โรค นอนไม่หลับ อาจรักษาได้ด้วยการบูรณาการ (11)(New***)
โรค นอนไม่หลับ อาจเกิดจากสาเหตุทางกาย ทางจิต หรือทั้งสองอย่าง
ได้ข้อคิดด้านบวก
โรค นอนไม่หลับ อาจเกิดจากสาเหตุทางกาย ทางจิต หรือทั้งสองอย่าง
ผู้ประสบความสำเร็จอย่างสูง ล้วนสร้างภาพแห่งความสำเร็จไว้ในใจก่อนเสมอ
บทความ (8) ทำไมการสั่งจิตใต้สำนึกจึงไม่ประสบความสำเร็จ จะกล่าวถึง ความนำ เหตุใดในการสั่งจิตใต้สำนึกจึงไม่ประสบความสำเร็จ เคล็ดลับในการสั่งจิตใต้สำนึกให้ประสบความสำเร็จ สรุป และปิดท้ายด้วยการคุยกับ ดร.ชา อนึ่ง บทความก่อนหน้านี้ คือบทความ (7) ได้เล่าถึง การสั่ง จิตใต้สำนึก ตอน 2 ซึ่งเป็นคำแนะนำวิธีในการออกคำสั่งจิตใต้สำนึกจากภายในให้ได้ผล (กรุณาคลิกข้อความสีฟ้าเพื่อย้อนกลับไปอ่านบทความ) 1.ความนำ หลายท่านอาจจะเคยทดลองใช้การสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อความสำเร็จและความสุขมาบ้างแล้ว อาจจะประสบความสำเร็จบ้าง ไม่ประสบความสำเร็จบ้าง แท้ที่จริง การสั่งจิตใต้สำนึกเป็นเพียงการเริ่มต้นในการก้าวไปสู่ความสำเร็จ ลำพังการสั่งจิตใต้สำนึกอย่างเดียวไม่อาจจะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้ จะต้องมีเหตุปัจจัยอย่างอื่นเกื้อหนุนด้วย เช่น ความเพียรพยายาม การตั้งเป้าหมายให้ถูกต้องและเหมาะสมกับศักยภาพของเรา ดังนั้น บทความนี้จึงต้องการบอกเล่าให้ท่านทราบว่า ทำไมการสั่งจิตใต้สำนึกจึงไม่ประสบความสำเร็จ และจะแก้ไขอย่างไรจึงจะทำให้การสั่งจิตใต้สำนึกให้ประสบความสำเร็จได้ดังหวัง 2. ทำไมการสั่งจิตใต้สำนึกจึงไม่ประสบความสำเร็จ การสั่งจิตใต้สำนึก เป็นเพียงการเริ่มต้นที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จ โดยลำพังการสั่งจิตใต้สำนึกอย่างเดียว…
บทความที่แล้ว คือบทความ (6) การออกคำสั่ง จิตใต้สำนึก จากภายใน ตอน 1 ผมได้กล่าวถึง ความหมายของการสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน การกำหนดเป้าหมาย การทำให้จิตตกอยู่ในภวังค์ สรุปและข้อคิดเห็น สำหรับบทความ (7) เป็นการเล่าถึงการออกคำสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน ตอน 2 ในส่วนที่ว่าด้วย การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกจากภายในคืออะไร การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกกับการสร้างภาพแห่งความสำเร็จไว้ในใจ ตัวอย่างการออกคำสั่งจิตใต้สำนึกจากข้างใน สรุป และปิดท้ายด้วยการคุยกับดร.ชา 1.การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกจากภายในคืออะไร การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน คือ การบอกตนเองในใจว่า เรามีความต้องการในสิ่งใด เป้าหมายคืออะไร ภายในระยะเวลาเท่าใด และโดยวิธีใด พร้อมกับการนึกวาดภาพความสำเร็จขึ้นไว้ในใจ เพื่อใช้เป็นแรงผลักดันให้ตัวเรามีความมานะพยายามที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ การบอกตนเองในใจ ควรบอกด้วยความคิดที่เป็นบวก เพราะความคิดที่เป็นบวกจะทำให้จิตของเรารู้สึกผ่อนคลายได้ง่าย หากคนเรามีความต้องการสิ่งใดจริง ๆ ความคิดของเราก็จะหมกมุ่นอยู่ในสิ่งนั้น แต่ความหมกมุ่นอาจจะยังไม่ถือว่า เป็นการออกคำสั่งจิตใต้สำนึก เพราะอาจมีการคิดกลับไปกลับมาว่าจะเอาอย่างไรดี…
หัวข้อที่ผมจะนำมาเล่าประกอบด้วย ภูมิหลัง แนวคิดเบื้องต้น ประเภทของจิต การวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดเป้าหมาย หลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการสั่งจิตใต้สำนึก การสั่งจิตใต้สำนึกจากายนอก การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน การประเมินผลและการปรับเป้าหมาย สรุปและข้อคิดเห็น โดยในบทความ (5) เป็นการเล่าถึงการสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก สำหรับบทความ (6) ประสบการณ์การสั่งจิตใต้สำนึกฯ: การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน ตอน1 จะกล่าวถึง ความหมายของการสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน การกำหนดเป้าหมาย การทำให้จิตตกอยู่ในภวังค์ สรุปและข้อคิดเห็น 1.ความหมายของการสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน หมายถึง การออกคำสั่งจิตพร้อมกับการสร้างจินตนาการในเป้าหมายที่เราต้องการบ่อย ๆ โดยมีขั้นตอนในการปฏิบัติ คือ การกำหนดเป้าหมาย การทำให้จิตตกอยู่ในภาวะภวังค์ การออกคำสั่งพร้อมสร้างมโนภาพ และการถอนจิตออกจากภาวะภวังค์ 2.การกำหนดเป้าหมาย ก่อนที่จะมีการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน มิฉะนั้นแล้ว พลังในการสั่งจิตใต้สำนึกก็คงจะไม่มีหรือมีน้อย โดยผมมีข้อแนะนำในการกำหนดเป้าหมาย ดังนี้ …
หัวข้อที่ผมจะนำมาเล่าประกอบด้วย ภูมิหลัง แนวคิดเบื้องต้น ประเภทของจิต การวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดเป้าหมาย หลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการสั่งจิตใต้สำนึก การสั่งจิตใต้สำนึกจากายนอก การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน การประเมินผลและการปรับเป้าหมาย สรุปและข้อคิดเห็น โดยในบทความ (2) ได้กล่าวถึงประสบการณ์การสั่งจิตใต้สำนึก:แนวคิดเบื้องต้นและบทความ (4) เป็นการเล่าถึงหลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก สำหรับบทความ (5) จิตใต้สำนึก-การออกคำสั่งจากภายนอก จะกล่าวถึง ความหมายของการสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก การออกคำสั่งผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ปัญหาอุปสรรคของการออกคำสั่งจากภายนอก และสรุปและข้อคิดเห็น 1.ความหมายของการสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก หมายถึง การที่มีสิ่งภายนอกมากระทบประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ของเรา และจิตสำนึกของเราได้สั่งผ่านลงไปยังใต้สำนึกบ่อย ๆ จนจิตใต้สำนึกยอมรับว่า สิ่งที่จิตสำนึกสั่งเข้าไปบ่อย ๆ เป็นคำสั่งที่จะต้องจดจำไว้เป็นระบบอัตโนมัติของจิตตามที่จิตสำนึกต้องการจะให้เป็น การที่ตาได้เห็น หูได้ยิน…
หัวข้อที่ผมจะนำมาเล่าประกอบด้วย ภูมิหลัง แนวคิดเบื้องต้น ประเภทของจิต การวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดเป้าหมาย หลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายนอก การสั่งจิตใต้สำนึกจากภายใน การประเมินผลและการปรับเป้าหมาย สรุปและข้อคิดเห็น โดยในบทความ (2) ได้กล่าวถึงแนวคิดเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก สำหรับบทความ (4) เป็นการเล่าถึงหลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดเป้าหมายที่จะนำมาสั่งจิตใต้สำนึก ทำไมต้องสั่งจิตใต้สำนึก สภาวะที่จิตใต้สำนึกพร้อมจะรับคำสั่ง สรุปและข้อคิดเห็น 1.การวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดเป้าหมายที่จะนำมาสั่งจิตใต้สำนึก ผมได้กล่าวมาแล้วในบทความ (3) ประเภทของจิตว่า จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หากสิ่งใดที่จิตสำนึกได้ออกคำสั่งไปยังจิตใต้สำนึกบ่อย ๆ ในที่สุดจิตใต้สำนึกก็จะยอมรับคำสั่งของจิตสำนึก กลายเป็นระบบอัตโนมัติใหม่ของจิต หากเมื่อใดที่เราอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับสภาวะแวดล้อมที่จิตใต้สำนึกสะสมไว้เป็นระบบอัตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกก็จะสั่งให้ร่างกายตอบสนองสภาวะแวดล้อมดังกล่าวซึ่งเป็นสิ่งเร้าโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การที่จะนำปัญหาใดมาสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อสร้างระบบอัตโนมัติใหม่ขึ้นมา เราควรที่จะวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดเป้าหมายที่เราต้องการจะสั่งจิตใต้สำนึกนั้น เป็นเป้าหมายที่เราต้องการจริง ๆ เพระหากไม่ใช่เป้าหมายที่เราต้องการจริง ๆ จิตใต้สำนึกจะไม่ยอมรับคำสั่งจากจิตสำนึก เมื่อจิตใต้สำนึกไม่ยอมรับคำสั่ง ย่อมหมายความว่า…
หัวข้อที่ผมจะนำมาเล่าประกอบด้วย ภูมิหลัง แนวคิดเบื้องต้น ประเภทของจิต การการกำหนดเป้าหมายเพื่อนำมาสั่งจิตใต้สำนึก หลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกและการสร้างมโนภาพ การประเมินผลและการปรับเป้าหมาย สรุปและข้อคิดเห็น โดยในบทความ (2) ได้กล่าวถึงแนวคิดเบื้องต้นในการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก สำหรับบทความ (3) เป็นการเล่าถึงประเภทของจิต ได้แก่ ความหมายชองจิต จิตสำนึก จิตใต้สำนึก จิตเหนือสำนึก จิตไร้สำนึก ความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก สรุปและข้อคิดเห็น 1.ความหมายของจิต บุคคลมีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ รูปและนาม ส่วนที่เรียกว่า รูป หมายถึง ร่างกาย และส่วนที่เรียกว่า นาม หมายถึงจิต หรือจิตใจ หากจะเปรียบเทียบคนเรากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนที่เรียกว่า รูป คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์…
หัวข้อที่ผมจะนำมาเล่าประกอบด้วย ภูมิหลัง แนวคิดเบื้องต้น ประเภทของจิต การวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดเป้าหมาย หลักการเบื้องต้นของการฝึก การทำให้รู้สึกผ่อนคลายและตกอยู่ในภวังค์ การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกและการสร้างมโนภาพ การประเมินผลและการปรับเป้าหมาย สรุปและข้อคิดเห็นปิดท้าย โดยในบทความ (1) ได้กล่าวถึงภูมิหลังของผมในการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก ตลอดระยเวลา 37 ปีที่ผ่านมา สำหรับบทความ (2) นี้ เป็นการเล่าเรื่องถึงแนวความคิดเบื้องต้นที่ควรทราบของการสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อความสำเร็จและความสุข ประกอบด้วย ความฝันหรือวิสัยทัศน์ คิดใหญ่หรือคิดเล็ก คิดบวกหรือคิดลบ อุปนิสัย 7 และอิทธิบาท 4 โดยแนวคิดในบทความ (2) จะเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้าใจให้ท่านผู้อ่านในบทความต่อ ๆ ไป 1.ความฝันหรือวิสัยทัศน์ ความฝัน (Dream) ทุกคนย่อมมีความฝันว่า ในอนาคตตนอยากเป็นอะไร หรืออยากได้อะไร เช่น ฝันว่าโตขึ้นอยากประกอบอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับราชการ อยากมีบ้านหลังใหญ่…
แม้ผมไม่ใช่นักจิตวิทยาและไม่ได้ประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อะไร แต่ผมก็ได้ให้ความสนใจในเรื่องของการฝึกจิตให้มีพลังเข้มแข็งมาเป็นเวลาช้านานนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2526 จนกระทั่งทุกวันนี้ นับเป็นระยะเวลายาวนานร่วม 37 ปี จึงเชื่อว่ามีองค์ความรู้และประสบการณ์ในเรื่องนี้พอสมควร ด้วยเหตุนี้ ผมจึงอยากนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านที่มีความสนใจในด้านนี้ แต่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการฝึกจิตให้เข้มแข็งด้วยการสั่งจิตใต้สำนึกมาก่อน ได้ลองอ่านดูเผื่อจะเป็นประโยชน์ในการทดลองนำไปฝึกและปรับใช้ในชีวิตประจำวันของท่านได้บ้าง หัวข้อที่ผมจะนำมาเล่าประกอบด้วย ภูมิหลัง แนวคิดเบื้องต้น ประเภทของจิต การวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดเป้าหมาย หลักการเบื้องต้นของการฝึก การทำให้รู้สึกผ่อนคลายและตกอยู่ในภวังค์ การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกและการสร้างมโนภาพ การประเมินผลและการปรับเป้าหมาย สรุปและข้อคิดเห็นปิดท้าย สำหรับบทความ (1) เป็นการเล่าเรื่องภูมิหลังของผมในเรื่องของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก ได้แก่ หนังสือที่ผมชอบอ่าน ประสบการณ์ในการฝึกสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อความสำเร็จ ประสบการณ์ในการฝึกสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อความสุข สรุปและข้อคิดเห็น 1.หนังสือที่ผมชอบอ่าน มีคำกล่าวว่า หนังสือคือโลกกว้าง เราอยากไปท่องเที่ยวไปที่ใด อยากรู้อะไร เราสามารถค้นคว้าจากหนังสือได้ ส่วนจะเป็นหนังสือในแนวใด ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคน เช่น หนังสือนวนิยาย หนังสือเกี่ยวกับความรู้เฉพาะทาง หนังสือการ์ตูน หนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง หนังสือพุทธประวัติ หนังสือธรรมะของท่านพุทธทาส…