85 / 100

กว่าจะรักษา ดินแดน ไทยไว้ได้ เป็นบทความลำดับที่ 6 ของหมวด 9 เรื่องเล่า ประเทศไทย กับชาติมหาอำนาจ ประกอบด้วย ความนำ สถานการณ์คุกคามการรักษา ดินแดน ฯ ในรัชกาลก่อน สถานการณ์คุกคามการรักษา ดินแดน ฯ ในรัชกาลที่ 5  การเสียดินแดนในยุครัชกาลที่ 5 การเสียดินแดนที่ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงโทมนัสที่สุด สรุป และคุยกับดร. ชา

อนึ่ง บทความก่อนหน้านี้ (5) ได้กล่าวถึง การ ประนีประนอม ได้ทำให้ชาติไทยรอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกา

           

1.ความนำ

            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรชาวไทยนับตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน ด้วยทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อพัฒนาสยามประเทศให้เป็นรัฐสมัยใหม่ มีความเจริญทัดเทียมอารยประเทศ จนทำให้พระองค์ได้รับพระราชสัญญานามว่า พระปิยมหาราช หรือพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่เป็นที่รักยิ่งของปวงชน ดังจะเห็นได้ว่า ทุกวันที่ 23 ตุลาคม จะมีพิธีวางพวงมาลาหน้าพระบรม ราชานุสาวรย์ของพระองค์ทั่วราชอาณาจักรไทย ดังจะเห็นได้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และสมเด็จพระบรมราชินี ฯ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2563 ด้วย

            การต่อสู้ภัยคุกคามของชาติมหาอำนาจนักล่าอาณานิคมแห่งยุค ที่หมายมั่นจะเอาดินแดนไทยเป็นเมืองขึ้นให้ได้ ทำให้พระองค์ถึงเกือบจะสิ้นพระชนมชีพที่ถูกนักล่าอาณานิคมกดดันและบีบคั้นอย่างไร้ความปรานีต่อสยามประเทศ มุ่งจะเอาประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียว

            ดังนั้น เราคนรุ่นหลังจึงควรศึกษาเรื่องราวและเหตุการณ์ตามประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ว่า สถานการณ์เลวร้ายเพียงใด และพระองค์ทรงแก้ไขสถานการณ์อันเลวร้ายนั้นด้วยพระสุขุมคัมภีรภาพได้อย่างไร จึงสามารถรักษาเอกราชของสยามไว้ได้ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของนักล่าเมืองขึ้นกันหมด

2.สถานการณ์คุกคามการรักษา ดินแดนไทยในรัชกาลก่อน

          บทความที่แล้ว (5) การประนีประนอม ทำให้ชาติไทยรอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกา ผมได้เล่าให้ท่านทราบว่า ชาติมหาอำนาจตะวันตกเริ่มมีภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรไทย กล่าวคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 อังกฤษได้แสดงแสนยานุภาพยึดพม่าเป็นเมืองขึ้นสำเร็จเมื่อปีพ.ศ.2368 อันเป็นผลทำให้ไทยต้องเสียเมืองแสนหวี เมืองเชียงตุง และเมืองพง ให้อังกฤษด้วย ในขณะเดียวกัน อังกฤษได้ขอเช่าเกาะหมาก (เกาะปีนัง) จากไทย และทำสนธิสัญญาค้าขายกันตามสนธิสัญญาเบอร์นี เมื่อพ.ศ.2368

          ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ชาติมหาอำนาจตะวันตกอีกชาติหนึ่ง ซึ่งเป็นคู่แข่งกัน คือฝรั่งเศส ได้แสดงแสนยานุภาพยึดญวนเป็นเมืองขึ้นได้สำเร็จ จึงถือโอกาสคุกคามไทยด้วยการยื่นคำขาดให้ไทยหรือสยามยอมยกดินแดนเขมรส่วนนอกให้ฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2406  และในที่สุดไทยก็ต้องยอมให้เขมรส่วนนอกตกเป็นของฝรั่งเศสไปเมื่อปีพ.ศ.2410

          ยิ่งกว่านั้น เมื่อปีพ.ศ.2398 สยามได้ทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษเพื่อเจริญพระราชไมตรีและทำการค้าขายต่อกัน  แต่ก็ทำให้ไทยจำต้องยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตหรือเอกราชทางศาลให้แก่อังกฤษด้วย หลังจากนั้น ก็มีชาติยุโรปอีกหลายชาติขอทำสนธิสัญญากับไทยในทำนองเดียวกันกับสนธิสัญญาบาวริ่ง

3.สถานการณ์คุกคาม การรักษา ดินแดน ไทยในยุครัชกาลที่ 5

          เป้าหมายใหญ่ของชาติมหาอำนาจตะวันตก นักล่าอาณานิคม คือ ต้องการให้สยามหรือประเทศไทย ตกเป็นอาณานิคมหรือเมืองขึ้นเหมือนอย่างประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติมหาอำนาจตะวันตกมาก่อนอย่างอินเดีย พม่า อินโดนีเซีย มลายูหรือมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และญวนหรือเวียดนาม

รัชกาลที่ 5 (วิกิพีเดีย, พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้สเจ้าอยู่หัว, 27 พฤศจิกายน 2563)
รัชกาลที่ 5 (วิกิพีเดีย, พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้สเจ้าอยู่หัว, 27 พฤศจิกายน 2563)

            กลยุทธ์ของชาติมหาอำนาจ

          ในการล่าเมืองขึ้น ชาติมหาอำนาจเหล่านี้ มิได้ยกกองทัพใหญ่โตมายึดครอง แต่ได้ใช้กลยุทธ์ทำให้ประเทศเป้าหมายเกิดการแตกแยกภายในทีละน้อยเพื่อทำให้อ่อนแอ ตามหลักของการแบ่งแยกแล้วปกครอง

            ยิ่งกว่านั้น ยังใช้กลยุทธ์ในการสร้างแรงกดดันและบีบคั้นด้วยการยื่นข้อเสนอที่ประเทศเป้าหมายยากที่จะปฏิเสธได้เพราะไม่มีกำลังทหารเข้มแข็งเท่ากับประเทศมหาอำนาจ ซึ่งแม้มีกำลังทหารจำนวนไม่มาก แต่มีขีดความสามารถเหนือกว่ากันมาก เพราะเป็นกองทัพสมัยใหม่ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง

            หากประเทศเป้าหมายประเทศใด ไม่ยอมอ่อนตามข้อเสนอ ก็จะหาเรื่องทำสงครามยึดเอาประเทศนั้นเป็นเมืองขึ้นทันที

            ด้วยกลยุทธ์ดังกล่าว ทำให้ไทยหรือสยามจำต้องยอมเสียดินแดนให้ชาติมหาอำนาจทีละน้อย เพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้ให้ได้ ตามหลักที่ว่า ยอมเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ หรือยอมเสียอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต

4.การเสียดินแดนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จเสวยราชสมบัติเป็นเวลายาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในอดีต กล่าวคือได้เสด็จเสวยราชสบัติระหว่างปีพ.ศ.2411-2453 รวมเป็นระยะเวลา 42 ปี

          ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีเหตุการณ์คับขันหลายครั้งเกือบจะตลอดรัชกาล หากไม่ใช่เพราะพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพอย่างแท้จริงของพระองค์ ไทยหรือสยามก็คงตกเป็นเมืองขึ้นของชาติมหาอำนาจเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน                                                                                                                 

เหตุการณ์การเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีจำนวนหลายครั้ง สรุปได้ดังนี้

4.1 เสียดินแดนสิบสองจุไท หรือสิบสองเจ้าไทย พื้นที่ 87,000 ตร.กม. ให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2431 โดยฝรั่งเศสอ้างว่า มาช่วยไทยปราบกบฏฮ่อ พอปราบเสร็จก็ไม่ยอมถอนทหารออกไป ถือโอกาสยึดครองดินแดนสิบสองจุไทต่อ

4.2 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พื้นที่ 143,000 ตร.กม. ซึ่งเป็นดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศลาวให้แก่ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2436 จากกรณีวิกฤตการณ์ปากน้ำเมื่อร.ศ.112 โดยฝรั่งเศสได้ส่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย พร้อมยื่นคำขาดและบีบให้ไทยยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ และต้องให้คำตอบภายในเวลา 48 ชั่วโมง

ภาพเรือฝรั่งเศสถูกยิง ในวิดกฤตการณ์ปากน้ำ ร.ศ.112 (วิกิพีเดีย,วิกฤตการณ์ ร.ศ.112, 27 พฤศจิกายน 2563)
ภาพเรือฝรั่งเศสถูกยิง ในวิดกฤตการณ์ปากน้ำ ร.ศ.112 (วิกิพีเดีย,วิกฤตการณ์ ร.ศ.112, 27 พฤศจิกายน 2563)

ไทยได้ทำการโต้แย้ง จึงทำให้ฝรั่งเศสส่งกองเรือรบมาปิดอ่าวไทย และนำเรือรบแล่นเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2436 ไทยจึงจำต้องยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขของฝรั่งเศส และฝรั่งเศสได้ถอนเรือออกจากการปิดอ่าวไทยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436

ป่อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทเจดีย์ จังหวัดสมุทปราการ ได้มีส่วรักษา ดินแดน ไทยไว้ ในเหตุการณ์ ร.ศ.112
ป่อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทเจดีย์ จังหวัดสมุทปราการ ได้มีส่วนรักษา ดินแดน ไทย ไว้

ท่านอาจศึกษาเรื่องราวของป้อมพระจุลจอมเกล้ากับเหตุวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ได้จากเว็บไซต์นี้้

นอกจากเสียดินแดนดังกล่าวแล้ว ไทยยังต้องจ่ายเป็นค่าทำขวัญและค่าปรับเป็นเงินฝรั่งเศส จำนวน 2 ล้านฟรังค์  และต้องจ่ายเป็นค่าประกันว่าจะต้อปฏิบัติตามสัญญาเป็นเงินไทยอีก 3 ล้านบาท เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสยังได้ส่งทหารยึดเมืองจันทบุรีและเมืองตราดไว้เป็นเวลา 15 ปี

ในการชำระเงินตามข้อเรียกร้องดังกล่าวของฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้ใช้เงินถุงแดงหรือเงินพระคลังข้างที่ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเก็บรักษาไว้ให้ใช้รักษาชาติบ้านเมืองเวลาเกิดคับขัน

4.3 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ด้านตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง และเมืองจำปาศักดิ์หรือปากเซเนื้อที่ 62,500 ตร.กม. เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม  พ.ศ.2446                     ทั้งนี้เพื่อแลกกับการให้ฝรั่งเศสคืนจันบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสกลับยึดตราดต่ออีก 5 ปี นอกจากนี้ยังได้ยึดเอาอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยไว้ด้วย

4.4 เสียมณฑลบูรพา (เขมรส่วนใน ได้แก่ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ) พื้นที่ 51,000 ตร.กม. ให้กับฝรั่งเศส เพื่อแลกเปลี่ยนกับกับตราด จันทบุรี ที่ฝรั่งเศสได้ยึดไว้ตอนเกิดเหตุการณ์ ร.ศ.112 รวมทั้งเกาะกง และด่านซ้าย ตลอดจนขอคืนอำนาจทางศาลหรือสิทธิภาพนอกอาณาเขตให้ไทย เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449

ฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากตราดและด่านซ้าย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2450 แต่ไม่ยอมคืนเกาะกงให้

4.5 เสียรัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปริส เนื้องที่ 80,000 ตร.กม. ให้อังกฤษ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 เพื่อแลกกับอำนาจทางศาลหรือสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

(พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, ประวัติศาสตร์ไทย 2 ราชวงศ์จักรี, 2551, หน้า 499-501)

อนึ่ง ท่านอาจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ในเว็บไซต์นี้

5.การเสียดินแดนที่ทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงโทมนัสมากที่สุด

          การเสียดินแดนแต่ละครั้ง ย่อมทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงโทมนัสมาก แต่ครั้งที่ทำให้พระองค์ทรงโทมนัสมากที่สุด คือ การเสียดินแดนลาวและมลายู ถึงกับทำให้พระองค์ทรงพระประชวร ดังมีพระราชดำริว่า “เห็นจะถึงที่สุดแห่งพระชนมชีพ” (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, หน้า 501)

6.สรุป

          บทความ”กว่าจะรักษา ดินแดน ไทยไว้ได้ ” ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า ในยุคที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสแข่งกันล่าอาณานิคม สยามเองถูกกดกันและบีบคั้น เป็นอย่างมาก จำเป็นต้องยอมประนีประนอมในสภาพที่ต้องยอมเสียเปรียบ เพราะหากไม่ยอมรับเงื่อนไขที่ชาติมหาอำนาจเสนอ ก็จะกลายเป็นข้ออ้างให้เขาส่งกองกำลังทหารสู้รบหรือทำสงครามเพื่อเอาชัยชนะขั้นเด็ดขาด

            การสู้รบกับชาติมหาอำนาจ หากสยามไม่รู้จักประเมินศักยภาพของตนเองว่า จะสามารถเอาชนะศัตรูได้หรือไม่ ก็คงไม่ต่างอะไรกับการมีความกล้าหาญแต่ขาดความเฉลียวฉลาดหรือขาดสติปัญญา ไม่ผิดกับการที่แมลงเม่าบินเข้ากองไฟนั่นเอง

            แต่บูรพมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีล้วนทรงมีพระปรีชาสามารถและทรงมีพระสุขุมคัมภีรภาพอย่างลึกซึ้ง จึงทำให้สยามเป็นประเทศเดียวในแถบนี้ที่สามารถเอาตัวรอดจากการตกเป็นเมืองขึ้นของชาติมหาอำนาจตะวันตกผู้กระหายอำนาจได้อย่างทระนงองอาจ และทำให้ลูกหลานไทยภาคภูมิใจตราบเท่าทุกวันนี้ แม้ว่าจำเป็นต้องยอมเสียดินแดนไปเป็นจำนวนไม่น้อยเลยก็ตาม

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม อ่านได้ในหัวข้อ คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับ ดร.ชา

          คู่สนทนาของผมวันนี้ คือ คุณประเสริฐ (ชื่อสมมุติ) เหมือนคราวที่แล้ว

            “สวัสดี คุณประเสริฐ วันนี้เรามาคุยกันเรืองการรักษา ดินแดน ไทยไว้ โดยจะเน้นในรัชสมัยของ รัชกาลที่ 5

อาจารย์ขอทราบความเห็นของคุณประเสริฐในประเด็นแรกเลยว่า การเสียดินแดนในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอยู่หลายครั้ง คุณประเสริฐคิดว่า การเสียดินแดนครั้งใดที่สร้างความเจ็บปวดให้สยามได้มากที่สุด เป็นเพราะเหตุใด ” ผมถามจุดสำคัญเลย

          “ สวัสดีครับ อาจารย์ ตามความเห็นของผม คิดว่าน่าจะเป็นครั้งที่เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศลาว เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2436 พื้นที่ 143,000 ตร.กม. อันเป็นผลจากเหตุวิกฤตการณ์ ร.ศ.112

เพราะนอกจากเสียดินแดนดังกล่าวแล้ว ไทยยังถูกบีบบังคับให้ต้องจ่ายเงินเพื่อรักษาเอกราชของชาติไว้เป็นจำนวนมหาศาล โดยแยกเป็นค่าทำขวัญและค่าปรับเป็นเงินฝรั่งเศส จำนวน 2 ล้านฟรังค์  และต้องจ่ายเป็นค่าประกันว่าจะต้อปฏิบัติตามสัญญาเป็นเงินไทยอีก 3 ล้านบาท เท่านั้นยังไม่พอ ฝรั่งเศสยังได้ส่งทหารยึดเมืองจันทบุรีและเมืองตราดไว้เป็นเวลา 15 ปี

การหาเงินฟรังค์และเงินบาทจำนวนมากมหาศาลเช่นนั้น หากไม่ได้เงินถุงแดงหรือเงินพระคลังข้างที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงหาไว้จากการค้าสำเภากับจีนเก็บรักษาไว้ใช้ในยามชาติตกอยู่ในภาวะคับขัน ตลอดจนการยอมเสียสละของพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ด้วยการเอาทองเพชรนิลจินดาส่วนพระองค์และส่วนตัวออกมาขายเอาเงินมาสมทบ สยามคงไม่แคล้วต้องตกเป็นขี้ข้าฝรั่งเศสในคราวนั้นแน่ ” คุณประเสริฐพูดถึงเรื่องราวในหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยด้วยความเศร้าสลด

          “ พูดถึงเรื่องนี้ก็น่าเศร้าใจมากนะ ที่จู่ ๆ ในครั้งหนึ่งประเทศชาติของเรา ต้องเผชิญวิกฤตการณ์ร้ายแรงถึงขั้นต้องหาเงินทองจำนวนมหาศาลมาไถ่ถอนประเทศของตนจากนักล่าอาณานิคม  ช่างเลวร้ายเหมือนนิทานอีสปเรื่องหมาป่ากับลูกแกะทีเดียว

          อาจารย์ขอทราบความคิดเห็นของคุณประเสริฐว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยต้องเสียดินแดนให้อังกฤษและฝรั่งเศส เป็นจำนวนหลายครั้งและมีขนาดพื้นที่รวมกันเป็นจำนวนมาก แต่ทำไมปวงชนชาวไทยจึงยกย่องและเทิดทูนพระองค์ท่านว่า เป็นพระปิยมหาราช ” ผมถามเข้าสู่จุดสำคัญเลย

            “ สำหรับเรื่องนื้ หากพิจารณาเผิน ๆ ก็ดูเหมือนว่า รัชกาลที่ 5 ไม่ทรงมีพระปรีชาสามารถ เพราะปล่อยให้อังกฤษและฝรั่งเศสยึดดินแดนของไทยไปได้เป็นจำนวนมาก

            แต่ถ้าพิจารณาในเชิงลึก จะเห็นได้ว่า พระองค์มีพระปรีชาสามารถสูงมาก เพราะการจะไปสู้รบเพื่อเอาชนะอังกฤษหรือฝรั่งเศสซึ่งกำลังแข่งกันแผ่อำนาจแลอิทธิพลไปทั่วโลกในเวลานั้น ประเทศแล้วประเทศเล่าล้วนต้องตกเป็นเมืองขึ้นเขาทั้งนั้น เพราะไม่รู้จักประเมินสถานการณ์และไม่รู้จักประเมินตนเอง รบไปก็มีแต่แพ้อย่างเดียว ” คุณประเสริฐตอบเหมือนยังอมภูมิไว้บางส่วน

          “ที่คุณประเสริฐตอบมาก็ถูกต้อง แต่ยังไม่ชัดเจนพอ อยากให้ตอบให้ชัดกว่านี้หน่อยได้ไหม ” ผมถามจี้จุด

            “ ได้ครับ อาจารย์ ผมคิดว่า การที่พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งจะได้รับการยกย่องหรือเทิดพระเกียรติให้เป็นมหาราช ไม่ใช่ง่ายเลย พระองค์ต้องทรงมีผลงานโดดเด่นจนเป็นที่ประจักษ์ว่า ได้ทรงสร้างคุณูปการไว้ให้แก่ชาติอย่างใหญ่หลวง ส่วนจะเป็นผลงานที่โดดเด่นด้านใดและอะไรบ้างนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือสภาวะแวดล้อมในรัชสมัยของพระองค์ว่าเป็นอย่างไร

            หากพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการแก้ปัญหาวิกฤตของชาติ และสามารถทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ก็ย่อมจะทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า เป็นมหาราชอย่างแน่นอน ” คุณประเสริฐตอบแบบร่ายยาว

            “ ถ้าเช่นนั้น พระราชกรณียกิจที่ยิ่งใหญ่ของล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ 5 มีอะไรบ้างที่มองเห็นได้ชัด ” ผมถามแหย่เข้าไปอีกหน่อยหนึ่ง

            “ ผมว่า เรื่องพระราชกรณียกิจของล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ 5 มีมากจนสุดที่พรรณนาได้หมดในระยะเวลาอันสั้น แต่ผมขอสรุปอย่างรวบยอดก็คือ ทรงปฏิรูปสยามประเทศให้เป็นประเทศสมัยใหม่ทัดเทียมอารยประเทศในยุคนั้นเลยทีเดียว ” คุณประเสริฐตอบสรุปจนได้

            “ ดีมาก คุณประเสริฐ เป็นคำตอบที่ชัดเจน วันนี้เราคงมีเรื่องคุยกันเท่านี้ก่อน ขอบคุณมาก มีโอกาสค่อยคุยกันใหม่ ” ผมกล่าวขอบคุณพร้อมยุติกาสนทนา

            “ด้วยความยินดีครับ อาจารย์ ”

             ดร.ชา

          27/11/20

Dr.Char

Mr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***) 2

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***)

Share on Social Media facebook email 91 / 100 Powered by Rank Math SEO “มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” เป็นบทความลำดับที่ 13 หมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก จะกล่าวถึง ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของมองโกเลีย ข้อมูลมองโกเลียในปัจจุบันที่ควรทราบ   ประวัติย่อของมองโกเลีย  ยุคจักรวรรดิมองโกลอันยิ่งใหญ่  วิเคราะห์เปรียบเทียบอาณาจักรมองโกล กับจักรวรรดิบริติช สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369           บทความที่เกี่ยวข้อง ประวัติ จีน ก่อนจีนยุคใหม่ “ จักรวรรดิจักรมองโกล (1206-1368)  เป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกันใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 24,000,000…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16) 3

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 5

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

7 COMMENTS

  1. ทันสมัยมากค่ะอาจารย์ อยากให้เด็กๆ บ้านเราได้อ่านได้รู้จังเลยค่ะ ประดับปัญญาประกอบความคิดได้

    1. นั่นสินะ ถึงเด็กไม่ได้อ่าน ผู้ใหญ่ได้อ่าน ถ้ามีโอกาสก็เล่าให้เขาฟังได้

  2. หนูเคยขอพรกับเสด็จพ่อ ร 5 แล้วประสบผลสำเร็จค่ะ หนูนับถือและศรัทธาด้วยค่ะ
    อยู่อุบลราชธานี หนูก็นับถือเจ้าสรรพสิทธิประสงค์ เคยไปขอพรแล้วทำให้หนูปลอดภัยจากพวกหมอดูสายดำค่ะ

  3. มาตรา112 ที่ใช้ในยามคับขัน มาจาก รศ112 หรืออย่างไรคะอาจารย์ ขอบคุณค่ะ

  4. การทำสงครามกับชาติตะวันตก ถ้าประเทศไทยเราทำสงครามด้วย หมายถึงแพ้ชาติตะวันตก
    เครื่องมือไม่ทันสมัย จึงต้องใช้ปัญญาในการทำสงครามค่ะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: