71 / 100

บทความ (7) เรื่องเล่า ประสบการณ์ ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์:  นั่งสมาธิ เพื่อให้ได้ฌาน เป็นการเล่าถึง   องค์ประกอบของฌาน นั่งสมาธิ คำภาวนา และนิมิต นั่งสมาธิและอารมณ์ฌาน สรุป และคุยกับดร.ชา

      ส่วนบทความก่อนหน้านี้ (6) เป็นการเล่าถึงข้อควรทราบก่อนนั่งสมาธิ

Table of Contents

1.ความนำ

     นั่งสมาธิ ในบทความนี้ หมายถึง สัมมาสมาธิ ตามมรรคแปด ซึ่งเป็นการนั่งสมาธิเพื่อให้บรรลุฌาน 1-4

          เพื่อให้ท่านผู้อ่าน เข้าใจชัดเจน ผมขอย้อนกลับไปเล่าเรื่องการจัดกลุ่มมรรคแปดอีกครั้งในบทความ (2)เรื่องเล่า ประสบการณ์ ปฏิบัติธรรม ฯ ว่า มรรคแปดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

             กลุ่มศีล ได้แก่ สัมมาจาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

             กลุ่มสมาธิ ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

            และกลุ่มปัญญา ได้แก่ สัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะ

            จะเห็นได้ว่า กลุ่มสมาธิ นอกจากสัมมาสมาธิแล้ว ยังมีสัมมาวาจายมะ (ความเพียรชอบ) และสัมมาสติ(สติชอบ) รวมอยู่ด้วย

  สัมมาสมาธิ หมายถึง การมีสมาธิที่ถูกต้อง หรือ สมาธิชอบ หมายถึง ฌาน 1-4

  สมาธิชอบ ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ส่วนอรูปฌาน 4 นับเป็นส่วนหนึ่งของจตุตถฌาน

            คำถาม คือ นั่งสมาธิ อย่างไร ให้ได้ฌาน

            วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือการตอบคำถามดังกล่าวข้างต้น

2.องค์ประกอบของฌาน

          คำว่า ฌาน หมายถึง การที่จิตได้รวมเข้าเป็นหนึ่ง ไม่วอกแวก  เป็นจิตที่มีพลัง

            เป็นจิตที่มีสมาธิในระดับ อัปปนาสมาธิ หรือสมาธิที่มั่นคงแล้ว

            หากต้องการนั่งสมาธิ ให้ได้ฌาน จำเป็นต้องทราบเสียก่อนว่า ฌาน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

            ฌานมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ รูปฌาน และอรูปฌาน แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะรูปฌาน

             รูปฌาน มีสี่ระดับ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน

องค์ประกอบของฌาน 1-4
องค์ประกอบของฌาน 1-4

                        ปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ วิตก-วิจาร-ปิติ-สุข-เอกัคคตา

                        ทุติยฌาน มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ตัดวิกต-วิจารออก คงเหลือแต่ ปิติ-สุข-เอกัคคตา

                        ตติยฌาน มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ ตัดปิติออก เหลือ สุข-เอกัคคตา

                        จตุตถฌาน มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ ตัดสุขออก เหลือเอกัคคตา-อุเบกขา (เพิ่มอุเบกขาเข้ามาใหม่)

3. นั่งสมาธิ คำภาวนา และนิมิต

            3.1 คำภาวนา

            ในการเริ่มต้นนั่งสมาธิ จำเป็นต้องใช้คำภาวนาประกอบการเพ่งลมหายใจ เข้า-ออก เพื่อให้จิตผูกติดกับคำวภาวนา จะได้ไม่คิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น ๆ เช่น พุท-โธ  กล่าวคือ เมื่อหายใจเข้าให้ภาวนาในใจว่า พุธ และเมื่อหายใจออก ให้ภาวนาว่า โธ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ  โดยให้จิตเพ่งอยู่ที่คำภาวนา ว่า พุท-โธ จนกว่าจิตจะสงบได้สมาธิแน่วแน่

ท่านั่งสมาธิที่ถูกต้อง จะทำให้จิตสงบได้ง่าย และทำให้นังสมาธิได้ทนนาน
ท่านั่งสมาธิที่ถูกต้อง จะทำให้จิตสงบได้ง่าย และทำให้นังสมาธิได้ทนนาน

            นอกจาก พุท-โธ แล้ว คำภาวนาอาจจะเป็นคำอื่นก็ได้ หากผู้นั่งสมาธิ

มีความรู้สึกชอบหรือถูกกับจริตของตนมากกว่า เช่น ยุบหนอ-พองหนอ สัมมา-อรหัง หรือแม้แต่การนับตัวเลข 1,2,3,4,5,……..100, ……..1,000 ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจิตจะสงบ

            แต่ชาวพุทธส่วนใหญ่จะถูกจริตกับการใช้คำ พุธ-โธ เป็นคำภาวนา เพราะมีความหมายดี มีพลัง  กล่าวคือ พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

            3.2 นิมิต

          ในขณะที่เรากำหนดลมหายใจ เข้า-ออก ควรจะกำหนดนิมิตขึ้นมาด้วย เพื่อให้จิตรวมตัวเป็นสมาธิเร็วขึ้น

            นิมิต คือ เครื่องหมายหรือภาพที่เราใช้จิตกำหนดในขณะหลับตาภาวนา โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

นิมิตในการนั่งสมาธิมีอยู่ 3 ระดับ เช่นเดียวกันกับระดับของสมาธิ
นิมิตในการนั่งสมาธิมีอยู่ 3 ระดับ เช่นเดียวกันกับระดับของสมาธิ

                        3.2.1 บริกรรมนิมิต

                        บริกรรมนิมิต หมายถึง นิมิตที่เราใช้เริ่มต้นเพื่อใช้ในการเพ่งอารมณ์นั่งสมาธิ เช่น ดวงกสิณ 10 ลมหายใจเข้าออก หรืออนุสติต่าง ๆ  บริกรรมนิมิต จะเกิดในขั้นขณิกสมาธิ

                        ดวงกสิณ 10 ได้แก่

                        ดวงกสิณ หมายเลข  ❶-❻     เหมาะสำหรับคนทุกจริต

                        ❶ปฐวีกสิณ ใช้จิตเพ่งดิน

                        ❷เตโชกสิณ ใช้จิตเพ่งเปลวไฟ

                        ❸วาโยกสิณ ใช่จิตเพ่งลม

                        ❹อากาสกสิณ ใช้จิตเพ่งอากาศ

                        ❺อาโลกสิณ ใช้จิตเพ่งแสงสว่าง

                        ❻อาโปกสิณ ใช้จิตเพ่งน้ำ

                        ดวงกสิณ หมายเลข  ❼-❿ เหมาะสำหรับคนโกรธง่าย หรือพวกมีโทสจริต

                        ❼โลหิตกสิน เพ่งสีแดง

                        ❽นิลกสิณ เพ่งสีเขียว

                        ❾ขีตกสิณ เพ่งสีเหลือง

                        ❿โอกาตกสิณ เพ่งสีขาว

                        อนุสติ 10 ได้แก่

                        ❶พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธคุณ

                        ❷ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรมคุณ

                        ❸สังฆานุสติ ระลึกถึงพระธรรมคุณ

                        ❹สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา

                        ❺จาคานุสสติ ระลึกถึงทานที่ตนได้ทำ

                        ❻เทวาตานุสสติ ระลึกถึงธรรมที่ทำให้คนเกิดเป็นเทวดา เช่น หิริ โอตัปปะ

                        ❼อุปสมานุสติ ระลึกถึง นิพพาน

                        ❽มรณสติ ระลึกถึงความตาย

                        อนุสติ หมายเลข ❶-❽ เข้าได้ถึงอุปจารสมาธิ

                        **❾อานาปานสติ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออก (เข้าได้ถึงฌาน 1-4)

                        *❿กายคตสติ ระลึกถึงความไม่งดงามหรือปฏิกูลของร่างกาย ได้แก่อาการ 32(เข้าได้ถึงปฐมฌาน)

                        3.2.2 อุคหนิมิต

                        เมื่อนั่งสมาธิต่อไปเรื่อย ๆ จิตจะเป็นสมาธิในระดับที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ

อุคหนนิมิต จะเกิดขึ้นในขั้น อุปจารสมาธิ

                        ภาพนิมิตที่เป็นอุคหนนิมิต จะเป็นภาพที่ยังไม่แจ่มชัด เพราะสมาธิในขั้นอุปจารสมาธิ ยังไม่ใช่สมาธิที่มั่นคง

                        3.2.3 ปฏิภาคนิมิต

                        หลังจากจิตสงบได้ขั้นอุปจารสมาธิแล้ว ให้เพ่งอารมณ์สมาธิต่อไป จิตจะสงบได้สมาธิที่มั่นคง เรียกว่า อัปปนาสมาธิ

                        เมื่อจิตได้อัปปนาสมาธิ จะเกิด ปฏิภาคนิมิต โดยภาพที่เกิดขึ้นในขั้นปฏิภาคนิมิต จะเป็นภาพที่ชัดเจน สามารถปรับขยายขนาดหรือทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ตามใจชอบในทำนองเดียวกับภาพในภาพยตร์หรือทีวี เพราะอัปปนาสมาธิเป็นสมาธิที่มั่นคงแล้ว

4.นั่งสมาธิ และอารมณ์ฌาน

          เมื่อได้นั่งสมาธิแล้ว จนได้ระดับฌาน จะเกิดอารมณ์ฌาน

            อารมณ์ฌาน คือ ความรู้สึกว่า เรานั่งสมาธิไปได้ถึงระดับใดขององค์ฌาน ดังจะเล่าให้ทราบพอสังเขปดังนี้

            4.1 วิตก

            หมายถึงอารมณ์นึกว่า จะหายใจเข้าออก และนึกถึงคำภาวนา

           4.2 วิจาร

            หมายถึง การมีสติรู้ว่า ขณะนี้เราหายใจเข้า หรือหายใจออก รู้ว่าหายใจออกสั้นหรือยาว และรู้ว่าหายใจเข้าสั้นหรือยาว โดยจิตอยู่ที่คำภาวนา

            4.3 ปิติ

            หมายถึง ความชุ่มชื่น ความเบิกบานใจ โดยอาจจะมีอาการขนพองหรือขนลุกซู่ เกิดแสง มีอาการเหมือนตัวลอย ตัวใหญ่ขึ้น

            4.4 สุข

            หมายถึง ความสุขเยือกเย็นที่ไม่อาจความสุขใดมาเปรียบเทียบได้ เป็นความรู้สึกเอิบอิ่ม ปลอดโปร่งเบากายเบาใจ

            4.5 เอกัคคตา

            หมายถึง การมีอารมณ์เดียว จิตจับอยู่เฉพาะอารมณ์หายใจเข้าออก ทรงอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว โดยไม่รับอารมณ์ส่วนอื่น

            4.6 อุเบกขา

            หมายถึง การวางเฉยไม่รับอารมณ์ใด ๆ

5.อารมณ์ฌานแต่ละฌาน

          ดังได้กล่าวมาแล้ว ฌานมีอยู่ 4 ระดับ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน เวลานั่งสมาธิ เราสามารถจะทราบได้ว่า อารมณ์ฌานที่เกิดขึ้นนั้น จัดเป็นอารมณ์ของฌานใด ขอให้สังเกตจากอารมณ์ฌานดังนี้

            5.1 อารมณ์ปฐมฌาน

            ปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ วิตก-วิจาร-ปิติ-สุข-เอกัคคตา

            ขณะที่จิตของเราเข้าถึงปฐมฌาน แม้ได้ยินเสียงใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงดัง เสียงเบา เสียงเพลง เสียงคนคุยกัน เราจะไม่รู้สึกรำคาญในเสียงนั้น สามารถคุมอารมณ์ได้

            5.2 อารมณ์ทุติยฌาน

            ทุติยฌาน มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ตัดวิตกและวิจารออกไปได้ เหลือ ปิติ-สุข-เอกัคคตา

            ขณะที่จิตของเราเข้าถึงทุติยฌาน จิตจะไม่สนใจลมหายใจเข้าออก โดยลมหายใจจะเบาลง คำภาวนาจะหายไป จิตจะมีความอิ่มเอิบ มีอารมณ์สบาย ละเอียด และสงัดมาก

            5.3 อารมณ์ตติยฌาน

            ตติยฌาน มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ ตัดปิติออกไปได้ เหลือ สุข-เอกัคคตา

            ขณะที่จิตเข้าถึงตติยฌาน จิตมีแต่ความสุข ลมหายใจแผ่วเบาลงไปมากจนเกือบจะไม่รู้สึกอะไร แม้มีเสียงดังจากภายนอก เราก็จะไม่รู้สึกว่าเสียงนั้นดัง แต่รู้สึกว่าเสียงเบา

            5.4 อารมณ์ของจตุตถฌาน

            จตุตถฌาน มีองค์ประกอบ 2 ประการ คือ ตัดสุขออกไปได้ เหลือแต่เอกัคคตา พร้อมกับเกิดอุเบกขาขึ้นมา

            ขณะจิตเข้าถึงจตุตถฌาน จะมีความรู้สึกว่า เหมือนไม่มีลมหายใจ เพราะลมหายใจละเอียดมาก ตัดอารมณ์จากภายนอกได้ ไม่ได้ยินเสียงจากภายนอก ดับความรู้สึกทางกาย คือทุกข์สุขได้หมดสิ้น

6.สรุป

            การนั่งสมาธิ ให้ได้ฌาน เราต้องทราบเสียก่อนว่า แต่ละฌานมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เราจะเข้าถึงองค์ประกอบดังกล่าวได้อย่างไร

            คำภาวนา และนิมิต จะทำให้ผู้เจริญสมาธิ สามารถ รวมจิตให้เป็นสมาธิได้ง่าย นับตั้งแต่สมาธิขั้นต้นหรือขณิกสมาธิ สมาธิระดับกลางหรืออุปจารสมาธิ และสมาธิขั้นสูงหรือ อัปปนาสมาธิ

            หากต้องการจะเจริญสมาธิให้ได้ฌาน บุคคลจำเป็นต้องหมั่นฝึกฝน อย่าได้เกียจคร้าน

            อย่างไรก็ตาม การนั่งสมาธิให้ได้ฌานนั้น บุคคลจะสามารถบรรลุได้เร็วหรือช้าเพียงใด  นอกจากความเพียรพยายามแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องบุญวาสนาบารมีของแต่ละคนที่ได้สะสมมาแต่ชาติปางก่อนด้วย

คุยกับดร.ชา

          คู่สนทนาธรรมวันนี้ของผม คือ คุณเบน ซึ่งเป็นคู่สนทนาธรรมเมื่อแต่ครั้งที่แล้ว

            “ คุณเบน เรามาคุยกันต่อจากคราวที่แล้วนะ เอาประเด็นแรกก่อน คุณเบนคิดว่า คำภาวนาและนิมิตมีความจำเป็นต่อการนั่งสมาธิหรือไม่ มากน้อยเพียงใด” ผมถามจุดสำคัญก่อน

            “ ผมคิดว่า จำเป็นมาก เพราะถ้าเราไม่ภาวนา พุท-โธ หรือคำภาวนาอื่นใดที่เราชอบ จิตของเราก็จะกระสับกระสาย คิดโน่น คิดนี่ จนยากที่จะทำให้เกิดสมาธิได้

            ส่วนนิมิต คือ ภาพที่เราใช้กำหนดในใจนั้น  จะช่วยจิตของเรารวมตัวเป็นสมาธิได้เร็วขึ้น มีพลังมากขึ้น เพราะภาพที่เรากำหนดไว้ในใจนั้นมีลักษณะเป็นรูปธรรม จะทำให้จิตของเรารวมตัวได้เร็วขึ้น เป็นการเสริมคำภาวนา คำภาวนามีลักษณะเป็นนามธรรม ” คุณเบนตอบตามความเข้าใจของตนเอง

            “ เอาล่ะ อาจารย์คิดว่าคุณเบนอธิบายได้ดีพอสมควร สมกับเป็นคนที่ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรครูสมาธิ จากสถาบันพลังจิตตานุภาพของหลวงพ่อวิริยังค์

            คราวนี้อาจารย์อยากถามประเด็นที่สองเลย คือ การนั่งสมาธิเพื่อให้ได้ฌาน  คุณเบนคิดว่า ยากหรือง่าย ” ผมถามคุณเบนอย่างตรงไปตรงมา

            “ ผมคิดว่า ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล กล่าวคือ ถ้าบุคคลนั้นได้สร้างสมบุญบารมีไว้แต่ชาติปางก่อนมากพอ การได้ฌานก็คงไม่ยาก แต่ถ้าบุคคลใดไม่ได้สร้างสมบุญบารมีไว้ในชาติปางก่อน ชาตินี้ก็คงต้องเร่งความเพียรกันหน่อย ถึงจะพอมีหวัง ” คุณเบนตอบตามที่ได้ฟังมาและตอบตามความรู้สึกของตนเอง

            “ อาจารย์คิดว่า อะไรก็ตามที่เป็นสิ่งที่ดีหรือประเสริฐ หากพวกเราจะเพียรพยายามให้ได้มา ก็น่าจะคุ้มค่านะ อาจารย์ขอเป็นกำลังใจให้คุณเบน สามารถนั่งสมาธิเข้าถึงฌานได้โดยเร็ว อาจารย์คิดว่า การที่คุณเบนได้ตัดสินใจเข้ารับอบรมหลักสูตรครูสมาธิดังกล่าว แสดงว่า คุณเบนน่าจะมีบุญบารมีเก่าอยู่ไม่น้อยเลยนะ ” ผมอวยพรให้คุณเบนพร้อมกับยุติการสนทนาธรรม 

            “ขอบคุณมากครับอาจารย์ ขอให้สมพรปาก” คุณเบนตอบรับพรที่ผมให้ด้วยความยินดี

ดร.ชา

                                    8/09/20

            “ ขออุทิศส่วนกุศลที่เกิดจากการเขียนบทความนี้เป็น ธรรมทาน แด่ คุณบิดามารดา ญาติมิตรสหาย ครูบาอาจารย์ และผู้มีพระคุณทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว”

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

4 COMMENTS

  1. ใช้จิต เพ่งลมเป็นอย่างไรคะ หนูได้ยินเป็นครั้งแรก อาจารย์ช่วยยกตัวอย่างด้วยค่ะ
    ขอบคุณค่ะ

    1. เวลานั่งสมาธฺิ ปกติเราต้องหลับตา แล้วใช้จิตติดตามดูลมหายใจเข้านับจากปลายจมูกขวา ผ่านหน้าอก ไปสุดทีบริเวณเหนือสะดือเล็กน้อย
      หลังจากนั้น ให้ใช้จิตติดตามดูลมหายใจออกนับจากบริเวณเหนือสะดือ ผ่านหน้าอก และไปสิ้นสุดที่ปลายจมูกขวา การใช้จิตติดตามลมหายใจเข้า-ออก เช่นนี้
      เรียกว่า ใชใช้จิตเพ่งดูลมหายใจ ให้ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ พร้อมกับคำภาวนา ลมหายใจจะละเอียดและแผ่วเบาลงไปเรื่อย ๆ ในที่สุดจิตก็รวมตัวเป็นสมาธิ เกิดความสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: