการออกเสียงของผู้เลือกตั้ง ฯ…

วิเคราะห์ อายุของประธานาธิบดีอเมริกา ขณะเข้าดำรงตำแหน่ง (11)(New***) 3

วิเคราะห์ อายุของประธานาธิบดีอเมริกา ขณะเข้าดำรงตำแหน่ง (11)(New***)

1.ความนำ วิเคราะห์ อายุของประธานาธิบดีอเมริกา ขณะเข้าดำรงตำแหน่ง เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 8 เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา จะกล่าวถึง ความนำ แนวทางในการวิเคราะห์ ผลของการวิเคราะห์ สรุปผล และคุยกับดร.ชา             ในบทความที่แล้ว (10) ผู้ชนะ เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาอยู่ในกำมือของคนเพียง 538 คน ได้เล่าให้ท่านทราบว่า ตามรัฐธรรมนูญอเมริกากำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกามีที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม ไม่ใช่การเลือกตั้งทางตรงเหมือนอย่างที่หลายคนอาจจะเข้าใจผิด เพราะอาจจะคิดเอาง่าย ๆ ว่า ประเทศที่เป็นแม่แบบประชาธิปไตยของโลก ต้องให้ผู้นำประเทศได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเท่านั้น จะให้มีการเลือกตั้งทางอ้อมเหมือนอย่างประเทศที่ยังไม่เจริญอย่างไร             หากต้องการทราบเหตุผลว่า ทำไมคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญอเมริกา จึงไม่ยอมให้ประชาชนเลือกตั้งประธานาธิบดีได้โดยตรง กรุณาย้อนกลับไปอ่านบทความ (6) นวัตกรรม ใหม่ ในการสร้างรัฐธรรมนูญอเมริกา           แม้การเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี 2020…

ผู้ชนะ เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา อยู่ในกำมือของคนเพียง 538 คนเท่านั้น (10) 4

ผู้ชนะ เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา อยู่ในกำมือของคนเพียง 538 คนเท่านั้น (10)

1.ความนำ “ผู้ชนะ เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา อยู่ในกำมือของคนเพียง 538 คนเท่านั้น” เป็นบทความลำดับที่ 10 ของหมวด 8 เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา ในบทความที่แล้ว (9) ได้กล่าวถึง การเลือกตั้ง ประธานาธิบดีอเมริกา ทำไมจึงดูสลับซับซ้อนมาก โดยได้ชี้ให้เห็นว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา ดูสลับซับซ้อนมาก ก็เพราะไม่ใช่การเลือกตั้งโดยตรงแต่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมตามที่รัฐธรรมนูญอเมริกาได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ให้สภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในเลือกผู้เลือกตั้ง (Elector) ประธานาธิบดีตามจำนวนสมาชิกสภาคองเกรสที่พึงมีของแต่ละมลรัฐ หลังจากนั้น ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีของแต่ละมลรัฐจึงจะเป็นผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีในนามของแต่ละมลรัฐอีกครั้งหนึ่ง เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปี 2020 ได้มีการลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2020 และวันที่ 14 ธันวาคม 2020 จะเป็นวันที่ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น บทความนี้ จึงต้องการเล่าขยายความให้ท่านผู้อ่านทราบขัดเจนเกี่ยวกับความสำคัญของคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา จำนวน 538…

การเลือกตั้ง ประธานาธิบดีอเมริกา ทำไมจึงดูสลับซับซ้อนมาก(9) 5

การเลือกตั้ง ประธานาธิบดีอเมริกา ทำไมจึงดูสลับซับซ้อนมาก(9)

“การเลือกตั้ง ประธานาธิบดีอเมริกา ทำไมจึงดูสลับซับซ้อนมาก” เป็นบทความลำดับที่ 9 ของหมวด 8 เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา โดยจะกล่าวถึง ความนำ แนวคิดในการกำหนดที่มาของประธานาธิบดีอเมริกา ความสำคัญของตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาต่อเวทีโลก กระบวนการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาตามรัฐธรรมนูญ การลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปี 2020  สรุป และคุยกับดร.ชา             อนึ่ง บทความก่อนหน้านี้ (8) ได้เล่าถึงเหตุผลตามรัฐธรรมนูญว่า ทำไม การปฏิวัติ รัฐประหาร จึงยากที่จะเกิดขึ้นได้ในอเมริกา 1.ความนำ           หลังจากได้มีการหย่อนบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 46  รวมทั้งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และผู้ว่าการมลรัฐ ต่าง ๆ ที่ได้หมดวาระลง เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2021 ปรากฏว่า ผลการเลือกตั้งตำแหน่งอื่น ๆ นอกเหนือไปจากตำแหน่งประธานาธิบดี…

รัฐประหารหรือการปฏิวัติ ยากที่จะเกิดขึ้นในอเมริกาเพราะอะไร(8)(New***) 6

รัฐประหารหรือการปฏิวัติ ยากที่จะเกิดขึ้นในอเมริกาเพราะอะไร(8)(New***)

บทความ “รัฐประหารหรือการปกิวัติ ในอเมริกา ยากที่จะเกิดขึ้นได้เพราะอะไร ” เป็นบทความลำดับที่ 8 ของหมวด เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา โดยจะกล่าวถึง ความนำ  รัฐประหารในอเมริกา ยากที่จะเกิดขึ้นได้เพราะอะไร อุดมการณ์ทางการเมืองของชาวอเมริกัน การถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ  ตามรัฐธรรมนูญอเมริกา วิเคราะห์โอกาสในการกระทำปฏิวัติรัฐประหารในอเมริกา สรุป และคุยกับดร.ชา อนึ่ง ในบทความที่แล้ว (7) ผมได้กล่าวถึง การ แก้ไข ปัญหา วิกฤตการเมืองของอเมริกา ด้วยรัฐธรรมนญ 1.ความนำ การปฏิวัติหรือยึดอำนาจในบางประเทศที่มียังมีปัญหาขาดเสถียรภาพทางการเมือง มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง แม้ในโลกยุคปัจจุบันที่ถือกันว่า เป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยในประเทศเหล่านั้น มีอาการสะดุด ต้องเริ่มต้นใหม่กลับไปกลับมาหลายครั้ง ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมืองมาโดยตลอดนับตั้งแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 จนกระทั่งปัจจุบัน             สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี ค.ศ.1789 แทนรัฐบัญญัติของสมาพันธรัฐอเมริกา ปี…

การ แก้ไข ปัญหา วิกฤตทางการเมืองของอเมริกาด้วยรัฐธรรมนูญ (7) (New***) 7

การ แก้ไข ปัญหา วิกฤตทางการเมืองของอเมริกาด้วยรัฐธรรมนูญ (7) (New***)

บทความนี้นับเป็นบทความลำดับที่ 7 การ แก้ไข ปัญหา วิกฤตทางการเมืองของอเมริกาด้วยรัฐธรรมนูญ ของหมวด เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา โดยจะกล่าวถึง วิกฤติทางการเมืองของอเมริกา คือ อะไร กระบวนการในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอเมริกา การ แก้ไข ปัญหา วิกฤตทางการเมืองของอเมริกาด้วยรัฐธรรมนูญ  สรุป และคุยกับดร.ชา         อนึ่งในบทความที่แล้ว คือ บทความ (6) ได้กล่าวถึง การใช้ นวัตกรรม ใหม่ สร้างรัฐธรรมนูญอเมริกา 1.วิกฤตการทางการเมืองของอเมริกา คือ อะไร           ประเทศอเมริกาเป็นประเทศเกิดใหม่เมื่อปลายศตวรรษที่ 18 คือ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 ด้วยการประกาสอิสรภาพ ไม่ยอมเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิบริเตนอีกต่อไป แต่ประเทศนี้เป็นดินแดนที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา…

นวัตกรรม ใหม่ แห่งยุคกับรัฐธรรมนูญอเมริกา(6) 8

นวัตกรรม ใหม่ แห่งยุคกับรัฐธรรมนูญอเมริกา(6)

บทความ  นวัตกรรม ใหม่ แห่งยุค กับรัฐธรรมนูญอเมริกา เป็นบทความลำดับที่ 6 ของหมวด เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญ อเมริกา  โดยจะกล่าวถึง  นวัตกรรม ใหม่ ในการสร้างรัฐธรรมนูญอเมริกา แนวคิดในการร่างรัฐธรรมนูญ หลักการในร่างรัฐธรรมนูญอเมริกา สรุปสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญอเมริกา  และคุยกับกดร.ชา อนึ่ง ในบทความที่แล้ว คือ บทความ (5) ผมได้เล่าถึง รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ของอเมริกาว่า มีความเป็นมาอย่างไรจึงมีอายุยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน ร่วม 231 ปี 1.เหตุใดจึงกล่าวว่า สร้างรัฐธรรมนูญอเมริกา ด้วย นวัตกรรม ใหม่ แห่งยุค การที่อเมริกาต้องต่อสู้กับบริเตนเพื่อประกาศอิสรภาพเป็นประเทศใหม่ มิใช่ดินแดนอาณานิคมอีกต่อไป ทำให้เกิดแนวคิดและหลักการใหม่ในการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมหรือบริบทของประเทศในเวลานั้น           แนวคิดใหม่และหลักการสำคัญดังกล่าว ศาสตราจารย์ อคิล รีด…

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ของอเมริกา มีความเป็นมาอย่างไร จึงมีอายุยืนยาวถึง 231 ปี (5)(New***) 9

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ของอเมริกา มีความเป็นมาอย่างไร จึงมีอายุยืนยาวถึง 231 ปี (5)(New***)

บทความ “รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ของอเมริกา มีความเป็นมาอย่างไร จึงมีอายุยืนยาว” นับเป็นบทความลำดับที่ 5 ของ หมวด 8 เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญ อเมริกา โดยจะกล่าวถึง การประชุมผู้แทนของมลรัฐต่าง ๆ ที่เมืองฟิลาเดีลเฟีย การนำร่างรัฐธรรมนูญออกเผยแพร่ทางสื่อมวลชน การต่อสู้ทางความคิดระหว่างสองฝ่าย การประนีประนอมครั้งใหญ่ การให้สัตยาบันรับรองรัฐธรรมนูญ สรุป และคุยกับดร.ชา 1.ความนำ           ในบทความที่แล้ว คือ บทความ (4)  ผมได้เล่าถึง สาเหตุที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับแรก ของอเมริกา ต้องถูกยกเลิก หลังได้ใช้บังคับมาแล้ว 9 ปี ระหว่างปีค.ศ.1781-1789 เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่ออกแบบให้รัฐบาลกลางอ่อนแอจนเกินไป ไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเกิดภัยคุกคามจากต่างประเทศหรือเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ เพราะรัฐบาลกลางไม่มีงบประมาณเป็นของตนเอง ต้องคอยขอรับการสนับสนุนจากมลรัฐต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถสร้างกองทัพที่เข้มแข็งได้            …

รัฐธรรมนูญฉบับแรก ของอเมริกา ต้องถูกยกเลิก เพราะเหตุใด(4) 10

รัฐธรรมนูญฉบับแรก ของอเมริกา ต้องถูกยกเลิก เพราะเหตุใด(4)

บทความนี้ เป็นบทความลำดับที่ 4 ในหมวดเรื่องเล่า รัฐธรรมนูญ อเมริกา จะกล่าวถึงความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอเมริกา หลักการและสาระสำคัญ จุดอ่อนและการสิ้นสุด สรุป คุยกับดร.ชา 1.ความนำ             ในบทความก่อนหน้านี้ คือ บทความ (3) ผมได้เล่าถึงการประกาศอิสรภาพและสงครามปฏิวัติอเมริกา ซึ่งเป็นสงครามที่ส่งผลสะเทือนต่อโลกในเวลาต่อมาเป็นอันมาก เนื่องจากเป็นสงครามปฏิวัติของประชาชนโค่นล้มอำนาจตามระบอบการปกครองเดิมที่มีอยู่ แล้วสร้างระบอบการปกครอบแบบใหม่ที่มีความก้าวหน้าและแปลกใหม่             สำหรับทความนี้ ผมจะเล่าให้ท่านทราบว่า ภายหลังได้มีการประกาศอิสรภาพและได้มีการทำสงครามปฏิวัติอเมริกาแล้ว ทำให้มีประเทศใหม่เกิดขึ้น คือประเทศอเมริกา ปัญหาคือประเทศเกิดใหม่อย่างอเมริกาได้สร้างรูปแบบการปกครองประเทศอย่างไร และสามารถใช้แก้ปัญหาของประเทศที่เกิดใหม่ได้ไหม 2.ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอเมริกา             2.1การรวมตัวเป็นประเทศเดียวกัน           ภายหลังได้ประกาศอิสรภาพเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 ทำให้ดินแดนอาณานิคมทั้ง 13 แห่งได้กลายเป็นดินแดนอิสระแต่ยังไม่ได้รวมตัวเป็นประเทศเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ดินแดนอิสระทั้ง 13 แห่ง ซึ่งได้รวมตัวกันเป็นสภาคองเกรสแห่งภาคพื้นทวีป…

Share on Social Media
%d bloggers like this: