68 / 100

หัวข้อที่ผมจะนำมาเล่าประกอบด้วย ภูมิหลัง แนวคิดเบื้องต้น ประเภทของจิต การวิเคราะห์ปัญหาและการกำหนดเป้าหมาย  หลักการเบื้องต้นของการฝึก การทำให้รู้สึกผ่อนคลายและตกอยู่ในภวังค์ การออกคำสั่งจิตใต้สำนึกและการสร้างมโนภาพ การประเมินผลและการปรับเป้าหมาย สรุปและข้อคิดเห็นปิดท้าย โดยในบทความ (1) ได้กล่าวถึงภูมิหลังของผมในการฝึกสั่งจิตใต้สำนึก ตลอดระยเวลา 37 ปีที่ผ่านมา

  สำหรับบทความ (2) นี้ เป็นการเล่าเรื่องถึงแนวความคิดเบื้องต้นที่ควรทราบของการสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อความสำเร็จและความสุข ประกอบด้วย ความฝันหรือวิสัยทัศน์ คิดใหญ่หรือคิดเล็ก คิดบวกหรือคิดลบ อุปนิสัย 7 และอิทธิบาท 4  โดยแนวคิดในบทความ (2) จะเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้าใจให้ท่านผู้อ่านในบทความต่อ ๆ ไป

1.ความฝันหรือวิสัยทัศน์

ความฝัน (Dream)    

              ทุกคนย่อมมีความฝันว่า ในอนาคตตนอยากเป็นอะไร หรืออยากได้อะไร เช่น ฝันว่าโตขึ้นอยากประกอบอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับราชการ อยากมีบ้านหลังใหญ่ ๆ อยากมีรถยนต์ยี่ห้อดัง อยากเที่ยวรอบโลก อยากถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 เป็นต้น

            จะเห็นได้ว่า ความฝันเป็นความรู้สึกอยากได้  อยากเป็นขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องคิดหรือวิเคราะห์ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ปกติความฝันเป็นเรื่องของบุคคล ไม่ใช่เรื่องของหน่วยงาน

       วิสัยทัศน์ (Vision)

        วิสัยทัศน์ เป็นการมองถึงจุดมุ่งหมายในอนาคตข้างหน้าว่า เราต้องการจะเป็นอะไร ต้องการจะไปถึงจุดไหน แต่ไม่ใช่การคิดขึ้นมาลอย ๆ เพราะก่อนจะกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ จะต้องมีการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ โดยพิจารณาจากจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค

          วิสัยทัศน์ มีทั้งวิสัยทัศน์ระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว

            ปกติ วิสัยทัศน์มักจะเป็นเรื่องขององค์กร หรือหน่วยงาน แต่บุคคลก็อาจมีวิสัยทัศน์ได้

       ตัวอย่างวิสัยทัศน์

            องค์กร ก จะเป็นหน่วยงานหลักด้านพลังงานของชาติ ภายใน 20 ปี

            องค์กร ข จะเป็นหน่วยงานหลักด้านความมั่นคงภายในของชาติ ภายใน 30 ปี

            บริษัท ค จะเป็นบริษัทชั้นนำของอาเซียนด้านอุตสาหกรรมเกษตร ภายใน 25 ปี

          ปัญหาคือ ควรจะนำความฝันลอย ๆ หรือควรจะนำวิสัยทัศน์ไปใช้ในการสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อความสำเร็จและความสุข

          ผมมีความเห็นว่า หากต้องการประสบความสำเร็จ ก็ควรจะนำวิสัยทัศน์ไปใช้ในการสั่งจิตใต้สำนึก เพราะวิสัยทัศน์มีความเป็นไปได้ในการที่จะขับเคลื่อนหรือผลักดันให้เกิดความสำเร็จได้จริง ส่วนความฝันลอย ๆ โอกาสจะทำสำเร็จได้จริงมีน้อย จึงไม่ควรจะเสียเวลาเอาไปใช้ในการสั่งจิตใต้สำนึก

2.คิดใหญ่หรือคิดเล็ก

        ความคิดในการกำหนดเป้าหมาย อาจแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

       การคิดใหญ่

            การคิดใหญ่ หมายถึง การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะบรรลุเอาให้ใหญ่ไว้ก่อน เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้าในการไปสู่จุดหมาย การคิดลักษณะเช่นนี้ เป็นที่นิยมของคนตะวันตก เช่น

          จอห์น เอฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 35 ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี ค.ศ.1961-1963 ได้กำหนดเป้าหมายจะส่งคนไปเหยียบดวงจันทร์ ซึ่งมีระยะทางห่างจากโลกของเราประมาณ 384,403 กิโลเมตร ให้ได้เป็นชาติแรก แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้นำประเทศอย่างประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี และก็สามารถทำได้สำเร็จในยุคริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 37 โดยยานอพอลโล 2 ได้นำมนุษย์อวกาศเหยียบลงบนดวงจันทร์ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ.1969

ด้วยการคิดใหญ่ ของจอห์น เอฟ.เคนเนดี ทำให้อเมริกาสามารถส่งมนุษย์อวกาศไปเหยียบดวงจันทร์ได้เป็นชาติแรกของโลก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 1969
ด้วยการคิดใหญ่ ของจอห์น เอฟ.เคนเนดี ทำให้อเมริกาสามารถส่งมนุษย์อวกาศไปเหยียบดวงจันทร์ได้เป็นชาติแรกของโลก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 1969

       การคิดเล็ก

          ชาวเอเชีย อย่างชาวญี่ปุ่น ความคิดในการกำหนดเป้าหมายจะตรงข้ามกับชาวตะวันตก โดยตามหลักวิถีไคเซ็น ชาวญี่ปุ่นเชื่อในเรื่องของการคิดเล็ก กล่าวคือ หากต้องการความสำเร็จขอให้คิดเล็ก ๆ เมื่อคิดเล็กแล้ว ขอให้มีการกระทำเล็ก ๆ เพื่อจะได้มีความสำเร็จเล็ก ๆ และเมื่อมีความสำเร็จเล็ก ๆ แล้วก็ให้มีการฉลองหรือการให้รางวัลเล็ก ๆ

            ความเชื่อตามวิถีไคเซ็นของชาวญี่ปุ่น เป็นไปตามหลักการค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องก้าวกระโดด ซึ่งเป็นความคิดที่ตรงกันข้ามกับชาวตะวันตกที่ต้องการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

      การคิดแบบสายกลาง

          สำหรับคนไทยมีสุภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า “นกน้อยให้ทำรังแต่พอตัว” เป็นการสอนว่า ทำอะไรก็อย่าทำเกินตัว ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่ทรงสอนว่า การจะทำอะไรขอให้เดินสายกลาง กล่าวคือ ต้องรู้จักประมาณ ต้องมีเหตุผล และต้องมีภูมิคุ้มกัน ( มีความรู้คู่คุณธรรม)

            ท่านผู้อ่านชอบการคิดแบบใด ขอให้พิจารณาดู แต่ถ้าถามความเห็นของผม น่าจะเป็นการคิดแบบสายกลาง ไม่ใหญ่ ไม่เล็ก คิดตามความพอเหมาะพอควร หากมีการผิดพลาดจะได้ไม่เจ็บมาก

3.คิดบวกหรือคิดลบ

          การกำหนดเป้าหมายในการสั่งจิตใต้สำนึกนั้น อาจจะสั่งด้วยความคิดบวก หรือความคิดลบก็ได้

          การคิดบวก คือ การคิดในเชิงสร้างสรรค์ ไม่ทำลายผู้ใด ทั้งตนเองและผู้อื่น
การคิดบวก ทำให้คนเราสามารถทำในสิ่งที่สวยงามและยากยิ่งได้
การคิดบวก ทำให้คนเราสามารถทำในสิ่งที่สวยงามและยากยิ่งได้
         การคิดลบ คือ การคิดในทางตรงกันข้ามกับการคิดบวก เป็นการคิดในเชิงทำลาย  อาจเป็นการทำลายตนเอง หรืออาจทำลายผู้อื่น หรือทั้งสองอย่าง

            ในการสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อความสำเร็จและความสุข ควรจะใช้ความคิดด้านบวกเป็นเป้าหมาย

            ตัวอย่างของความคิดด้านบวก

            กำหนดเป้าหมาย จะเรียนให้จบได้รับปริญญาเกียรตินิยม

            กำหนดเป้าหมาย จะเก็บเงินให้ได้เดือนละ 10,000 บาท หรือปีละ 120,000 บาท

            กำหนดเป้าหมาย จะมีบ้านเป็นของตนเองภายในเวลา 5 ปี

ฯลฯ

          ตัวอย่างของการคิดลบ

          ต้องการร่ำรวยเป็นเศรษฐี โดยไม่คำนึงว่าจะได้เงินมาโดยทางใด ถูกกฎหมายหรือถูกทำนองคลองธรรมหรือไม่

          ผมเห็นว่า ความคิดที่ควรจะนำมาใช้ในการสั่งจิตใต้สำนึก ต้องเป็นความคิดด้านบวกเท่านั้น เพราะความคิดที่เป็นบวก ย่อมจะนำไปสู่การกระทำที่ถูกต้อง ไม่ผิดกฎหมายหรือขนบประเพณีศีลธรรมอันดีงาม

4.อุปนิสัยที่นำไปสู่ความสำเร็จอย่างสูง 7 ประการ

          การที่คนเราจะประสบความสำเร็จในอาชีพการงานหรือการดำรงชีวิตได้มากน้อยเพียงใด อุปนิสัยเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ เพราะอุปนิสัยเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมหรือการกระทำ และพฤติกรรมหรือการกระทำเป็นตัวบ่งบอกว่า เส้นทางในอนาคตของบุคคลจะเป็นอย่างไร

     อุปนิสัยที่นำไปความสำเร็จอย่างสูง 7 ประการ

          สตีเฟน อาร์ โควีย์ (Stephen R. Covey,24 ตุลาคม 1932-16 กรกฎาคม 2012) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อชาวโลกมากในยุคก่อนที่จะสิ้นศตวรรษที่ 20 นั่นคือ The7 Habits of Highly Effective People, 1989 ซึ่งอาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “อุปนิสัย 7 ประการที่ทำให้บุคคลสามารถประสบความสำเร็จได้เป็นอย่าสูง” หนังสือเล่มนี้นับเป็นหนังสือในด้านการพัฒนาตนเองเล่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 34 ภาษา และมียอดจำหน่ายไปแล้วมากกว่า 25 ล้านเล่ม

สตีเฟน อาร์ โควีย์(Stephen R. Covey : 1932-2012) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือยอดนิยมด้านการพัฒนาตน อุปนิสีย 7 ประการ
สตีเฟน อาร์ โควีย์(Stephen R. Covey : 1932-2012) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือยอดนิยมด้านการพัฒนาตน อุปนิสีย 7 ปรการ

            เขากล่าวว่า บุคคลที่ต้องการจะประสบความสำเร็จอย่างสูงต้องสร้างอุปนิสัย 7 ประการ คือ

            ประการแรก ต้องเริ่มลงมือก่อน (Be Proactive) หมายความว่า หากต้องการความสำเร็จ เราต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นก่อนเพื่อให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้

            ประการที่สอง ต้องเริ่มด้วยการสร้างภาพความสำเร็จไว้ในใจ (Begin with the End in the Mind.)

          ประการที่สาม ต้องจัดเรียงลำดับความสำคัญ สิ่งใดสำคัญต้องทำก่อน (Put First Things First)

          ประการที่สี่ คิดแบบประสบชัยชนะด้วยกัน (Think Win-Win)

          ประการที่ห้า หากอยากให้คนอื่นเข้าใจเรา เราต้องเข้าใจเขาก่อน (Seek First to Understand, Then to Be Understood.)

          ประการที่หก สร้างความแข็งแกร่งจากความแตกต่าง (Synergize)

          ประการที่เจ็ด ลับใบเลื่อยไว้ให้คมเสมอ (Sharpen the Saw.)

          ผมเห็นว่า การสั่งจิตใต้สำนึกสอดคล้องกับอุปนิสัยประการที่สอง กล่าวคือ เราสามารถสั่งจิตใต้สำนึกให้จดจำภาพแห่งความสำเร็จซึ่งเป็นเป้าหมายที่เราต้องการไว้ล่วงหน้าให้ขึ้นใจ  เพื่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนไปในทิศทางและเป้าหมายที่เราต้องการอย่างแท้จริง

5.อิทธิบาท 4 คุณธรรมที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

          พระพุทธองค์ได้ทรงสอนไว้ว่า คุณธรรมที่จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จ เรียกว่า อิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา

            ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในกิจที่จะทำ

            วิริยะ คือ ความขยันหมั่นเพียรในกิจที่จะทำ ไม่ย่อท้อ

            จิตตะ คือ ความมีใจจดจ่อในกิจที่จะทำ ไม่หันเหไปทางอื่นจนกว่าจะประสบความสำเร็จ

            วิมังสา คือ การรู้จักพิจารณาไตร่ตรอง หาเหตุผลว่า อะไรคือปัญหาอุปสรรค และอะไรคือแนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหา

            ผมเห็นว่า การสั่งจิตใต้สำนึกสอคล้องกับหลักอิทธิบาท 4 ประการที่สอง คือ จิตตะ กล่าวคือ เรา สามารถสั่งจิตใต้สำนึกเพื่อสร้างจิตตะ คือ ความมีจิตใจจดจ่อในกิจที่เราจะทำ

6.สรุปและข้อคิดเห็น

          แนวคิดในบทความนี้ ได้แก่ ความฝันหรือวิสัยทัศน์ คิดใหญ่หรือคิดเล็ก คิดบวกหรือคิดลบ อุปนิสัย7 ประการ และอิทธิบาท 4 จะใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการอธิบายและสร้างความเข้าใจให้แก่ท่านผู้อ่านในบทความของชุดประสบการณ์สั่งจิตใต้สำนึกเพื่อความสำเร็จและความสุข

           หากไม่ททราบแนวคิดพื้นฐานในการสั่งจิตใต้สำนึก อาจจะทำให้เราเข้าใจผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า หากการสั่งจิตใต้สำนึกดีจริงหรือได้ผล ทำไมฉันลองทำดูแล้ว ไม่เห็นได้ผลเหมือนอย่างที่มีกล่าวไว้ในหนังสือหรือในบทความ หรือแม้แต่ในคำสอนของคนรุ่นใหม่ที่เรียกตัวเองว่า โค้ช

           ดังนั้น หากอยากทราบว่า กระบวนการสั่งจิตใต้สำนึกจะต้องทำอย่างไร มีเงื่อนไขและข้อจำกัดอย่างไร กรุณาติดตามบทความในชุดประสบการณ์สั่งจิตใต้สำนึกเพื่อความสำเร็จและความสุขจนครบทุกบทความ เพราะแต่ละบทความมีเนื้อหาเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างกใกล้ชิด

            ขอบคุณทุกท่านครับ พบกันใหม่ในบทความต่อไป คือ (3) ประเภทของจิต

          ดร.ชา

          15/06/20

          “หากบทความนี้ถูกใจท่าน และท่านมีความประสงค์จะสนับสนุนให้บทความนี้แพร่หลายออกไป กรุณามีส่วนร่วมด้วยการกดไลค์ กดแชร์ไปยังกลุ่มบุคคลหรือบุคคลในเครือข่ายของท่าน หรือแสดงความคิดเห็น รวมทั้งสมัครเป็นผู้ติดตามได้ตามอัธยาศัย และขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

         กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเพจ การสมัครเป็นผู้ติดตามและการมีส่วนร่วม ของเว็บไซต์นี้ คือ รวมเรื่องเล่า สนุกและสร้างสรรค์ ชุดประสบการณ์นักปกครองที่น่าสนใจ (https://tridirek.com)

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)(New***) 2

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)(New***)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18) 5

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18)

ชาว ไทย ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอุ้มหาย

6 COMMENTS

  1. เรื่องการสั่งจิตใต้สำนักยิ่งอ่านยิ่งสนุกค่ะ

    1. ก็เป็นเจตนาของเว็บ รวมเรื่องเล่า สนุกและสร้างสรรค์ ชุดประสบการณ์นักปกครอง ที่น่าสนใจ อยูู่แล้ว ที่ต้องการให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกสนุกและเพลิดเพลิน ในขณะเดียวกัน ก็จะได้แนวคิดหรือแนวทางดี ๆ
      ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันของผู้อ่าน อย่างคุณเพ็ญเองก็สนใจเรื่องนี้อยู่แล้ว หากติดตามอ่านจนจบทุกบทความในชุดประสบการณ์การสั่งจิตใต้สำนึก น่าจะเกิดแนวคิดอะไรใหม่ ๆ บางอย่างก็ได้

  2. จินตนาการอยู่เหนือความรู้ ความฝันอยู่ที่ประสบการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นไปตามวาสนา แต่ก็เห็นด้วยคะ ความฝันควรเป็นไปได้ตามวิสัยทัศน์ คือเป็นกรอบหรือเส้นทางแล้วมีประสบการณ์ใดๆๆบ้างที่ใช้จิตสำนึก ในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จบ้างคะ

    1. ขอบคุณ ท่านผศ.ดร.กาญจนา ที่กรุณาแสดงความคิดเห็น แต่ผมไม่แน่ใจในคำถามต่อท้ายว่า เป้นคำถามเกี่ยวกับจิตสำนึก หรือจิตใต้สำนึก ดังนั้น ผมขอตอบรวมกันว่า
      จิตสำนึกกับจิตใต้สำนึกมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด จิตสำนึกเป็นจิตในขณะที่เราตื่นหรือรู้สึกตัว มีสติ หาเหตุหาผลได้ ส่วนจิตใต้สำนึกเป้นจิตที่ผังลึกลงไป เป็นจิตที่ทำหน้าที่โดยไม่ต้องหาเหตุหาผล ไม่ต้องนึกคิด ทำไปโดยอัตโนมัติ หรือตามความเคยชิน หากจะเปรียบเทียบกับการทำงาน จิตสำนึกเป็นฝ่าบบริหารหรือฝ่ายนโยบาย ส่วนจิตใต้สำนึกเป็นฝ่ายประจำ
      ในบทความต่อไปจะได้เล่าถึงเรื่องประเภทของจิตในรายละเอียด

      1. จิตใต้สำนึกอยู่ภายใต้ จิตสำนึกไหมคะ มีจิตสำนึกอย่างไรเก็บเอามา ฝันจากจิตใต้สำนึกรึป่าว งงๆๆ

        1. ความเข้าใจของท่านผศ.ดร.กาญจนา ถูกต้อง กล่าวคือ จิตสำนึกมีฐานะเสมือนนายของจิตใต้สำนึก เพราะสามารถออกคำสั่งจิตใต้สำนึกได้ แต่การออกคำสั่งต้องกระทำซ้ำ ๆ จิตใต้สำนึกจึงจะยอมรับ กรณีใดที่เคยทำมา หากไม่มีคำสั่งใหม่จากจิตสำนึก จิตใต้สำนึกก็จะปฏิบัติเหมือนอย่างเคย โดยออกมาในรูปของอุปนิสัยหรือความเคยชินของบุคคลในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของพวกเรา ส่วนความฝันประเภที่เกิดจากเรานึกคิดบ่อย ๆ ก็เท่ากับเป็นการอออกคำสั่งจิตใต้สำนึกอย่างหน่ึง และอาจจะแสดงออกมาให้เราเห็นในรูปของความฝัน แต่ความฝันบางกรณีเกิดขึ้นได้เองโดยที่เราไม่เคยคิดถึงเลย อย่างที่เรียงว่า ลางสังหรณ์

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: