75 / 100

           บทความ (6)รูปแบบการปกครอง ของ เยอรมัน-รูปแบบการปกครองแตกต่างจากอเมริกาและไทย (ต่อ)  ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ คือ  เปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง เยอรมัน-อเมริกา และ เยอรมัน-ไทย สรุป และปิดท้ายคุยกับดร.ชา

1.คำนำ

          ตามบทความที่แล้ว คือ บทความ (5) ระบบตำรวจ และรูปแบบการปกครองของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจ:เยอรมัน-รูปแบบการปกครองแตกต่างจากอเมริกา-ไทย ได้เล่าถึง อำนาจอธิปไตย 3 ระดับ และรูปแบบการปกครองเยอรมันตามรัฐธรรมนูญของเยอรมัน โดยมีรัฐบาล 2 ระดับ คือรัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐ จำนวน 16 มลรัฐ

            สำรับบทความ (6) เรื่องเล่า ฯ นี้จะได้เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างในรูปแบบการปกครองระหว่าง เยอรมันกับอเมริกา และเยอรมัน-ไทย  ในด้านต่าง ๆ โดยยึดถือรูปแบบตามรัฐธรรมนูญเป็นหลัก เช่น อำนาจอธิปไตย ระบอบการปกครองประเทศ เป็นต้น

2.เปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง: เยอรมันกับอเมริกา

          แม้ประเทศเยอรมันเป็นประเทศรัฐรวมเหมือนประเทศอเมริกา แต่รูปแบบการปกครองก็มิได้เหมือนกันทั้งหมด ดังที่ผมจะได้เปรียบเทียบให้ท่านเห็นข้อแตกต่าง ดังนี้

            2.1รัฐธรรมนูญ

            รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐสหพันธรัฐเยอรมัน ปี 1949 รวมทั้งฉบับแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปี 2012 นับเป็นรัฐธรรมนูญทีมีความยาวไม่น้อยเลย เพราะมีจำนวนมากถึง 146 มาตรา ในจำนวน 11หมวด ในขณะที่รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ปี 1789 เป็นรัฐธรรมนูญสั้น ๆ เพียง 7 มาตราเท่านั้น และหลังจากนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก 27 ฉบับ แต่ละฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมก็เป็นเพียงการแก้ไขสั้น ๆ ดังนั้น อาจกล่าวโดยสรุปว่า รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา มีความยาวเพียง 34 (7+27) มาตราเท่านั้น

กำแพงกรุงเบอร์ลิน (Berlin Wall) ซึ่งเคยเป็นกำแพงกั้นเขตแดนระหว่างประเทศเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตกช่วงปีค.ศ.1961-1989 ก่อนที่จะรวมตัวเป็นประเทศเดียวกันในปัจจุบัน (Wikipedia,Berlin, 11th August 2020)
กำแพงกรุงเบอร์ลิน (Berlin Wall) ซึ่งเคยเป็นกำแพงกั้นเขตแดนระหว่างประเทศเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตกช่วงปีค.ศ.1961-1989 ก่อนที่จะรวมตัวเป็นประเทศเดียวกันในปัจจุบัน (Wikipedia,Berlin, 11th August 2020)

            สาเหตุที่รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา เป็นรัฐธรรมนูญสั้น ๆ ก็เพราะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว คือ บรรดารัฐหรือดินแดนอิสระที่ร่วมกันสถาปนาประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นมา ต้องการสงวนอำนาจไว้ที่่มลรัฐเองให้มากที่่สุด ส่วนรัฐบาลกลางก็ให้มีอำนาจจำกัดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

            2.2 อำนาจอธิปไตย

            ตามรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเยอรมัน ได้บัญญัติอำนาจอธิปไตยไว้ 3 ระดับ คือ อำนาจอธิปไตยของสหพันธรัฐหรือรัฐบาลกลาง อำนาจอธิปไตยของมลรัฐ และอำนาจอธิปไตยขององค์การระหว่างประเทศ ส่วนรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาได้บัญญัติอำนาจอธิปไตยไว้ 2 ระดับ คือ อำนาจอธิปไตยของสหรัฐหรือรัฐบาลกลาง และอำนาจอธิปไตยของมลรัฐ

            2.3 ระบอบการปกครองประเทศ

            ตามรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเยอรมัน ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า สาธารณรัฐสหพันธรัฐเยอรมัน มีระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ส่วนรัฐธรรมนูญอเมริการะบุไว้ให้เข้าใจได้ว่า ระบอบการปกครองประเทศเป็นระบอบสาธารณรัฐ (Republic)

          นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเยอรมัน มาตรา 22 ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า กรุงเบอร์ลิน เป็นเมืองหลวงของประเทศ ส่วนสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญให้อำนาจสภาคองเกรสออกกฎหมายจัดตั้งเมืองหลวงของประเทศได้

ทัศนียภาพ กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของสหพันธรัฐเยอรมัน ถ่ายจากมุมสูง
(Wikipedia, Berlin, 11th August 2020)
ทัศนียภาพ กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของสหพันธรัฐเยอรมัน ถ่ายจากมุมสูง
(Wikipedia, Berlin, 11th August 2020)

            2.3.1 ฝ่ายนิติบัญญัติ

            ตามรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเยอรมัน สภานิติบัญญัติมีอยู่ 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนมลรัฐ หรืออาจจะเรียกว่า วุฒิสภาก็ได้ แต่ผู้ที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนมลรัฐ รัฐบาลมลรัฐเป็นผู้แต่งตั้งตามจำนวนสัดส่วนของประชากรของแต่ละมลรัฐ

            ส่วนสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทั้งสองสภาสมาชิกได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่จำนวนสมาชิกวุฒิสภานั้น ทุกมลรัฐมีจำนวนเท่ากัน คือ มลรัฐละ 2 คน

สภาคองเกรสทีสง่างามของสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตัน(Wikipedia, United States Congress, 11th August 2020)
สภาคองเกรสทีสง่างามของสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตัน(Wikipedia, United States Congress, 11th August 2020)

            2.3.2 ประมุขแห่งรัฐและฝ่ายบริหาร

            ตามรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเยอรมัน มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมจากที่ประชุมใหญ่ของสหพันธรัฐ (Federal Convention) ส่วนฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี (Federal Chancellor) และรัฐมนตรี (ตามระบบรัฐสภา)

            ส่วนสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร ตามระบบแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจ โดยได้รับเลือกตั้งทางอ้อมผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College)

            2.3.3 ฝ่ายตุลาการ

            ตามรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเยอรมัน มาตรา 95 สหพันธรัฐเป็นผู้จัดดตั้งศาลยุติธรรมของสหพันธรัฐ (Federal Court of Justice) เป็นศาลสูงในคดีทั่วไป นอกจากนี้ยังเป็นผู้จัดตั้งศาลสูงซึ่งเป็นศาลชำนาญการเฉพาะด้านอีก 4 ศาล ศาลปกครองของสหพันธรัฐ ( Federal Administrative Court) ศาลการคลังของสหพันธรัฐ (Federal Finance Court) ศาลแรงงานแห่งสหพันธรัฐ (Federal Labour  Court) และศาลสังคมแห่งสหพันธรัฐ (Federal Social Court)

          นอกจากนี้ ตามมาตรา 99 ยังมีศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐ (Federal Constitution Court) อีกต่างหากด้วย

          ส่วนสหรัฐอเมริกา ศาลสูง (Supreme Court) เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการใตคดีทุกประเภท ไม่มีศาลชำนาญการเฉพาะด้านเหมือนอย่างเยอรมัน

            2.4 รูปแบบการปกครองมลรัฐ (State/Land Governments)

          ตามรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐ มาตรา 28 มลรัฐหรือรัฐเล็ก รูปแบบการปกครองต้องเป็นรูปแบบสาธารณรัฐที่เป็นประชาธิปไตยสังคมนิยม (republican, democratic and social state) เช่นเดียวกันกับรูปแบบการปกครองของสหพันธรัฐ โดยมีอำนาจหน้าที่ในส่วนที่รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐมิได้สงวนไว้ให้เป็นอำนาจของสหพันธรัฐ

            อย่างไรก็ตาม ตามมาตรา 72 รัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐอาจใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติร่วมกันได้บางรายการ

            ส่วนรูปแบบการปกครองมลรัฐของสหรัฐอเมริกาก็ต้องรูปแบบสาธารณรัฐเช่นเดียวกับรูปแบบของรัฐบาลกลาง แต่การใช้อำนาจร่วมกัน รัฐธรรมนูญอเมริกามิได้บัญญัติไว้

            2.5 การปกครองส่วนท้องถิ่น

            ตามรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเยอรมัน มาตรา 28 ได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า การปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ 2 รูป คือเคาน์ตี และเทศบาล  แต่รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกามิได้บัญญัติถึงการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องของแต่ละมลรัฐจะกำหนดรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นได้เองตามความเหมาะสม

3.เปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง เยอรมัน-ไทย

          เนื่องจากผมเคยเปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง อเมริกา-ไทย ในบทความก่อน ๆ แล้ว คือ ความล้มเหลวของอเมริกาในการแก้ปัญหาโควิด-19 : มิติการเมืองการปกครอง

ดังนั้น การเปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง เยอรมัน-ไทย คงไม่จำเป็นต้องอธิบายมากนัก เพราะเยอรมันเป็นรัฐรวมเช่นเดียวกับอเมริกา

          เยอรมันเป็นประเทศรัฐรวม มีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐ จำนวน 16  มลรัฐ โดยแต่ละมลรัฐมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเอง มีอำนาจนอกเหนือไปจากส่วนที่รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐหรือรัฐบาลกลางสงวนอำนาจไว้                                                                                                    

ส่วนไทยเป็นรัฐเดี่ยวที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มีการปกครองส่วนภูมิภาค  คือ จังหวัด และอำเภอ  ส่วนรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นจะประกอบด้วยอะไรบ้าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่ได้กำหนดไว้โดยตรง

เยอรมันและไทย มีระบอบการปกครองประเทศอย่างเดียวกัน คือ ระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ต่างกันตรงที่เยอรมันมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

4. สรุป

          บทความ (6) เรื่องเล่า ฯ นี้ ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของรูปแบบการปกครองประเทศระหว่าง เยอรมันและอเมริกา เยอรมัน-ไทย โดยยึดหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งของเยอรมัน อเมริกา และไทย ได้แก่ อำนาจอธิปไตย รูปแบบการปกครองประเทศของรัฐบาลกลาง การปกครองมลรัฐ การปกครองส่วนท้องถิ่น

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ใน หัวข้อ คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

          “ ผู้กอง(ชื่อสมมุติ) ” คือบุคคลที่ผมได้เชิญให้มาเป็นคู่สนทนาในวันนี้ต่อจากการสนทนาคราวที่แล้ว

            “ สวัสดี ผู้กอง เหตุการณ์ในพื้นที่ ช่วงนี้เป็นอย่างไร สงบดีอยู่ใช่ไหม ” ผมเริ่มต้นด้วยการทักทายในเรื่องสถานการณ์ในพื้นที่

            “ ช่วงนี้ ก็เงียบ ๆ อย่างที่อาจารย์ทราบนั่นแหละ ” ผู้กองตอบคำถามทักทายของผม

            “ เดี๋ยววันนี้ เรามาคุยกันเรื่องประเทศเยอรมันต่อจากคราวที่แล้ว คราวที่แล้วเราได้พูดคุยกันเรื่องรูปแบบการปกครองของประเทศเยอรมัน คราวนี้ เราลองเปรียบเทียบรูปแบบการปกครองประเทศระหว่างเยอรมันและอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศรัฐรวมเหมือนกันว่าจะมีข้อแตกต่างกันอย่างใดบ้าง

            ผู้กอง พร้อมไหม ” ผมเกริ่นนำเพื่อให้ผู้กองเกิดความตื่นตัวที่จะสนทนา

            “ พร้อมครับ อาจารย์ ขอเชิญอาจารย์ตั้งคำถามหรือประเด็นสนทนาได้เลย ”ผู้กองแสดงความพร้อมให้เห็นผมเห็น

            “ อาจารย์อยากทราบความเห็นในภาพใหญ่หรือภาพรวมว่า รูปแบบการปกครองประเทศของเยอรมันและอเมริกา แตกต่างกันอย่างไร ” ผมไม่รอช้า รีบยิงคำถามทันที

            “ อ๋อ ผมคิดว่า ความแตกต่างในรูปแบบการปกครองของทั้งสองประเทศในภาพใหญ่คือ รูปแบบการปกครองประเทศเยอรมัน เป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

            ส่วนรูปแบบการปกครองประเทศอเมริกา เป็นระบอบประชาธิปไตยระบบแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจ แต่คนชอบเรียวกว่า ระบบประธานาธิบดี อาจเป็นเพราะเข้าใจผิดคิดว่า ประธานาธิบดีใหญ่ที่สุดหรือมีอำนาจมากที่สุดก็เป็นไปได้” ผู้กองตอบอย่างมั่นใจ

            “ อาจารย์คิดว่า คำตอบของผู้กองถูกต้องและชัดเจนดี คราวนี้อาจารย์อยากขอทราบความเห็นเรื่องอำนาจอธิปไตย 3 ระดับของเยอรมันสักหน่อยหนึ่ง ทำไมอเมริกาจึงมีอำนาจอธิปไตยแค่ 2 ระดับ ไม่มี 3 ระดับอย่างเยอรมัน ” ผมชมเชยผู้กองพร้อมกับตั้งคำถามต่อ

            “ อ๋อ ผมเข้าใจอย่างนี้นะอาจารย์ รัฐธรรมนูญของอเมริกาได้ยกร่างไว้เมื่อปีค.ศ.1789 หรือเมื่อ 231 ปี แนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยขององค์การระหว่างประเทศคงยังไม่มี แต่รัฐธรรมนูญของเยอรมันเพิ่งประกาศใช้บังคับเมื่อปี ค.ศ.1949 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเมื่อ 71 ปีที่ผ่านมา แนวคิดเรื่องการตัดโอนอำนาจบางอย่างของรัฐไปให้เป็นอำนาจขององค์การระหว่างประเทศคงจะเริ่มมีแล้ว

            ดังนั้น รัฐธรรมนูญของเยอรมันจึงได้บัญญัติเรื่องการโอนอำนาจอธิปไตยให้องค์การระหว่างประเทศไว้ด้วย อย่างน้อย ๆ ก็สามารถนำไปใช้กับการโอนอำนาจบางอย่างให้สหภาพยุโรป ซึ่งเยอรมันเป็นหัวเรือใหญ่คู่กับฝรั่งเศส ” ผู้กองตอบข้อสงสัยของผมได้อย่างน่าฟังทีเดียว

            “ดีมาก ผู้กอง อาจารย์ขอถามอีกประเด็นหนึ่ง คือ มลรัฐของเยอรมัน กับมลรัฐของอเมริกา ใครน่าจะมีอำนาจมากกว่ากัน ” ผมถามด้วยความสงสัย

            “ ผมคิดว่า มลรัฐของอเมริกาน่าจะมีอำนาจมากกว่ามลรัฐของเยอรมันนะ เพราะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญของอเมริกาในยุคนั้น คือ ดินแดนอิสระหรือรัฐที่ได้มารวมตัวกันสถาปนาประเทศอเมริกาขึ้นมา พวกเขาย่อมต้องพยายามสงวนอำนาจไว้ที่มลรัฐให้มากที่สุด และยอมยกอำนาจให้รัฐบาลกลางอย่างจำกัด                                                                                                                                                               

ส่วนรัฐธรรมนูญของเยอรมัน ได้ยกร่างหลังจากได้มีการสถาปนาประเทศเยอรมันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว อำนาจในการต่อรองคงไม่มากเท่ากับมลรัฐของอเมริกาเมื่อครั้งสถาปนาประเทศอเมริกาขึ้นมา ”

ผู้กองตอบได้ดีเช่นเคย

            “เก่งมากผู้กอง เรื่องเยอรมันยังไม่จบ คราวหน้าเราค่อยมาคุยกันต่อนะ  วันนี้ขอขอบคุณมาก”

ผมกล่าวขอบคุณพร้อมกับปิดการสนทนา

            “ ไม่เป็นไรครับ อาจารย์ ด้วยความยินดีครับ ” ผู้กองกล่าวแสดงน้ำใจไมตรีอันดีต่อผม

ดร.ชา
12/08/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: