หัวข้อที่ผมจะนำมาเล่าประกอบด้วย ภูมิหลัง แนวคิดเบื้องต้น ประเภทของจิต การวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดเป้าหมาย หลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการสั่งจิตใต้สำนึก การสั่งจิตใต้สำนึกจากายนอก การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน การประเมินผลและการปรับเป้าหมาย สรุปและข้อคิดเห็น โดยในบทความ (2) ได้กล่าวถึงประสบการณ์การสั่งจิตใต้สำนึก:แนวคิดเบื้องต้นและบทความ (4) เป็นการเล่าถึงหลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก
สำหรับบทความ (5) จิตใต้สำนึก-การออกคำสั่งจากภายนอก จะกล่าวถึง ความหมายของการสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก การออกคำสั่งผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ปัญหาอุปสรรคของการออกคำสั่งจากภายนอก และสรุปและข้อคิดเห็น
Table of Contents
1.ความหมายของการสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก
การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก หมายถึง การที่มีสิ่งภายนอกมากระทบประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ของเรา และจิตสำนึกของเราได้สั่งผ่านลงไปยังใต้สำนึกบ่อย ๆ จนจิตใต้สำนึกยอมรับว่า สิ่งที่จิตสำนึกสั่งเข้าไปบ่อย ๆ เป็นคำสั่งที่จะต้องจดจำไว้เป็นระบบอัตโนมัติของจิตตามที่จิตสำนึกต้องการจะให้เป็น

การที่ตาได้เห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส และกายได้สัมผัสหรือกระทำ สิ่งใดบ่อย ๆ เท่ากับเป็นการออกคำสั่งของจิตสำนึกที่มีต่อจิตใต้สำนึกให้จดจำและสร้างระบบอัตโนมัติของจิตขึ้นมา หากเราได้ประสบสิ่งที่มากระทบประสาทสัมผัสทั้งห้าเหมือนเดิมหรือคล้าย ๆ เดิม จิตใต้สำนึกจะทำงานโดยอัตโนมัติด้วยการสั่งให้ร่ายกายตอบสนองในลักษณะเดียวกันที่เคยตอบสนองทุกครั้ง

2.การออกคำสั่งผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
การที่คนเราสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอก ก็ด้วยอาศัยการทำหน้าที่ของประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ เราใช้ตาเพื่อมองดูวัตถุ เราใช้หูเพื่อฟังเสียง เราใช้จมูกเพื่อดมกลิ่น เราใช้ลิ้นเพื่อลิ้มรส และเราใช้กายเพื่อสัมผัสหรือกระทำ
เพื่อความชัดเจน กรุณาดูตัวอย่างประกอบ ดังนี้
2.1 การฝึกซ้อมกีฬา
การเล่นกีฬา หากมีเป้าหมายต้องการเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน นักกีฬาจำเป็นต้องหมั่นฝึกซ้อม
โดยต้องใช้ประสาทสัมผัสในการฝึกซ้อมอย่างประสานสัมพันธ์สอดคล้องกัน คือ
ใช้สายตาดูตัวอย่างที่โค้ชแสดงให้ดู
ใช้หูฟังสิ่งที่โค้ชสอน และใช้กายฝึกปฏิบัติตามคำสอนชองโค้ช

การใช้สายตาดู การใช้หูฟัง และการใช้การฝึกซ้อม บ่อย ๆ ล้วนเป็นการออกคำสั่งของจิตสำนึกไปยังจิตใต้สำนึกให้จดจำ เพื่อสร้างระบบอัตโนมัติของจิต หรือการสร้างทักษะในการเล่นกีฬาชนิดนั้น เมื่อเวลาแข่งขันจิตใต้สำนึกจะเป็นผู้สั่งให้ร่ายกายของเราปฏิบัติโดยอัตโนมัติ ยิ่งฝึกซ้อมมากเท่าใด ระบบอัตโนมัติของจิตก็ยิ่งจะมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น เพราะเวลาลงแข่งขันจริง จิตสำนึกมีเวลาคิดบ้างเล็กน้อย ที่เหลือนอกนั้นเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึกหรือระบบอัตโนมัติของจิตเป็นผู้ดำเนินการ
2.2 การฝึกซ้อมร้องเพลงเพื่อเข้าประกวดชิงรางวัล
ปัจจุบันมีทีวีหลายช่องจัดให้มีการประกวดร้องเพลงเพื่อชิงรางวัล เช่น ทีวีช่อง 31 มีรายการดวลเพลงชิงทุนทุกวันจันทร์- เสาร์ ช่วงเวลา 18.00-19.00 กติกาก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก หากคณะกรรมการตัดสินใจให้ผู้เข้าประกวดคนใดคนหนึ่งในจำนวนสองคนเป็นผู้ชนะก็จะได้เป็นแชมป์ในครั้งนั้น หลังจากนั้นก็จะได้หมุนวงล้อหารางวัล
บางคนเก่งมากชนะยี่สิบครั้งรวด หากใครชนะยี่สิบครั้งรวดจะได้รางวัลเพิ่มเป็นสองเท่า เช่น หมุน
วงล้อยี่สิบครั้งได้เงินรางวัลรวม 350,000 บาท เงินรางวัลทั้งหมดที่ผู้ชนะ 20 ครั้งรวดจะได้รับ คือ700,000 บาท เป็นต้น
ผู้ประกวดคนใดสามารถชนะได้ 20 ครั้งรวด ต้องยอมรับว่าเก่งมาก เพราะเขาต้องร้องเพลงให้ได้ถึง 20 เพลง โดยต้องร้องได้สด ๆ ไม่มีเนื้อเพลงให้ดูเหมือนร้องคาราโอเกะ และต้องร้องชนะคู่แข่งทุกครั้ง

ฉะนั้น ผู้ที่ชนะการประกวด 20 ครั้งรวด เขาต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก การฝึกซ้อมก็คือการที่จิตสำนึกออกคำสั่งจิตใต้สำนึกให้สร้างระบบอัตโนมัติจดจำการร้องเพลง 20 เพลง ในการแข่งขัน 20 วัน
การฝึกร้องตามต้นฉบับ คือ การใช้หูฟังเพลงให้จับจังหวะและอารมณ์เพลงได้ รวมทั้งเป็นการจดจำเนื้อเพลงให้ได้ทั้งหมด

การแสดงทีท่าประกอบการร้องเพลง คือการฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายให้เข้ากับจังหวะและ
อารมณ์เพลง
การฝึกซ้อมอย่างหนักเท่านั้นที่จะทำให้ผู้เข้าประกวดชนะการแข่งขันได้ในแต่ละครั้ง เพราะ
ระบบอัตโนมัติของจิตจะมีคุณภาพสูงและสามารถสั่งการให้ร่างกายตอบสนองได้เป็นอย่างดียิ่ง
2.3 การสวดมนต์ทำวัตรเช้า-วัตรเย็น
วัดใดที่เจ้าอาวาสเข้มแข็งและเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ย่อมจะพาพระภิกษุสามเณรในวัดให้สวด
มนต์ทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็นทุกวัน การสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น เป็นประจำ เป็นการสั่งจิตใต้สำนึกผ่านทางเสียงสวดมนต์ของพระภิกษุสามเณรแต่ละรูปและพระภิกษุสามเณรรูปอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งจะทำให้จิตใต้สำนึกของพระภิกษุสามเณรในวัดนั้นยึดมั่นในพระธรรมวินัยไม่เสื่อมคลาย
2.4 การกล่าวคำปฏิญาณตนต่อหน้าเสาธงทุกวัน
การกล่าวคำปฏิญาณตนต่อหน้าเสาธงทุกวันของนักเรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ของทางราชการที่ผู้เข้ารับการอบรมอย่างอยู่กินนอนด้วยกันด้วยเสียงอันดังอย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการปลูกจิตใต้สำนึกให้นักเรียนหรือผู้เข้ารับอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ของทางราชการให้มีความยึดมั่นในอุดมคติหรือปรัชญาชองสถานศึกษาหรือหน่วยงาน ซึ่งเป็นที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป เช่น การอมรมหลักสูตรโรงเรียนนายอำเภอ ของวิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น
2.5 การท่องด้วยเสียงอันดังก่อนนอนและหลังตื่นนอน
หากเราต้องการจะสมปรารถนาในสิ่งใด เราอาจใช้วิธีท่องด้วยเสียงอันดังพอประมาณที่จะทำให้เราได้ยินเสียงตนเอง วันละ 2 เวลา คือ ก่อนนอน และหลังตื่นนอนใหม่ ๆ ซึ่งผมได้เล่าให้ท่านฟังเบื้องต้นแล้วในบทความ (1) ประสบการณ์สั่งจิตใต้สำนึกฯ: ภูมิหลัง
เหตุที่ต้องท่องด้วยเสียงอันดังก็เพื่อให้ตัวเราได้ยินเสียงของตัวเราได้อย่างชัดเจน และด้วยการท่องดังกล่าวประกอบการสร้างมโนภาพถึงการบรรลุเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ จะทำให้เกิดพลังจากภายในหรือพลังจากจิตใต้สำนึกผลักดันให้เราเกิดความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้เราประสบความสำเร็จให้จงได้ ซึ่งผมได้เล่าให้ท่านฟังแล้วในบทความ (2) ประสบการณ์สั่งจิตใต้สำนึกฯ : แนวคิดเบื้องต้น
3.ปัญหาอุปสรรคของการสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก
การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอกด้วยวิธีการท่องด้วยเสียงอันดัง อาจจะมีปัญหาอยู่บ้างกรณีที่เรายังไม่อยากให้ใครรู้ว่า เรากำลังมีเป้าหมายอะไร จนกว่าเราจะบรรลุเป้าหมายแล้ว เพราะถ้ามีบุคคลอื่นรู้เขาอาจจะแทรกแซงการฝึกของเราด้วยการใช้คำพูดบางอย่างที่บั่นทอนกำลังใจหรือความเชื่อมั่นของเรา แต่ถ้าเราไม่ท่องด้วยเสียงอันดังพลังจากภายในก็จะไม่เกิด ดังนั้น จึงควรเลือกเวลาและสถานที่ที่จะท่องด้วยเสียงอันดังที่เราคิดว่า น่าจะปลอดภัยจากการถูกแทรกแซงความฝันของเราจากบุคคลอื่น
4.สรุปและข้อคิดเห็น
การสั่งจิตใต้สำนึกอาจสั่งจากภายนอกตัวเราได้ กล่าวคือ เมื่อมีสิ่งมากระทบประสาทสัมผัสทั้งห้าขอเรา ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย อยู่บ่อย ๆ จิตสำนึกจะสั่งผ่านลงไปที่จิตใต้สำนึกให้จดจำและสร้างระบบอัตโนมัติของจิตขึ้นมา
การแข่งขันกีฬา การประกวดร้องเพลง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนย่อมมีเป้าหมายอยู่ที่การเอาชนะคู่แข่งขัน ดังนั้น ผู้เข้าแข่งขันจึงต้องมีการฝึกซ้อมอย่างหนัก เพื่อให้จิตใต้สำนึกยอมรับคำสั่งของจิตสำนึกที่สั่งผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าและสร้างระบบอัตโนมัติของจิตขึ้นมาให้พร้อมจะปฏิบัติงานได้ทันทีเมื่อถึงเวลา
การท่องด้วยเสียงอันดังก่อนนอนและหลังตื่นเป็นประจำทุกวันจนกว่าจะบรรลุเป้หมาย นับเป็นวิธีการที่สะดวกในการฝึก และทรงพลังเป็นอย่างมากในการสั่งจิตใต้สำนึกของเราให้จดจำในสิ่งที่เรากำหนดไว้เป็นเป้าหมายที่จะบรรลุภายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
หวังว่า ท่านผู้อ่านคงพอจะเข้าใจหลักการและแนวทางในการออกคำสังจิตใต้สำนึกจากภายนอกนะครับ
พบกันใหม่ในบทความต่อไป “ การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน”
ดร.ชา
4/07/20
“หากบทความนี้ถูกใจท่าน และท่านมีความประสงค์จะสนับสนุนให้บทความนี้แพร่หลายออกไป กรุณามีส่วนร่วมด้วยการกดไลค์ กดแชร์ไปยังกลุ่มบุคคลหรือบุคคลในเครือข่ายของท่าน หรือแสดงความคิดเห็น รวมทั้งสมัครเป็นผู้ติดตามได้ตามอัธยาศัย และขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเพจ การสมัครเป็นผู้ติดตามและการมีส่วนร่วม ของเว็บไซต์นี้ คือ รวมเรื่องเล่า สนุกและสร้างสรรค์ ชุดประสบการณ์นักปกครองที่น่าสนใจ (https://tridirek.com) “
การสั่งจิตใต้สำนึก ด้วยกก่รใช้โค้ช ถ้าเจอคนที่มีจรรยาบรรณพานำทางในการใช้คำพูด ถือว่าโชคดีค่ะ
แต่ถ้าเจอโค้ชมาในรูปแบบ ใส่ข้อมูลให้บริจาคทรัพย์สิน เหมือนที่หนูเคยเจอแย่ค่ะ
ปัจจุบันนี้ โค้ชคนไหนมีชื่อเสียง มักจะมีบุคคลอื่นขุดอดีต หรือการออกมาแฉ สิ่งที่เคยทำในอดีตค่ะ
คนเราก็อย่างนี้ ชีวิตมีขึ้นมีลง มีคนรักมีคนเกลียด ดังน้ัน ก็ขอให้ยึดคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า “อย่าตั้งตนอยู่ในความประมาท”
น่าสนใจค่ะอาจารย์ เพราะมันคือชีวิตประจำวันเราค่ะ แต่คนทั่งไปไม่ได้ประมวลค่ะ
ถูกต้องแล้วคุณบุญญสรณ์ เรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวทีคนอาจมองข้าม
ได้ฟังวีดีโอ ประกอบแล้ว คิดถึงสมัยเรียน ป โทค่ะ
เป็นเช่นนั้นเหรอ