75 / 100

บทความนี้ เป็นบทความลำดับที่ 3 ของหมวด เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา โดยจะกล่าวถึง การปกครองอาณานิคม 13 แห่ง กับพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งบริเตนใหญ่ ก่อนจะประกาศอิสรภาพของอเมริกา คำประกาศอิสรภาพของอเมริกา สงครามปฏิวัติอเมริกา สรุป และคุยกับดร.ชา

Table of Contents

1.ความนำ

            ในบทความที่แล้ว คือ บทความ (2) ผมได้กล่าวถึง การกำเนิดอาณานิคม 13 แห่งของบริเตนใหญ่หรืออังกฤษ บนแผ่นดินโลกใหม่ คือ อเมริกา เพื่อให้ท่านผู้อ่านทราบจุดเริ่มต้นของการสถาปนาประเทศอเมริกาในเวลาต่อมา

            สำหรับบทความนี้ ผมจะเล่าขยายความต่อไปว่า หลังจากบริเตนใหญ่รบชนะฝรั่งเศสในการชิงความเป็นใหญ่เหนือดินแดนอาณานิคมบนแผ่นดินอเมริกาในสงครามเจ็ดปี โดยบริเตนใหญ่เป็นฝ่ายชนะ และได้ทำข้อตกลตามสนธิสัญญากรุงปารีส 1763  แล้ว หลังจากนั้น บริเตนใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าจอร์จ   ที่ 3 ได้ปกครองอาณานิคม 13 แห่งอย่างไร และผลของการปกครองอาณานิคมได้นำไปสู่การประกาศอิสรภาพและการทำสงครามปฏิวัติอเมริกาได้อย่างไร

2.การปกครองดินแดนอาณานิคม 13 แห่ง กับพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งบริเตนใหญ่

            2.1พระจ้าจอร์จที่ 3

          พระเจ้าจอร์จ ที่ 3 (George III) เป็นกษัตริย์ของบริเตนใหญ่ (King of Great Britain) และกษัตริย์ของไอร์แลนด์ (King of Ireland) นับจากปีค.ศ.1760 จนกระทั่งสองประเทศได้รวมเป็นประเทศเดียวกัน เมื่อปีค.ศ.1801 จึงได้เป็นกษัตริย์ของสหราชอาณาจักร (King of the United Kingdom of Great Britain and Ireland) และได้เสด็จสวรรคตเมือปี ค.ศ.1820 นับเป็นระยะเวลาเสวยราชสมบัติยาวนานถึง 60 ปี

พระเจ้าจอร์จที่ 3 กษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร ครองราชย์ 1760-1820 (Wikipedia, George III, 2nd October 2020)
พระเจ้าจอร์จที่ 3 กษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร ครองราชย์ 1760-1820 (Wikipedia, George III, 2nd October 2020)

            ในรัชสมัยของพระองค์เต็มไปด้วยการสู้รบ ส่วนใหญ่เป็นการสู้รบในดินแดนยุโรป อาฟริกา อเมริกา และเอเชีย การที่บริเตนใหญ่เอาชนะฝรั่งเศสได้ในสงครามเจ็ดปี ทำให้บริเตนใหญ่เป็นชาติมหาอำนาจเหนือแผ่นดินอเมริกาและอินเดีย

            อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา บริเตนใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 3  ต้องเสียดินแดนอาณานิคมในแผ่นดินอเมริกา ภายหลังการประกาศเอกราชและสงครามปฏิวัติอเมริกา

(Wikipedia, George III, 2nd October 2020)

            2.2 การปกครองอาณานิคม 13 แห่ง ในรัชสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 13

            ในช่วงหลังปีค.ศ.1750 ชาวอาณานิคม 13 แห่ง ได้เริ่มรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวในการติดต่อกับบริเตนใหญ่ แทนที่จะต่างคนต่างติดต่อเหมือนในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังสงครามเจ็ดปีระหว่าง บริเตนใหญ่กับฝรั่งเศส ทำให้ชาวอาณานิคมเริ่มคิดว่า พวกเขา ไม่ได้รับสิทธิของการเป็นพลเมืองอังกฤษโดยกำเนิด(Rights as freeborn Englishman)

            กล่าวคือ แม้สงครามเจ็ดปีระหว่างบริเตนกับฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ.1756-1763 จะได้จบลงด้วยชัยชนะของบริเตนใหญ่ แต่สงครามก็ได้สร้างความบอบช้ำให้บริเตนใหญ่มาก เป็นเหตุทำให้บริเตนใหญ่ต้องกำหนดมาตรการให้อาณานิคมทั้ง 13 แห่ง จ่ายภาษีตัวใหม่ เป็นค่าใช้จ่ายในสงคราม ชาวอาณานิคมเห็นว่า ในเมื่อพวกตนไม่ได้มีสิทธิมีเสียงในการเลือกตั้งส่งตัวแทนไปนั่งในรัฐสภาบริเตนใหญ่ ก็ไม่สมควรให้พวกเขาต้องจ่ายภาษีดังกล่าว  

            ดังมีคำกล่าวของชาวอาณานิคมว่า “จะไม่มีการจ่ายภาษี ถ้าไม่มีตัวแทน (No taxation without representation)

(Wikipedia, History of the United States, 2nd October 2020)

            เล่ามาถึงตรงนี้ ผมอยากตั้งข้อสังเกตว่า การที่ชาวอเมริกันได้มีประสบการณ์ที่ขมขื่นและชอกช้ำกับสถาบันกษัตริย์ในยุคพระเจ้าจอร์จที่ 3 เป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้น ทัศนคติของชาวอเมริกันต่อสถาบันกษัตริย์จึงเป็นลบหรือไม่ดีมานับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

3.ก่อนจะประกาศอิสรภาพของอเมริกา

          ด้วยความรู้สึกเจ็บช้ำใจของชาวอาณานิคม จึงทำให้พวกเขาต้องการประกาศอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของบริเตนใหญ่ พวกเขาได้ต่อต้านการเก็บภาษีบางชนิด โดยมีคณะบุคคลที่เรียกว่า”คณะผู้รักชาติ (Patriot) ” เห็นว่า ไม่ชอบธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงได้ทำการประท้วง และทำลายการขนส่งชาในท่าเรือบอสตัน ทำให้รัฐบาลบริเตนใหญ่ได้ตอบโต้ด้วยการปิดท่าเรือบอสตัน (วิกิพีเดีย, สงครามปฏิวัติอเมริกา, 2 ตุลาคม 2563)

            เมื่อเดือนเมษายน 1775 สงครามได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการที่ทหารบริเตนใหญ๋ซึ่งสวมเสื้อคลุมสีแดง และกองกำลังชาวอาณานิคม ได้ยิงปืนใส่กันที่ เล็กซิงตัน (Lexington) และคอนคอร์ด (Concord) ในเขตของแมสซาจูเซตส์ เสียงปีนที่ดังขึ้น เรียกชื่อว่า “ เสียงปืนที่ได้ยินไปทั่วโลก (The shot heard around the world.)

            ในการต่อสู้กับบริเตนใหญ่ ชาวอาณานิคมได้รวมตัวกันเป็นสภาคองเกรสแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Congress)  และได้แต่งตั้งจอร์จ วอชิงตัน(George Washington) เป็นผู้บัญชาการสู้รบ

4.คำประกาศอิสรภาพของอเมริกา

          ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 สภาคองเกรสแห่งภาคพื้นทวีป ได้อนุมัติคำประกาศอิสรภาพของอเมริกาตามที่ โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เป็นผู้ยกร่างขึ้นมา ทำให้อาณานิคมทั้ง 13 แห่งเป็นอิสระจากบริเตนใหญ่ในวันดังกล่าว วันนี้จึงกลายเป็นวันชาติของอเมริกา (Wikipedia, United States Declaration of Independence, 2nd October 2020)

คำประกาศอิสรภาพอเมริกา วันที่ 4 กรกฎาคม 1776 (United States Declaration of Independence,2nd October 2020)
คำประกาศอิสรภาพอเมริกา วันที่ 4 กรกฎาคม 1776 (United States Declaration of Independence,2nd October 2020)

            โทมัส เจฟเฟอร์สัน ได้แนวคิดด้านเสรีภาพมาจากจอห์น ล็อก (John Locke) นักคิดผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอังกฤษในยุคนั้น  โดยมีเนื้อหาที่สำคัญคือ

            4.1ทุกคนเกิดมาเท่าเที่ยมกัน                                                                                                       (All men are created equal)

            4.2 รัฐบาลเป็นเพียงผู้ได้รับมอบอำนาจด้วยความยินยอมจากประชาชน

(Governments derive their just powers from the consent of the governed)

4.3ประชาชนย่อมมีสิทธิเปลี่ยนแปลงหรือโค่นล้มรัฐบาลที่ชั่วร้ายหรือทรราช

(It is a right of the people to alter or abolish a tyrannical government.)

            เนื้อหาในคำประกาศอิสรภาพ เป็นแนวคิดในเรื่องของเสรีภาพ ความเสมอภาค ความเป็นปัจเจกชน การปกครองตนเอง  และอำนาจตามกฎหมาย (liberty, equality, individualism, self-government and lawful powers) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวได้กลายเป็นรากฐานในการยกร่างรัฐธรรมนูญอเมริกาในเวลา 11 ปีต่อมา (Thomas E. Patterson, We the People, 12th ed., 2015, p.30)

5.สงครามปฏิวัติอเมริกา

          หลังจากการประกาศอิสรภาพของอเมริกาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 ทำให้เกิดสงครามยืดเยื้อออกไปจนกระทั่งปีค.ศ.1783 สงครามจึงได้ยุติลงด้วยการทำสนธิสัญญากรุงปารีส โดยบริเตนใหญ่ยอมรับรองเอกราชของสหรัฐอเมริกา สงครามนี้เรียกว่า สงครามปฏิวัติอเมริกา

ภาพสงครามปฏิวัติอเมริกา ระหว่าง 19 เมษายน 1775-3 กันยายน 1783(Wikipedia, American Revolutionary War, 2nd October 2020)
าพสงครามปฏิวัติอเมริกา ระหว่าง 19 เมษายน 1775-3 กันยายน 1783(Wikipedia, American Revolutionary War, 2nd October 2020)

                สงครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War) เป็นสงครามมี่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1775 จนถึงวันที่ 3 กันยายน 1783 รวมระยะเวลา 8 ปี 4 เดือน และ 15 วัน  โดยเป็นสงครามทั้งทางบกและทางเรือ นับเป็นสงครามที่ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างมาก สรุปได้ดังนี้

          5.1 ฝ่ายอเมริกาและสัมพันธมิตร (ฝรั่งเศส สเปน และเนเธอร์แลนด์)

            ฝ่ายอเมริกามีจอร์จ วอชิงตัน เป็นผู้บัญชาการรบ มีทหารเสียชีวิตประมาณ 37,000-82,000 นาย

            5.2 ฝ่ายบริเตนใหญ่และพันธมิตร (เยอรมัน)

            อยู่ภายใต้การบัญชาการรบของพระเจ้าจอร์จที่ 3 มีทหารเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 87,200 นาย

          สงครามได้ยุติลง ด้วยการทำสนธิสัญญากรุงปารีสเมื่อวันที่ 3 กันยายน 1783

(Wikipedia, American Revolutionary War, 2nd October 2020)

6.สรุป

          หลังจากบริเตนใหญ่ได้ชัยชนะเหนือฝรั่งเสศในสงครามเจ็ดปี ทำให้บริเตนใหญ่ได้ปกครองดินแดนอาณานิคม 13 แห่งที่อยู่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกด้านทิศเหนือทั้งหมด แต่การที่พระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งบริเตนใหญ่ได้ปกครองอาณานิคม 13 แห่ง ด้วยการกดขี่เก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรม และไม่ยอมรับว่าชาวอาณานิคมเป็นชาวอังกฤษโดยกำเนิดด้วยการไม่ให้ชาวอาณานิคมมีสิทธิเลือกผู้แทนไปนั่งในรัฐสภาบริเตนใหญ่  จึงทำให้ชาวอาณานิคมเกิดความคับแค้นใจ ต้องการแยกตัวเป็นประเทศเอกราช

            ดังนั้น อาณานิคม 13 แห่ง จึงได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 และหลังจากนั้นได้ทำสงครามปฏิวัติอเมริกาเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า 8 ปี จึงได้เอกราชโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 3 กันยายน 1783 ตามสนธิสัญญากรุงปารีส

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม ขอเชิญติดตามได้ในหัวข้อ คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

          คู่สนทนาของผมวันนี้ คือ อาจารย์ดร.กิ่งฉัตรเช่นเคย

            “สวัสดีครับ อาจารย์ วันนี้เราจะมาคุยกันต่อในหมวด เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญ อเมริกา ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 อาจารย์พร้อมไหมครับ ” ผมทักทายเบา ๆ

            “สวัสดีค่ะ ดร.ชา ดิฉันพร้อม ขอเชิญเริ่มต้นได้เลย ” อาจารย์ดร.กิ่งฉัตร ทักทายผมตอบ

            “วันนี้ ผมขอเริ่มประเด็นแรกเลย ในมุมมองของอาจารย์คิดว่า กว่าอเมริกาจะตั้งประเทศได้นี่ ยากมากน้อยเพียงใด ” ผมถามเชิงหลักการก่อน

            “ ดิฉันมีความเห็นว่า ยากมากทีเดียว เพราะต้องรบเอาชนะจักรวรรดิบริเตนใหญ่ ซึ่งในเวลานั้น นับเป็นมหาอำนาจและจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ยากที่จะมีประเทศใดรบเอาชนะได้

            แต่อเมริกาเขาเก่ง สามารถรบเอาชนะจักรวรรดิบริเตนใหญ่ได้อย่างเหลือเชื่อทีเดียว ” อาจารย์ดร.กิ่งฉัตรอดชื่นชมอเมริกันชนไม่ได้

            “อาจารย์คิดว่า มีอะไรอยู่เบื้องหลังชัยชนะของชาวอเมริกันในครั้งนั้นไหม ” ผมถามเพื่อให้อาจารย์ดร.กิ่งฉัตรได้ใช้ความคิดหน่อย

            “ ดิฉันคิดว่า มีอยู่ 2 ประการ คือ

          ประการแรก ความเจ็บแค้นของชาวอาณานิคม 13 แห่ง ที่ถูกบริเตนใหญ่เอารัดเอาเปรียบ กดขี่ข่มเหง เรียกเก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมาย แถมยังไม่ยอมรับว่า ชาวอาณานิคม 13 แห่ง เป็นคนอังกฤษโดยกำเนิด ไม่ยอมให้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนไปนั่งในรัฐสภาบริเตนใหญ่

          ประการที่สอง ความเจ็บแค้นของฝรั่งเศส ที่เคยรบแพ้บริเตนใหญ่ในสงครามเจ็ดปี ระหว่างปี ค.ศ.1756-1763 ทำให้ฝรั่งเศสต้องเสียดินแดนอาณานิคมที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำมิสซิบซิปปีทั้งหมด รวมทั้งแคนาดา ให้แก่บริเตนใหญ่

            ด้วยความแค้นดังกล่าว จึงทำให้ชาวอาณานิคมและฝรั่งเศสร่วมแรงร่วมใจกันสู้รบในสงครามปฏิวัติอเมริกาอย่างเต็มที่จนประสบชัยชนะในที่สุด ” อาจารย์ดร.กิ่งฉัตร วิเคราะห์ได้อย่างน่าฟัง

            “ยอดเลย การวิเคราะห์ของอาจารย์ หนักแน่นมาก แสดงว่า แท้ที่จริงชาวอาณานิคมไม่ได้สู้รบโดยลำพัง เพราะมีฝรั่งเศสหนุนหลังอย่างเต็มที่ นั่นเอง ” ผมอดชมอาจารย์ดร.กิ่งฉัตรไม่ได้

            “ ถ้าเช่นนั้น เราคุยในประเด็นที่สองเลย การประกาศอิสรภาพและสงครามปฏิวัติอเมริกา มีความสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกในเวลาต่อมาอย่างไร ” ผมเปิดประเด็นต่อ

          “ ดิฉันคิดว่า เรื่องนี้ ได้กลายเป็นโมเดลในการปฏิวัติยึดอำนาจรัฐโดยประชาชนในเวลาต่อมา ได้แก่ การปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส 1789-1799 การปฏิวัติรัสเซีย 1917 และการปฏิวัติจีน 1912-1949 ล้วนได้แรงบันดาลใจจากสงครามปฏิวัติอเมริกาทั้งสิ้น ” อาจารย์ดร.กิ่งฉัตรแสดงความเห็นราวกับนักประวัติศาสตร์

            “ คำตอบของอาจารย์นี่ นับว่าแหลมคมมาก ถ้าเช่นนั้น ผู้ถืออำนาจรัฐจะประมาทอำนาจของประชาชนไม่ได้เลยใช่ไหม ” ผมกระทุ้งต่อเล็กน้อย

              “ ใช่ค่ะ ดร.ชา ผู้ถืออำนาจรัฐหรือรัฐบาลในยุคสมัยนี้ จะประมาทอำนาจของประชาชนไม่ได้เลย แต่ถ้ารัฐหรือรัฐบาลทำดีหรือทำถูกต้องแล้ว ก็คงไม่ต้องกลัว เพียงแต่ระมัดระวังเอาไว้บ้างก็ดี ” อาจารย์ดร.กิ่งฉัตรตอบด้วยความระมัดระวังพร้อมกับอมยิ้ม

          “ ผมเห็นด้วยกับความเห็นของอาจารย์ เพราะประชาชนในยุคสมัยปัจจุบัน มีความรู้ความเข้าใจและมีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไปของประเทศชาติบ้านเมืองมากกว่าสมัยก่อนเยอะ แม้แต่นักเรียนนักศึกษาก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว

            ขอบคุณมากอาจารย์ พบกันคราวหน้านะครับ ” ผมกล่าวสรุปปิดการสนทนา

            “ด้วยความยินดีค่ะ ” อาจารย์ดร.กิ่งฉัตรตอบรับด้วยความยินดีเช่นเคย

ดร.ชา                                                                                                                   2/10/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)(New***) 2

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)(New***)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18) 5

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18)

ชาว ไทย ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอุ้มหาย

4 COMMENTS

  1. ชัดเจน ระลึกที่มาที่ไปของอเมริกาได้อีกรอบค่ะ

    1. หากอยากปัจจุบันว่าทำไมเป็นเช่นนี่ ทำไมไม่เป็นเช่นนั้น ต้องศึกษาอดีต เพราะอดีตคือที่มาของปัจจุบัน และปัจจุบัน คือตัวชี้ว่า
      อนาคตจะเป็นเช่นไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบุคคล ประเทศ หรือโลก เช่น อยากเป็นคนร่างกายแข็งแรงหลังเกษียณอายุราชการ ถ้าปัจจุบีนเราไม่ได้ออกกำลังกาย
      กินอาหารไม่ครบห้าหมู่ พักผ้อนไม่เพียงพอ จะไปหวังให้ร่างกายแข็งแรงในอนาคตได้อย่างไร จริงไหม
      ุ่

  2. ขอบคุณ ดร.กิ่งฉัตร ที่มาแบ่งปันความรู้ค่ะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: