85 / 100

บทความ “รัฐประหารหรือการปกิวัติ ในอเมริกา ยากที่จะเกิดขึ้นได้เพราะอะไร ” เป็นบทความลำดับที่ 8 ของหมวด เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา โดยจะกล่าวถึง ความนำ  รัฐประหารในอเมริกา ยากที่จะเกิดขึ้นได้เพราะอะไร อุดมการณ์ทางการเมืองของชาวอเมริกัน การถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายต่าง ๆ  ตามรัฐธรรมนูญอเมริกา วิเคราะห์โอกาสในการกระทำปฏิวัติรัฐประหารในอเมริกา สรุป และคุยกับดร.ชา

อนึ่ง ในบทความที่แล้ว (7) ผมได้กล่าวถึง การ แก้ไข ปัญหา วิกฤตการเมืองของอเมริกา ด้วยรัฐธรรมนญ

Table of Contents

1.ความนำ

การปฏิวัติหรือยึดอำนาจในบางประเทศที่มียังมีปัญหาขาดเสถียรภาพทางการเมือง มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง แม้ในโลกยุคปัจจุบันที่ถือกันว่า เป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยในประเทศเหล่านั้น มีอาการสะดุด ต้องเริ่มต้นใหม่กลับไปกลับมาหลายครั้ง ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่มีปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมืองมาโดยตลอดนับตั้งแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 จนกระทั่งปัจจุบัน

            สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี ค.ศ.1789 แทนรัฐบัญญัติของสมาพันธรัฐอเมริกา ปี ค.ศ.1781 ได้มีเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองครั้งหนึ่ง ถึงขั้นต้องทำสงครามกลางเมืองช่วงปี ค.ศ.1861-1865 ในยุคประธานาธิบดีลินคอล์น ระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ อันมีสาเหตุการประกาศเลิกทาสของประธานาธิบดีลินคอล์น โดยฝ่ายใต้ต้องการแยกออกไปเป็นประเทศใหม่ทียังคงให้มีทาสต่อไป

            แต่หลังจากนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่เคยมีการยึดอำนาจหรือปฏิวัติกิดขึ้นอีกเลเย คำถามคือ ทำไมการยึดอำนาจหรือการปฏิวัติจึงยากที่เกิดขึ้นได้ในอเมริกา

2.รัฐประหารหรือการปฏิวัติ ยากที่จะเกิดขึ้นได้ในอเมริกา เพราะเหตุใด

          การตอบคำถามว่า การปฏิวัติยึดอำนาจ ยากที่จะเกิดขึ้นได้ในอเมริกา เพราะเหตุใด คงต้องพิจารณาจากอุดมการณ์ทางการเมืองของชาวอเมริกัน แนวคิดและหลักการในยกร่างรัฐธรรมนูญอเมริกา

            2.1 อุดมการณ์ทางการเมือง ชาวอเมริกันมีอุดมการณ์หรือความเชื่อทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างมั่นคง มาตั้งแต่ยังเป็นอาณานิคมของบริเตน

          อุดมการณ์หรือความเชื่อทางการเมืองของชาวอเมริกัน มีอยู่ 4 ประการ คือ เสรีภาพ ความเป็นปัจเจกชน ความเท่าเทียม และการปกครองตนเอง

            2.2 แนวคิดและหลักการในการยกร่างรัฐธรรมนูญ มุ่งที่จะสร้างรัฐธรรมนูญให้เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบใหม่อย่างถาวร อย่างที่เรียกว่า ระบบแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจ

          แนวคิดและหลักการในการยกร่างรัฐธรรมนูญอเมริกาดังกล่าว ผมได้เล่าให้ท่านผู้อ่านทราบแล้วในบทความ (6) ว่า เป็น นวัตกรรม ใหม่ ทางด้านการเมือง (political innovation)

3.อุดมการณ์หรือความเชื่อทางการเมืองของชาวอเมริกัน

          ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงหรือไม่ เพียงใด อยู่ที่รากฐานทางด้านการเมืองการปกครองของประเทศนั้นว่า เอื้อต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือไม่

            รากฐานทางด้านการเมืองการปกครองทีสำคัญคือ อุดมการณ์ ความเชื่อหรือวัฒนธรรมทางการเมือง

          ในทางตรงกันข้าม หากประเทศใดที่มีพื้นฐานทางด้านเมืองการปกครองหรืออุดมการณ์และวัฒนธรรมทางการเมืองไม่เอื้อต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย  มักจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศนั้นสะดุดหรือล้มลุกคลุกคลานอยู่บ่อยครั้ง อย่างที่เรียกว่า ขาดเสถียรภาพทางการเมือง (Political  Instability) ทำให้ต้องเริ่มต้นใหม่อยู่บ่อย ๆ

            ศาสตราจารย์ ดร.โทมัส อี. แพตเตอร์สัน  (Thomas E. Patterson) แห่ง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวว่า อุดมการณ์ คือความเชื่อโดยทั่วไปเกี่ยวกับบทบาทและจุดมุ่งหมายในการปกครองของคนอเมริกัน  ( Patterson, 2015, p.570) ได้สร้างความเชื่อหรืออุดมการณ์ทางการเมืองมาตั้งแต่ยุคที่ยังตกเป็นอาณานิคมของบริเตนจากรุ่นสู่รุ่น

            สำหรับความเชื่อทางการเมืองร่วมกันของคนอเมริกาได้แก่ เสรีภาพ ความเป็นปัจเจกชน ความเท่าเทียม และการปกครองคนเอง (Liberty, Individualism, Equality and Self-Government)

            ความหมายของแต่ละคำ สรุปได้ดังนี้ (Patterson,pp.8-14)

            เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง การที่ปัจเจกชนมีอิสระในการคิดและการกระทำตามความต้องการขอเจ้าตัว แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเชื่อทางด้านการเมืองหรือด้านศาสนา

          ลัทธิปัจเจกชนนิยม (Individualism)  หมายถึง แนวคิดที่ว่าประชาชนควรจะสามารถริเริ่ม มีความเป็นตัวของตัวเอง และสามารถสะสมทรัพย์สินที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่ดีกินดีของตน

            ลัทธิปัจเจกชนนิยม ทำให้คนมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีอิสระทางความคิดอย่างสร้างสรรค์

            ความเท่าเทียม (Equality) เป็นความเชื่อที่ว่า ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน มีคุณค่าเท่ากัน และจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย

            การปกครองตนเอง (Self-Government)  ประชาชนมีอำนาจในการปกครองตนเอง ไม่ใช่เป็นผู้ถูกปกครอง โดยอาจเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่แทนประชาชน  แต่รัฐบาลที่เกิดขึ้นเป็นผู้รับใช้ประชาชน ไม่ใช่ผู้ปกครองประชาชน

(https://drchar.home.blog ตอนที่ 5)

4. การแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจในรัฐธรรมนูญอเมริกา

          ด้วยอุดมการณ์ทางการเมือง แนวคิดและหลักการของระบบแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจที่ถือเป็น นวัตกรรม ใหม่ แห่งยุค ทางด้านการเมือง คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญได้สร้างกลไกในรัฐธรรมนญเพื่อใช้เป็นเกราะป้องกันมิให้เกิดการปฏิวัติยึดอำนาจ พอสรุปได้ดังนี้

            4.1 แบ่งการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็นสามฝ่าย โดยให้แต่ละฝ่ายมีฐานะเท่ากัน อิสระต่อกัน

          อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยถือว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  โดยแบ่งการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ด้าน คือ

            ด้านนิติบัญญัติ– สภาคองเกรสเป็นผู้ใช้อำนาจ ประกอบ 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร อยู่ในวาระ 2 ปี และวุฒิสภา อยู่ในวาระ 6 ปี  สมาชิกของทั้งสองสภา ต่างได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน (มาตรา 1 อนุมาตรา 1 และอนุมาตรา 2 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 17/1913)

            ด้านบริหาร– ประธานาธิบดี เป็นผู้ใช้อำนาจ อยู่ในวาระ 4 ปี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกินสองสมัย (มาตรา  2 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 22/1951)

            ด้านตุลาการ– ศาลสูง ประธานาธิบดี เป็นผู้เสนอรายชื่อต่อวุฒิสภา หากวุฒิสภาเห็นชอบ ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ลงนามแต่งตั้ง และสามารถดำรงตำแหน่งไปได้ตลอดชีวิต ยกเว้นกระทำความผิด(มาตรา 2 อนุมาตรา 2)

            4.2 การถ่วงดุลอำนาจระหว่างสภาทั้งสอง

4.2.1 การผ่านร่างกฎหมาย

            สภาคองเกรส ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทั้งสองสภามีอำนาจเท่ากัน ร่างกฎหมายอาจเริ่มต้นที่สภาใดก่อนก็ได้ ยกเว้นร่างกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นภาษี ให้เริ่มต้นที่สภาผู้แทนราษฎรก่อน ร่างกฎหมายที่จะนำเสนอประธานาธิบดี ลงนามอนุมัติได้ ต้องผ่านความเห็นชอบของทั้งสองสภาก่อน (มาตรา 1 อนุมาตรา 7)

            ในทางปฏิบัติ ฝ่ายเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร และฝ่ายเสียงข้างมากในวุฒิสภา มักจะเป็นคนละพรรคการเมือง เช่น หากฝ่ายเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร เป็นพรรคดีโมแครต ฝ่ายเสียงข้างมากในวุฒิสภา มักจะเป็นพรรครีพับริกัน ดังนั้น หากเป็นร่างกฎหมายที่แต่ะพรรค มีความเห็นแตกต่างกันมาก โอกาสที่จะผ่านร่างกฎหมายไปให้ประธานาธิบดีลงนามอนุมัติ จึงยาก

4.2.2 การถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง (Impeachment)

          กรณีประธานาธิบดีอเมริกาถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ สภาผู้แทนราษฎรจะเป็นฝ่ายมีอำนาจสอบสวนเบื้องต้นว่า ข้อกล่าวหาประธานาธิบดีมีมูลหรือไม่(มาตรา 1 อนุมาตรา 2)  หากเห็นว่ามีมูลก็จะส่งเรื่องไปให้วุฒิสภา โดยวุฒิสภาจะทำหน้าที่ตัดสินว่า การกระทำของประธานาธิบดีมีความผิดจริงหรือไม่ (มาตรา 1 อนุมาตรา 3)

            4.3 การถ่วงดุลอำนาจระหว่างประธานาธิบดีกับสภาคองเกรสในการอนุมัติร่างกฎหมาย

          แม้ร่างกฎหมายจะได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสแล้ว หากประธานาธิบดีมีความเห็นแตกต่าง ก็อาจจะไม่ลงนามอนุมัติให้ประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมาย (veto) โดยส่งคืนร่างกฎหมายนั้นไปยังสภาคองเกรส หากสภาคองเกรสไม่สามารถยืนยันด้วยคะแนนเสียง 2/3 ของแต่ละสภา ร่างกฎหมายนั้นก็จะตกไป แต่ถ้ายืนยันด้วยคะแนนเสียง 2/3 ร่างกฎหมายนั้นก็จะมีผลใช้บังคับ

            4.4 การถ่วงดุลอำนาจระหว่างประธานาธิบดีกับสภาคองเกรสในด้านการทหารและการประกาศสงคราม

อำนาจในการประกาศสงคราม เป็นอำนาจของสภาคองเกรส(มาตรา 1 อนุมาตรา 8) แต่อำนาจในการสั่งเคลื่อนย้ายกองกำลังทหารเป็นอำนาจของประธานาธิบดี (มาตรา 2 อนุมาตรา 2) 

              สภาคองเกรสมีอำนาจในการจัดทำงบประมาณสนับสนุนกองทัพ  แต่การตั้งงบประมาณสนับสนุนกองทัพบก สภาคองเกรสจะตั้งงบประมาณสนับสนุนให้มีระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานเกิน 2 ปีไม่ได้ (มาตรา 1 อนุมาตรา 8)

สภาคองเกรส มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตั้งงบประมาณสนับสนุนกองทัพ แต่งบประมาณของกองทัพบก จะตั้งต่อเนื่องเกินกว่า 2 ปี ไม่ได้
สภาคองเกรส มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตั้งงบประมาณสนับสนุนกองทัพ แต่งบประมาณของกองทัพบก จะตั้งต่อเนื่องเกินกว่า 2 ปี ไม่ได้

            4.5 การถ่วงดุลอำนาจระหว่าง ศาลสูงกับประธานาธิบดีและสภาคองเกรส

          ศาลสูง (Supreme Court) มีอำนาจตัดสินคดีว่า กฎหมายใด คำสั่งใด หรือการ กระทำใด ขัดต่อรัฐธรรมนูญอเมริกา ซึ่งจะเป็นผลทำให้กฎหมาย คำสั่ง หรือการกระทำนั้นเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้อีกต่อไป (Judicial Power)

            ประธานาธิบดี เป็นผู้เสนอชื่อบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาของรัฐบาลกลางต่อวุฒิสภา หากวุฒิสภาเห็นชอบ ก็จะเป็นผู้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง

            สภาคองเกรสเป็นผู้ให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมายจัดตั้งงบประมาณของศาล ก่อนที่จะส่งร่างกฎหมายจัดตั้งงบประมาณไปให้ประธานาธิบดีลงชื่ออนุมัติ

          4.6 การถ่วงดุลอำนาจระหว่างสภานิติบัญญัติของมลรัฐ ประชาชน และคณะผู้เลือกตั้ง ประธานาธิบด

          การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา ไม่ใช่การเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม กล่าว คือ

            รัฐธรรมนูญให้อำนาจมลรัฐเป็นผู้คัดเลือกผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี (Elector) ของแต่ละมลรัฐ มีจำนวนเท่ากับยอดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของมลรัฐนั้น รวมกับจำนวนสมาชิกวุฒิสภาซึ่วมีมลรัฐละ 2 คน เช่น มลรัฐ ก มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน จะมีจำนวนผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี 3 คน (1+2= 3) (มาตรา 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 12/1804)

          ในปัจจุบัน แต่ละมลรัฐได้ใช้วิธีการให้ประชาชนเลือกผู้เลือกตั้งของมลรัฐ ต่อจากนั้น จึงให้ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีของแต่ละมลรัฐลงคะแนนในบัตรเลือกตั้งว่า จะเลือกผู้สมัครคนใด สังกัดพรรคใด เป็นประธานาธิบดี รวมทั้งรองประธานาธิบดี

            ปัจจุบัน คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี (Electoral College) มีจำนวนทั้งหมด 538 คน  ผู้สมัครที่จะได้เป็นประธานาธิบดี จะต้องได้รับคะแนนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีไม่น้อยกว่า 270 เสียง

5.วิเคราะห์โอกาสในการกระทำการปฏิวัติยึดอำนาจในอเมริกา

          การวิเคราะห์ว่า โอกาสที่จะมีการปฏิวัติยึดอำนาจในอเมริกามีมากน้อยเพียงใด ต้องตั้งคำถามก่อนว่า หากทหารจะทำการปฏิวัติรัฐประหารในอเมริกา เหมือนอย่างทหารในหลายประเทศที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา มีความเป็นไปได้หรือไม่  และหากประธานาธิบดีอเมริกา คิดจะเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่การปกครองระบอบอื่นจะทำได้หรือไม่

          5.1 หากทหารอเมริกา คิดจะทำการปฏิวัติยึดอำนาจเหมือนอย่างทหารในประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศเคยทำกัน จะเป็นไปได้หรือไม่

            คำตอบคือ ยากที่จะเป็นไปได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

                        5.1.1 ผู้มีอำนาจในการสั่งเคลื่อนย้ายกองกำลังทหารตามรัฐธรรมนูญ คือ ประธานาธิบดี ในฐานะผู้บัญชาการทหาร (Commander in Chief) ของประเทศอเมริกา ไม่ใช่ผู้บัญชาการทหารของเหล่าทัพต่าง ๆ ดังนั้น โอกาสที่ผู้บัญชาการทหารของเหล่าทัพต่าง ๆ จะใช้กำลังทหารเข้าทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลลงการปกครองเหมือนอย่างบางประเทศได้จึงมีน้อยมาก

การยึดอำนาจ ปฏิวัติรัฐประหาร ต้องใช้กองกำลังหหารบกเป็นกองกำลังหลัก
การยึดอำนาจ ต้องใช้กองกำลังหหารบกเป็นกองกำลังหลัก

                    5.1.2 ผู้มีอำนาจในการตั้งงบประมาณให้ทหารคือสภาคองเกรส โดยสภาคองเกรสมีอำนาจในการตั้งงบประมาณสนับสนุนกองทัพบกไม่เกินสองปีติดต่อกัน หลังจากนั้น การตั้งงบประมาณสนับสนุนกองทัพบกต้องเริ่มต้นกันใหม่ ดังนั้น โอกาสที่กองทัพบกจะมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจึงทำไม่ได้

            เมื่อสภาคองเกรสสามารถควบคุมการตั้งงบประมาณสนับสนุนกองทัพบกมิให้เติบใหญ่จนเกินไป จึงทำให้ทหารไม่อาจจะสร้างสมกองกำลังกองทัพบกให้เข้มแข็งจนสามารถทำการปฏิวัติรัฐประหารได้ ทั้งนี้เพราะคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญเล็งเห็นว่า กองทัพบกเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศมากกว่ากองทัพอื่น ๆ จึงเขียนรัฐธรรมนูญป้องกันไว้แต่เริ่มต้น

            5.2 หากประธานธิบดีอเมริกา ต้องการจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองประเทศไปเป็นรูปแบบอื่น เช่น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือระบบเผด็จการ มีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่

            คำตอบ คือ ยากที่จะเป็นไปได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

                      5.2.1การที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้สภานิติมลรัฐเป็นผู้มีอำนาจเลือกผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี เพื่อให้ผู้เลือกตั้งไปลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกชั้นหนึ่ง ก็เพราะคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องการให้ประธานาธิบดีเกิดความคิดหลงตนเองว่าตนเองยิ่งใหญ่กว่าใครทั้งหมดในแผ่นดิน เพราะได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงทั้งประเทศ และอาจใช้กำลังทหารยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นแบบอื่นที่ไม่ใช่การปกครองระบอบประชาธิปไตยได้

                        แม้คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญอเมริกา ต้องการจะให้ประธานาธิบดีเป็นผู้นำประเทศที่มีอำนาจมากและมีความเข็งแข็งพอที่จะปกป้องประเทศจากพระเจ้าจอร์จที่ 3 กษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร แต่ก็ไม่ต้องการให้ประธานาธิบดี ทำตัวเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 3 เสียเอง จึงต้องกำหนดมาตรการป้องกันไว้

                        5.2.2 รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานาธิบดี สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกินสองสมัย เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจจนจะกลายเป็นการสืบทอดอำนาจแบบระบบกษัตริย์หรือระบบเผด็จการในบางประเทศ

                        5.2.3 ศาลสูงอำนาจตัดสินว่า คำสั่งหรือการกระทำใดของประธานาธิบดีขัดต่อรัฐธรรมนูญ (judicial review) ดังนั้น หากประธานาธิบดีมีคำสั่งหรือการกระทำใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลสูงย่อมตัดสินให้เป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้

6.สรุป

          บทความนี้ต้องการชี้ให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า คณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญอเมริกาได้วางกลไกในการป้องกันมิให้เกิดการยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไว้อย่างรอบคอบและรัดกุม ด้วยการสร้างระบบแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจ มิให้มีอำนาจใดอำนาจหนึ่ง คือ สภาคองเกรส ประธานาธิบดี และศาลสูง มีอำนาจมากจนเกินไป โดยแต่ละอำนาจ จะต้องถูกตรวจสอบและถ่วงดุลจากอีกสองอำนาจ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้รัฐธรรมนูญอเมริกามีอายุยืนยาวนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1789 มาจนกระทั่งทุกวันนี้

            สำหรับความเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ในหัวข้อ คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

 คุยกับดร.ชา

          คู่สนทนาของผมวันนี้ คงเป็นคุณเนรมิต (ชื่อสมมุติ) เหมือนครั้งที่แล้ว

            “ สวัสดีครับ คุณเนรมิต วันนี้ผมต้องขอรบกวนเวลาท่านอีกครั้งหนึ่ง ในการสนทนาเกี่ยวกับโอกาสจะเกิดการปฏิวัติรัฐประหารในอเมริกา ว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

            ผมขอทราบความเห็นของท่านในประเด็นแรกเลยว่า หากไม่นับตอนเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ระหว่างปี ค.ศ.1861-1865  อันเป็นผลมาจากการประกาศเลิกทาสทั่วแผ่นดินอเมริกาของประธานาธิบดีลินคอล์น ท่านคิดว่า รัฐธรรมนูญอเมริกาไว้สร้างกลไกป้องกันมิให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารไว้รอบคอบและรัดกุมเพียงใด ” ผมถามเข้าประเด็นทันที

คุณเนรมิต คู่สนทนาของผม เป็นคนสบาย ๆ ยิ่งถ้าได้อยู่่ท่ามกลางธรรมชาติยิ่งชอบ เพราะทำให้เขาอดคิดถึงเเมื่อครั้งที่ได้ไปเรียนทีอเมริกา ดินแดนอันกว้างใหญ่ไม่ได้
คุณเนรมิต คู่สนทนาของผม เป็นคนสบาย ๆ ยิ่งถ้าได้อยู่่ท่ามกลางธรรมชาติยิ่งชอบ เพราะทำให้เขาอดคิดถึงเเมื่อครั้งที่ได้ไปเรียนทีอเมริกา ดินแดนอันกว้างใหญ่ไม่ได้

          “สวัสดีครับ ดร.ชา ผมชอบคำถามนี้ของท่านมาก ผมขอตอบดังนี้ว่า ชาวอเมริกัน เขามีอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่ตอนเป็นอาณานิคมของบริเตน คือ พวกเขาต้องการ เสรีภาพ ความเป็นปัจเจกชน ความเท่าเทียม และการปกครองตนเอง ดังนั้น เวลายกร่างรัฐธรรมนูญ เขาเอาอุดมการณ์นี้ไปเป็นหลักในการยกร่างรัฐธรรมนูญ  รวมทั้งคิดสร้างกลไกป้องกันมิให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบอื่นไว้อย่างรอบคอบและรัดกุมอย่างเห็นได้ชัดเจน ” คุณเนรมิตตอบอย่างมั่นใจแบบคนที่เคยไปเรียนปริญญาตรี-โท ที่อเมริกาหลายปี

            “ ถ้าเช่นนั้น ผมอยากให้คุณเนรมิตยกตัวอย่างประกอบให้มองเห็นอย่างเป็นรูปธรรมสักหน่อยได้ไหม ” ผมกระตุ้นให้ตอบในเชิงลึก

            “ ได้ ดร.ชา อย่างการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจนว่า ประธานาธิบดี เป็นผู้บัญชาการทหาร ทำให้อำนาจในการสั่งการกองกำลังทหารไปยังที่ใดในโลกนี้ เป็นของประธานาธิบดีแต่ผู้เดียว ดังนั้น การที่ทหารคิดจะยึดอำนาจก็จะไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีอำนาจในการสั่งการกองกำลังทหารให้เคลื่อนย้ายได้นั่นเอง

            เรื่องนี้พอจะชี้เห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญของเขาได้กำหนดให้อำนาจสูงสุดในการบังคับบัญชาทหารเป็นของฝ่ายการเมืองหรือพลเรือนโดยตรง คือประธานาธิบดี ” คุณเนรมิตพยายามตอบให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

            “ ขอถามอีกประเด็นหนึ่ง คือ ทำไมรัฐธรรมนูญมริกาจึงจงใจไม่ให้สภา คองเกรส ตั้งงบประมาณสนับสนุนกองทัพบกต่อเนื่องกันกินกว่าสองปี แต่กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ไม่ได้ระบุไว้ ” ผมถามเจาะลึกเข้าไปอีก

          “อ๋อ เรื่องนี้ คงเป็นเพราะคณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญอเมริกามองเห็นว่า ในการจะยึดอำนาจปฏิวัติรัฐประหาร ต้องใช้กองกำลังของกองทัพบกเป็นหลัก ไม่ใช่กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ก็เหมือนอย่างบ้านเรา จะเห็นได้ว่าเวลามีการปฏิวัติรัฐประหารทุกครั้ง ต้องใช้กองกำลังของกองทัพบกเป็นหลัก ” คุณเนรมิตตอบเชื่อมโยงมาที่เมืองไทยเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน

            “ ยอดมากคุณเนรมิต คำตอบขอบท่านชัดเจน เชื่อว่า คงจะสามารถทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจอะไรได้ดียิ่งขึ้น ขอขอบคุณเพื่อนอีกครั้งหนึ่งนะ ที่กรุณาสละเวลามาสนทนากันในวันนี้ ” ผมกล่าวขอบคุณพร้อมกับยุติสนทนา

          “ด้วยความยินดีครับ ดร.ชา ผมชอบการสนทนาในลักษณะนี้มาก หากมีโอกาสอีกเมื่อใด กรุณาอย่าลืมผม  ผมพร้อมที่จะมาตามคำเชิญของเพื่อนเสมอ” คุณเนรมิตกล่าวทิ้งท้ายอย่างอารมณ์ดี

ดร.ชา

24/10/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)(New***) 2

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)(New***)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18) 5

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18)

ชาว ไทย ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอุ้มหาย

4 COMMENTS

  1. ขอบคุณ คุณเนรมิตร อีกครั้งที่ได้มาแบ่งปันความรู้ค่ะ ไม่น่าเชื่อว่าคุณเนรมิตรจะเป็นคนสบาย นักเรียนนอกต้องใช้ชีวิตหรูหราในความคิดของ หนูค่ะ

    1. ถูกต้องแล้ว คนสบาย ๆ ก็ไม่ต้องมีความเครียดมาก เหมือนอย่างคุณเนรมิตนั่นแหละ

  2. การปฏิวัติไม่เกิดขึ้นในอเมริกา เพราะรัฐธรรมนูญได้วางรากฐานการปกครองไว้อย่างมีขั้นตอนค่ะ

    1. อเมริกาเป็นประเทศเกิดใหม่ ทำให้สามารถวางระบบและกลไกในการปกครองประเทศได้ง่าย เพราะไม่ต้องมีปัญหาในการที่จะเรื้อของเก่า

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: