85 / 100

เศรษฐกิจ อินโดนีเซีย ดีแค่ไหน เป็นบทความลำดับที่ 30 ของหมวด 12 เรื่องเล่า กลุ่มประเทศอาเซียน มีหัวข้อดังนี้ ความนำ การจัดกลุ่มประเทศในทางเศรษฐกิจ ขนาดเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย การคาดคะเนขนาดเศรษฐกิจ อินโดนีเซียในอนาคต ดัชนีชี้วัดขีดความสามารถทางเศรษฐกิจอินโดนีเซีย โครงสร้างเศรษฐกิจอินโดนีเซีย สินค้าออก และสินค้าเข้า วิเคราะห์ สรุป และถาม-ตอบ สนุกกับดร.ชา 369

1.ความนำ

          ก่อนหน้านี้ผมได้นำเสนอเรื่องเล่าเกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซีย มาแล้วจำนวน 2 บทความ คือ

            ประวัติ อินโดนีเซีย ที่น่าสนใจ

            ประเทศ อินโดนีเซีย มีรูปแบบการปกครองอย่างไร

            สำหรับบทความนี้ นับเป็นบทความที่ 3 ที่จะได้นำเสนอเกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซีย ในส่วนที่เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

2. การจัดกลุ่มประเทศในทางเศรษฐกิจ

ทัศนียภาพ กรุงจาร์กาตา ศูนย์การเงินการคลังของอินโดนีเซีย (Wikipedia,Economy of Indonesia, 20th September 2021)
ทัศนียภาพ กรุงจาร์กาตา ศูนย์การเงินการคลังของอินโดนีเซีย (Wikipedia,Economy of Indonesia, 20th September 20

          2.1 การจัดกลุ่มประเทศตามระดับรายได้ของธนาคารโลก

          ธนาคารโลก ได้แบ่งกลุ่มประเทศออกตามระดับรายได้ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

            กลุ่มที่หนึ่ง ประเทศที่มีรายได้สูง  (High income)

            คือ ประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว สูงเกินกว่า 12,375 ดอลลาร์สหรัฐ

            กลุ่มที่สอง ประเทศที่มีรายได้ปากลางระดับสูง (Upper middle-income)

                   คือ ประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวอยู่ระหว่าง 3,996-12,378 ดอลลาร์สหรัฐ

            กลุ่มที่สาม ประเทศทีมีรายได้ปานกลางระดับล่าง (Lower  middle-income)

                   คือ ประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวระหว่าง 1,026-3,995 ดอลลาร์สหรัฐ

            กลุ่มที่สี่ ประเทศทีมีรายได้ระดับล่าง (Low income)

                   คือ ประเทศที่มีประชากรมีรายได้ต่ำกว่า 1,026 ดอลลาร์สหรัฐ

            2.2 การจัดกลุ่มประเทศอินโดนีเซีย

          ประเทศอินโดนีเซีย จัดเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา และเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly industrialized country)  ที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper-middle income economy) กล่าวคือ มีรายได้ของประชากร 4,256 ดอลลาร์สหรัฐ

            นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ จี 20 (G20) ด้วย

            ความเห็นเพิ่มเติมของดร.ชา

          ประเทศไทย จะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวในปี 2021 ราว 7,702 ดอลลาร์สหรัฐ จัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวราว 11,601 ดอลลาร์สหรัฐ

3. ขนาดเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย

          ขนาดเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย อาจดูได้จากขนาดจีดีพี และรายได้เฉลี่ยของประชากรต่อหัว ดังนี้

            3.1 ขนาดจีดีพี

            ธนาคารโลกได้ประมาณขนาดจีดีพีของประเทศอินโดนีเซีย ปี 2020 ไว้ว่า มีจีดีพี จำนวนประมาณ 1,058,424 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 15 ของโลก เป็นรองประเทศเม็กซิโกทีมีขนาดจีดีพีประมาณ 1,076,163 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเหนือกว่าประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีขนาดจีดีพีประมาณ 912,242 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            ขนาดเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน รองลงไปคือประเทศไทยที่มีขนาดจีดีพีประมาณ 501,595 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

          3.2 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร

          กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ. (IMF) ได้ประมาณรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรในปี 2021 ว่า อินโดนีเซียจะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 4,256 ดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 127 ของโลก และนับเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศอาเซียน รองลงมาจากประเทศ สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย และไทย กล่าวคือ

            สิงคโปร์ จะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวราว            64,103 ดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 13 ของโลก

            บรูไน จะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวราว    33,866 ดอลลาร์สหรัฐ  สูงเป็นอันดับที่ 38 ของโลก

            มาเลเซีย จะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวราว           11,601 ดอลลาร์สหรัฐ  สูงเป็นอันดับที่ 79 ของโลก

            ไทย จะมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวราว      7,702 ดอลลาร์สหรัฐ      สูงเป็นอันดับที่ 102 ของโลก

4. การคาดคะเนขนาดเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในอนาคต

อาคารตลาดหลักทรัยพ์ กรุงจาร์กาตา อินโดนีเซีย (Wikipedia,Economy of Indonesia, 20th September 2021)
อาคารตลาดหลักทรัยพ์ กรุงจาร์กาตา อินโดนีเซีย (Wikipedia,Economy of Indonesia, 20th September 2021)

            อย่างไรก็ดี ตาม Wikipedia ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย โจโค วิโดโด คาดหมายว่า ในปี 2045 อินโดนีเซีย จะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก ด้วยอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 5-6 และมีขนาดจีดีพี 9.1 ล้าน ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีจำนวนประชากร 309 ล้านคน และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 29,000 ดอลลาร์สหรัฐ

            ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าอินโดนีเซียในปัจจุบัน ตามประมาณของธนาคารโลกเมื่อปี 2020 มีจำนวน 15 ประเทศ (โดยมีเยอรมนี ครองตำแหน่งประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกอยู่ในปัจจุบัน) คือ

          4.1 สหรัฐอเมริกา มีขนาดจีดีพี               20,936,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

           4.2 จีน            มีขนาดจีดีพี                 14,722,731 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

           4.3 ญี่ปุ่น        มีขนาดจีดีพี                 5,064,873 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            4.4 เยอรมนี     มีขนาดจีดีพี                   3,806,060  ล้านดอลลาร์สหรัฐ*

            4.5 สหราชอาณาจักร    มีขนาดจีดีพี       2,707,744 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            4.6 อินเดีย       มีขนาดจีดีพี                   2,622,984  ล้านดอลลาร์สหรัฐ

          4.7 ฝรั่งเศส     มีขนาดจีดีพี                   2,603,004  ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            4.8 อิตาลี        มีขนาดจีดีพี                   1,886,445  ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            4.9 แคนาดา    มีขนาดจีดีพี                   1,643,408  ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            4.10  เกาหลีใต้ มีขนาดจีดีพี                 1,630,525  ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            4.11  รัสเซีย   มีขนาดจีดีพี                   1,483,498  ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            4.12  บราซิล  มีขนาดจีดีพี                   1,444.498  ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            4.13 ออสเตรเลีย มีขนาดจีดีพี               1,330,901  ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            4.14 สเปน      มีขนาดจีดีพี                   1,281,199  ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            4.15 เม็กซิโก   มีขนาดจีดีพี       1,076,163  ล้านดอลลาร์สหรัฐ         

            ความเห็นเพิ่มเติมของดร.ชา

            การที่อินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีขนาดจีดีพีใหญ่เป็นอันดับ 16 ของโลก จะสามารถสร้างขนาดจีดีพีโต เป็นอันดับ 4 ของโลก ในปี 2045  จะต้องเอาชนะคู่แข่งอย่างน้อย 12 ประเทศ จึงจะสามารถก้าวขึ้นไปสู่ตำแหน่งประเทศที่มีขนาดจีดีพีโตเป็นอันอับที่ 4 ของโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศเยอรมันครองตำแหน่งดังกล่าวอยู่

            ส่วนจะเป็นไปได้หรือไม่ ก็คงต้องคอยดู เหลือเวลาอีก 24 ปี แต่อย่างน้อยอินโดนีเซียก็มีข้อได้เปรียบตรงที่เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรในวัยทำงานหรือวัยหนุ่มสาวมาก เพราะประชากรมีอายุเฉลี่ยเพียง 30 ปี         

5.ดัชนีชี้วัดความสามารถทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย

          การคาดหมายว่า อินโดนีเซียจะก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกในเวลาอีก 24 ปีข้างหน้า จะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด อาจจะพิจารณาจากดัชนีชี้วัดขีดความสามารถทางเศรษฐกิจในระดับสากล ที่สำคัญคือ

          5.1 ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness Rank)

            IMD World Competitiveness Ranks ได้จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกประจำปี 2021 ปรากฏว่า ประเทศอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 37 ของโลก และนับเป็นอันดับสี่ของอาเซียน รองลงมาจาก สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย กล่าวคือ

            สิงคโปร์ อยู่ในอันดับ 5 ของโลก

            มาเลเซีย อยู่ในอันดับ 25 ของโลก

            ไทย อยู่ในอันดับ 28 ของโลก

            5.2 ความสะดวกในการลงทุน

          Trading Economics ได้จัดอันดับความสะดวกในการลงทุน(ease of doing business) ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ปรากฏว่า อินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 73 ของโลก และนับเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศอาเซียน รองลงมาจากประเทศ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย บรูไน และเวียดนาม กล่าวคือ

            สิงคโปร์  อยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก

            มาเลเซีย  อยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก

            ไทย  อยู่ในอันดับที่ 21 ของโลก

            เวียดนาม  อยู่ในอันดับที่ 70 ของโลก

            5.3 ความโปร่งใส

          ตาม Wikipedia องค์กรความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ได้จัดทำดัชนีชี้วัดการรับรู้การทุจริตคอร์รัปชั่น  (Corruption Perceptions Index 2020) พบว่า ประเทศที่ได้คะแนนต่ำกว่า 50 มีอยู่จำนวน 2/3 ของโลก และคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 43

            ประเทศอินโดนีเซีย ได้คะแนน 37 อยู่ในอันดับที่ 102 ของโลก ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงกว่า ไทย และเวียดนามเล็กน้อย แต่ต่ำกว่าคะแนนของประเทศ สิงคโปร์ บรูไน และมาเลเซีย กล่าวคือ

            สิงคโปร์ ได้ 85 คะแนน  อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก

            บรูไน ได้ 60 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 35 ของโลก

            มาเลเซีย ได้ 51 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 57 ของโลก

            อินโดนีเซีย ได้ 37 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 102 ของโลก

            ไทยและเวียดนาม ได้ 36 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 104 ของโลกร่วม

          5.4 ดัชนีพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development Index)

          ตาม Wikipedia โครงการพัฒนาของยูเอ็น (United Nations Development Programme ) หรือ UNDP ได้รายงานดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกประจำปี 2020 ปรากฏว่า ประเทศอินโดนีเซียมีดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 0.718 อยู่ในอันดับที่ 107 ของโลก ร่วมกับประเทศฟิลิปปินส์  และเป็นอันดับที่ 5 ของอาเซียน รองลงมาจากประเทศ สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย และไทย กล่าวคือ

            สิงคโปร์             ค่าดัชนี           0.936         อยู่อันดับที่ 11 ของโลก

            บรูไน                 ค่าดัชนี              0.839         อยู่อันดับที่ 47 ของโลก

            มาเลเซีย            ค่าดัชนี  0.810         อยู่อันดับที่ 62 ของโลก

            ไทย                   ค่าดัชนี              0.777         อยู่อันดับที่ 79 ของโลก

            อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ค่าดัชนี 0.718         อยู่อันดับที่ 107 ของโลก

            5.5 แรงงาน

            ตาม worldmeter อินโดนีเซีย ประชากรมีอายุเฉลี่ย 30 ปี แสดงว่า มีประชากรที่อยู่ในวัยทำงานมาก

6.โครงสร้างเศรษฐกิจอินโดนีเซีย

          โครงสร้างเศรษฐกิจอินโดนีเซีย อาจแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

น้ำมันปาล์ม มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ อินโดเซียมาก เพราะอินโดนีเซีย เป็นประเทศผู่ส่งออกน้ำมันปลาล์มที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Wikipedia,Economy of Indonesia, 20th September 2021)
น้ำมันปาล์ม มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ อินโดเซียมาก เพราะอินโดนีเซีย เป็นประเทศืผู้ส่งออกน้ำมันปลาล์มที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Wikipedia,Economy of Indonesia, 20th September 2021)

            6.1 ด้านเกษตรกรรม (Agriculture)

            ด้านเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 13.70 ของผลผลิตของปี 2020

          6.2 ด้านอุตสาหกรรม (Industrial)

          ด้านอุตสาหกรรม ประกอบด้วย การเหมืองแร่ (mining) อุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ  (manufacturing)  เช่น รถยนต์ สิ่งทอ อาหารและเครื่องดื่ม อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้น พลังงานไฟฟ้าและก๊าซ (Electricity and Gas) น้ำจืด และการก่อสร้าง  คิดเป็นร้อยละ 38.26 ของผลผลิตปี 2020

          6.3 ด้านการบริการ (Services)

          ด้านการบริการ ได้แก่ การค้าส่งและการค้าปลีก  การขนส่ง ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร การบริการด้านอาหารและที่พักอาศัย  การประกันภัยและการคลัง การค้าอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจ การป้องกันประเทศและการบริหารสาธารณะ การศึกษา งานด้านสังคมและสุขภาพอนามัย

            คิดเป็นร้อยละ 44.40 ของผลผลิตปี 2020

          6.4 ด้านอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 3.64

7.สินค้าออก และสินค้าเข้า

ภาพแสดงเขตอุตสาหกรรมในอินโดนีเซีย
(Wikipedia, Economy of Indonesia, 20th September 2021)
ภาพแสดงเขตอุตสาหกรรมในอินโดนีเซีย
(Wikipedia, Economy of Indonesia, 20th September 202
1)

เศรษฐกิจ อินโดนีเซีย ขึ้นอยู่กับสินค้าออก และสินค้าเข้า ที่สำคัญ ดังนี้

          7.1 สินค้าออก

           สินค้าออกที่สำคัญของอินโดนีเซีย ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักร เหล็ก อุตสาหกรรมสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์รองเท้า รถยนต์ ผลิตภัณฑ์การขนส่ง ผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์ไม้ พลาสติก

            7.2 สินค้าเข้า

           สินค้าขาเข้าที่สำคัญของอินโดนีเซีย ได้แก่ เครื่องจักรและเครื่องมืออุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์  ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์การขนส่ง และสิ่งบริโภค

8.วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย

          อาจจะวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย อย่างกว้าง ๆ ได้ดังนี้

            8.1 จุดแข็ง

            – เป็นประเทศทีมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน

            – มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมากที่สุดในอาเซียน

            – เป็นประเทศมุสลิมที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

          – มีประชากรอยู่ในวัยหนุ่มสาว เป็นจำนวนมาก

            – มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และหลากหลาย เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และแร่โลหะต่าง ๆ

          8.2 จุดอ่อน

            – เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีการกระจายตัวออกไปเป็นจำนวนมากว่า 17,000 เกาะ

            – สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานยังไม่ดีพอ

            8.3 โอกาส

            ปัจจุบันไม่มีปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองเหมือนอย่างในอดีตแล้ว จึงเปิดโอกาสให้สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง

9.สรุป

          อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจวัดตามจีดีพีใหญ่ที่สุดในอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของโลก ในส่วนของรายได้เฉลี่ยต่อหัว อินโดนีเซีย จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (ตามประมาณรายได้ปี 2021)

            จุดแข็งขอเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย คือ เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก และมีประชากรในวัยทำงานมาก ทำให้ไม่มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน  และมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับการมีเสถียรภาพทาการเมือง จึงน่าจะทำให้เศรษฐกิจของอินโดนีเซีย สามารถเจริญเติบโตด้วยอัตราที่น่าพอใจไปได้เรื่อย ๆ

            หากอินโดนีเซีย สามารถเพิ่มขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ให้อยู่ในลำดับต้น ๆ ของโลก เช่น ขีดความสามารถในการแข่งขัน ความสะดวกในการทำธุรกิจ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความโปรงใส และนวัตกรรม เป็นต้น ก็น่าจะเชื่อได้ว่า อินโดนีเซียมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของโลกได้ภายในเวลาไม่ช้านัก

ถาม-ตอบ สนุก กับดร.ชา

          ถาม- เมื่อปีค.ศ. 2020 เศรษฐกิจ อินโดนีเซียตกอยู่ในภาวะถดถอยเป็นอย่างมาก โดยมีอัตราเจริญเติบโตติดลบ คือ  – 2.07 % เป็นเพราะเหตุใด ทั้ง ๆ ที่ ก่อนหน้านี้ตั้งแต่ปีค.ศ. 200-2019 อินโดนีเซียมีอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ปีละ 5% มาโดยตลอด รวมทั้งมีอัตราเงินเฟ้อ ต่ำกว่า 5 %

          ตอบ- การที่เศรษฐกิจ อินโดนีเซีย ตกอยู่ในภาวะถดถอยในปีค.ศ.2020 เกิดจากปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด ซึ่งนับว่าเป็นอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดของอินโดนีเซีย นับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อปีค.ศ.1997

          การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมและการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างรุนแรง โรงแรมต่าง ๆ ต้องปิดตัวลง เพื่อลดการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19

          ผลกระทบดังกล่าว  ไม่เพียงแต่ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น  แต่ยังส่งผลไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศ  ไทยด้วย

            ถาม-การที่อินโดนีเซีย  เป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนประเทศเดียว ที่เคยเป็นสมาชิกของโอเปก(Organization of Petroleum Exporting Countries- OPEC) หรือประเทศผู้ส่งน้ำมันออก แสดงว่า  อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันใช่หรือไม่

          ตอบ- อินโดนีเซียเคยเป็นประเทศสมาชิกของโอเปกอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ปีค.ศ.1962 แต่ได้ระงับความเป็นสมาชิกภาพเมื่อปีค.ศ.2008 เนื่องจากอินโดนีเซียได้กลายเป็นประเทศผู้สั่งน้ำมันเข้า ไม่ใช่ประเทศผู้ส่งน้ำมันออก

            อย่างไรก็ดี ขณะนี้อินโดนีเซียมีแผนจะสมัครเป็นสมาชิกโอเปกใหม่อีกครั้ง

            ถาม- ประเทศใดบ้าง ที่เป็นตลาดสินค้าออกที่สำคัญของอินโดนีเซีย

          ตอบ- ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของอินโดนีเซียที่เป็นตลาดสินค้าขาออก คือ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์

            ถาม- อินโดนีเซียสั่งสินค้าขาเข้าจากประเทศใดมากบ้าง

          ตอบ- อินโดนีเซียสั่งสินค้าขาเข้ามากจากประเทศ จีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไทย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ มาเลเซีย และอินเดีย

                                                            ดร.ชา 369

                                                  20/10/21

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

6 COMMENTS

  1. อาจารย์คะ อินโดนีเซียนำเข้าสินค้าอะไรคะจากประเทศไทย

    1. สินค้าที่อินโดนีเซียนำเข้าจากไทย ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบเคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ข้าว น้ำตาลทราย เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

  2. ค่าเงินบาทของอินโดนีเซีย เป็นอย่างไรคะ

    1. สกุลเงินของอินโดนีเซีย เรียกว่า รูเปียห์ อัตราแลกเปลี่ยนกับเงินบาทของไทย อยู่ที่ 1 รูเปียห์ เท่ากับ 0.002343 บาท หรือ 10,000 รูเปียห์ เท่ากับ 23.4258 บาท
      หากเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ หนึ่งดอลลาร์ เท่ากับ 13,850.5803 รูเปียห์

  3. ค่าครองชีพของชาวอินโดนีเซีย เป็นอย่างไรคะ ขอบคุณค่ะ

    1. ค่าครองชีพอินโดนีเซีย ไม่สูง ดังจะเห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันเพียงร้อยละ 2

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: