66 / 100

หัวข้อที่ผมจะนำมาเล่าประกอบด้วย ภูมิหลัง แนวคิดเบื้องต้น ประเภทของจิต การการกำหนดเป้าหมายเพื่อนำมาสั่งจิตใต้สำนึก  หลักการเบื้องต้นของการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกและการสร้างมโนภาพ การประเมินผลและการปรับเป้าหมาย สรุปและข้อคิดเห็น โดยในบทความ (2) ได้กล่าวถึงแนวคิดเบื้องต้นในการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก

สำหรับบทความ (3) เป็นการเล่าถึงประเภทของจิต ได้แก่ ความหมายชองจิต จิตสำนึก จิตใต้สำนึก จิตเหนือสำนึก จิตไร้สำนึก ความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก สรุปและข้อคิดเห็น

1.ความหมายของจิต

          บุคคลมีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ รูปและนาม

            ส่วนที่เรียกว่า รูป หมายถึง ร่างกาย และส่วนที่เรียกว่า นาม หมายถึงจิต หรือจิตใจ

            หากจะเปรียบเทียบคนเรากับเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนที่เรียกว่า รูป คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เราสามารถมองเห็นและจับต้องได้ เรียกว่า ฮาร์ดแวร์(hardware) หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งชำรุดหรือเสื่อมสภาพ เราอาจซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ส่วนนั้นได้

          แต่ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีแต่ส่วนที่เป็น ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็เป็นได้เพียงเศษเหล็กหรือเศษวัตถุที่นำมาประกอบเป็นรูปร่าง ไม่สามารถใช้ประโยขน์ในการทำงานได้ ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งที่เรียกว่า ซอฟท์แวร์ (Software) คือบรรดาโปรแกรมในการสั่งงานต่าง ๆ รวมทั้งความจำที่ผู้สร้างหรือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ใส่ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนนี้ เราไม่สามารถมองเห็นได้

            มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน หากมีแต่ร่างกาย ไม่มีอีกส่วนหนึ่งที่เรียกว่า จิต ก็ไม่อาจเรียกว่ามนุษย์ได้ เพราะส่วนที่เรียกว่า จิต จะทำหน้าที่ในการทำให้มนุษย์รู้ คิด นึก และรู้สึกได้

            ดังนั้น จิตจึงหมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่ในการทำให้มนุษย์รู้ คิด นึก และรู้สึกได้ เปรียบเสมือนส่วนที่เป็นซอฟท์แวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์  จิตเป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ แต่สัมผัสได้

            อาจแบ่งจิตออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ จิตสำนึก จิตใต้สำนึก จิตไร้สำนึก และจิตเหนือสำนึก

2.จิตสำนึก (Conscious mind)      

              จิตสำนึก หมายถึง ภาวะที่จิตตื่นและรู้ สามารถใช้ความรู้สึกและพลังสมองในการทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น โดยสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย

          ดังนั้น จิตสำนึกจึงเป็นจิตในขณะที่เรามีสติสัมปชัญญะ เพราะถ้าไม่มีสติ เราก็จะไม่สามารถใช้ความรู้สึกและพลังสมองในการทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น 

            เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจชัดเจนขึ้น โปรดดูตัวอย่างข้างล่างนี้

            แดง พูดคุยกับดำ เรื่องโรคไวรัสโควิด -19 ที่ได้เริ่มระบาดมาแล้วเป็นเวลา 2-3 เดือนว่า ยังไม่สามารถไว้วางใจไม่ได้ เพราะยังไม่มีวัคซีนฉีดป้องกัน การพูดคุยดังกล่าว ทั้งแดงและดำ ต่างมีสติ จึงสามารถพูดคุยกันรู้เรื่อง  เพราะต่างสามารถใช้ความรู้สึกและสมองในการทำความเข้าใจในสิ่งที่ทั้งสองคุยกันอยู่ นั่นคือการใช้จิตสำนึกพูดคุยกัน

            ในการเรียนหนังสือ นักเรียน นักศึกษา ต้องใช้จิตสำนึกในการรับฟังคำบรรยายของครูอาจารย์ให้เข้าใจ ด้วยการใช้ความรู้สึกและสมองคิดตาม

            ในการทำงาน เราต้องใช้จิตสำนึกในการทำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชา เราใช้จิตสำนึกในการประชุมกัน เป็นต้น

3. จิตใต้สำนึก (Subconscious mind)   

          จิตใต้สำนึก หมายถึง ภาวะของจิตที่ไม่อาจสัมผัสได้ เพราะอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ และเป็น

ภาวะเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแม้ว่าเราจะไม่คิดถึงมันก็ตาม

          จิตใต้สำนึก แท้ที่จริงก็อยู่ใต้จิตสำนึกนั่นเอง กล่าวคือ จิตใต้สำนึกเปรียบเสมือนระบบอัตโนมัติของจิต ที่สั่งให้ร่างกายสนองตอบสิ่งที่เคยปฏิบัติอยู่เป็นประจำอย่างที่เรียกว่า อุปนิสัย ทุกครั้งที่ตกอยู่ในสภาวะแวดล้อมหรือสิ่งเร้าอย่างเดียวกันหรือคล้ายกัน จิตใต้สำนึกจะทำหน้าที่ในการสั่งให้ร่างกายปฏิบัติโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาคิด และวิเคราะห์อะไรอีก เพราะเคยปฏิบัติอยู่เป็นประจำ

ท่านอนฝึกการสั่งจิตใต้สำนึก
ท่านอนฝึกการสั่งจิตใต้สำนึก

     ตัวอย่างการทำงานของจิตใต้สำนึก

          เขียว มีอุปนิสัยตื่นเช้าเวลาประมาณ 6 โมงเช้า หลังจากเข้านอนแล้ว จนกระทั่งได้เวลาประมาณ 6 โมงเช้าของแต่ละวัน จิตใต้สำนึกจะสั่งร่างกายของเขียวให้รู้สึกตัวและตื่นขึ้น แม้ว่าบางคืนอาจจะเข้านอนดึกว่าปกติก็ตาม

            แป้น เป็นเด็กสาวสวย มีอุปนิสัยชอบยิ้มเสมอ เมื่อพบหน้าคนที่รู้จัก จิตใต้สำนึกจะสั่งให้แป้นยิ้มเกือบจะทุกครั้ง โดยไม่ต้องคิดอะไร ก็ยิ้มได้เป็นปกติ

4. จิตไร้สำนึก (Unconscious mind)     

            จิตไร้สำนึก เป็นจิตที่อยู่ในภาวะคล้าย ๆ การนอนหลับเพราะบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ทำให้ไม่มีความรู้สึกใด ๆ โดยความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดัน ถูกเก็บกดไว้ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยายามนึกเท่าใดก็นึกไม่ออก

            จิตไร้สำนึก เป็นจิตที่ขาดสติสัมปชัญญะ  เพราะไม่รู้สึกอะไร หากได้กระทำอะไรลงไปในขณะที่จิตไร้สำนึก ย่อมถือได้ว่าขาดเจตนา ไม่ต้องรับผิด

     ตัวอย่างของจิตไร้สำนึก

          นิด มีอาการเจ็บป่วยอย่างหนัก ไม่รู้สึกตัวต้องนอนพักรักษาตัวอยู่โรงพยายาบาล หากมีใครจับมือนิดเซ็นเอกสารในขณะที่ยังไม่รู้สึกตัว เอกสารนั้นย่อมใช้ไม่ได้หรือโมฆะ เพราะนิดขาดเจตนาในการเซ็น

            น้อย เป็นคนชอบละเมอ คืนหนึ่งได้ละเมอเดินออกนอกห้องนอนโดยไม่รู้สึกตัว หากน้อยได้กระทำการอันใดที่เป็นความผิดในขณะนั้น ย่อมถือว่า น้อยได้กระทำไปในขณะที่ขาดสติสัมปชัญญะ จึงเป็นการกระทำที่ขาดเจตนา ไม่ต้องรับผิด

5. จิตเหนือสำนึก (Superconscious mind)

          นอกเหนือไปจากจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึกแล้ว ยังมีจิตอีกประเภทหนึ่ง ที่ถือได้ว่า มีคุณลักษณะพิเศษที่อาจเกิดขึ้นกับบุคคลบางคนได้ในบางเวลา อย่างที่เรียกว่า ลางสังหรณ์ หรือเทพสังหรณ์ ทำให้จิตสามารถทราบเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ล่วงหน้า อาจจะเป็นลางดีหรือลางร้ายก็ได้ ทั้ง ๆ ที่บุคคลนั้นไม่เคยคิดถึงเรื่องนั้นมาก่อนเลย

     ตัวอย่างจิตเหนือสำนึก

          นางช้อย เป็นคนจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลูกชายคนหนึ่ง ชื่อ นายลอย ไปทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีคืนวันหนึ่งนางช้อยได้ฝันร้ายมองเห็นภาพลูกชายประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ จึงแจ้งข่าวเตือนไปยังนายลอย ให้ระมัดระวังตัวในการเดินทาง นายลอยรับทราบได้พยายามระมัดระวังตัวในการเดินทาง แต่ด้วยความจำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ เขาจึงไม่อาจงดการเดินทางในช่วงเวลาตามที่นางช้อยผู้เป็นแม่ส่งข่าวมาได้ ทำให้เขาต้องประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างร้ายแรงเกือบเอาชีวิตไม่รอด

     หากจะถามว่า คนเราจะฝึกฝนให้มีจิตเหนือสำนึกจะได้หรือไม่

        ขอตอบว่า ทำได้แน่

            หากท่านผู้อ่านอยากจะฝึกฝนให้เป็นผู้มีจิตเหนือสำนึก ก็อาจทำได้โดยการฝึกสมถกรรมฐานหรือฝึกสมาธินั่นแหละ  โดยจะต้องฝีกจนสามารถเข้าฌานได้ เมื่อสามารถเข้าฌานได้อย่างชำนิชำนาญหรืออย่างที่พระเรียกว่า เกิดวสี ท่านอาจจะได้ญาณหยั่งรู้ในบางเรื่องบางราวได้ เช่น อาจจะได้หูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น

            ส่วนการได้หูทิพย์ ตาทิพย์ จะทำให้สิ่งที่ได้ยิน ได้เห็นด้วยญาณจะถูกต้องมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่สมถกรรมฐานที่บุคคลนั้นฝึกได้นั้น มีความแก่กล้ามากน้อยเพียงใด

            แต่ฌานที่ฝึกฝนได้จนแก่กล้าก็อาจจะเสื่อมถอย เมื่อฌานเสื่อม ญาณก็จะเสื่อมตาม เพราะการฝึกตามแนวทางสมถกรรมฐานหรือการฝึกสมาธิ ยังเป็นโลกียะอยู่ ยังไม่ใช่โลกุตระ

            ถ้าท่านผู้อ่านสนใจอยากลองฝึกดู ก็สามารถทำได้ แต่ก็ไม่ง่ายนะที่จะฝึกจนจิตสงบจนได้ระดับฌานอันแก่กล้า  การฝึกสมถกรรมฐานหรือฝึกสมาธิ ไม่จำเป็นต้องบวชเป็นพระ หรือเป็นนักบวช คนธรรมดาก็สามารถฝึกฝนได้

6.ความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก

          หากจะถามว่า จิตสำนึกกับจิตใต้สำนึกมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร

            ผมขอตอบตรง ๆ ว่าจิตสำนึก และจิตใต้สำนึกมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของคนเราอยู่ได้ก็ด้วยอาศัยจิตทั้งสองประเภท

            เพื่อให้มองเห็นความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก ผมขอยกตัวอย่างให้เห็นดังนี้

     หน้าที่ของจิตใต้สำนึกในชีวิตประจำวัน

            เมื่อเราตื่นนอนขึ้นมา สิ่งใดที่เป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น ล้างหน้า แปรงฟัน เข้าห้องน้ำ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารเช้า แต่งตัวไปทำงาน ออกเดินทางไปยังที่ทำงาน รับประทานอาหารกลางวัน เมื่อเลิกงานก็เดินทางกลับบ้าน รับประทานอาหารเย็น อาบน้ำ พักผ่อน ดูทีวี เมื่อถึงเวลาก็เข้าห้อนนอน  กิจวัตรประจำวันเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของจิตใต้สำนึกที่จะสั่งให้ร่ายกายทำหน้าที่ โดยไม่ต้องเสียเวลาคิดและวิเคราะห์อีกว่า ตองทำหรือไม่ ทำอย่างไร และทำไม เพราะแท้ที่จริง จิตใต้สำนึกเป็นแหล่งรวมระบบอัตโนมัติของจิตนั่นเอง

     หน้าที่ของจิตสำนึกในชีวิตประจำวัน

          ในชีวิตประจำวันของคนเรา มิได้หมายความว่า จะต้องทำเฉพาะในสิ่งที่เราเคยชินด้วยระบบอัตโนมัติของจิตเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมหลายอย่างที่จำเป็นต้องใช้จิตสำนึกในการรับรู้ทำความเข้าใจและรู้สึกในสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ในแต่ละวัน เช่น การร่างหนังสือโต้ตอบ การเข้าประชุมพิจารณาเรื่องต่าง ๆ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เป็นต้น

การประชุม ต้องใช้จิตสำนึกในการทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ตามระเบียบวาระการประชุม
การประชุม ต้องใช้จิตสำนึกในการทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ตามระเบียบวาระการประชุม

            กิจกรรมดังกล่าว จิตใต้สำนึกไม่อาจทำหน้าที่ได้ เพราะต้องใช้สมองในการคิด และวิเคราะห์ หาเหตุผล สร้างความเข้าใจต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรบางอย่างลงไป หน้าที่ส่วนนี้จึงเป็นหน้าที่ของจิตสำนึก โดยสมองจะมีบทบาทสำคัญ

    การเปลี่ยนจิตสำนึกให้เป็นจิตใต้สำนึก

          หากเราเห็นว่า เพื่อความสำเร็จและความสุขขอเรา จึงอยากจะเปลี่ยนจิตสำนึกบางอย่างให้กลายเป็นจิตใต้สำนึก จะได้ไม่ต้องเสียเวลานั่งคิด วิเคราะห์กันบ่อย ๆ ว่า กิจกรรมบางอย่างจำเป็นต้องทำหรือไม่ ทำไม และอย่างไร ก็สามารถทำได้ด้วยการใช้จิตสำนึกออกคำสั่งจิตใต้สำนึกบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ จนจิตใต้สำนึกยอมรับคำสั่งดังกล่าว

            เมื่อจิตใต้สำนึกยอมรับคำสั่งดังกล่าวของจิตสำนึก เราก็จะได้อุปนิสัยใหม่ เมื่อถึงเวลาภายใต้สภาวะแวดล้อมเดียวกันหรือคล้ายกัน จิตใต้สำนึกก็จะสั่งให้ร่างกายทำหน้าที่เหมือนอย่างที่เคยทำ โดยที่จิตสำนึกไม่จำเป็นต้องออกคำสั่งอะไรอีก

            หากเปรียบเทียบกับการเข้าเกียร์รถยนต์ จิตสำนึก คือ การใช้เกียร์มือ ส่วนจิตใต้สำนึก คือ การใช้เกียร์อัตโนมัติ หากใช้เกียร์มือ เราต้องคิดว่า จะเข้าเกียร์อะไร แต่ถ้าใช้เกียร์อัตโนมัติ เราไม่ต้องคิดเลยว่า จะต้องใช้เกียร์อะไร ระบบเกียร์จะทำให้การทำงานของเกียร์ปรับตัวได้เองตามความเหมาะสม

7.สรุปและข้อคิดเห็น

          องค์ประกอบของมนุษย์มีอยู่ 2 ส่วนใหญ่ คือ ร่างกาย และจิตหรือจิตใจ ร่างกายเป็นสิ่งเราสามารถมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่วนจิตใจ เป็นนามธรรม เราไม่สามารถมองเห็นได้แต่สัมผัสได้ หากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ ร่างกายเปรียบเสมือนตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นฮาร์ดแวร์ ส่วนตัวโปรแกรม และความจำต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งเราไม่สามารถมองเห็น แต่สัมผัสได้เรียกว่า ซอฟท์แวร์ ซึ่งเปรียบเสมือนจิตใจของคน

            จิตของมนุษย์ อาจแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ จิตสำนึก จิตใต้สำนึก จิตไร้สำนึก และจิตเหนือสำนึก

            จิตสำนึก คือ จิตในขณะที่เรารู้สึกและระลึกได้ หรืออย่างที่เรียกว่า มีสติสัมปชัญญะ จิตสำนึก เป็นจิตที่เราใช้หาเหตุผล ทำความเข้าใจกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ส่วนจิตใต้สำนึก เป็นจิตที่ซ่อนอยู่ภายใต้จิตสำนึก เป็นจิตที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมข้อมูลและความจำต่าง ๆ  และทำหน้าที่เป็นระบบอัตโนมัติของจิตใจ

            เมื่ออยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมเดียวกันหรือคล้ายกัน จิตใต้สำนึกจะทำหน้าที่สั่งให้ร่างกายตอบสนองเหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติเป็นประจำ อย่างที่เรียกว่า อุปนิสัย หากจิตใต้สำนึกสะสมข้อมูลหรือความจำเป็นด้านบวก การสนองตอบของร่างกายก็จะออกมาเป็นด้านบวก แต่ถ้าจิตใต้สำนึกสะสมข้อมูลหรือความจำเป็นด้านลบ การตอบสนองของร่างกายก็จะออกมาเป็นด้านลบด้วย

            จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะจิตสำนึกสามารถสั่งจิตใต้สำนึกได้ แต่ต้องสั่งบ่อย ๆ จิตใต้สำนึกจึงจะยอมรับคำสั่ง หากจิตใต้สำนึกยอมรับคำสั่งจากจิตสำนึกเมื่อใด แสดงว่า เราสามารถสร้างอุปนิสัยใหม่ได้

            หวังว่า ท่านผู้อ่านคงพอเข้าใจเรื่องประเภทของจิตนะครับ

           พบกันใหม่ในบทความต่อไปของชุดการสั่งจิตใต้สำนึก “การกำหดนปัญหาเพื่อนำมาสั่งจิตใต้สำนึก”

          ขอบคุณครับทุกท่าน ที่กรุณาติดตามอ่านผมบทความของผมตลอดมา

          ดร.ชา

          22/06/20

            “หากบทความนี้ถูกใจท่าน และท่านมีความประสงค์จะสนับสนุนให้บทความนี้แพร่หลายออกไป กรุณามีส่วนร่วมด้วยการกดไลค์ กดแชร์ไปยังกลุ่มบุคคลหรือบุคคลในเครือข่ายของท่าน หรือแสดงความคิดเห็น รวมทั้งสมัครเป็นผู้ติดตามได้ตามอัธยาศัย และขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

         กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเพจ การสมัครเป็นผู้ติดตามและการมีส่วนร่วม ของเว็บไซต์นี้ คือ รวมเรื่องเล่า สนุกและสร้างสรรค์ ชุดประสบการณ์นักปกครองที่น่าสนใจ (https://tridirek.com)

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

8 COMMENTS

  1. จิตสำนึกกับจิตใต้สำนักตอนแรกยังคิดว่าเป็นอันเดียวกันเลยค่ะอาจารย์

    1. เวลานี้ก็ทราบแล้วนะว่า จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกเป็นคนละอย่างกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

  2. จิตใต้สำนึกคล้ายกับการอธิษฐานจิตในศาสนาพุทธ ปัจจุบันนี้มีโค้ชเกิดขึ้นเยอะมาก ออกมาสอนการพัฒนาชีวิตให้กับผู้คน นิสัยคนรวยไม่เข้าคอร์สเพื่อให้ตนเองรวย แต่จะลงมือทำเรื่องเดิมๆจนสำเร็จค่ะ
    แต่ก่อนนี้หนูก็ชอบฟังโค้ชสอนในยูทูป ปัจจุบันนี้เลิกแล้วค่ะ เพราะคนที่รวยคือโค้ชไม่ใช่ตัวเราค่ะอาจารย์

    1. ยุคนี้ เป็นยุคของการหารายได้จากยูทูป ใครมีช่องทางอย่างไรก็ว่ากันไป แต่ถ้าทำตามแล้วผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง หากคุณเพ็ญไม่อยากเสียเงินอีก ก็ต้องติดตามบทความของอาจารย์ไปเรื่อย ๆ
      และทดลองปฏิบัติตามดูเป็นขั้นเป็นตอน เชื่อว่า จะทำให้คุณเพ็ญสามารถไปสู่จุดหมายได้ไม่ยากจนเกินไป ถ้ารู้จักตั้งจุดหมายให้เหมาะสมกับศักยภาพของตัวเรา

  3. ยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้ได้เห็นได้อย่างชัดเจน ขอบคุณครับอาจารย์

    1. อาจารย์ก็ต้องคิดว่า จะอธิบายอย่างไร คนอ่านจึงจะเข้าใจ ดังนั้น การเปรียบเทียบให้เห็นภาพจึงช่วยได้

  4. ขอบคุณค่ะ หนูใช้จิตใต้สำนึกในการภาษาอังกฤษจากการฟังเพลงสากล ฟังครั้งแรกไม่รู้เรื่อง วันที่สอง วันที่สาม ฟังเพลงเดิม หลายๆรอบเริ่มฟังรู้เรื่องค่ะอาจารย์ ให้เก่งภาษาสากล ภาษาอื่นเอาไว้ทีหลังค่ะ
    ไปหาเนื้อเพลง จากกูเกิลมาอ่านประกอบด้วย การเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องง่ายๆ พูดกับตัวเองอยู่บ่อยๆค่ะ

    1. ดีแล้วทีคุณเพ็ญ ค่อยทำทีละขั้นตอน จะได้มองเห็นความสำเร็จทีละขั้นตอนเช่นกัน ยินดีด้วยนะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: