85 / 100

การประนีประนอมหรือการเจรจาทำความตกลง ทำให้ชาติไทยรอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกา หรือการตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก นับเป็นบทความลำดับที่ 5 ของหมวด 9 เรื่องเล่า ประเทศไทยกับชาติมหาอำนาจ โดยจะกล่าวถึง พระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 10 เกี่ยวกับการชุมนุม การประนีประนอมในยุครัชกาลที่ 3 การเจรจาทำความตกลงในยุครัชกาลที่ 4  สรุป และคุยกับดร.ชา

            บทความก่อนหน้านี้ คือ บทความ (3) ศรัทธาต่อสถาบันหลักของชาติอย่างแรงกล้า ทำให้ไทยชนะสงครามเย็น

1.พระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 10 เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง

          ในสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน กลุ่มม็อบที่เรียกชื่อว่า “ คณะราษฎร 2563”ได้ตั้งข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ ให้นายกรัฐมนตรีลาออก ให้ยกร่างรัฐธรรมใหม่ และให้มีการปฏิรูปสถาบัน ท่ามกลางมีกระแสข่าวการแทรกแซงอำนาจอธิปไตยของไทยจากชาติมหาอำนาจตะวันตกบางชาติ     

                                             

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ (วิกิพีเดีย, พระบาทสมเด็จพระวิชรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ, 25 พฤศจิกายน 2563)
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิกิพีเดีย, พระบาทสมเด็จพระวิชรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ, 25 พฤศจิกายน 2563)

มีครั้งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 10 ได้พระราชทานสัมภาษณ์สื่อมวลตะวันตกในวโรกาส เสด็จพระราชดำเนินไปเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวของพระแก้วมรกต ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 ว่า พระองค์มีความคิดเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์ชุมนุมในขณะนั้น

            พระองค์ได้มีพระราชดำรัสตอบว่า “ไทยเป็นดินแดนแห่งการประนีประนอม”

            จากพระราชดำรัสดังกล่าวของในหลวงรัชกาลปัจจุบัน ทำให้ผมเกิดความคิดที่อยากจะย้อนกลับไปดูข้อมูลประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ว่า สยามประเทศสามารถเอาตัวรอดจากปากเหยี่ยวปากกาหรือการตกเป็นนิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกได้อย่างไร ในขณะประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียและอาเซียนล้วนแล้วแต่ตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกเกือบทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ประเทศใหญ่อย่างอินเดียซึ่งในเวลานั้นยังรวมเอาประเทศปากีสถานและบังกลาเทศเข้าไว้ด้วย

            ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงมีพระอัจฉริยภาพในการกำหนดรัฐประศาสโนบายในการรักษาอธิปไตยของชาติไว้ให้ลูกหลานภูมิใจด้วยการเจรจาทำความตกลงเป็นหลัก ดังจะได้เล่าให้ทราบตามลำดับต่อไป

            ในการย้อนรอยประวัติศาสตร์ดังกล่าว จะแบ่งออกเป็น 3  ช่วง คือ

           เหตุการณ์ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3

        เหตุการณ์ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4

          เหตุการณ์ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5

          แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ เหตุการณ์ในยุครัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ก่อน

2. การประนีประนอมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

          ตามประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยกับพม่า มีเหตุต้องทำสงครามกันตลอดมา แต่ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 การทำสงครามระหว่างไทยกับพม่ากลายเป็นสิ่งล้าสมัยไปแล้ว เพราะเป็นช่วงที่พม่าต้องคอยวุ่นวายรบกับอังกฤษ แต่ก็ทำให้ไทยต้องคอยระมัดระวังภัยจากการคุกคามจากชาติมหาอำนาจตะวันตก

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิกิพีเดีย, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, 25 พฤศจิกายน 2563)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิกิพีเดีย, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, 25 พฤศจิกายน 2563)

            ดังที่พระองค์เคยตรัสไว้ก่อนเสด็จสวรรคตว่า

            “ การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีอีกแล้ว จะมีแต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีเขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะร่ำเรียนเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเลยทีเดียว ” ( พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ,ประวัติศาสตร์ไทย 2 ราชวงศ์จักรี,2551, หน้า260)

          เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากชาติมหาอำนาจตะวันตก พระองค์ทรงให้เร่งสร้างป้อมปราการทางทะเลและกองทัพเรือตามเมืองสมุทรทั้งสามแห่ง และตั้งเมืองต่าง ๆ ไว้ป้องกันราชอาณาจักร (หน้า 273)

          ในรัชสมัยของพระองค์มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับการเจรจาทำความตกลงกับชาติมหาอำนาจตะวันตกที่ควรทราบ 2 ประการ คือ

          2.1 สนธิสัญญาเบอร์นี

          เมื่อปีพ.ศ.2368 อุปราชอังกฤษแห่งอินเดียได้ส่ง ร้อยเอก เฮนรี เบอร์นี เดินทางมาเจรจาทำสัญญาพระราชไมตรีกับไทย เรียกว่า สนธิสัญญาเบอร์นี โดยได้ลงนามเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2368 โดยมีข้อตกลงกันว่า ไทยยอมให้อังกฤษเช่าเกาะหมาก (เกาะปีนัง) และอังกฤษยอมให้ไทยเก็บภาษีปากเรือตามความกว้างของปากเรือ (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ,หน้า 244)

          2.2 สยามจำต้องเสียดินแดนจำนวน 3 เมือง ให้อังกฤษ

          เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2368 อังกฤษสามารถยึดเมืองพม่าทั้งหมดเป็นเมืองขึ้นได้ แต่ก็เป็นสาเหตุทำให้ไทยต้องเสียเมือง 3 เมืองให้อังกฤษ คือ เมืองแสนหวี เมืองเชียงตุง และเมืองพงให้อังกฤษ โดยอังกฤษอ้างว่า ทั้งสามเมืองเคยเป็นของพม่ามาก่อน เมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษแล้ว ทั้งสามเมืองก็ต้องตกเป็นของอังกฤษด้วย (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ,244)

            ทั้งสองเหตุการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า พระองค์ถือหลักการเจรจาทำความตกลงกับชาติมหาอำนาจ ยอมเสียดินแดนส่วนน้อยเพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยของสยามไว้ดีกว่า เพราะถ้าสยามไม่ยินยอม ก็อาจเป็นเหตุทำให้อังกฤษนำมาเป็นข้ออ้างในการทำสงคราม หากพลาดท่าเสียทีก็คงไม่แคล้วตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเหมือนอย่างพม่า

การประนีประนอมกัน เป็นทานำไปสู่สันติ
การประนีประนอมกัน เป็นทางไปสู่สันติ

3. การเจรจาทำความตกลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิกิพีเดีย, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, 25 พฤศจิกายน 2563)
พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิกิพีเดีย, พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, 25 พฤศจิกายน 2563)

          พระบรมราโชบายการต่างประเทศ

          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงตระหนักถึงภัยจากการแสวงหาอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกโดยเฉพาะอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่ได้เข้ามาแข่งขันสร้างอิทธิพลทางกาเมืองและการค้าในช่วงปี พ.ศ.2394-2411 ทำให้พระองค์ต้องยอมรับเอาอิทธิพลทางอารยธรรมของชาติตะวันตกมาพัฒนาบ้านเมืองให้ทันสมัย และยอมที่จะเปิดทำการค้าขายกับต่างประเทศ เพื่อป้องกัน มิให้สยามถูกบีบบังคับจนต้องเสียเอกราชของประเทศ (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, หน้า 236)

          สำหรับเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับการเจรจาทำความตกลงกับชาติมหาอำนาจที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 สรุปได้ดังนี้

      3.1 การทำสนธิสัญญาบาวริ่ง เมื่อปี พ.ศ.2398

          รัฐบาลอังกฤษได้ส่งเซอร์ จอห์น บาวริ่ง เจ้าเมืองฮ่องกง ให้เป็นราชทูตมาเจริญไมตรีกับสยาม และได้ทำสนธิสัญญาค้าขายกันเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2389 โดยอนุญาตให้อังกฤษตั้งกงสุลในไทยได้

            การอนุญาตให้อังกฤษตั้งกงสุลในไทยได้ส่งผลตามมาคือ เมื่อมีคดีความแพ่งและความอาญาเกิดขึ้นกับคนในบังคับอังกฤษ กงสุลอังกฤษจะเป็นผู้มีอำนาจจัดการชำระคดี ดังนั้น จึงทำให้อังกฤษเป็นชาติแรกที่เริ่มมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ทางศาลและดูแลกิจการทั่วไปของผู้ที่อยู่ในอำนานจของกงสุลในสยาม (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, หน้า 346-347)

          หลังจากนั้น สยามก็ได้ทำสนธิสัญญาพระราชไมตรีกับอีกหลายประเทศในทำนองเดียวกันที่ได้ทำกับอังกฤษ ได้แก่ ญี่ปุ่น อเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส เยอรมัน สวีเดน เบลเยี่ยม

       3.2 การส่งราชทูตไปอังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นครั้งแรก

          เมือปีพ.ศ.2400 ทรงส่งราชทูตไปประจำอังกฤษเป็นครั้งแรก (พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, หน้า 354)

          เมื่อปี พ.ศ.2403 ทรงส่งราชทูตไปประจำฝรั่งเศส (หน้า360)

       3.3 การเสียเขมรนอกให้ฝรั่งเศส

          เดิมเมื่อปีพ.ศ. 2337 การปกครองเขมรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

            เขมรส่วนใน (พระตะบอง เสียมราฐหรือนครวัต และศรีโสภณ)  โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ไปปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ

            เขมรส่วนนอก โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระนารายณ์ไปครอง แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2406 พระนโรดม พระเจ้าแผ่นดินของเขมรได้เอาใจออกห่างสยามไปขอความคุ้มครองจากฝรั่งเศส ซึ่งเพิ่งได้ญวนเป็นเมืองขึ้นใหม่ ๆ ฝรั่งเศสจึงยื่นคำขาดมายังไทย ให้ยอมยกเขมรส่วนนอกให้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จำต้องยอมยกเขมรให้ฝรั่งเศส เพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมือง (พลสดิศัย สิทธิธัญกิจ, หน้า 374)

            จะเห็นได้ว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ พระองค์ได้ทรงใช้รัฐประศาสโนบายการเจรจาทำความตกลงกับชาติมหาอำนาจตะวันตก โดยทรงยอมเสียเอกราชทางศาล และยอมเสียดินแดนบางส่วน เพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยของชาติไว้ รวมทั้งได้มีการส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ คือ อังกฤษและฝรั่งเศส

4.สรุป

          การประนีประนอม ได้นำพาชาติให้รอดพ้นปากเหยี่ยวปากกา คือ การตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ อังกฤษและฝรั่งเศส ที่กำลังแข่งกันสร้างอิทธิพลทางด้านการเมืองและการค้าระหว่างประเทศในยุคนั้น

            พระมหากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ในบทความนี้ คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ได้ทรงใช้รัฐประศาสโนบายด้วยการเจราจาทำความตกลง ยอมเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ คือเอกราชหรืออธิปไตยของชาติไว้ และรัฐประศาสโนบายดังกล่าวได้ตกทอดไปถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 5 ดังจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป 

            รัฐประศาสโนบายดังกล่าวสอดคล้องกับพระราชดำรัสของในหลวงรัชการที่ 10 ทีว่า “ไทยเป็นดินแดนแห่งการประนีประนอม”

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ในหัวข้อ คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

          คู่สนทนาของผมในวันนี้ คือ คุณประเสริฐ (ชื่อสมมุติ)

          คุณประเสริฐ เป็นลูกศิษย์ปริญญาโท รามคำแหงคนหนึ่งของผม ในช่วงของการเรียนการสอน คุณประเสริฐมีหน้าที่ขับรถรับ-ส่งอาจารย์ จึงทำให้มีความสนิทสนมคุ้นเคยกับผมเป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นมีอุปนิสัยใจเย็น มีเหตุผล ชอบการพูดคุยกันทำความเข้าใจกัน จึงเหมาะสมที่จะเป็นคู่สนทนาในบทความนี้มาก

            “ สวัสดี คุณประเสริฐ อาจารย์หาโอกาสจะเชิญมาเป็นคู่สนทนามานานแล้ว แต่ยังหาบทความที่เหมาะสมไม่ได้ พอดีบทความนี้เป็นเรื่องของการเจรจาทำความตกลงกัน จึงคิดว่า น่าจะเหมาะสมกับคุณประเสริฐมากกว่าบุคคลอื่น ๆ ” ผมทักทายพร้อมกับสาธยายเหตุผลในการเชิญมาเป็นคู่สนทนา

            “ ด้วยความยินดีครับ อาจารย์ ขอเชิญอาจารย์เปิดประเด็นเลย ” คุณประเสริฐแสดงความพร้อม

            “ ประเด็นแรก อาจารย์อยากทราบความเห็นของคุณประเสริฐว่า ตามที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 ได้มีพระราชดำรัสว่า ไทยเป็นดินแดนแห่งการประนีประนอม คุณประเสริฐเข้าใจว่าอย่างไร ” ผมถามกว้าง ๆ

          “ ผมเข้าใจว่า ในหลวงท่านคงหมายถึงว่า เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ชอบความสงบสุข แม้จะมีความขัดแย้งกันบ้าง แต่ในที่สุดก็จะตกลงกันได้อย่างสันติด้วยการพูดคุยทำความเข้าใจกัน ไม่มีเลือดตกยางออก หรือถ้ามีก็ไม่มากเหมือนประเทศอื่น ๆ ” คุณประเสริฐตอบกว้าง ๆ

            “คราวนี้ เราลองมองในแง่ประวัติศาสตร์ในยุคของรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ดูว่า การที่สยามต้องทำตามความต้องการของอังกฤษในรัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ และยอมตามความต้องการของฝรั่งเศส คุณประเสริฐคิดว่า เป็นการประนีประนอมหรือเป็นการยอมจำนน ” ผมถามแบบให้ใช้ความคิดบ้าง

          “ คำถามนี้ลึกซึ้งนะอาจารย์ ก่อนอื่น เราต้องยอมรับว่า การเจรจากับชาติมหาอำนาจ เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่แล้ว เขาเป็นฝ่ายกำหนดเกมให้เราเล่นตาม ถ้าเราไม่ยอมเล่นตามเกมที่เขาวาง เขาอาจจะหาเรื่องรบกับเขา  ซึ่งประเมินสถานการณ์ ณ  เวลานั้น โอกาสที่สยามจะรบชนะเขาคงเป็นไปได้ยาก ” คุณประเสริฐตอบแบบคนเข้าใจกลยุทธ์ในการต่อสู้

            “อาจารย์อยากให้ขยายความตรงนี้หน่อยว่า หมายความว่าอย่างไร” ผมกระตุ้นให้ตอบเพื่อความชัดเจน

            “ เรื่องนี้ คงตอบไม่ยาก คือ พวกชาติมหาอำนาจ ในเวลานั้น เขาเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว มีอาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีทันสมัยเหนือกว่าสยามมาก  เพราะสยามยังเป็นสังคมเกษตรกรรมแบบโบราณอยู่เลย คงยากที่จะต่อกรได้ ดังจะเห็นได้จากการเขาสามารถเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาที่สยามได้ ทั้ง ๆ ที่อยู่ห่างกันคนละมุมโลก

            หากเราไม่รู้จักประเมินศักยภาพของตนเอง เราก็คงจะเหมือนอย่างประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายที่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของชาติมหาอำนาจ ” คุณประเสริฐตอบขยายความให้ชัดเจนขึ้น

            “ ดีมาก คุณประเสริฐ อาจารย์ชอบใจคำตอบนี้มาก วันนี้คงมีเรื่องรบกวนคุณประเสริฐแค่นี้ ขอบคุณมากนะ มีโอกาสเราค่อยคุยกันใหม่ ” ผมกล่าวขอบคุณพร้อมกับยุติการสนทนา

            “ ด้วยความยินดีครับอาจารย์ ”

ดร.ชา

25/11/20

Dr.Char

Mr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***) 2

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***)

Share on Social Media facebook email 91 / 100 Powered by Rank Math SEO “มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” เป็นบทความลำดับที่ 13 หมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก จะกล่าวถึง ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของมองโกเลีย ข้อมูลมองโกเลียในปัจจุบันที่ควรทราบ   ประวัติย่อของมองโกเลีย  ยุคจักรวรรดิมองโกลอันยิ่งใหญ่  วิเคราะห์เปรียบเทียบอาณาจักรมองโกล กับจักรวรรดิบริติช สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369           บทความที่เกี่ยวข้อง ประวัติ จีน ก่อนจีนยุคใหม่ “ จักรวรรดิจักรมองโกล (1206-1368)  เป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกันใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 24,000,000…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16) 3

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 5

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

4 COMMENTS

    1. ความยืดหยุ่นปลอดภัยกว่า แม้ไม่ได้ดังใจทั้งหมด แ่ต่ก็จะไม่สูญเสียมากเหมือนแตกหัก ที่เราอาจจะเพลี่ยงพล้ำเป็นฝ่ายปราชัย

  1. ขอบคุณ คุณประเสริฐที่ได้มาแบ่งปันความรู้ค่ะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: