77 / 100

บทความ “รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ของอเมริกา มีความเป็นมาอย่างไร จึงมีอายุยืนยาว” นับเป็นบทความลำดับที่ 5 ของ หมวด 8 เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญ อเมริกา โดยจะกล่าวถึง การประชุมผู้แทนของมลรัฐต่าง ๆ ที่เมืองฟิลาเดีลเฟีย การนำร่างรัฐธรรมนูญออกเผยแพร่ทางสื่อมวลชน การต่อสู้ทางความคิดระหว่างสองฝ่าย การประนีประนอมครั้งใหญ่ การให้สัตยาบันรับรองรัฐธรรมนูญ สรุป และคุยกับดร.ชา

1.ความนำ

          ในบทความที่แล้ว คือ บทความ (4)  ผมได้เล่าถึง สาเหตุที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับแรก ของอเมริกา ต้องถูกยกเลิก หลังได้ใช้บังคับมาแล้ว 9 ปี ระหว่างปีค.ศ.1781-1789 เนื่องจากเป็นรัฐธรรมนูญที่ออกแบบให้รัฐบาลกลางอ่อนแอจนเกินไป ไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเกิดภัยคุกคามจากต่างประเทศหรือเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ เพราะรัฐบาลกลางไม่มีงบประมาณเป็นของตนเอง ต้องคอยขอรับการสนับสนุนจากมลรัฐต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถสร้างกองทัพที่เข้มแข็งได้

            สำหรับทความนี้ จะได้เล่าให้ท่านทราบว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอเมริกา มีประวัติความเป็นมาอย่างไร จึงสามารถนำมาใช้บังคับมาเป็นเวลายาวนาน โดยไม่ถูกฉีกทิ้งหรือยกร่างขึ้นใหม่เหมือนหลายประเทศ คงมีการเฉพาะการแก้ไขเพิ่มเติมตามความจำเป็น

คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง เจมส์ เมดิสัน (James Madison) และอาเล็กซานเดร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) ต้องการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาทั้งฉบับเพื่อใช้บังคับแทนรัฐธรรมนูญฉบับแรก มิใช่เพียงแต่แก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อสร้างรัฐบาลกลางที่เข้มแข็งกว่าเดิม

2.การประชุมผู้แทนของมลรัฐต่าง ๆ ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย

            ศาสตราจารย์ อคิล รีด อมาร์ ( Akhil Reed Amar, 2005,p.5)  กล่าวว่า ในช่วงฤดูร้อนของปีค.ศ.1787 มลรัฐจำนวน 12 แห่ง จากจำนวนทั้งหมด 13 แห่ง ยกเว้นมลรัฐ โรดไอส์แลนด์ (Rhode Island) ได้มาประชุมกันเป็นกรณีพิเศษที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลเวเนีย  เพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐบัญญัติของสมาพันธรัฐ หลังจากได้มีการประชุมลับถกเถียงกันเป็นเวลาหลายเดือน  จนกระทั่งถึงกลางเดือนกันยายนของปีเดียวกัน บุคคลสำคัญซึ่งเป็นตัวแทนจาก 12 มลรัฐ  จำนวน 39 คน ได้ร่วมกันลงนามในเอกสาร ซึ่งเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

การลงนามในร่างรัฐธรรมนูญอเมริกาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1787 ก่อนจะนำออกเผยแพร่ทางสื่อมวลชนในเวลาอีก 2 วันต่อมา
(Wikipedia,The Constitition of America, 11th October 2020)
การลงนามในร่างรัฐธรรมนูญอเมริกาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1787 ก่อนจะนำออกเผยแพร่ทางสื่อมวลชนในเวลาอีก 2 วันต่อมา
(Wikipedia,The Constitition of America, 11th October 2020)

            บุคคลสำคัญเหล่านั้น รวมถึงจอร์จ วอชิงตัน (George Washington)  เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin)  เจมส์ วิลสัน (James Wilson) โรเจอร์ เชอร์แมน (Roger Sherman) เจมส์ เมดิสัน (James Madison) และ อเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton)

3.การนำร่างรัฐธรรมนูญออกเผยแพร่ทางสื่อมวลชน

            หลังจากตัวแทนจากมลรัฐต่าง ๆ ได้ลงนามในเอกสารที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแล้วผ่านไป 2 วัน  หนังสือพิมพ์ได้นำเรื่องการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วประเทศอเมริกาทราบเมื่อวันที่  19 กันยายน  ค.ศ.1787 โดยได้นำคำอารัมภบทหรือคำขึ้นต้น ( Preamble)ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นพาดหัวว่า

            “ We, the people of the United States, in order to form a more perfect Union, establish Justice, insure domestic Tranquility, provide for the common Defence, promote the General Welfare, and secure the Blessing of Liberty to ourselves and our Posterity, do ordain and establish this Constitution for the United States of America ”

(Akhil Reed Amar, America’s Written Constitution, 2005, p.4)

คำขึ้นต้นในรัฐธรรมนูญอเมริกาฉบับปัจจุบัน
(Wikipedia, Constitution of America, 11th October 2020)
คำขึ้นต้นในรัฐธรรมนูญอเมริกาฉบับปัจจุบัน
(Wikipedia, Constitution of America, 11th October 2020)

              “ เราประชาชนชาวอเมริกัน เพื่อสร้างความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้มากยิ่งขึ้น  สร้างความยุติธรรม สร้างความสงบภายในประเทศ  สร้างการป้องกันประเทศร่วมกัน  ส่งเสริมสวัสดิการโดยทั่วไป สร้างหลักประกันเสรีภาพให้แก่พวกเราและคนรุ่นหลัง จึงได้บัญญัติและสร้างรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาขึ้นมา .”

            ศาสตราจารย์ อคิล รีด อมาร์ ได้บรรยายผลของการที่หนังสือพิมพ์ได้พาดหัวข่าวของการร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวว่า ทำให้ประชาชนทั่วประเทศอเมริกาเกิดความตื่นตัวในเรื่องของการเมืองการปกครองเป็นอย่างมาก  คนทั่วแผ่นดินในเวลานั้น จากเหนือจรดใต้ และจากตะวันออกจรดตะวันตกต่างพูดถึงแต่เรื่องนี้ เพราะนี่คือครั้งแรกของมนุษยชาติที่ประชาชนได้มีโอกาสเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญเอง

4.การต่อสู้ทางความคิดระหว่างสองฝ่าย Federalists และ Anti-Federalists

          ก่อนจะมาถึงจุดนี้ ท่านคงพอจำได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกของอมริกาได้ออกแบบให้รัฐบาลกลางอ่อนแอและมีอำนาจน้อย โดยให้อำนาจส่วนใหญ่เป็นของมลรัฐ มลรัฐคือผู้มีอำนาจตัดสินใจที่แท้จริง ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงต้องการแก้จุดอ่อนของรัฐธรรมนูญฉบับแรกด้วยการออกแบบให้รัฐบาลกลางเข้มแข็งและมีอำนาจเหนือกว่ามลรัฐ แต่ก็ยังมีอีกฝ่ายหนึ่งที่ยังต้องการให้มลรัฐมีอำนาจเหนือกว่ารัฐบาลกลาง

            ฝ่ายที่ต้องการให้รัฐบาลกลางเข้มแข็งและมีอำนาจมากกว่ามลรัฐ เรียกว่า ฝ่าย Federalists  ส่วนฝ่ายที่ต้องการให้มลรัฐมีอำนาจมากกว่ารัฐบาลกลางเรียกว่า ฝ่าย Anti-Federalists

            ทั้งสองฝ่ายได้ตอบโต้กันผ่านทางเอกสาร เพื่อขายความคิดของฝ่ายตนไปสู่ประชาชน

            ผู้นำคนสำคัญของฝ่าย Federalists ได้แก่ จอห์น อดัมส์ (John Adams) จอห์น เจย์ (John Jay) เจมส์ เมดิสัน(James Madison) จอห์น มาร์แชล (John Marshall)  และอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน (Alexander Hamilton) พวกเขาได้ช่วยกันเขียนบทความให้ประชาชนสนับสนุนความคิดของฝ่ายตนผ่านหนังสือพิมพ์นิวยอร์ค นิวส์ (New York Newspaper) โดยใช้นามปากกาว่า พับลิอุส (Publius) และต่อมาได้ร่วมกันเขียนบทความทีเรียชื่อว่า The Federalist Papers จำนวนหลายบทความเพื่อเรียกร้องให้ประชาชนสนับสนุนการให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นใหม่

            ผู้นำคนสำคัญของฝ่าย  Anti- Federalists ได้แก่ แพตริค เฮนรี (Patrick Henry) แซมวล อดัมส์ (Samual Adams) โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)  ริชาร์ด เฮนรี ลี (Richard Henry Lee) และเจมส์ มอนโร (James Monroe) ฝ่ายนี้ได้เขียนบทความในนามปากกาว่า บรูตุส (Brutus)  เซ็นติเนล (Centinel) และเฟดดีรอล ฟาร์เมอร์ (Federal Farmer) โดยได้ร่วมกันเขียนบทความต่อต้านการสร้างรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง

5.การประนีประนอมครั้งใหญ่ (Great Compromise)

            แนวคิดหรือจุดยืนของฝ่าย Federalists และฝ่าย Anti-Federalist นับว่าอยู่ตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง   โดยฝ่าย Federalists ต้องการให้รัฐบาลกลางมีอำนาจเข้มเข็งและมีอำนาจเหนือกว่ามลรัฐ  ในขณะที่ฝ่าย Anti-Federalists ต้องการให้คงรูปแบบของรัฐบาลกลางที่มีอำนาจน้อยกว่ามลรัฐตามบทบัญญัติของสมาพันธรัฐตามเดิม

            สำหรับแนวคิดหรือจุดยืนของฝ่าย Anti-Federalists  ในการคัดค้านในการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ในรูปแบบที่ให้รัฐบาลกลางเข้มแข็งมีอำนาจเหนือกว่ามลรัฐ คือ (Thomas E. Patterson, 2017, pp.36-37)

            ประการแรก เห็นว่า รัฐบาลแห่งชาติจะมีอำนาจมากจนเกินไป ซึ่งจะเป็นการคุกคามการปกครองตนเองในหลาย ๆ มลรัฐ และเสรีภาพของประชาชน

            ประการที่สอง เห็นว่า ในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไม่ได้รวมเอาสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน (Bill of Rights) เข้าไว้ด้วย  จึงเกรงว่า รัฐบาลกลางไม่มีหลักประกันในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

            ประการที่สาม เกรงว่า รัฐบาลกลางอาจจะตกอยู่ในกำมือของชนชั้นนำทางการเมือง ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ  อาจจะเป็นรัฐบาลที่ใช้อำนาจกดขี่  และสมาชิกสภา คองเกรสก็จะกลายเป็นสภาของชนชั้นสูงหรือชนชั้นขุนนาง

            ประการที่สี่ ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นอีกปัญหาหนึ่ง เพราะตามบทบัญญัติแห่งสมาพันธรัฐที่ใช้บังคับอยู่ไม่มีตำแหน่งฝ่ายบริหาร  ซึ่งอาจจะมีวิวัฒนาการกลายเป็นระบบกษัตริย์อเมริกันได้ในภายหลัง  ดังนั้น ตำแหน่งประธานาธิบดีจึงควรจะเลือกจากคณะผู้เลือกตั้งซึ่งมลรัฐเป็นผู้แต่งตั้ง ไม่ใช่เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง

            ประการสุดท้าย แม้จะยอมรับว่า มีความจำเป็นที่ต้องการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระหว่างมลรัฐต่าง ๆ มากขึ้นและมีความจำเป็นที่ต้องมีระบบการป้องกันประเทศที่เข้มแข็งขึ้น แต่พวกเขาก็ยังไม่เห็นด้วยกับการสร้างรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง

            ด้วยเหตุนี้ ทั้งงสองฝ่ายจึงได้ทำการตกลงประนีประนอมครั้งใหญ่ เพื่อให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้   

ในการตกลงประนีประนอมครั้งใหญ่ (Great Compromise) มีสาระสำคัญ คือ (Thomas E. Patterson, 2017, pp.33-38) สรุปได้ดังนี้  

               ประการแรก องค์ประกอบของสภาคองเกรส  เพื่อมิให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างมลรัฐใหญ่และมลรัฐเล็กจึงได้ข้อยุติว่า ให้สภาคองเกรสประกอบด้วย 2 สภา สภาแรก เรียกชื่อว่าสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีจำนวนตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละมลรัฐ หากมลรัฐใดมีประชากรมาก จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็จะมีมากกว่ามลรัฐที่มีจำนวนประชากรน้อย แต่มลรัฐหนึ่งต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อยหนึ่งคน

            ส่วนอีกสภาหนึ่ง เรียกชื่อว่า สภาซีเนตหรือวุฒิสภาแต่ละมลรัฐจะมีจำนวนสมาชิกสภาซีเนตเท่าเท่ากัน คือมลรัฐละ 2 คน

            ประการที่สอง ปัญหาการนับจำนวนทาส เพื่อประโยชน์ในการกำหนดจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร  ทาสคนหนึ่งไม่ให้นับเป็นหนึ่งคน แต่ให้นับทาสตามอัตราส่วน ทาสจำนวน 3/ 5 คน เพราะมลรัฐทางเหนือมีจำนวนทาสน้อยจะเสียเปรียบมลรัฐทางใต้  กล่าวคือ หากนับจำนวนทาสตามอัตราส่วนดังกล่าว มลรัฐทางใต้จะมีจำนวนที่นั่งเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด    

             หากนับไม่นับจำนวนทาสเลย อเมริกาทางภาคใต้จะมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด  แต่ถ้านับจำนวนทาสเต็มจำนวน จะทำให้มลรัฐทางใต้ครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร

            ประการสุดท้าย ปัญหาที่มาของประธานาธิบดี หากให้ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง  อาจจะทำให้ตำแหน่งประธานาธิบดีพัฒนาไปสู่การเป็นระบบกษัตริย์ของอเมริกา (American monarchy) ดังนั้น จึงให้มลรัฐแต่ละแห่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี ( The Electoral College) เพื่อทำหน้าที่ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีแทนประชาชน

6.การให้สัตยาบันรับรองรัฐธรรมนูญ     

          เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นที่ยอมรับของมลรัฐต่าง ๆ สภาคองเกรสของสมาพันธรัฐจึงได้ส่งร่างรัฐธรรมนูญไปให้สภานิติบัญญัติของมลรัฐดำเนินการให้สัตยาบัน

            กระบวนการให้สัตยาบันรับรองรัฐธรรมนูญ สภานิติบัญญัติของมลรัฐจะเป็นผู้ดำเนินการให้ประชาชนในแต่ละมลรัฐเลือกตั้งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในที่ประชุมพิจารณาให้สัตยาบันรับรองรัฐธรรมนูญ โดยหลายมลรัฐได้ลดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งบุคคลดังกล่าวให้ต่ำกว่าคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอยู่ตามปกติเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญให้มากที่สุด (Akhil Reed Amar,2005)

            ศาสตราจารย์โทมัส อี.แพตเตอร์สัน (Thomas E. Patterson,2017, pp.38-39) ได้กล่าวถึงผลของการให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญ สรุปได้ดังนี้

            มลรัฐและท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปนั่งที่ประชุมใหญ่เพื่อพิจารณาให้สัตยาบันของมลรัฐ (State Ratifying Convention) โดยผลของการให้สัตยาบันดังกล่าวในมลรัฐต่าง ๆ ปรากฏว่า ฝ่ายที่สนับสนุนให้รับรองรัฐธรรมนูญประสบชัยชนะอย่างง่ายดาย ยกเว้นในมลรัฐนิวยอร์ค และเวอร์จิเนีย ที่ผลของการลงคะแนนออกมาสูสี แต่มีคำมั่นสัญญาไว้ว่า จะต้องนำสิทธิขั้นพื้นฐาน (Bill of Rights) บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญด้วย

            มีอยู่ 2 มลรัฐที่ได้ปฏิเสธการให้สัตยาบันมาแต่ต้น คือ มลรัฐนอร์ทคาโรไลนา และมลรัฐโรดไอส์แลนด์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมลรัฐโรดไอส์แลนด์ ไม่ยอมส่งตัวแทนไปร่วมประชุมที่เมืองฟิลาเดลเฟีย  แต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุด ทั้งสองมลรัฐทั้งสองก็ได้ยอมให้สัตยาบันในภายหลัง

            ในมุมมองของนักประวัติศาสตร์เห็นว่า การที่จอร์จ วอชิงตัน เข้าไปนั่งเป็นประธานในที่ประชุม ณ เมืองฟิลาเดลเฟีย เท่ากับเป็นหลักประกันว่า จะต้องให้สัตยาบันรับรองรัฐธรรมนูญนี้

       ผลของการลงคะแนนให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญของมลรัฐต่าง ๆ

          ❶มลรัฐที่ให้การรับรองเมื่อปีค.ศ.1787 มีจำนวน 3 มลรัฐ คือ เดลาแวร์ เพนซิลเวเนีย  และนิวเจอร์ซี

          ❷มลรัฐที่ให้การรับรองเมื่อปีค.ศ.1788 มีจำนวน 8 มลรัฐ คือ จอร์เจีย คอนเน็คติกัต             แมสซาจูเซตส์ แมรีแลนด์ เซาท์แคโรไลนา นิวแฮมเชียร์ เวอร์จิเนีย และนิวยอร์ค

         ❸มลรัฐที่ให้การรับรองเมื่อปีค.ศ.1789 มีจำนวน 1 แห่ง คือ นอร์ทแคโรไลนา

         ❹มลรัฐที่ให้การรับรองเมื่อปีค.ศ.1790 มีจำนวน 1 แห่ง คือ โรดไอร์แลนด์

7.สรุป

          บทความนี้ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า การที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ของอเมริกา ซึ่งได้ประกาศใช้บังคับมาตั้งแต่ปีค.ศ.1789 ได้มีอายุยาวนานมาจนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลาร่วม 231 ปี ก็เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่ยกร่างขึ้นโดยตัวแทนมลรัฐต่าง ๆ ได้ร่วมกันยกร่างและได้มีการประนีประนอมครั้งใหญ่ระหว่างสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่ต้องการให้รัฐบาลกลางมีอำนาจมากกว่ามลรัฐ (Federalists) และฝ่ายที่ต้องการให้มลรัฐมีอำนาจมากกว่ารัฐบาลกลางเหมือนเดิม (Anti-Federalists)  หลังจากนั้นได้เปิดโอกาสประชาชนมีส่วนร่วม ด้วยการนำข่าวการยกร่างรัฐธรรมนูญลงประชาสัมพันธ์ในหนังสือพิมพ์ให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับทราบและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่

            ยิ่งกว่านั้น ยังได้ส่งร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ไปให้มลรัฐต่าง ๆ พิจารณาให้สัตยาบัน โดยมลรัฐต่าง ๆ ให้ประชาชนเลือกตัวแทนเข้าไปนั่งในที่ประชุมใหญ่ของมลรัฐ (Convention) ทำหน้าที่พิจารณาให้สัตยาบัน ซึ่งเป็นผลทำให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติของประชาชนโดยทางอ้อม หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนทั้งประเทศ

            ดังนั้น ด้วยกระบวนการดังกล่าว จึงทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันสามารถใช้บังคับได้มาเป็นเวลายาวนานตราบเท่าทุกวันนี้ นับเป็นเวลาร่วม 231 ปี

คุยกับดร.ชา

          คู่สนทนาของผมวันนี้ คือ อาจารย์ดร.ศรศิลป์ (ชื่อสมมุติ)

          อาจารย์ดร.ศรศิลป์ เคยราชการร่วมกับผมในช่วงเวลาก่อนที่ผมจะเกษียณอายุราชการ มีความคุ้นเคยสนิทสนมกับผมดี เพราะมีเลือดสีชมพูด้วยกัน ปัจจุบัน ท่านเป็นอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง

            “สวัสดีครับ อาจารย์ดร.ศรศิลป์ วันนี้ นับเป็นเกียรติที่ อาจารย์ได้กรุณาสละเวลามาคุยกันเกี่ยวกับความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอเมริกา ” ผมทักทายเพื่อสร้างความเป็นกันเองก่อนคุยกัน

            “สวัสดีครับ ดร.ชา ด้วยความยินดีที่จะได้สนทนากันเกี่ยวกับความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอเมริกา ผมเองก็สนใจเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว ” อาจารย์ดร.ศรศิลป์กล่าวทักทายตอบด้วยมิตรมิตรไมตรี

            “ถ้าเช่นนั้น ผมขอเริ่มประเด็นแรกเลย อาจารย์คิดว่า การที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอเมริกา ซึ่งได้ประกาศใช้บังคับมาตั้งแต่ปีค.ศ.1789 และได้ใช้ต่อเนื่องเรื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นับเป็นระยะเวลายาวนานร่วม 231 ปี เป็นเรื่องที่น่าทึ่งไหม ” ผมถามความเห็นในภาพใหญ่ก่อน

          “ ในมุมมองของผมนะ ดร.ชา ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก ที่คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอเมริกา ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาให้เป็นที่ยอมรับของมลรัฐต่าง ๆ และประชาชนทั้งประเทศ แสดงให้เห็นว่า เป็นการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เยี่ยมยอดมาก

            จุดที่ผมประทับใจอย่างหนึ่งคือ คณะผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้ยอมรับการประนีประนอมครั้งใหญ่ระหว่างสองฝ่ายที่มีความเห็นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง คือ ฝ่ายหนึ่งต้องการสร้างรัฐบาลกลางขึ้นมาให้อำนาจเหนือกว่ามลรัฐ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องการให้มลรัฐมีอำนาจเหนือรัฐบาลกลาง โดยต่างฝ่ายต่างมี่เหตุผลและความเชื่อเป็นของตนเอง ” อาจารย์ดร.ศรศิลป์แสดงความเห็นตามความรู้สึกของตน

            “ถ้าเช่นนั้น ผมขอถามประเด็นที่สองเลยว่า อะไรคือเบื้องหลังที่ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอเมริกา มีอายุยืนยาวร่วม 231 ปี จนเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรซึ่งยังใช้บังคับอยู่ที่มีอายุยืนยาวมากที่สุดในโลก ” ผมถามลึกเข้าไปเบื้องหลัง

          “ผมคิดว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอเมริกา ได้ออกแบบมาให้สามารถแก้ปัญหาของประเทศอเมริกาในขณะนั้นที่ทำการยกร่างขึ้นมาได้ตรงจุด กล่าวคือ การที่อเมริกาเป็นประเทศเกิดใหม่ด้วยการทำสงครามปฏิวัติกับจักรวรรดิบริเตนใหญ่ ซึ่งเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกในเวลานั้น  ความมั่นคงของประเทศคือปัญหาแรก เพราะถ้ารัฐบาลกลางไม่เข้มแข็ง หากจักรวรรดิบริเตนใหญ่ หรือสเปน ยกกองทัพเข้าโจมตี โครงสร้างประเทศตามรูปแบบเดิมที่ให้รัฐบาลกลางอ่อนแอ จะไม่มีทางสู้รบเอาชนะบริเตนใหญ่หรือสเปนได้เลย

            หรือแม้แค่มีขบถเชส์ (Shays’ Rebellion) ที่เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1786-1787 ในมลรัฐแมสซาจูเซตส์ทางตะวันตก ที่ได้ประท้วงระบบศาลของมลรัฐ รัฐบาลกลางของสมาพันธรัฐก็ไม่สามารถทำอะไรได้ จนได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องมีการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ ” อาจารย์ดร.ศรศิลป์ให้เหตุผลพร้อมยกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ประกอบ

ภาพขบถเชส์ ปี 1786-1787 ในมลรัฐแมสซาจูเซตส์ตะวันตก (Wikipeidia,Shays' Rebellion. 11th October 2020)
ภาพขบถเชส์ ปี 1786-1787 ในมลรัฐแมสซาจูเซตส์ตะวันตก (Wikipeidia,Shays’ Rebellion. 11th October 2020)

            “เยี่ยมมาก อาจารย์ ในประเด็นสุดท้าย ผมอยากจะขอทราบความเห็นว่า อเมริกาได้สร้างกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญนี้อย่างไร จนทำให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ” ผมถามไปที่จุดสำคัญที่สุดเลย

          “ ดีครับ คำถามนี้ผมอยากจะให้ความเห็นว่า อเมริกาเขาได้สร้างกระบวนให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นของประชาชน จำนวน 2 ขั้นตอน คือ                                                                                                                     

ขั้นตอนแรก หลังจากสภาคองเกรสแห่งสมาพันธรัฐได้เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เขาได้ให้หนังสือพิมพ์ลงข่าวร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนทั้งประเทศได้ทราบและแสดงความเห็นได้อย่างเสรี ซึ่งในยุคนั้น ประชาชนทั้งประเทศต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

ขั้นตอนที่สอง เขาให้สภานิติบัญญัติของมลรัฐต่าง ๆ ดำเนินการให้ประชาชนเลือกตัวแทนเข้าไปนั่งในที่ประชุมใหญ่ของแต่ละมลรัฐเพื่อพิจารณาให้สัตยาบันรับรองรัฐธรรมนูญ ” อาจารย์ดร.ศรศิลป์อธิบายกระบวนการในการมีส่วนร่วมของประชาชน

“ ชัดเจนมากเลย อาจารย์ ผมคิดว่า ถ้าใครได้ทราบกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของอเมริกา นับตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นไปจนถึงการให้สัตยาบันของมลรัฐต่าง ๆ ก็คงไม่แปลกใจว่า ทำไมรัฐธรรมนูญนี้จึงมีอายุยืนยาวมาก

“วันนี้ต้องขอขอบคุณ อาจารย์มากที่สละเวลามาสนทนากัน ผมเชื่อว่า คงจะทำให้ท่านผู้อ่านของเรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับ ของอเมริกา ได้พอสมควร โอกาสหน้าค่อยคุยกันใหม่นะครับ ” ผมกล่าวขอบคุณพร้อมกับยุติการสนทนา

“ ด้วยความยินดีครับ ดร.ชา ” อาจารย์ดร.ศรศิลป์ตอบรับด้วยความยินดี

ดร.ชา

11/10/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

2 COMMENTS

  1. ขอบคุณ ดร.ศรศิลป์ ที่มาแบ่งปันความรู้ในวันนี้ค่ะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: