85 / 100

“ปักกิ่ง เมืองหลวงของมหาเศรษฐีพันล้านของโลก” เป็นบทความลำดับที่ 7 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  ความนำ ประวัติความเป็นมาของปักกิ่ง  ข้อมูลที่ควรทราบ รูปแบบการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ สรุป และถาม-ตอบ สนุก กับดร.ชา 369

1.ความนำ

          ผมได้เล่าเรื่อง ประเทศจีนมาแล้ว จำนวน 4 บทความ คือ   

1.1ประวัติ จีน ยุคใหม่ เป็นการเล่าถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจีนในยุคสมัยต่าง ๆ   ย้อนหลังไปในอดีตราว 4,000-5,000 ปี นับตั้งแต่ยุคก่อนราชวงศ์ ยุคราชวงศ์และจักรวรรดิ และยุค ใหม่

1.2สาธารณรัฐประชาชนจีน มีรูปแบบการปกครองอย่างไร เป็นการเล่าถึงรูปแบบการ ปกครองประเทศของจีนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจีน

1.3ระบบเศรษฐกิจ จีน เป็นอย่างไร เป็นการเล่าถึงระบบเศรษฐกิจจีน ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจีน

1.4 เศรษฐกิจ จีน เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดได้อย่างไร เป็นการเล่าถึงความเป็นมาในการพัฒนาเศรษฐกิจจีนนับตั้งแต่ยุคเติ้ง เสี่ยวผิง เป็นผู้นำ รุ่นที่ 2 ต่อจากยุคเหมา เจ๋อตุง

นับจากบทความนี้เป็นต้นไป จะเป็นการเล่าเรื่องมหานครใหญ่ ๆ ของจีน เริ่มต้นด้วยเรื่องราวของปักกิ่ง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจีน

2.ประวัติความเป็นมาของปักกิ่ง

แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน (Wikipedia, Beijing, 14th January 2022)
แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน (Wikipedia, Beijing, 14th January 2022)

           การสถาปนากรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของจีนได้เริ่มต้นสมัยราชวงศ์หยวน ผ่านไปยังสมัยราชวงศ์ หมิง ราชวงศ์ชิง และยุคสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน

ปักกิ่งมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เป่ย์จิง หรือเรียกชื่อย่อว่า จิง

            2.1 สมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1279-1368)

                   ก่อนจะถึงยุคราชวงศ์หยวน เป็นยุคของราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960-1279) ซึ่งได้สถาปนาเมืองไคฟง (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน) เป็นเมืองหลวง หลังจากนั้น จีนได้ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของชาวมองโกล เรียกชื่อ ราชวงศ์หยวนหรือราชวงศ์มองโกล โดยมีกุบไลข่าน หลานของเจงกีสข่าน เป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ขึ้นมา

                จักรพรรดิกุบไลข่าน ได้สถาปนากรุงต้าตู (ปัจจุบันคือกรุงปักกิ่ง) ขึ้นเป็นเมืองหลวง

          2.2 ราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644)

                   หลังจากหมดยุคราชวงศ์หยวนแล้ว เป็นยุคราชวงศ์หมิง โดยจักรพรรดิ หมิงไท่จู ได้สถาปนา เมืองนานกิง เป็นเมืองหลวง อยู่ได้ 31 ปี จนกระทั่งถึงยุคจักรพรรดิ หมิงเฉิงจู่หรือหย่งเล่อ ได้ขึ้นเสวยราชย์เมื่อปีค.ศ. 1421 จึงทรงให้ย้ายเมืองหลวงจากนานกิง ไปอยู่เป่ย์จิงอีกครั้งหนึ่ง

            2.3 ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1912)

พระราชวังฤดูร้อนของราชวงศ์ชิง (Wikipedia, Beijing, 14th January 2022)
พระราชวังฤดูร้อนของราชวงศ์ชิง (Wikipedia, Beijing, 14th January 2022)

                   หลังจากหมดยุคราชวงศ์หมิงแล้ว ก็เป็นยุคราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน โดยราชวงศ์ชิงได้ใช้เป่ย์จิง เป็นเมืองหลวงต่อไป

            2.4 ยุคสาธารณรัฐจีน (ค.ศ.1912-1949)

                   เมื่อปีค.ศ.1912 พรรคก๊กมินตั๋ง  ภายใต้การนำของดร.ซุนยัตเซ็น ได้ทำการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิง เปลี่ยนการปกครองจากระบอบจักรพรรดิไปสู่ระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย โดยได้ตั้งเมืองหลวงชั่วคราวอยู่ที่นานกิง (1912,1927-1949) แต่ในช่วงเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นและสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ฉงชิ่ง (ค.ศ.1937-1946) ส่วนเป่ย์จิงได้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น

                    อย่างไรก็ดี หลังจากพรรคก๊กมินตั๋งภายใต้การนำของดร.ซุนยัดเซ็น ได้ทำการปฏิวัติราชวงศ์ชิงนั้น เป่ย์จิง ยังเป็นที่ตั้งของกองกำลังทหารของ หยวน ซีไข่ ผู้ตำแหน่งประธานาธิบดีสืบแทนดร.ซุนยัตเซ็น ซึ่งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราว ก่อนที่จะได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ ณ เป่ย์จิง

          2.5 ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ.1949-ปัจจุบัน)

                   เมื่อปีค.ศ.1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีน ภายใต้การนำของเหมา เจ๋อตุง ได้ทำการปฏิวัติล้มล้างการปกครองระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย เปลี่ยนเป็นการปกครองระบอบเผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และได้ใช้เป่ย์จิงเป็นเมืองหลวงอีกครั้งหนึ่งจนกระทั่งทุกวันนี้

3.ข้อมูลที่ควรทราบ

            ข้อมูลของเป่ย์จิงที่ควรทราบ มีดังนี้ คือ

            3.1 พื้นที่

                   เป่ย์จิง มีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 16,410 ตร.กม. แยกออกเป็นพื้นที่ในเมืองและพื้นที่ชนบท

                        -พื้นที่ในเมือง มีจำนวน 4,144 ตร.กม.

                        -พื้นที่ชนบท มีจำนวน 12,266.5 ตร.กม.

          3.2 ความสูง

                   -สูง 43.5 เมตร

                     -จุดสูงที่สุด 2,303 เมตร

            3.3 จำนวนประชากร เมื่อปี 2020

                   มีจำนวน  21.89 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 27 ของจีน

            3.4 เชื้อชาติ

                   -เป็นชาวฮั่น 95 %

                   -ชาวแมนจู 2 %

                   – ชาวฮุย 2 %

                   – ชาวมองโกล 0.3 %

                   – อื่น ๆ 0.7 %

          3.5 ศาสนา

                        ในเป่ย์จิง ประชาชนนับถือศาสนาตามขนบประเพณีและลัทธิเต๋าเป็นหลัก (Chinese folk religion and Taoism) รองลงไปคือศาสนาพุทธแบบเอเชียตะวันออก (East Asian Buddhism) ซึ่งมีจำนวนราว 11 % นอกจากนี้ยังมีผู้นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ด้วย

4.รูปแบบการปกครอง

ทัศนียภาพอันสวยงามของเป่ย์จิง (Wikipedia, Beijing, 14th January 2022)
ทัศนียภาพอันสวยงามของเป่ย์จิง (Wikipedia, Beijing, 14th January 2022)D

          ในบทความ สาธารณรัฐประชาชนจีน มีรูปแบบการปกครองอย่างไร ได้กล่าวถึงการแบ่งพื้นที่ปกครองของจีนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่า แบ่งออกเป็นมณฑล (provinces) เขตปกครองตนเอง (autonomous regions) และมหานคร (city) ที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล

            มหานครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็นเขต และเคาน์ตี

            เป่ย์จิง เป็นมหานครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาล มีฐานะเทียบเท่ามณฑล

            รูปแบบการปกครองเป่ย์จิง มีฐานะเป็นเทศบาลมหานคร อยู่ภายใต้การกำกับของพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำท้องถิ่น (Local Communist Party of China) โดยมีเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำปักกิ่งเป็นผู้นำ

          พรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำท้องถิ่นมีอำนาจในการออกคำสั่งทางบริหาร การเก็บภาษี การบริหารเศรษฐกิจ และการกำกับคณะกรรมการประจำสภาเทศบาลในการตัดสินใจด้านนโยบาย และการตรวจตราการบริหารท้องถิ่น

            เจ้าหน้าที่ของเทศบาลได้แก่ นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี

            เป่ย์จิง เป็นที่ตั้งหน่วยงานที่สำคัญของรัฐบาล และสถาบันทางการเมือง รวมทั้งสมัชชาประชาชนแห่งชาติ (National People’s Congress)

          เป่ย์จิง แบ่งพื้นที่ในการบริหารออกเป็น 16 เคาน์ตี ซึ่งประกอบด้วยเคาน์ตีที่เป็นเขตเมือง เคาน์ตีที่เป็นชานเมือง และเคาน์ตีที่เป็นชนบท

            นอกจากนี้ เคาน์ตีทั้ง 16 แห่ง ยังได้แบ่งย่อยออกเป็นเมือง (towns) จำนวน 273 แห่ง

            ระบบศาล (Judiciary)

          เป่ย์จิง เป็นที่ตั้งศาลสูงของประเทศ นอกจากนี้ยังมีศาลสูงของกรุงปักกิ่ง ศาลอุทธรณ์  ศาลอุทธรณ์การขนส่งทางรถไฟ  ศาลชั้นต้น และศาลขนส่งทางรถไฟชั้นต้น

5.เศรษฐกิจ

สนามกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ปี 2008  จีนเป็นเจ้าภาพ จัดแข่งที่เป่ย์จิง (Wikipedia, Beijing, 14th January 2022)
สนามกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ปี 2008 จีนเป็นเจ้าภาพ จัดแข่งที่เป่ย์จิง (Wikipedia, Beijing, 14th January 2022)

          เป่ย์จิง เป็นศูนย์กลางการเงินและตลาดหุ้นที่ใหญ่ที่สุดหนึ่งในสิบอันดับแรกของโลกเช่นเดียวกันกับ เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง และเซินเจิ้น

          เมื่อปี 2018 เป่ย์จิง มีขนาดจีดีพี (nominal) จำนวน 458 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นประมาณ 3-4.5 % ของจีดีพีจีนทั้งประเทศ จัดเป็นอันดับ 12 ของประเทศในบรรดามณฑลทั้งหมด  ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อหัว จำนวน 21,261 ดอลลาร์สหรัฐ นับสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ

            ขนาดจีดีพีของเป่ย์จิงในอนาคต คาดว่าจะเติบโตเป็นหนึ่งในสิบของเมืองใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2035 ซึ่งรวมถึง เซี่ยงไฮ้ กวางเจา และเซินเจิ้น และคาดว่าจะรายได้เฉลี่ยต่อหัวราว 45,000 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2030

          เป่ย์จิงเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทชั้นนำของโลกซึ่งมีจำนวน 500 บริษัท มากกว่าเมืองใดในโลก  และได้รับฉายาว่า เป็นเมืองหลวงของมหาเศรษฐีพันล้านของโลก (Billionaire capital of the world)

6.การศึกษา และการวิจัย

          เป่ย์จิง เป็นศูนย์กลางทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก และได้รับการจัดอันดับให้เมืองที่มีผลงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนับตั้งแต่ปี 2016

         เป่ย์จิงเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย-แปซิฟิกหลายแห่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดสองแห่ง คือ มหาวิทยาลัยซิงหัว และมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Tsinghua&Peking) โดย Times Higher Education World University Rankings จัดให้อยู่ในอันดับที่ 16 ของโลก ประจำปี 2022

7.ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

เป่ย์จิง เป็นที่ตั้งของธนาคารลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank) ซึ่งเป็นธนาคารด้านการพัฒนาแบบอเนกประสงค์ ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของเอเชีย   

นอกจากนี้ ยังมีกองทุนสายไหม (Silk Road Fund) ซึ่งเป็นกองทุนด้านการลงทุนของรัฐบาลจีน ในการส่งเสริมการลงทุนและการสนับสนุนทางการเงินแก่ประเทศที่อยู่ในเส้นทางสายไหม (One Belt, One Road)

ยิ่งกว่านั้น เป่ย์จิงยังเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization)

ดังนั้น จึงทำให้เป่ย์จิงเป็นเมืองสำคัญทางด้านการทูตนานาชาติ

          7.1 การเป็นเมืองคู่แฝดและเมืองพี่เมืองน้อง (Twin towns& sister cities)

                   เป่ย์จิงเป็นเมืองคู่แฝดและเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองต่างๆ ทั่วโลก ไม่น้อยกว่า 48 เมือง เช่น

                        กรุงเทพมหานคร         ประเทศไทย

                        เบอร์ลิน                         เยอรมนี

                        ไคโร                              อียิปต์

                        เดลฮี                             อินเดีย

                        ลอนดอน                       สหราชอาณาจักร

                        มอสโก                          รัสเซีย

                        วอชิงตัน ดี.ซี.                 สหรัฐอเมริกา

                        ฯลฯ

            7.2 สถานทูตและสถานกงสุล

                        เมื่อปี 2019 จีนเป็นประเทศที่มีเครือข่ายทางการทูตใหญ่ที่สุดในโลก ดังจะเห็นได้จากปัจจุบัน มีสถานทูต จำนวน 172 แห่ง และสถานกงสุล จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่เป่ย์จิง

8.สรุป

          เป่ย์จิง ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของจีนคครั้งแรก ในสมัยราชวงศ์หยวนหรือราชวงศ์มองโกล เมื่อปี ค.ศ.1279 จนกระทั่งปัจจุบัน แต่มีบางช่วงที่ปักกิ่งมิได้เป็นเมืองหลวงของจีน คือ ในบางช่วงของราชวงศ์หมิง และบางช่วงของยุคสาธารณรัฐจีน ก่อนที่จะมีการสถาปนาเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน

            เป่ย์จิง เป็นเมืองหลวงที่มีประชากรมากถึง 21 ล้านคน และมีพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 16,410.5 ตร.กม.

            เป่ย์จิง เป็นเมืองระดับโลก (global city) และเป็นศูนย์กลางชั้นนำของโลกในด้านวัฒนธรรม การทูตและการเมือง ธุรกิจและเศรษฐกิจ การศึกษา ภาษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            เป่ย์จิง เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทชั้นนำของโลกมากกว่าประเทศใด ๆ  และมีจำนวนมหาเศรษฐีพันล้านอาศัยมากกว่าประเทศใดในโลก จนทำให้ได้รับฉายาว่า เป็นเมืองหลวงของมหาเศรษฐีพันล้านของโลก

            สำหรับข้อมูลและความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ใน หัวข้อ ถาม-ตอบ สนุก กับดร.ชา 369 ท้ายบทความนี้

ถาม-ตอบ สนุก กับดร.ชา 369

ถาม- เป่ย์จิงมีความสำคัญในด้านการคมนาคมอย่างไรบ้าง

          ตอบ- เป่ย์จิงมีความสำคัญในด้านการคมนาคมมาก เพราะเป็นศูนย์กลางของทางหลวงแผ่นดิน ทางด่วน รถไฟ รถไฟความเร็วสูง และการขนส่งทางอากาศ

          ถาม-เป่ย์จิงมีท่าอากาศยานที่สำคัญกี่แห่ง แต่ละแห่งมีความสำคัญอย่างไร

ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สอง ของเป่ย์จิง อันสวยงามและทันสมัย (Wikipedia, Beijing, 14th January 2022)
ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สอง ของเป่ย์จิง อันสวยงามและทันสมัย (Wikipedia, Beijing, 14th January 2022)

          ตอบ- เป่ย์จิง มีท่าอากาศยานที่สำคัญจำนวน 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนาชาติกรุงปักกิ่ง (Beijing Capital International Airport) เป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับสองของโลก (เป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย) มาตั้งแต่ปี 2010

          ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองของเป่ย์จิง เป็นท่าอากาศยานที่มีโครงสร้างอาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดี่ยวใหญ่ที่สุดในโลก

            ถาม-ระบบรถไฟใต้ดินของเป่ย์จิง ใหญ่มากแค่ไหน

          ตอบ-ระบบรถไฟใต้ดินของเป่ย์จิง มีเครือข่ายที่มีผู้โดยสารมากและยาวที่สุดในโลกมาตั้งแต่ปี 2016

          ถาม-มหาวิทยาลัยในเป่ย์จิง มีมากน้อยเพียงใด

          ตอบ-มหาวิทยาลัยในเป่ย์จิงมีจำนวนมากกว่า 90 แห่ง และหลายแห่งติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิกและในโลก เช่น มหาวิทยาลัยซิงหัว และมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

            ถาม-ทำไมจึงกล่าวว่า เป่ย์จิง เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการทูตนานาชาติเป็นอย่างยิ่ง

          ตอบ-การที่เป่ย์จิงเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการทูตนานาชาติเป็นอย่างยิ่ง ก็เพราะเป่ย์จิงเป็นที่ตั้งของสถานทูตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากถึง 172 ประเทศ ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีเครือข่ายทางการทูตที่ใหญ่ที่สุดในโลก

            ถาม-เป่ย์จิง เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การที่สำคัญอะไรบ้าง

          ตอบ-เป่ย์จิง เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้ง ธนาคารลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank/AIIB) องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Cooperation Organization) กองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund) สถาบันวิชาการด้านวิศวกรรมจีน (Chinese Academy of Engineering) สถาบันวิชาการด้านสังคมศาสตร์จีน (Chinese Academy of Social Sciences) และสภากาชาดจีน

ดร.ชา 369

14/01/22

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

2 COMMENTS

  1. เพราะเหตุใดปักกิ่งจึงเป็นเมืองหลวงของมหาเศรษฐีพันล้านอยู่เป็นจำนวนมาก
    นอกจากการ ขายของออนไลน์แล้ว ประชาชนของชาวเมืองปักกิ่ง มีอาชีพอะไรอีกคะ

    1. การที่ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของมหาเศรษฐีพันล้านของโลก ก็เพราะมีมหาเศรษฐีระดับพ้นล้านอาศัยอยู่ที่ปักกิ่งมากกว่าเมืองอื่นใดในโลก ประชาชนในปักกิ่งมีอาชีพหลากหลายเหมือนเมืองใหญ่่ ๆ ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีบริษัทชั้นนำของโลกซึ่งมีอยู่จำนวน 500 บริษัท ได้ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ปักกิ่งมากกว่าเมืองใด ๆ ในโลก นอกจากนี้ปักกิ่งยังเป็นศูนย์กลางด้านการเงินและเป็นตลาดหุ้นที่สำคัญของโลก
      ส่วนการของออนไลน์เป็นเพียงอาชีพหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่อาชีพหลักแต่อย่างใด

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: