85 / 100

ประเทศ บรูไน- รูปแบบการปกครอง และเศรษฐกิจ เป็นบทความลำดับที่ 27 ของหมวด 12 เรื่องเล่า กลุ่มประเทศอาเซียน มีหัวข้อดังนี้ ความนำ ประวัติความเป็นมาของประเทศ บรูไน ตำแหน่งที่ตั้ง ข้อมูลเบื้องต้น รูปแบบการปกครองประเทศ เศรษฐกิจ ของบรูไน สรุป และถาม-ตอบสนุกกับดร.ชา 369

Table of Contents

1.ความนำ

ผมได้เล่าเรื่องราวของประเทศอาเซียนมา 7 ประเทศ คือ พม่า เวียดนาม ลาว กัมพูชา มาเลเซีย

สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ โดยบทความล่าสุด เป็นเรื่องเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์ ดีไหม (26)

          สำหรับบทความนี้ ผมอยากจะเล่าเรื่องของประเทศ บูรไน ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในด้านจำนวนประชากร ส่วนในด้านพื้นที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับสองรองลงมาจากประเทศสิงคโปร์ แต่ในด้านความเจริญก้าวหน้านั้น บรูไนถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นเดียวกับสิงคโปร์

          ประเทศ บรูไน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการเป็นภาษามาเลย์ว่า เนการา บรูไน ดารุสซาราม (Negara Brunei Darussalam)

            ในบทความนี้ ต้องการจะนำเรื่องราวของบรูไนมาเล่าในส่วนที่เกี่ยวกับรูปแบบการปกครองประเทศ ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ตำแหน่งที่ตั้ง ข้อมูลเบื้องต้น รูปแบบการปกครองประเทศ และเศรษฐกิจ

2.ประวัติความเป็นมาของประเทศ บรูไน

         2.1 ประวัติทั่วไป

          เดิมบรูไนมีฐานะเป็นอาณาจักร(Bruneian Empire) ในช่วงศตวรรษที่ 15-19 ก่อนที่จะตกเป็นรัฐในอารักขาของบริเตน (British Protected state) เมื่อวันที่ 17 กันยายน 1888 แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บรูไนได้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่นเป็นเวลา 4 ปี ระหว่างปีค.ศ.1941-1945 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง บรูไน จึงได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1984

          อนึ่ง ในยุครุ่งเรืองของอาณาจักรบรูไนช่วงปี ค.ศ.1485-1528 ภายใต้การปกครองของสุลต่าน โบลเกียห์ (Sultan Bolkiah) บรูไนมีดินแดนรวมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียว และเกาะนอกชายฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว

         2.2 ประวัติการยอมเป็นรัฐในอารักขาเต็มรูปแบบของอังกฤษ

          การที่ประเทศ บรูไน ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ยังคงรักษาความเป็นรัฐอิสระ ไม่รวมกับชาติอื่น ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือชาติอื่นใด ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะบรูไน เป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ไม่น่าจะสามารถเอาตัวรอดมาได้

            ในศตวรรษที่ 16 บรูไนเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญบนเกาะบอร์เนียว โดยอยู่บนเส้นทางการค้าจากประเทศจีนผ่านหมู่เกาะเครื่องเทศไปสู่ประเทศตะวันตก และมีอาณาเขตครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะบอร์เนียวและส่วนหนึ่งของหมู่เกาะซูลู มีชื่อเสียงทางการค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญในยุคนั้น ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ

            แต่ต่อมาบรูไนได้เสียดินแดนและเสื่อมอำนาจลง เพราะสเปนและฮอลันดาได้แผ่อำนาจเข้ามา  จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 ด้วยความวิตกว่าจะเสียดินแดนอีก จึงยอมเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ (British Protectorate) เมื่อปี 1888  (Agreement 1888)  และต่อมาได้ทำข้อตกลงกับอังกฤษอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี ค.ศ.1905 และ1906 (Supplementary Agreement 1905,1906) และได้ยอมลงนามในสนธิสัญญายินยอมเป็นรัฐในอารักขาชองอังกฤษเต็มรูปแบบเมื่อปีค.ศ.1929

          2.3 ประวัติการยืนหยัดเป็นรัฐอิสระ ไม่ยอมรวมกับรัฐอื่น

          เมื่อดูจำนวนพื้นที่และจำนวนประชากรของบรูไน แล้ว ไม่น่าจะดำรงความเป็นรัฐอิสระไว้ได้ น่าจะได้รวมกับมาเลเซีย หรือไม่ก็อินโดนีเซีย

            เมื่อปีค.ศ.1957 อังกฤษมีแผนการจะให้ตั้งสหพันธรัฐบอร์เนียวเหนือ รัฐซาราวัก และรัฐบรูไน แต่สุลต่านโอมาร์(Sultan Omar) ซึ่งเป็นสุลต่านแห่งบรูไนในขณะนั้นไม่เห็นด้วย เพราะบรูไนมีทรัพยากรน้ำมันปิโตรเลียมขนาดใหญ่ จึงไม่อยากรวมกับดินแดนอื่น

            ในขณะเดียวกัน มีข้อเสนอให้รวมบรูไนเข้ากับรัฐต่าง ๆ บนคาบสมุทรมลายู เป็นสหพันธรัฐมาเลเซียแทน คราวนี้สุลต่านโอมาร์ทรงเห็นด้วย เพราะชาวบรูไน เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกันกับชาวมลายู  แต่ต่อมาเมื่อปีค.ศ.1962 ได้เกิดกบฏขึ้นเพื่อนำบรูไนไปรวมกับรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัค สุลต่านโอมาร์จึงเปลี่ยนใจ ขอเป็นรัฐอิสระ แม้จะต้องเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษต่อไป

          ต่อมาเมื่อปีค.ศ.1968 สุลต่านโอมาร์ได้ทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรส คือ สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียะห์ (Sultan Hussanal Bolkiah)  ซึ่งปกครองประเทศมาจนกระทั่งทุกวันนี้

           2.4 การได้รับเอกราชจากอังกฤษ

          เมื่อปีค.ศ.1971 บรูไนได้ทำข้อตกลงกับอังกฤษ โดยบรูไนได้เป็นประเทศอิสระ แต่สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียะห์ ได้ทรงขอให้อังกฤษรับผิดชอบดูแลกิจการต่างประเทศและการป้องกันประเทศอยู่ก่อน จนกระทั่งวันที่ 1 มกราคม 1984 จึงได้รับเอกราชจากอังกฤษ และพ้นความเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ของปีเดียวกัน

3.ตำแหน่งที่ตั้ง

ตำแแหน่งที่ตั้ง ประเทศ บรูไน บนเกาะบอร์เนียว
(วิกิพีเดีย, เกาะบอร์เเนียว, 15 สิงหาคม 2564)
ตำแแหน่งที่ตั้ง ประเทศ บรูไน (ส่วนที่เป็นสีเขียว)บนเกาะบอร์เนียว
(วิกิพีเดีย, เกาะบอร์เเนียว, 15 สิงหาคม 2564)

            ประเทศบรูไน เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว (Borneo) โดยตั้งอยู่ชายฝั่งทางทิศเหนือของเกาะบอร์เนียว ซึ่งอยู่ในทะเลจีนใต้ แม้บรูไนจะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่พื้นที่ของประเทศไม่ได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน เพราะมีเขตลิมบังของรัฐซาราวัค (Sarawak district of Limbang)  ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียแทรกกลางอยู่

            บนเกาะบอร์เนียวอันกว้างใหญ่ มีดินแดนของสามประเทศตั้งอยู่ คือ รัฐซาราวัคและรัฐซาบาห์ของสหพันธรัฐมาเลเซีย ประเทศ บรูไน ส่วนดินแดนส่วนใหญ่ที่เหลือ เป็นดินแดนของประเทศอินโดนีเซีย

4.ข้อมูลเบื้องต้น

          ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศ บรูไน ที่ควรทราบ มีดังนี้

           4.1 พื้นที่

          ตามworldometer ประเทศ บรูไน มีพื้นที่ทั้งหมด 5,764 ตร.กม. มากเป็นอันดับที่ 171 ของโลก แต่มีขนาดพื้นที่เป็นอันดับ 9 ของอาเซียน โดยมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าสิงคโปร์ ซึ่งมีพื้นที่ 710 ตร.กม.

           4.2 จำนวนประชากร

          ตาม Worldometer  ประเทศ บรูไน มีประชากรเมื่อปี 2020 จำนวน 437,479 คน มากเป็นอันดับที่ 176 ของโลก และมากเป็นอันดับสุดท้ายของกล่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

         4.3 เชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์

          คนบรูไน ประกอบด้วยคนเชื้อชาติมาเลย์  ร้อยละ 65.7 คนเชื้อชาติจีนร้อยละ 10.3 และเชื้อชาติอื่น ๆ  ร้อยละ 24

        4.5 อัตราการเกิด อายุเฉลี่ย และอัตราการอยู่ในเมือง

            ตาม worldometer ประเทศ บรูไน มีอัตราการเกิดของประชากรร้อยละ 1.8 มีอายุเฉลี่ย 32 ปี และมีอัตราการอาศัยอยู่ในเมืองร้อยละ 80

        4.6 ศาสนา

สุเหร่าสุลต่านโอมาร์ ในยามค่ำคืน
(Wikipedia, Brunei, 15th August 2021)
สุเหร่าสุลต่านโอมาร์ ในยามค่ำคืน
(Wikipedia, Brunei, 15th August 2021
)

          คนบรูไน นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนหนี่(Sunni Islam)  ร้อยละ 80.9 ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 7.1 ศาสนาพุทธร้อยละ 7 และอื่น ๆ เช่น ความเชื่อของคนพื้นเมือง ร้อยละ 5 

        4.7 ภาษา

          ตามรัฐธรรมนูญ ภาษามาเลย์ คือภาษาของทางราชการ แต่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาเอกสารของทางราชการ

5. รูปแบบการปกครองประเทศ

          ประเทศ บรูไน เป็นรัฐเดี่ยว  มีระบอบการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบรัฐอิสลาม  (Malay Islamic Monarchy)  ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ยึดถือวัฒนธรรมมาเลย์ (Malay culture)  นับถือศาสนาอิสลาม (Islamic religion) และมีโครงสร้างทางการเมืองภายใต้ระบบกษัตริย์ (political framework under the monarchy)

         กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ คือ รัฐธรรมนูญ ปีค.ศ.1959 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยมีสาระที่ควรทราบดังนี้

สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียะห์ สุลต่านแห่งบรูไน องค์ปัจจุบัน (Wikipedia, Brunei, 15th Auust 2021)
สุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียะห์ สุลต่านแห่งบรูไน องค์ปัจจุบัน (Wikipedia, Brunei, 15th Auust 2021)

         5.1 ศาสนาที่เป็นทางการของบรูไน ดารุสลาม (Official religion of Brunei Darussalam)

          ตามรัฐธรรมนูญ ฯ ศาสนาประจำชาติของบรูไน ดารุสลาม คือ ศาสนาอิสลาม โดยมีองค์สุลต่านทรงเป็นประมุขของศาสนาอิสลามของบรูไนด้วย

         5.2 องค์สุลต่าน (Sultan)

          ตามรัฐธรรมนูญ ฯ องค์สุลต่านจะมีอำนาจเด็ดขาดแต่ผู้เดียว กล่าวคือ ทรงมีฐานะเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang Di-Pertuan Negara) และเป็นประมุขของประเทศ (Head of State) และทรงเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย

            นอกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว ยังทรงดำรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่ทรงเห็นสมควร

          การบริหารงาน แบ่งออกเป็นการบริหารเป็นกระทรวง

         5.3 เขตการปกครอง

            ประเทศ บรูไน เป็นประเทศเล็ก ๆ มีแต่การปกครองส่วนกลาง ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็นเขตการปกครอง เป็นหน่วยการปกครองระดับล่างของส่วนกลาง  มีจำนวน 4 เขต คือ

                    เขตบรูไน-มูอารา (Brunei-Muara)

                   เขตเบอไลต์ (Belight)

                   เขตเต็มบูรง (Temburong)

                   เขตตูตง (Tutong)

          5.4 เทศบาล (Municipality)

             เทศบาลเป็นหน่วยการปกครองที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกันกับเขตการปกครอง แต่มีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ในเมืองหรือชุมชนเมือง อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงมหาดไทย

         5.5 ตำบล (Mukim/Ward)

          ภายใต้เขตการปกครอง มีตำบล โดยมีกำนัน (Pengulu Mukim) เป็นผู้ปกครอง

         5.6 หมู่บ้าน (Kampung/Villiage)

          ภายใต้ตำบล มีหมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน (Ketua Kampung)

6.เศรษฐกิจของ บรูไน

          6.1 ข้อมูลชี้วัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

6.1.1 ขนาดจีดีพี

                    ตามWikipedia ธนาคารโลกได้ประมาณจีดีพีของ บรูไน เมื่อปี 2020 ไว้ประมาณ 12,016 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 134 ของโลก และมากเป็นอันดับสุดท้ายหรืออันดับ 10 ของอาเซียน โดยมีขนาดต่ำกว่าจีดีพีของ กัมพูชา (25,291 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ) และลาว (19,136 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

                 6.1.2 รายได้เฉลี่ยต่อหัว

                    ตาม Wikipedia ธนาคารโลกได้ประมาณรายได้เฉลี่ยต่อหัวของบรูไน จำนวน 27,466 ดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับ 38 ของโลก และสูงเป็นอันดับที่สองของอาเซียน รองลงมาจากสิงคโปร์ ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 13 ของโลก (59,789 ดอลลาร์สหรัฐ) และอยู่เหนือมาเลเซีย ซึ่งเป็นอันดับ 79 ของโลก (10,402 ดอลลาร์สหรัฐ)

                 6.1.3 ดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน

                    ตาม Global Competitiveness Report ได้รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเมื่อปี 2019 ปรากฏว่า บรูไนอยู่ในอันดับที่ 56 ของโลก ด้วยคะแนน 62.8 นับเป็นอันดับ 5 ของอาเซียน รองลงมาจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย

                        สิงคโปร์ได้คะแนน 84.8 อยู่อันดับที่ 1 ของโลก มาเลเซียได้ 74.6 อยู่อันดับที่ 27 ไทยได้ 68.1 คะแนน อยู่อันดับที่ 40 และอินโดนีเซีย ได้ 64.6 คะแนน อยู่อันดับที่ 50 ของโลก

                 6.1.4 ดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                    ตามWikipedia ดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปี 2019 บรูไนอยู่ในอันดับที่ 47 ของโลก ด้วยคะแนน 0.838 สูงเป็นอันดับสองของอาเซียน รองลงมาจากสิงคโปร์ ซึ่งได้คะแนน 0.938 อยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก  แต่สูงกว่ามาเลเซีย ซึ่งได้คะแนน 0.810 อยู่ในอันดับที่ 62 ของโลก

        6.2 รายได้หลักของประเทศ

          บรูไนมีรายได้หลักมาจากผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ราวร้อยละ 90 ของมูลค่าจีดีพี  ทำให้บรูไน เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศอาเซียน  ด้วยกำลังการผลิตวันละ 167,000 บาเรล  นอกจากนี้ บรูไน ยังเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติส่งออก มากเป็นอันดับ 9 ของโลก

            นิตยสาร Forbse ได้จัดให้บรูไน เป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดอันดับห้าของโลก จากด้านน้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ

       6.3 สินค้าออก

          สินค้าออกที่สำคัญของบรูไน คือน้ำมันดิบ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ เมทิลแอลกอฮอล์

       6.4 สินค้าเข้า

          สินค้าเข้าที่สำคัญของบรูไน คือเครื่องจักรกล และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ยานยนต์ สินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาหารสัตว์ที่มีชีวิต เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และผลิตภัณฑ์เคมี

7.สรุป

          ประเทศ บรูไน เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1984 นับเป็นประเทศขนาดเล็ก กล่าวคือ ในด้านพื้นที่ มีพื้นที 5,764 ตร.กม. มีขนาดเล็กเป็นอันดับสองของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ ซึ่งมีพื้นที่ 710 ตร.กม. และในด้านประชากร มีจำนวน 437,479 คน นับเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรที่น้อยที่สุดของอาเซียน คือมีประชากรจำนวน 437,479 คน

            อย่างไรก็ดี บรูไนมีความเจริญก้าวหน้าจนได้รับการยอมรับว่า เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นเดียวกันกับสิงคโปร์ กล่าวคือ บรูไน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว จำนวน 27,966 ดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร้อยละ 0.938 โดยบรูไนมีรายได้หลักมาจากผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ราวร้อยละ 90 ของมูลค่าจีดีพี

            ส่วนรูปแบบการปกครอง เป็นรัฐเดี่ยว มีระบอบการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบรัฐอิสลาม เนื่องจากเป็นประเทศขนาดเล็ก รัฐโดยกระทรวงเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารประเทศโดยตรง ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ในหัวข้อ ถาม-ตอบ สนุก กับดร.ชา 369 ท้ายบทความนี้

ถาม-ตอบ สนุก กับดร.ชา 369

          ถาม-ประเทศ บรูไน ตั้งอยู่ที่ใด

          ตอบ-ประเทศ บรูไน ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ซึ่งเป็นเกาะอยู่ในทะเลจีนใต้ บนเกาะบอร์เนียวดังกล่าว นอกจากประเทศ บรูไน แล้ว ยังมีรัฐซาราวัค และรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย และดินแดนส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียตั้งอยู่ด้วย

         ถาม- เกาะบอร์เนียวใหญ่ขนาดไหน

          ตอบ-เกาะบอร์เนียว เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดัน 3 ของโลก รองลงมาจากเกาะกรีนแลนด์ และเกาะนิวกินี บนเกาะบอร์เนียว เป็นที่ตั้งของ 3 ประเทศ คือพื้นที่บางส่วนของอินโดนีเซีย(กาลีมันตัน) พื้นที่บางส่วนของมาเลเซีย(รัฐซาราวัค และรัฐซาบาห์)  และบรูไน เป็นเกาะที่มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

            ถาม- สิงคโปร์กับบรูไน ประเทศใดเล็กกว่ากัน

          ตอบ- ในด้านพื้นที่ สิงคโปร์มีขนาดเล็กกว่า กล่าวคือสิงคโปร์มีพื้นที่เพียง 710 ตร.กม. ในขณะที่บรูไนมีพื้นที่ 5,764 ตร.กม. ส่วนในด้านประชากร บรูไนมีจำนวนน้อยกว่า กล่าวคือบรูไนมีประชากรจำนวนเพียง 437,479 คน ส่วนสิงคโปร์มีประชากรมากถึง 5,850,342 คน

            ถาม- รูปแบบการปกครองประเทศของบรูไน ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบรัฐอิสลามของมาเลย์ (Malay Islamic Monarchy) มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

          ตอบ- มีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ต้องยึดถือวัฒนธรรมมาเลย์ ต้องยึดถือศาสนาอิสลาม และต้องมีโครงสร้างทางการเมืองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

            ถาม- ทำไมจึงกล่าวว่า บรูไน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นเดียวกับสิงคโปร์

          ตอบ- เพราะบรูไน มีรายได้และดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เข้าเกณฑ์ของการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว กล่าวคือ บรูไนมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงมากถึง จำนวน 27,966 ดอลลาร์สหรัฐ และมีอัตราการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร้อยละ 0.938

            ถาม-รายได้หลักของบรูไน ได้มาจากอะไร

          ตอบ-รายได้หลักของบรูไนได้มาจากผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ราวร้อยละ 90 ของมูลค่าจีดีพี 

          ถาม- มีการค้นพบน้ำมันปิโตรเลียมที่บรูไน ตั้งแต่เมื่อใด

          ตอบ- มีการค้นพบเมื่อปีค.ศ.1929 ซึ่งทำให้บรูไนก้าวเข้าสู่ยุคใหม่

            ถาม-สุลต่านแห่งบรูไน ทรงดำรงตำแหน่งอะไรบ้าง นอกจากไปจากตำแหน่งสุลต่านซึ่งเป็นประมุขของประเทศ

            ตอบ- นอกจากตำแหน่งประมุขของประเทศแล้ว ยังทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและตำแหน่งอื่น ๆ อีกหลายตำแหน่ง ตามแต่พระองค์จะเห็นสมควร

            ถาม-เวลาการประชุมผู้นำสุดยอดอาเซียน สุลต่านแห่งบรูไน เข้าร่วมประชุมในฐานะอะไร

          ตอบ-เข้าประชุมในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารของประเทศ บรูไน มิใช่ในฐานะประมุขของประเทศ

                                                            ดร.ชา 369

                                                  15/08/21

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

6 COMMENTS

  1. ประเทศบรูไน มีรายได้อย่างอื่นนอกจากก๊าซธรรมชาติไหมคะ ขอบคุณค่ะ

  2. ดัชนีการแข่งขันของบรูไน เป็นอันดับ5ของอาเซียน
    หมายความว่า บรูไนมีการแข่งขันกับต่างชาติได้น้อย
    อาจารย์มีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไรคะ

    1. หมายความว่า แม้ในด้านดัชนีชี้วัดการแข่งขันของบรูไนไม่สูง แต่เขามีรายได้หลักมาจากพวกน้ำมั่นปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ จึงทำให้เขามีเงินรายได้สร้างความเจริญได้มาก

  3. ก่อนที่ประเทศบรูไนจะค้นพบน้ำมันดิบ ประชากรในประเทศประกอบอาชีพอะไรคะ

    1. สินค้าออกของบรูไนที่มีนาตั้งแต่ครั้งโบราณ ได้แก่ การบูร พริกไทย และทองคำ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: