86 / 100

สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป มีอะไรบ้าง (2) 2

“สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป เป็นบทความลำดับที่ 2 ของหมวด 15 เรื่องเล่า สหภาพยุโรป หรืออียู” โดยจะกล่าวถึง สหภาพยุโรปยุโรปคืออะไร สถาบันหลักของสหภาพยุโรป คณะมนตรียุโรปหรือการประชุมสุดยอดยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป รัฐสภายุโรป ศาลยุติธรรมยุโรป  สถาบันหลักอื่น ๆ  สรุปและข้อคิดเห็น ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 3

1. สหภาพยุโรปคืออะไร

          ก่อนจะกล่าวถึงสถาบันหลักของสหภาพยุโรปว่า มีอะไรบ้าง จำเป็นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า สหภาพยุโรปคืออะไรกัน มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่

            สหภาพยุโรปมิได้มีฐานะเป็นรัฐและไม่ได้มีฐานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ แต่มีคุณสมบัติบางประการคล้ายกับรัฐและองค์กรระหว่างประเทศ เพราะการรวมตัวของรัฐสมาชิกไม่ได้ทำให้เกิดรัฐใหม่ที่ทำให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจเบ็ดเสร็จของอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาคของรัฐอธิปไตย ที่มุ่งเน้นผลทางเศรษฐกิจและการเมือง

            สหภาพยุโรป คือครอบครัวของประเทศประชาธิปไตยในยุโรปที่มาทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาชีวิตของพลเมือง และเพื่อสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่า สหภาพายุโรปมิได้มีเจตจำนงจะเข้ามาแทนที่รัฐที่มีอยู่ แต่เป็นมากกว่าองค์กรระหว่างประเทศ

          สหภาพยุโรปมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเป็นการบูรณาการระดับภูมิภาค (regional integration) ของรัฐสมาชิก

2.สถาบันหลักของสหภาพยุโรป

ในบทความที่แล้ว สหภาพยุโหรืออียู มีความเป็นมาอย่างไร (1) ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของสหภาพยุโรปหรืออียูว่า เกิดจากแนวคิดที่ต้องการให้ประเทศในยุโรปรวมตัวเข้าเป็นหนึ่งเดียวในทำนองเดียวกันกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศรัฐรวม

สำหรับบทความนี้ ต้องการจะเล่าถึงสถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรปว่า ประกอบด้วยสถาบัน

อะไรบ้าง

            สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป ได้แก่

  • คณะมนตรียุโรปหรือที่ประชุมสุดยอดยุโรป (European Council)
  • คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of the European Council)
  • คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission)
  • รัฐสภายุโรป (European Parliament)
  • ศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice)
  • สถาบันหลักอื่น ๆ

          คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปหรือที่ประชุมสุดยอดยุโรป ถือเป็นองค์กรทางการเมืองสูงสุด (supreme political authority) ของสหภาพยุโรป มีโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ดังนี้

3.คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปหรือที่ประชุมสุดยอดยุโรป (European Council)

          3.1 โครงสร้าง

                        คณะมนตรียุโรปประกอบด้วย

                        3.1.1 ประมุขรัฐ (Head of States) หรือนายกรัฐมนตรี (Head of governments) ของรัฐสมาชิก

                        3.1.2 ประธานคณะมนตรียุโรป (President of the European Commission) ตำแหน่งนี้ถือเป็นตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดของสหภาพยุโรป เทียบเท่ากับประธานาธิบดีของสหภาพยุโรป (President of the European Union) ได้มาจากการเลือกขององค์คณะมนตรียุโรป มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี 6 เดือน

                   ประธานมนตรียุโรป เป็นผู้ผลักดันการดำเนินงานของคณะมนตรียุโรป และเป็นผู้แทนสหภาพยุโรปในเวทีการเมืองของโลก

                        3.1.3 ผู้แทนระดับสูงด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง ตำแหน่งนี้เปรียบเสมือนรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของสหภาพยุโรป ได้มาจากการเลือกขององค์คณะมนตรียุโรป เช่นเดียวกันกับประธานคณะมนตรียุโรป

            3.2 อำนาจหน้าที่

                        คณะมนตรียุโรปมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญอยู่สองประการคือ

                        3.2.1 การกำหนดแนวนโยบายกว้าง ๆ ของสหภาพยุโรป

                                    คณะมนตรียุโรปเป็นผู้กำหนดทิศทางของสหภาพยุโรป โดยจะมีการประชุมกันปีละประมาณ  4 ครั้ง ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม

                        3.2.2 การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพยุโรป

                                    คณะมนตรียุโรป มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพยุโรป ได้แก่

                  -ประธานคณะมนตรียุโรป

                  -ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป

                  -ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง

                  -ประธานธนาคารกลางแห่งยุโรป

4. คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of the European Union)

          คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป เป็นหน่วยงานหลักในกระบวนการตัดสินใจของสหภาพยุโรป ที่สะท้อนผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก โดยมีโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ดังนี้

            4.1 โครงสร้าง

                        คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป มีสมาชิกประกอบด้วย ผู้แทนของรัฐสมาชิกในระดับรัฐมนตรี

(Ministers) ถือเป็นสถาบันที่ไม่มีสมาชิกถาวร เพราะรัฐมนตรีที่เข้าประชุมแต่ละครั้งจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

                   ปัจจุบันรูปแบบของที่ประชุมคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป มีอยู่ 10 รูปแบบ คือ

                   4.1.1 กิจการทั่วไป

                        4.1.2 กิจการต่างประเทศ

                        4.1.3 เศรษฐกิจและการเงิน

                        4.1.4 กิจการยุติธรรมและมาตรการภายใน

                        4.1.5 กิจการด้านการจ้างงาน นโยบายสังคม สุขภาพและผู้บริโภค

                        4.1.6 ความสามารถในการแข่งขัน

                        4.1.7 การขนส่ง โทรคมนาคม และพลังงาน

                        4.1.8 การเกษตรและการประมง

                        4.1.9 สิ่งแวดล้อม

                        4.1.10 การศึกษาเยาวชน และวัฒนธรรม

            4.2 อำนาจหน้าที่

                        คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ อยู่ 7 ประการ คือ

                        4.2.1 เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก

                        4.2.2 มีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติร่วมกับรัฐสภายุโรป

                        4.2.3 ประสานนโยบายเศรษฐกิจของรัฐสมาชิก

                        4.2.4 ทำสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ

                        4.2.5 อนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป

                        4.2.6 ดูแลนโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง

                        4.2.7 ดูแลด้านเสรีภาพ ความมั่นคง และความยุติธรรม

5.คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission)

          คณะกรรมาธิการยุโรป เป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติของสหภาพยุโรป โดยมีโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

            5.1 โครงสร้าง

                   คณะกรรมาธิการยุโรป ประกอบด้วย

                        5.1.1 ประธานกรรมาธิการยุโรป จำนวน 1 คน ได้มาจากการเลือกของคณะมนตรียุโรปหรือที่ประชุมสุดยอดยุโรป

                        5.1.2 รองประธานกรรมาธิการยุโรป จำนวน 1 คน ซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง

                        5.1.3 กรรมาธิการยุโรปอีกจำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการเสนอชื่อของรัฐสมาชิก

                             คณะกรรมาธิการยุโรป จะต้องได้รับการรับรองจากรัฐสภายุโรป อยู่ในวาระคราวละ 5 ปี และจะต้องกล่าวปฏิญาณตนว่า จะปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระจากชาติของตน

            5.2 อำนาจหน้าที่

                        คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป มีอำนาจหน้าที่อยู่ 4 ประการ คือ

                        5.2.1 การบริหารจัดการและควบคุมงบประมาณของสหภาพยุโรป ร่วมกับศาลผู้ตรวจสอบบัญชีแห่งยุโรป

                        5.2.2 การใช้อำนาจนิติบัญญัติด้วยการเสนอร่างกฎหมายของสหภาพยุโรปต่อคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปและรัฐสภายุโรป

                        5.2.3 การดูแลให้รัฐสมาชิกปฏิบัติตามสนธิสัญญาของสหภาพยุโรป

                        5.2.4 การเป็นตัวแทนของสหภาพยุโรปในเวทีระหว่างประเทศ โดยทำหน้าที่แสดงจุดยืนของรัฐสมาชิกในภาพรวม

6. รัฐสภายุโรป (European Parliament)

รัฐสภายุโรป เมืองสตราบูร์ก ฝรั่งเสศ เป็นองต์กรหรือสถาบันหลักแห่งหน่ึงของสหภาพยุโรป (Wikipedia, Ueropean Parliament, 5th January 2023)
รัฐสภายุโรป เมืองสตราบูร์ก ฝรั่งเสศ เป็นองค์กรหรือสถาบันหลักแห่งหน่ึงของสหภาพยุโรป (Wikipedia, Ueropean Parliament, 5th January 2023)

          รัฐสภายุโรป มีการประชุมกัน ณ เมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส เดือนละ 3-4 วัน มีโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ดังนี้

            6.1 โครงสร้าง

                   รัฐสภายุโรป ประกอบด้วยสมาชิกสภายุโรป จำนวน 750 คน จากทุกประเทศสมาชิก มีจำนวนมากน้อยตามสัดส่วนประชากรของแต่ละประเทศ แต่ไม่น้อยกว่า 6 คน และไม่มากกว่า 96 คน โดยได้รับเลือกตั้งโดยตรง (direct universal suffrage) อยู่ในวาระคราวละ 5 ปี

                ประเทศที่มีจำนวนสมาชิกรัฐสภายุโรปมากที่สุดคือ เยอรมนี มีจำนวน 96 คน และประเทศที่มีจำนวนสมาชิกรัฐสภายุโรปน้อยที่สุด คือ มอลตา มีจำนวน 6 คน

            6.2 อำนาจหน้าที่

                   รัฐสภายุโรปมีอำนาจหน้าที่ 3 ประการคือ

                        6.2.1 การมีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติ

                                    รัฐสภายุโรปใช้อำนาจร่วมกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปในการพิจารณาร่างกฎหมายของสหภาพยุโรป ที่คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอ แต่สมาชิกรัฐสภายุโรปไม่มีอำนาจในการเสนอร่างกฎหมายเอง

                        6.2.2 การใช้อำนาจตรวจสอบสถาบันอื่น ๆ

                                    รัฐสภายุโรปมีอำนาจในการาตรวจสอบสถาบันอื่น ๆ ของสหภาพยุโรปหลายกรณี เช่น

  • การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมาธิการยุโรป
  • การตรวจสอบการทำงานของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
  • การแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสหภาพยุโรป ( European Ombudsman)

6.2.3 การอนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป

            งบประมาณของสหภาพยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

            ส่วนแรก คือ งบประมาณรายจ่ายที่จำเป็น (compulsory spending)

          เป็นงบประมาณที่เกิดจากสนธิสัญญาของสหภาพยุโรปและข้อตกลงระหว่างประเทศ อำนาจในการตัดสินใจในการอนุมัติงบประมาณส่วนนี้ คือ คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป

            ส่วนที่สอง คือ งบประมาณรายจ่ายที่ไม่จำเป็น (non-compulsory spending)

            เป็นงบประมาณในส่วนที่รัฐสภายุโรปมีอำนาจในการตัดสินใจอนุมัติ

            งบประมาณทั้งสองส่วน จะมีผลใช้บังคับต่อเมื่อประธานรัฐสภายุโรปได้ลงให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายงบประมาณแล้ว

7. ศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice)

ศาลยุติธรรมยุโรป ตั้งอยู่ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก (Wikipedia, European Coutr of Justice,5th January 2023)
ศาลยุติธรรมยุโรป ตั้งอยู่ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก (Wikipedia, European Coutr of Justice,5th January 2023)

          ศาลยุติธรรมยุโรป ตั้งอยู่กรุงลักเซมเบิร์กซิตี้ ประเทศลักเซมเบิร์ก เป็นศาลที่มีอำนาจสูงสุดในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับกฎหมายของสหภาพยุโรป มีโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

7.1 โครงสร้าง

                   ศาลยุติธรรมยุโรป ประกอบด้วยผู้พิพากษา(Judges) จากรัฐสมาชิก แห่งละ 1 คน และผู้ช่วยผู้พิพากษา (Advocates-General) จำนวน 8 คน มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี

                        ประเภทคดีที่จะนำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมยุโรปมีอยู่ 6 ประเภท คือ

                        7.1.1 การตีความกฎหมาย

                        7.1.2 กรณีรัฐสมาชิกไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของสหภาพยุโรป

                        7.1.3 กรณีสถาบันของสหภาพยุโรปหรือพลเมืองร้องขอให้กฎหมายไม่มีผลบังคับใช้

                        7.1.4 กรณีสถาบันต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญา

                        7.1.5 กรณีบุคคลหรือบรรษัทได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของประชาคมหรือเจ้าหน้าที่ประชาคม

                        7.1.6 กรณีที่มีการอุทธรณ์ประเด็นทางกฎหมาย

            7.2 อำนาจหน้าที่

                   ศาลยุติธรรมยุโรปมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ 2 ประการ

                        7.2.1การสร้างเอกภาพทางกฎหมายของประเทศสหภาพยุโรป

                        7.2.2 การควบคุมให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายของสหภาพยุโรป

8.สถาบันหลักอื่น ๆ ของสหภาพยุโรป

          นอกเหนือไปจากสถาบันหลัก จำนวน 5 สถาบันดังกล่าว คือ คณะมนตรียุโรปหรือที่ประชุมสุดยอดยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป รัฐสภายุโรป และศาลยุติธรรมยุโรป แล้ว สหภาพยุโรปยังมีสถาบันหลักอื่น ๆ ดังนี้ คือ

            8.1 ธนาคารกลางแห่งยุโรป (European Central Bank)

                   ธนาคารกลางแห่งยุโรป ตั้งอยู่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต  ประเทศเยอรมนี

            8.2 ศาลผู้ตรวจสอบบัญชีแห่งยุโรป (European Court of Auditors)

                   ศาลผู้ตรวจสอบบัญชีแห่งยุโรป มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก

            8.3 คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Committee)

                   คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม มีสำนักงานตั้งอยู่ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

9.สรุป

          สหภาพยุโรปมิได้มีฐานะเป็นรัฐ และมิได้มีฐานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ แต่มีคุณสมบัติบางอย่างของรัฐและองค์กรระหว่างประเทศรวมกัน กล่าวคือ สหภาพยุโรป เป็นการรวมตัวของรัฐสมาชิกเพื่อให้เกิดเอกภาพในทางการเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของรัฐสมาชิก แต่มิได้มีเจตจำนงที่จะสร้างรัฐอธิปไตยใหม่ขึ้นมาเหนือรัฐสมาชิกที่มีอยู่ เหมือนอย่างประเทศรัฐรวมอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา

            ดังนั้น เพื่อให้เกิดเอกภาพในทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิก ซึ่งมีจำนวนมากถึง 27 รัฐ จำเป็นต้องมีการสร้างองค์กรหรือสถาบันของสหภาพยุโรปขึ้นมา ภายใต้ความตกลงและยินยอมของรัฐสมาชิกในรูปแบบของการทำสนธิสัญญา

            สถาบันหลักของสหภาพยุโรป ได้แก่

            -คณะมนตรียุโรปหรือที่ประชุมสุดยอดยุโรป

            -คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป

            -คณะกรรมาธิการยุโรป

            -รัฐสภายุโรป

            -ศาลยุติธรรมยุโรป

            -ศาลผู้ตรวจสอบบัญชีแห่งยุโรป

          -ธนาคารกลางแห่งยุโรป

            สำหรับข้อมูลและความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาอ่านได้ในหัวข้อ ถาม-ตอบ สนุกกับดร.ชา 369 ท้ายบทความนี้

เอกสารอ้างอิง

จิรเดช มหาวรรณกิจ, สถาบันหลักและกระบวนการตัดสินใจของสหภาพยุโรป,ในบูรณาการสหภาพยุโรป,วิมลวรรณ ภัทโรดม(บก.)(พิมพ์ครั้งที่ 2),ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย, 2652.

ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369

          1.ถาม-ทำไมจึงกล่าว สหภาพยุโรป มิได้มีฐานะเป็นรัฐรวมเหมือนอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา

                    สหภาพยุโรป เกิดจากรัฐในทวีปยุโรปต้องการรวมตัวกันเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและความเข้มแข็งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ไม่มีเจตจำนงถึงขั้นที่จะสร้างรัฐใหม่ขึ้นมาในรูปแบบของรัฐรวมอย่างสหรัฐอเมริกา  

                        อย่างไรก็ดี สหภาพยุโรปมีคุณสมบัติบางประการของรัฐรวมและองค์กรระหว่างประเทศ

          2.ถาม-พอจะเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างสหภาพยุโรปกับรัฐรวมอย่างสหรัฐอเมริกาได้ไหม

                    ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคือ สหภาพยุโรปไม่มีรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรปเหมือนอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เกิดรัฐบาลสองระดับ คือ รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลมลรัฐ  โดยมีการแบ่งอำนาจหน้าที่ชัดเจนไว้ในรัฐธรรมนูญว่า อำนาจใดเป็นของรัฐบาลกลาง อำนาจส่วนที่เหลือคืออำนาจของรัฐบาลมลรัฐ

                        ส่วนสหภาพยุโรป แม้จะมีการจัดตั้งสถาบันหลักของสหภาพยุโรปขึ้นมาหลายสถาบัน แต่สถาบันเหล่านี้จะมีอำนาจได้เท่าที่รัฐสมาชิกยินยอมให้มีได้เท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจของตนเองตามรัฐธรรมนูญ

          3.ถาม-คณะมนตรียุโรปคืออะไร มีอำนาจหน้าที่อะไร

                    คณะมนตรียุโรป (European Council) เป็นที่ประชุมสุดยอดยุโรป (European Summit) ถือเป็นองค์กรการเมืองสูงสุดของสหภาพยุโรป โครงสร้างประกอบด้วย ประมุขแห่งรัฐหรือนายกรัฐมนตรีของรัฐสมาชิก และประธานกรรมาธิการสหภาพยุโรป  มีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายกำหนดทิศทางหรือกำหนดนโยบายกว้าง ๆ ของสหภาพยุโรป ปกติจะมีการประชุมกันปีละ 4 ครั้ง ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

                    ประธานคณะมนตรียุโรป ถือเป็นตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดของสหภาพยุโรป เปรียบเสมือนตำแหน่งประธานาธิบดีของสหภาพยุโรป

          4.ถาม-คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป คืออะไร มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญอย่างไร แตกต่างไปจากคณะมนตรียุโรปอย่างไร

                    คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of the European Union) เป็นหน่วยงานหลักในกระบวนการตัดสินใจของสหภาพยุโรป โครงสร้างประกอบด้วย ผู้แทนจากรัฐสมาชิกในระดับรัฐมนตรี ในการประชุมแต่ละครั้ง ผู้ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม คือรัฐมนตรีของรัฐสมาชิกที่มีวาระเป็นประธานสหภาพยุโรป (Presidency of the European Union) โดยมีสำนักงานเลขาธิการแห่งสภาพยุโรปเป็นหน่วยงานรองรับการปฏิบัติงาน

                    มีอำนาจหน้าที่หลักเป็นตัวแทนรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรป

            5.ถาม-คณะกรรมาธิการยุโรปคืออะไร มีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญอย่างไร

                    คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission)  เป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติของสหภาพยุโรป ประกอบด้วย ประธานกรรมาธิการยุโรป จำนวน 1 คน รองประธานกรรมาธิการยุโรป จำนวน 1 คน และกรรมาธิการที่ได้มาจากการเสนอชื่อของรัฐสมาชิกอีก จำนวน 25 คน มีอำนาจหน้าที่หลัก คือ เป็นฝ่ายบริหารจัดการและควบคุมงบประมาณ เป็นผู้เสนอร่างกฎหมายของสหภาพยุโรป ดูแลรัฐสมาชิกให้ปฏิบัติตามสนธิสัญญาของสหภาพยุโรป และเป็นตัวแทนรัฐสมาชิกในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

            6.ถาม-รัฐสภายุโรป มีโครงสร้างและอำนาจหน้าที่หลักอย่างไร

                    รัฐสภายุโรป (European Parliament) ประกอบด้วยประธานรัฐสภา 1 คน และสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากรัฐสมาชิก จำนวนไม่เกิน 750 คน มีอำนาจหน้าที่ร่วมกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปในการพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป การอนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป และการตรวจสอบสถาบันอื่น ๆ ของสหภาพยุโรป

                        รัฐสภายุโรป ประชุมกันที่เมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส

          7.ถาม-ศาลยุติธรรมยุโรปคืออะไร มีอำนาจหน้าที่หลักอะไร

                    ศาลยุติธรรมยุโรป ( European Court of Justice) ตั้งอยู่ที่กรุงลักเซมเบิร์กซิตี้ ประเทศลักเซมเบิร์ก โครงสร้างประกอบด้วย ผู้พิพากษาจากรัฐสมาชิกรัฐละ 1 คน และผู้ช่วยผู้พิพากษา จำนวน จำนวน 8 คน  มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินคดีตามกฎหมายของสหภาพยุโรป การสร้างเอกภาพกฎหมายของสหภาพยุโรป และควบคุมให้ทุกฝ่ายให้ปฏิบัติตามกฎหมายของสหภาพยุโรป

          8.ถาม-ศาลผู้ตรวจสอบบัญชีสหภาพยุโรปคืออะไร มีอำนาจหน้าที่หลักอย่างไร

                    ศาลผู้ตรวจสอบบัญชีสหภาพยุโรป มีสมาชิกจำนวน 27 คนซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบบุคคลหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการใช้งบประมาณของสหภาพยุโรป

          ถาม-ธนาคารกลางแห่งยุโรปคืออะไร มีอำนาจหน้าที่อะไร

                    ธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป ตั้งอยู่ที่ นครแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี มีอำนาจในการรักษาเสถียรภาพของราคา ควบคุมอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และวางกรอบนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป

                                                                        ดร.ชา 369

                                                              5 มกราคม 2566

สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป มีอะไรบ้าง (2) 3

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)(New***) 6

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)(New***)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18) 9

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18)

ชาว ไทย ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอุ้มหาย

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: