85 / 100

ประเทศ เวียดนาม จะแซงไทยได้จริงหรือ เป็นบทความลำดับที่ 7 ของหมวด 12 เรืองเล่า ประเทศอาเซียน  โดยจะเล่าถึง ความนำ ประเทศ เวียดนาม-ข้อมูลพื้นฐาน แนวคิดในการวิเคราะห์  การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  การวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต่าง ๆ ระดับสากล  สรุป และคุยกับดร.ชา

แผนที่ประเทศ เวียดนาม (Wikipedia, Geography of Vietnam, 18th March 2021)
แผนที่ประเทศ เวียดนาม (Wikipedia, Geography of Vietnam, 18th March 2021)

Table of Contents

1.ความนำ

          การจับคู่แข่งขันหรือการจับคู่เปรียบเทียบว่า ประเทศใดน่าจะเหนือว่าประเทศใด นับเป็นวิธีการที่จะทำให้มองเห็นภาพของประเทศคู่เปรียบเทียบได้เป็นอย่างดีว่า ประเทศใดเหนือกว่าประเทศใด เพราะเหตุใด

            การจับคู่แข่งขันของประเทศไทยในอดีต

            ในอดีตประเทศไทยเคยถูกจับคู่เปรียบเทียบมาแล้ว 2 ครั้ง คือ

            ครั้งแรก เป็นการจับคู่เปรียบเทียบประเทศไทยกับญี่ปุ่น ในยุคของการปฏิรูปสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และญี่ปุ่นในยุคของการปฏิรูปจักรพรรดิเมจิ

            ครั้งที่สอง เป็นการจับคู่เปรียบเทียบประเทศไทยกับเกาหลีใต้ในยุคของสงครามเย็น

            ผลของการจับคู่เปรียบเทียบทั้งสองครั้ง ปรากฏว่า ประเทศไทยเป็นฝ่ายแพ้ ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ได้เป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าแล้ว โดยญี่ปุ่นสามารถก้าวขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจได้ตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนเกาหลีใต้สามารถก้าวขึ้นเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วก่อนสิ้นศตวรรษที่ 20

          ปัจจุบันทั้งประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ต่างเป็นประเทศชั้นนำของโลก ทั้ง ๆ ที่ในอดีต ทั้งสองประเทศเคยเป็นประเทศยากจน ทรัพยากรธรรมชาติก็มีน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับไทย

            การจับคู่แข่งขันเปรียบเทียบในศตวรรษที่ 21

            บัดนี้ ได้มีการจับคู่เปรียบเทียบกับประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง คือ การจับคู่เปรียบเทียบกับ ประเทศ เวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ตามข้อมูลในปัจจุบันถือได้ว่าประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าเวียดนาม

          อย่างไรก็ดี ผมได้กล่าวในบทความที่แล้ว (6) 10 ประเทศ อาเซียน น่าจะมีบทบาทต่อสถานการณ์ปัจจุบันของพม่าได้อย่างไร โดยได้กล่าวว่า ประเทศอาเซียน ต่างมีรูปแบบการปกครองประเทศเป็นของตนเอง กฎบัตรอาเซียนไม่ได้กำหนดไว้ว่า ประเทศสมาชิกจะต้องมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น และประเทศสมาชิกต้องเคารพในอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศ จะเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในไม่ได้ 

           กล่าวคือ การที่ประเทศเวียดนาม ลาว หรือบรูไน มิได้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ก็ไม่ใช่ปัญหาในการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ดังนั้น การจับคู่แข่งขันระหว่างเวียดนามกับไทย จึงเป็นการจับคู่ของประเทศที่มีระบอบการปกครองแตกต่างกัน

            ปัญหา คือ หากเวียดนามต้องการจะแซงไทยให้ได้ มีความเป็นไปได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด

            ผมคิดว่าหลายท่านคงอยากจะทราบคำตอบเหมือนกัน ดังนั้น ผมจึงได้เขียนบทความนี้ขึ้นมา เพื่อลองหาคำตอบกว้าง ๆ 

2.ประเทศ เวียดนาม – ข้อมูลเบื้องต้น

            ข้อมูลเบื้องต้นของเวียดนาม  พอจะสรุปได้ดังนี้ คือ  

             2.1 พื้นที่

            เวียดนามเป็นประเทศที่ไม่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร กล่าวคือ เวียดนามมีพื้นที่ 331,210 ตร.กม. นับเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่อันดับที่ 66 ของโลก และเป็นอันดับที่สี่ของอาเซียน มีขนาดใกล้เคียงกับประเทศมาเลเซีย และฟิลิปปินส์

            2.2 จำนวนประชากรและโครงสร้างประชากร

            เวียดนามมีจำนวนประชากรเมื่อปี 2021 จำนวน 97,338,579 มากเป็นอันดับ 15 ของโลก และมากเป็นอันดับสามของอาเซียน รองลงมาจากอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีความหนาแน่นเฉลี่ยของประชากร 314 คนต่อหนึ่งตร.กม. มีอายุเฉลี่ย 32 ปี และอาศัยอยู่ในเมืองร้อยละ 38

          2.3 ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ

อ่าวฮาลองเบย์ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเวียดนาม (Wikipedia, Vietnam, 18th March 2021)
อ่าวฮาลองเบย์ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเวียดนาม (Wikipedia, Vietnam, 18th March 2021)

            ตำแหน่งตั้งของประเทศเวียดนามถือว่าตั้งอยู่ชัยภูมิที่ดี กล่าว คือ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน มีความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้ 1,650 กิโลเมตร ขนานไปกับคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ในส่วนที่เป็นอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย

            2.4 ทรัพยากรธรรมชาติ

            เวียดนาม เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้และแร่ธาตุ

            2.5 ประวัติศาสตร์การต่อสู้กับชาติมหาอำนาจ

            เวียดนามมีประวัติศาสตร์ในการต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชให้แก่ประเทศมาเป็นเวลาอันยาวนาน ในยุคโบราณต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีน ในยุคของการล่าอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และต้องตกอยู่ภายใต้การครอบครองของสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา แต่เวียดนามก็สามารถรบเอาชนะชาติมหาอำนาจทั้สองได้ และสามารถรวมเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้เข้าเป็นประเทศเดียวกัน คือประเทศเวียดนาม ในปัจจุบันนี้

            2.6 รูปแบบการปกครองประเทศ

          รูปแบบการปกครองของเวียดนาม  เป็นการปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีพรรคการเมืองเดียว  มีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่กรุงฮานอย ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ แต่เมืองใหญ่ที่สุดคือ นครโฮจิมินห์ ตั้งอยู่ทางภาคใต้   

3. แนวคิดในการวิเคราะห์

          การจะวิเคราะห์เปรียบเทียบว่า ประเทศใดน่าจะมีความเจริญมากกว่าประเทศใด จำเป็นต้องมีหลักการในวิเคราะห์ มิใช่เอาความรู้สึกมาพูดขึ้นมาลอย ๆ  เหมือนอย่างที่พวกเรามักจะได้ยินคำกล่าวอยู่บ่อย ๆ เวลาคนไทยไม่พอใจการปกครองและการบริหารประเทศของรัฐบาลไทย มักจะกล่าวด้วยถ้อยคำประชดประชันในทำนองว่า

            “อีกหน่อยเวียดนามก็จะแซงไทย”

            “เมื่อก่อนไทยจับคู่กับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็ชนะ ต่อมาจับคู่กับเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ก็ชนะ

คราวนี้ต้องลดชั้นลงมาแข่งกับเวียดนาม เดี๋ยวเวียดนามก็คงจะชนะอีก ”

            ดังนั้น เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า การจับคู่แข่งขันเปรียบเทียบระหว่างประเทศ เวียดนาม กับไทย ใน

อนาคต ประเทศใดน่าที่จะมีโอกาสเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วก่อนกัน  จึงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกัน โดยอาจแบ่งเป็นข้อมูล 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  • ข้อมูลพื้นฐาน
  •  ดัชนีชี้วัดความสามารถด้านต่าง ๆ  ในระดับสากล

4.การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

                 ในการที่จะชี้ว่า ประเทศใดน่าที่จะมีความเจริญมากกว่าประเทศใด การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น เพราะถ้าพื้นฐานประเทศไม่ดีพอ โอกาสที่ประเทศนั้นจะเจริญก้าวหน้าก็จะลดน้อยลง จนกว่าจะสามารถปรับพื้นฐานของประเทศให้ดีขึ้น

            สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคระหว่างเวียดนามและไทย มีดังนี้

            4.1 ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ

            เมื่อเปรียบเทียบตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ ประเทศไทยน่าจะได้เปรียบประเทศ เวียดนาม เพราะตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ตรงศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้ไทยเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในด้านต่าง ๆ

            นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแนวเขตเชื่อมต่อมหาสมุทรที่สำคัญของโลกสองมหาสมุทร คือ มหาสมุทรแปซิฟิก ด้าทิศตะวันออกของประเทศ และมหาสมุทรอินเดีย ทางด้านทิศตะวันตกของประเทศ

            4.2 จำนวนประชากรและโครงสร้างประชากร

            ตามข้อมูลของ Worldometer ปี 2021 แสดงให้เห็นว่า ประเทศ เวียดนามได้เปรียบไทยทั้งด้านจำนวนประชากรและโครงสร้างประชากร กล่าวคือ

            ด้านจำนวนประชากร

              เวียดนามมีประชากรเมื่อปี 2020 จำนวน 97,338,579 คน มากเป็นอันดับที่ 15 ของโลก มากกว่าประชากรของไทยจำนวน 27,538,601 คน (ประชากรไทยมีจำนวน 69,799,978 คน นับมากเป็นลำดับที่ 20 ของโลก )

          ด้านโครงสร้างของประชากร

            หากพิจารณาด้านอัตราการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรต่อปี  ความหนาแน่นของประชากร อายุเฉลี่ยของประชากร และจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง พบว่าประเทศ เวียดนามก็ยังได้เปรียบไทยอีก กล่าวคือ

            เวียดนามมีอัตราการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรต่อปี ร้อยละ 0.91 ในขณะที่ไทยมีอัตราการเปลี่ยนแปลง เพียงร้อยละ 0.25 ซึ่งสอดคล้องกับอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามเท่ากับ 32 ปี ในขณะที่อายุเฉลี่ยของคนไทยเท่ากับ 40 ปี แสดงให้เห็นว่า อัตราเด็กเกิดใหม่ของเวียดนามสูงกว่าไทยมาก ซึ่งส่งผลให้เวียดนามมีคนหนุ่มสาวที่อยู่ในวัยทำงานมากกว่าไทยมากเช่นเดียวกัน และมีส่วนสำคัญที่ทำให้อัตราค่าแรงงานเวียดนามต่ำกว่าไทยมาก

            หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เวียดนามเป็นสังคมของคนหนุ่มสาว ส่วนไทย เป็นสังคมของผู้สูงอายุ การมีคนหนุ่มสาวมาก แสดงให้เห็นว่า เวียดนามมีแรงงานที่จะสามารถป้อนโรงงานอุตสาหกรรมได้มากกว่าไทยอย่างชัดเจน ประกอบกับอัตราค่างแรงงานเวียดนามถูกว่าไทยมาก จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการเป็นแรงดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติอยากเข้าไปลงทุนในเวียดนามมากกว่าไทย

            แต่ถ้ามองในด้านความเป็นสังคมเมือง เวียดนามมีประชากรที่อาศัยอยู่ในสังคมเมืองร้อยละ 38 น้อยกว่าไทย ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ในสังคมเมืองร้อยละ 51 แสดงให้เห็นว่า ภาพรวมของการพัฒนาประเทศของเวียดนามยังตามหลังไทยพอสมควร

            4.3 ด้านการเมืองการปกครอง

            ภายหลังสงครามเย็นได้สิ้นสุดลงก่อนจะถึงศตวรรษที่ 21 ด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้ประเทศส่วนใหญ่ในโลกต้องปรับตัวเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ยังมีบางประเทศที่ยังคงยืนหยัดจะใช้รูปแบบการปกครองประเทศในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ต่อไป โดยยอมรับระบบเศรษฐกิจแบบทุนิยมเข้ามาใช้ในการพัฒนาประเทศ หนึ่งในบรรดาประเทศเหล่านั้นคือ เวียดนาม

            การที่เวียดนามยังคงยืนหยัดในการปกครองประเทศในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ต่อไปโดยให้มีพรรคการเมืองพรรคเดียว พร้อมกับยอมรับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมแบบประเทศตะวันตก ทำให้การเมืองการปกครองเวียดนามมีเสถียรภาพ บ้านเมืองสงบ ไม่มีการเดินขบวนประท้วง ไม่มีการก่อม็อบ เพราะไม่มีการแข่งขันทางการเมือง อันเป็นผลดีต่อการเดินไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาประเทศในระยะยาว เพราะสามารถดำเนินต่อเนื่อง แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงตามวาระ โดยไม่กระทบนโยบายการบริหารประเทศแต่อย่างใด

                ผิดกับประเทศไทยที่เลือกใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ด้วยความไม่พร้อมเมื่อตอน

เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์ เมื่อปีพ.ศ.2475 จึงทำให้มีสภาพเป็นประชาธิปไตยแบบลุ่ม ๆ ดอน ๆ อย่างที่พวกเราเห็น เพราะมีการยึดอำนาจรัฐประหารหลายครั้ง ทำให้ไทยประสบปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมือง และปัญหาการขาดเสถียรภาพของรัฐบาลเรื่อยมา ซึ่งย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาประเทศในระยะยาว เพราะขาดความต่อเนื่องนั่นเอง

          4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

                    เมื่อได้นำข้อมูลพื้นฐานดังกล่าวข้างต้นมาวิเคราะห์แล้ว พอจะสรุปได้ดังนี้ คือ

                      4.4.1 ตามข้อมูลพื้นฐานข้างต้น เวียดนามมีจุดแข็งกว่าไทยในด้านจำนวนประชากรและโครงสร้างประชากร กล่าวคือ เวียดนามมีประชากรมากกว่าไทย 27,538,601 คน นอกจากนี้ เวียดนามยังมีประชากรในวัยทำงานมากเพราะมีอายุเฉลี่ยเพียง 32 ปี ส่วนไทยประชากรมีอายุเฉลี่ยมากถึง 40 ปี กลายเป็นประเทศสังคมผู้สูงอายุชาติเดียวในอาเซียน

                      ดังนั้น ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่ขาดแคลนแรงงานมาก ต้องนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานจากพม่า กัมพูชา และลาว ตลอดจนเวียดนาม

                    4.4.2 การมีเสถียรภาพทางการเมืองและเสถียรภาพของรัฐบาลของเวียดนาม ทำให้บ้านเมืองสงบ ไม่มีความวุ่นวายทางการเมือง ทำให้นักลงทุนจากต่างชาติอยากเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ประกอบกับมีแรงงานจำนวนมากและค่าแรงงานถูกกว่าไทยมาก

                  4.4.3 ประเทศไทย แม้มีจุดแข็งในด้านตำแหน่งที่ตั้งของประเทศ ซึ่งอยู่ตรงกลางของอาเซียน เหมาะสมที่จะใช้เป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ ของอาเซียน ก่อนที่จะกระจายออกตามประเทศอาเซียนต่าง ๆ แต่ไทยมักจะประสบปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเมืองและเสถียรภาพของรัฐบาลอยู่บ่อย ๆ  

           ดังจะเห็นได้จากมีการรัฐประหารบ่อยครั้ง แต่ละครั้งมีการยกเลิกและร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ แม้มีรัฐธรรมนูญใหม่แล้วก็ยังไม่ยอมรับ เพราะไม่พอใจบางมาตราในรัฐธรรมนูญที่เป็นอุปสรรคต่อการยึดครองอำนาจรัฐของฝ่ายตน

            แสดงให้เห็นว่า การเมืองไทยยังไม่นิ่งว่า ต้องการปกครองรูปแบบใดกันแน่จึงจะเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมากที่สุด ประกอบกับการมีชาติมหาอำนาจต้องการที่จะเข้ามามีอิทธิพลครอบงำ เพื่อชิงความได้เปรียบเหนือประเทศคู่แข่ง ผิดกับเวียดนามที่การเมืองนิ่งแล้ว กล่าวคือ มีการปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีพรรคการเมืองพรรคเดียว แต่ใช้เศรษฐกิจระบบทุนนิยมแบบประเทศตะวันตก

5.การวิเคราะห์จากดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านต่าง ๆ ระดับสากล

          หลังจากได้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของเวียดนามเปรียบเทียบกับไทยตามข้อ 4 ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แบบกว้าง ๆ แล้ว ต่อไปต้องนำข้อมูลที่เป็นดัชนีความสามารถการแข่งขันด้านต่าง ๆ ในระดับสากลมาวิเคราะห์ในเชิงลึกมากขึ้น

            การจะวัดว่าประเทศใดมีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านใดเหนือกว่าประเทศใด จำเป็นต้องดูจากดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านต่าง ๆ ระดับสากล  ที่สำคัญได้แก่

  • รายได้รวมประชาชาติ
  • รายได้เฉลี่ยต่อหัว
  • ความสามารถในการแข่งขัน
  • ความสะดวกในการทำธุรกิจ
  • นวัตกรรม
  • การคอร์รัปชั่น
  • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

         5.1 อันดับรายได้รวมประชาชาติหรือจีดีพี

            ตามข้อมูลองค์การสหประชาชาติ รายได้รวมประชาชาติ หรือจีดีพี (GDP-nominal) เมื่อปี

2019 ปรากฏว่า เวียดนามมีรายได้รวมประชาชาติ จำนวน 261,921 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็น

อันดับที่ 46 ของโลก ส่วนไทยมีรายได้รวมประชาชาติ จำนวน 543,549 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็น

อันดับที่ 23 ของโลก และสูงเป็นอันดับสองของประเทศอาเซียน รองลงมาจากอินโดนีเซีย ซึ่งมีจีดีพีจำนวน

1,119,191 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            5.2 อันดับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร (per capita income)

            ตามข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรปี 2019 พบว่า เวียดนาม

มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร จำนวน 2,715 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 135 ของโลก ส่วน

ไทยมี รายได้เฉลี่ยต่อหัว 7,808 ดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 82 ของโลก

            อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ คาดหมายว่า รายได้เฉลี่ยต่อหัวของเวียดนาม

ประจำปี 2020 จะสูงขึ้นจากเดิมมาก เป็น  3,498 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  นับเป็นอันดับ  115  ของโลก

ส่วนไทยกลับจะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวลดลงเหลือ 7,295 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  แต่อันดับสูงขึ้นเป็นอันดับที่

77 ของโลก

            5.3 ดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)

         ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของปี 2018  จัดโดย Trading Economics

 พบว่า สิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีดัชนีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดย

เลื่อนขึ้นมาจากอันดับ 2 ของปีก่อน ส่วนเวียดนาม อยู่ในลำดับที่ 67 เลื่อนขึ้นมาจากลำดับที่ 77 ของปี

ก่อน ซึ่งเป็นลำดับที่ต่ำกว่าไทย กล่าว คือ ไทยอยู่ในลำดับที่ 40 ลดลงมาจากลำดับที่ 38 ของปีก่อน

          5.4 ดัชนีความสะดวกในการทำธุรกิจ (Doing Ease)

         ผลการจัดอันดับความสะดวกในการทำธุรกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เมื่อปี 2020 พบว่า

ประเทศนิวซีแลนด์ ได้อันดับหนึ่งของโลกสองปีติดกัน โดยมีสิงคโปร์ได้อันดันสอง เป็นเวลาสองปี

ติดกันเช่นกัน

            ส่วนเวียดนามได้อันดับที่ 70 ลดลงจากปี 2019 ซึ่งได้อันดับ 69 โดยมีไทยอยู่ในอันดับที่

 21 สูงขึ้นจากปีก่อน ซึ่งอยู่อันดับ 27

         5.5 ดัชนีนวัตกรรม (innovation)

            ผลการจัดอันดับล่าสุดของ Bloomberg Innovation Index พบว่า อันดับดัชนี

นวัตกรรมของไทยเลื่อนจากอันดับ 40 ขึ้นเป็นอันดับ 36 ส่วนเวียดนามเลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ 55

         5.6 ดัชนีการคอร์รัปชัน

         องค์กร Transparency International ได้จัดทำดัชนีคอร์รัปชั่นโลกมาตั้งแต่ปี ค.ศ.

1995 สำหรับปี 2020 มีตัวเลขดัชนีคอร์รัปชั่นที่น่าสนใจ ดังนี้ คือ สิงคโปร์ได้ 85 คะแนน คิดเป็น

ลำดับที 3 ของโลก บรูไนได้ 60 คะแนน เป็นลำดับที่ 35 ของโลก มาเลเซียได้ 51   คะแนน เป็นลำดับที่

57 ของโลก เวียดนามและไทยได้ 36 คะแนนเท่ากัน เป็นลำดับที่ 104 ของโลก

            5.7 ดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human development index)

         โครงการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ เป็นผู้จัดข้อมูลดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย

เก็บข้อมูลด้านสุขภาพ การศึกษา และรายได้ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก แล้ววิเคราะห์จัดอันดับประจำปี

            สำหรับผลการจัดอันดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของปี 2019 พบว่า นอรเวย์ เป็นประเทศที่ได้

คะแนนสูงสุด คือ 0.957 สิงคโปร์ได้คะแนน 0.938 เป็นอันดับที่ 11 ของโลก ไทยได้คะแนน 0.776

เป็นลำดับที่ 79 ส่วนเวียดนามได้คะแนน 0.704 เป็นอันดับที่ 117 ของโลก

          5.8 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านต่าง ๆ ระดับสากล

         ตามที่ได้นำเสนอข้อมูลดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านต่าง ๆ ระดับสากล จำนวน 7

ประการดังกล่าวข้างต้น พบว่า ดัชนีทุกตัว ไทยอยู่ในอันดับสูงกว่าเวียดนามทั้งสิ้น คงมีเฉพาะดัชนีลำดับที่

5 คือ ดัชนีการคอร์รัปชั่นเท่านั้น ที่เวียดนามและไทยได้คะแนนเท่ากัน คือ ได้คะแนน 36 คะแนน และอยู่

ในลำดับที่ 104 ร่วม

            แต่ถ้าพิจารณาชี้วัดที่สำคัญ คือ รายได้รวมประชาชาติและรายได้เฉลี่ยต่อหัว จะพบว่า ช่องว่าง

ของรายได้ประชาชาติหรือจีดีพี และรายได้เฉลี่ยต่อหัว ระหว่างเวียดนามกับไทย ยังมีมาก กล่าวคือ

 เวียดนามมีขนาดจีดีพี 261,921 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ไทยมีขนาดจีดีพี 543,549 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐ หรือขนาดจีดีพีไทยโตเป็น 2 เท่าของขนาดจีดีพีเวียดนาม

            ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อหัวของเวียดนาม 2,715 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อหัว

    ของไทยของไทย 7,808 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นรายได้เฉลี่ยต่อหัวของไทย คิดเป็น 2.9 หรือเกือบ

เป็น 3 เท่าของรายได้เฉลี่ยเวียดนามนั่นเอง

6. สรุป

         เมื่อได้นำข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านต่าง ๆ ระดับสากล มา

วิเคราะห์แล้ว พบว่า เวียดนามมีจุดแข็งที่เหนือกว่าไทยอย่างชัดเจนสองประการเท่านั้น คือ การมี

เสถียรภาพทางการเมืองและการมีเสถียรภาพของรัฐบาล และการมีจำนวนประชากรทั้งยอดรวมและ

จำนวนประชากรในวัยทำงานหรือวัยหนุ่มสาวมากกว่าไทยเห็นได้อย่างชัดเจน

            หากประเทศไทยไม่อยากให้เวียดนามแซงได้ ก็จะต้องหาทางแก้ปัญหาทั้งสองประการ

ให้จบโดยเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมือง และปัญหาสังคมผู้สูงอายุ     

             ปัญหาการเมืองก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้ามั่นใจว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเอาด้วย ก็ให้ทำ

ประชามติก่อนว่าประขาชนจะยินยอมให้แก้รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับไหม        

            ส่วนปัญหาขาดแคลนคนในวัยทำงาน ก็น่าจะหาทางรณรงค์ให้คู่สมรสใหม่มีบุตรอย่างน้อยสองคน

 โดยรัฐจัดงบประมาณสร้างจูงใจเป็นเงินรางวัลก้อนโตพอสมควร เชื่อว่า จะทำได้ เพราะประเทศไทยมีเนื้อที่มากกว่าเวียดนามร่วมสองแสนตารางกิโลเมตร แต่ยังมีประชากรน้อยกว่าราว 27 ล้านคน

แสดงว่า พื้นที่ประเทศไทยยังสามารถรองรับจำนวนประชากรได้มากว่าปัจจุบันอีกมาก ซึ่งอาจจะรองรับได้

มากถึง 80 ล้านคน

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ในหัวข้อ คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

คุณเเบนนี่ คู่สนทนา เรื่อง ประเทศ เวียดนาม
คุณเบนนี่ คู่สนทนา เรื่อง ประเทศ เวียดนาม

         คู่สนทนาของผมในวันนี้ เราได้รับเกียรติจาก คุณเบนนี่

            “ สวัสดี คุณเบนนี่ เห็นหายหน้าไปนานเลยนะ คงจะยุ่งอยู่กับงาน ” ผมทักทายแบบคนคุ้นเคยกัน

            “ สวัสดีครับ อาจารย์ พูดถึงงานก็ยุ่งพอสมควร แต่วันนี้ผมพอจะมีเวลาว่าง เลยถือโอกาสมาแวะ

คุยกับอาจารย์ เผื่ออาจารย์มีเรื่องสนุก ๆ เล่าให้ผมฟัง “ คุณเบนนี่ทักทายผมตอบ

            “ พอดีเลย อาจารย์กำลังอยากจะชวนคุยเรื่องประเทศ เวียดนามหน่อย สนใจไหม  เรื่องเวียดนาม

จะแซงไทย ” ผมได้จังหวะรีบชวนคุย

            “ดีครับ เรื่องเวียดนามเป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นประเทศเพื่อนบ้านด้วยกัน แม้จะไม่มีชายแดนติดกัน แต่

ก็อยู่ไม่ไกลกัน โดยเฉพาะคนแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขาชอบไปเที่ยวหรือศึกษาดูงานเวียดนามกัน

บ่อย ๆ ผมเองก็เคยไปมาแล้ว 2-3 ครั้ง ก็สนุกดี ” คุณเบนนี่อดเล่าอวดผมไม่ได้

            “ เอาอย่างนี้นะ อาจารย์ขอถามตรง ๆ เลยว่า ในมุมมองของคุณเบนนี่คิดว่า

 เวียดนามมีโอกาสจะแซงเอาชนะไทยได้ไหม หมายถึง เวียดนามจะมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นประเทศที่

มีรายได้สูง หรือพูดอีกทีก็คือ ประเทศที่พัฒนาแล้วนั่นแหละ ” ผมถามตรง ๆ

ปลัดเบนซ์ คู่สนทนา เรื่อง ประเทศ เวียดนาม
คุณเบนนี่

            “ อ๋อ ผมคิดว่า หากเป็นด้านการเกษตรก็ไม่แน่นะ เพราะน้ำท่าเขาอุดมสมบูรณ์มากกว่าเรา ได้ยินมาว่าปีหนึ่งเขาทำนาได้ตั้ง 3-4 หน ในขณะที่บ้านเรา ส่วนใหญ่ก็ทำนาได้แค่ปีละหน ก็อาจจะมีบ้างที่อยู่เขตชลประทาน อาจจะพอทำนาในบางปีได้สัก 2 ครั้ง เว้นแต่ถ้าปีนั้นถ้าฝนแล้ง ก็คงทำได้แค่ครั้งเดียว ”

 คุณเบนนี่ตอบแบบอ้อมค้อม ไม่ฟันธง

            “ เรามาคุยกันในเชิงลึกสักหน่อยว่า มีอะไรบ้างที่คุณเบนนี่เห็นว่า เวียดนามเหนือกว่า

ไทย ” ผมถามเพื่อบีบประเด็นให้แคบลง

            “ในความเห็นผมนะอย่างแรก ผมคิดว่า เวียดนามเขามีเสถียรภาพทางการเมือง การเมืองเขานิ่ง

มาก เพราะเขาปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีพรรคการเมืองพรรคเดียว ไม่ต้องมีการ

เลือกตั้งอย่างบ้านเรา ถึงเวลาครบวาระ เขาก็เปลี่ยนรัฐบาลไปด้วยความเรียบร้อย เรียบร้อยจนเราแทบจะ

ไม่ได้ยินข่าวนั่นแหละ ไม่เหมือนบ้านเรา พอเลือกตั้งเสร็จ กว่าจะตั้งรัฐบาลได้ก็ช่างยากลำบาก

            หลังจากนั้น ได้รัฐบาลแล้ว การบริหารประเทศก็ไม่ใช่ง่าย ฝ่ายค้านหรือฝ่ายแค้นก็ไม่ทราบ คอยจ้องแต่

จะล้มรัฐบาล ” คุณเบนนี่บรรยายอย่างสนุกปาก

            “ แล้วการที่นักการเมืองไทยเขาอยากจะยกร่างรัฐธรรมใหม่ทั้งฉบับนี้ คุณเบนนี่

มองเห็นอย่างไร ” ผมระบุประเด็นให้แคบเข้ามา

            “ ตัวนี้แหละ ที่ยืนยันได้ว่า ประเทศไทยมีปัญหาขาดเสถียรภาพทางการเมือง วัน ๆ ไม่ทำอะไร คิด

แต่จะต้องล้มกระดาน สร้างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประโยชน์ต่อพวกตน แต่ปากก็อ้าง

ประชาชนนะ

            ความจริง รัฐธรรมนูญเขาร่างมาอย่างดีแล้ว ประชาชนก็ได้ออกเสียงประชามติสถาปนา

รัฐธรรมนูญ อย่างที่เรียกว่า ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญขึ้นมาแล้ว จะกล่าวหาว่า

รัฐธรรมนูญไม่ดี ไม่น่าจะฟังขึ้น ” คุณเบนนี่พูดอย่างสนุกปากอีก

            “ถ้าเช่นนั้น คุณเบนนี่คิดว่าน่าจะทำอย่างไร ” ผมถามขอความคิดเห็นในชิงสร้างสรรค์

บ้าง

            “ผมคิดว่าง่ายนิดเดียว ถ้าไม่มีผลประโยชน์อย่างอื่นแอบแฝงหรือซ่อนเร้นอยู่ในเกมการขอยกร่าง

รัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ คือ มาตราใดที่เป็นปัญหาจริง ๆ ก็ขอแก้เฉพาะมาตรานั้น อย่างที่เรียกว่าขอแก้เป็น

รายมาตรา หากไม่มีอะไรแอบแฝง การขอแก้รายมาตราสะดวกที่สุด ดีที่สุด ประหยัดที่สุด และไม่ต้องไป

เดือดร้อนประชาชน   

              อเมริกาเขาก็ทำอย่างนี้ เขาประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1789 หลังจากนั้น

 ก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก 27 ฉบับ นับถึงบัดนี้รัฐธรรมนูญอเมริกามีอายุยืนยาวได้ 232 ปี ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร อเมริกาก็ยังเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกได้ ” คุณเบนนี่เสนอความเห็นในทางสร้างสรรค์บ้าง

            “ อาจารย์อยากให้สรุปว่า ในความเห็นของคุณเบนนี่ เวียดนามน่าจะแซงไทย ก้าวขึ้นเป็น

ประเทศที่มีรายได้สูงหรือประเทศที่พัฒนาแล้วได้ไหม ” ผมบีบให้สรุป

            “ ถ้าพิจารณาตามข้อมูลที่อาจารย์เล่ามาในบทความข้างต้นแล้ว ผมยังเชื่อว่า ไทยน่าจะ

เข้าถึงป้ายก่อน แต่ถ้ามัวแต่วุ่นวายแต่การแก้ปัญหาการเมืองไม่จบสิ้นเสียที เวียดนามเขาอาจจะ

แซงได้ไม่ยาก เพราะตามข้อเท็จจริงเวียดนามเขาโตวันโตคืน เรียกว่า เราประมาทไม่ได้เลย” คุณเบนนี่

ตอบเข้าเป้าทีเดียว

            “ ดีมาก คุณเบนนี่ อย่างน้อยก็คงช่วยให้คนไทยหายกังวลลงบ้าง แต่ก็อย่างคุณปลัดว่านั่น

แหละ ประเทศไทย อย่าประมาทก็แล้วกัน

ขอถามความเห็นแถมท้ายหน่อย ทำอย่างไร ประเทศไทยจะมีคนหนุ่มสาวมาเป็นกำลังสร้างชาติเพิ่มขึ้น “

” ในความเห็นของผมนะครับ อาจารย์ เรื่องนี้แก้ง่ายกว่าแก้ปัญหาการเมืองไทยเยอะ เพียงแค่รัฐบาลอาจจะกำหนดนโยบายว่า หากคู่สมรสใด มีบุตรคนแรก รัฐจะให้เงินรางวัลมีบุตรสร้างชาติ 50,000 บาท และถ้ามีบุตรคนที่สอง รัฐจะให้เงินรางวัลมีบุตรสร้างชาติ 100,000 บาท หรืออาจจะกำหนดเป็นนโยบายมากกว่าการมีบุตร 2 คนก็ได้ แต่อัตรารางวัลต้องสูงขึ้น

ถ้ารัฐบาลทำอย่างที่ผมเสนอมา ผมพร้อมที่จะสละโสด และมีบุตรอย่างน้อย 2 คน เพื่อเอาเงินรางวัลมีบุตรสร้างชาติไงครับ อาจารย์ ” คุณเบนนี่ ตอบด้วยความคึกครื้น

อาจารย์เห็นด้วยกับคุณเบนนี่นะ

            วันนี้คงรบกวนเวลาคุณเบนนี่เท่านี้ ขอบคุณมาก จะไปสอบอะไรก็ขอให้สมหวังเสียทีนะ” ผม

กล่าวยุติการสนทนาพร้อมให้พรเล็กน้อย

            “ ขอให้สมพรปากครับอาจารย์ ”

                                    ดร.ชา  18/03/21

แหล่งอ้างอิงข้อมูลประกอบบทความ

1.https://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/

2.https://en.wikipedia.org/wiki/Vietnam

3.https://tradingeconomics.com/country-list/ease-of-doing-business

4.https://en.wikipedia.org/wiki/Ease_of_doing_business_index

5. https://en.wikipedia.org/wiki/International_Innovation_Index

6. https://en.wikipedia.org/wiki/Corruption_Perceptions_Index

 7.https://en.wikipedia.org/wiki/Global_Competitiveness_Report  8.https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_Human_Development_Index 

9.https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)

 10.https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)_per_capita

11.https://www.wipo.int/global_innovation_index/en/202

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

8 COMMENTS

  1. อ่านบทความแล้วเห็นภาพชัดเจนครับอาจารย์ อยากให้นักการเมืองบ้านเราอ่านและนำไปทำนโยบายในประเด็นที่เราเสียเปรียบ เช่น เสถียรภาพทางการเมืองและโครงสร้างประชากร ส่วนความสามารถในการแข่งขันระดับสากล ไทยไม่เป็นรองเวียดนามแม้แต่ด้านเดียวครับ

    1. แต่บางทีนักการเมือง เขาอาจจะอ่านแล้วไม่เข้าใจก็ได้ เพราะเขามีส่วนได้เสีย

  2. จากข้อมูลที่อาจารย๋เขียนมาข้างต้น กระผมเห็นว่า ถ้าไทยยังขาดเสถียรภาพทางการเมืองยืดเยื้อต่อไป และมีอัตราการเพิ่มประชากรที่น้อยลงแบบนี้ ไทยก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ

    1. การที่ประเทศไทย ยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าาที่ควร ทั้ง ๆ ทีมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งทีดีมากประเทศหนึ่งของโลก ก็เพราะบ้านเรามีจุดอ่อนเรื่องการเมือง ตกซ้ำชั้นเรื่อยมานับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา จนกระทั่งทุกวันนี้ ในความเห็นของอาจารย์ ประชาธิปไตยเต็มใบอาจจะไม่เหมาะกับประเทศไทย แต่นักการเมืองไทยก็ไม่ยอม เพราะถ้าเต็มใบพวกเขามีช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ได้เต็มที่
      การเล่นการเมืองไทย ต้นทุนสูงมาก หากไม่มีเิงินมากพอ โอกาสจะชนะเลือกตั้ง จนได้จัดตั้งรัฐบาล ย่่อมเป็นไปไม่ได้เลย
      ส่วนการสร้างแรงจูงใจให้คู่สมรสใหม่ มีบุตรสัก 2 คน ไม่น่าจะยาก หากรัฐยอมทุ่งบประมาณตั้งเป็รางวัล เช่น คู่สมรสใดมีบุตรคนแรก รัฐให้รางวัลสร้างชาติ 50,000 บาท และหากมีบุตรคนที่สอง ให้รางวัลสร้างชาติ 100,000 บาท เป็นต้น

    2. *** แก้ไข จากข้อมูลที่อาจารย๋เขียนมาข้างต้น กระผมเห็นว่า ถ้าไทยยังขาดเสถียรภาพทางการเมืองยืดเยื้อต่อไป และมีอัตราการเพิ่มประชากรที่น้อยลงแบบนี้ โอกาสที่เวียดตามจะแซงไทยไทยก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ

  3. อิอิ คู่แข่งเรายังเหลืออีกเยอะค่ะ

    1. ใช่แล้ว แต่ตอนนี้โปรโมเตอร์ เขาจับคู่กับเวียดนาม หากเราแพ้อีก ก็คงต้องหาคู่ชกใหม่อีก

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: