กลยุทธ์ไปสู่ ความสำเร็จ ในการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ ของไทย (14)(New***) 1

กลยุทธ์ไปสู่ ความสำเร็จ ในการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ ของไทย (14)(New***)

กลยุทธ์ไปสู่ ความสำเร็จ ในการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ ของไทย เป็นบทความลำดับที่ 14 ของหมวด 2 ประสบการณ์ในการบริหารและแก้ปัญหาในภาวะวิกฤต โดยจะกล่าวถึง ความนำ กลยุทธ์แห่งความสำเร็จในการต่อสู้เอชนะโรคโควิด-19 ระบาดรอบแรก ผลกระทบจากกลยุทธ์แห่งความสำเร็จในการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 รอบแรก ข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 ในไทยรอบใหม่ กลยุทธ์ไปสู่ความสำเร็จในการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ เปรียบเทียบข้อแตกต่างของมาตรการรอบแรกและรอบใหม่  สรุป และคุยกับดร.ชา 1.ความนำ           เหตุการณ์ในบ้านเมืองเราในช่วงเวลาหลังขึ้นปีใหม่ 2564 คงไม่มีอะไรที่อยู่ในความสนใจของประชาชนคนไทยทุกภาคส่วนมากเท่ากับการระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดที่แพกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร หลังจากนั้นก็ได้มีการแพร่ระบาดไปทั่วประเทศอีกหลายจังหวัดอย่างรวดเร็ว            ต่อมาก็มีข่าวการแพร่ระบาดจากการมั่วสุมเล่นการพนันในบางจังหวัด เช่น ระยอง กรุงเทพมหานคร ชลบุรี จันทบุรี รวมทั้งมีการแพร่ระบาดจากการจัดงานปาร์ตี้ในอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่             การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ในไทยนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการแพร่ระบาดรอบแรกแล้ว…

หลักการและเหตุผล ในการต่อสู้เอาชนะโรควิด-19 ระบาดในไทยรอบใหม่(13)(New***) 2

หลักการและเหตุผล ในการต่อสู้เอาชนะโรควิด-19 ระบาดในไทยรอบใหม่(13)(New***)

หลักการและเหตุผล ในการต่อสู้เอาชนะโรควิด-19 ระบาดในไทยรอบใหม่ เป็นบทความลำดับที่ 13 ของหมวด 2 ประสบการณ์ ในการบริหารและแก้ปัญหาในภาวะวิกฤต ว่าด้วย หลักการและเหตุผล ตลอดจนกลยุทธ์ของรัฐบาลในการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ระบาดในไทยรอบใหม่ โดยจะกล่าวถึง สถานการณ์การระบาดของโรค  ทบทวนบทความที่เกี่ยวข้อง หลักการและเหตุผลในการต่อสู้ กลยุทธ์การกำหนดพื้นที่ในการควบคุม 1.ความนำ           ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของโลก แม้ว่าอาจมีข่าวดีที่สามารถคิดค้นและผลิตวัคซีนป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 ได้บ้างแล้วก็ตาม           ความรุนแรงของสถานการณ์ระบาดของโรคในประเทศในโซนยุโรปและอเมริกา ยังมีความรุนแรงมากอยู่ในด้านจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิดระบาด เป็นคนละสายพันธ์กับโซนเอเชีย             สำหรับประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งในด้านจำนวนที่ป่วยในประเทศมิได้เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ป่วยที่สามารรักษาหาย และจำนวนผู้เสียชีวิตที่คงที่ จนทำให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ และทำให้รัฐบาลเกิดความมั่นใจที่จะคลายล็อคข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว             แต่แล้วความหวังดังกล่าวกลับพังทลายลงทันที ทั้ง ๆ ที่ใกล้ถึงเวลาที่คนไทยกำลังจะได้เฉลิมฉลองปีใหม่…

10+ ข้อคิดเห็นในการมองการบริหารสถานการณ์โควิด-19(8) 3

10+ ข้อคิดเห็นในการมองการบริหารสถานการณ์โควิด-19(8)

หากจะจบลงโดยไม่มีข้อคิดเห็นเลย ผมก็เกรงว่า ท่านผู้อ่านอาจจะอารมณ์ค้าง โดยผมจะขอแสดงข้อคิดเห็นไปในเชิงการบริหารจัดการและภาวะผู้เชิงยุทธศาสตร์เป็นหลัก และใช้แนวคิดที่เป็นบวกในการมองปัญหา             การแสดงความเห็นของผม เป็นการแสดงในฐานะนักวิชาการอิสระ ที่เคยรับราชการเป็นนักปกครอง เคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษหลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมีพื้นฐานความรู้ทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ และภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ โดยได้เลือกประเด็นที่คิดว่า น่าจะอยู่ในความสนใจของคนทั่วไป จำนวน 10+1 ประเด็น ดังนี้ *ต่อจากบทความตอน (7) ว่าด้วยข้อคิดเห็น 10 ประการประจำวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563 7. ทำไมประเทศที่เจริญก้าวหน้า เป็นประเทศมหาอำนาจของโลก จึงไม่สามารถแก้ปัญหาโควิด-19 สู้ประเทศไทยได้             ผมคิดว่า การที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก ไม่สามารถแก้ปัญหาโควิด-19 สู้ประเทศไทยได้น่าจะมีสัก 6 ประการ คือ             ประการแรก…

10+ ข้อคิดเห็นในการมองการบริหารสถานการณ์โควิด-19 (7) 4

10+ ข้อคิดเห็นในการมองการบริหารสถานการณ์โควิด-19 (7)

ผมได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการมองการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาด เมื่อปี พ.ศ.2547 มาแล้วเป็นจำนวน 6 ตอน โดยตอนที่ (6) ว่าด้วยบทบาทในการบริหารของผู้ว่าราชการจังหวัด ฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในตอนนี้ผมจะแสดงข้อคิดเห็นบางประการให้ท่านทราบ             แต่ก่อนจะแสดงข้อคิดเห็นดังกล่าว  ผมขอทบทวนความรุนแรงของสถานการณ์และแนวทางในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 สักเล็กน้อย บทสรุป ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19                     เมื่อเปรียบเทียบกับโรคไข้หวัดนกระบาด เมื่อปีพ.ศ.2547 ถือได้ว่า โรคโควิด-19 มีความรุนแรงมากกว่าหลายเท่า เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์โดยตรง และมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จนทำให้มีคนติดเชื้อและเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก และยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงเมื่อใด และอย่างไร ส่วนโรคไข้หวัดนกระบาด เมื่อปีพ.ศ.2547 เป็นโรคที่เกิดกับสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ นก  ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย การแพร่ระบาดมิได้เกิดขึ้นทั่วโลก เกิดเฉพาะแถบเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย  แนวคิดในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19              แนวคิดในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19…

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: บทบาทผู้ว่าราชการจังหวัดและฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ต่อ)(6) 5

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: บทบาทผู้ว่าราชการจังหวัดและฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ต่อ)(6)

            นอกจากนายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ มาตรา 9 ประกาศข้อกำหนดหรือมาตรการที่ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้ว นายกรัฐมนตรียังได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้กำกับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติในเขตท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ                    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค การห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด การกักกันตัวเอง การเดินทางข้ามเขตจังหวัด  มาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำในการจัดกิจกรรมอื่น ๆ   อนึ่ง ในบทความก่อนหน้านี้ (5) ผมได้กล่าวถึง บทบาทใน การบริหาร ของผู้ว่าราชการจังหวัด ฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาก่อนแล้วส่วนหนึ่ง 3.การห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานนอกเวลาที่กำหนด (ต่อจากตอนที่แล้ว)                ภาพของมาตรการการห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานนอกเวลาที่กำหนด อย่างที่เรียกว่า เคอร์ฟิว (Curfew) ท่านอาจจะมองเห็นแค่การตั้งด่านตรวจสกัดตามจุดต่าง ๆ แต่ถ้ามีผู้แจ้งเบาะแสมา เจ้าหน้าฝ่ายปกครองและตำรวจของแต่ละอำเภอ ก็พร้อมที่จะออกไปจับกุมดำเนินคดี ณ สถานที่เกิดเหตุทันที ต่อจากนั้นก็นำมาสอบสวน หากมีคดีอื่น…

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: บทบาทผู้ว่าราชการจังหวัด ฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(5)

นอกจากนายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ มาตรา 9 ประกาศข้อกำหนดหรือมาตรการที่ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้ว นายกรัฐมนตรียังได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้กำกับใน การบริหาร สถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติในเขตท้องที่ที่ตนรับผิดชอบ                    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค การห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด การกักกันตัวเอง การเดินทางข้ามเขตจังหวัด  มาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำในการจัดกิจกรรมอื่น ๆ   อนึ่ง ในบทความก่อนหน้านี้ คือ บทความ (4) ได้กล่าถึง การออกประกาศเพือใช้ในการบริหาร ในสถานการณ์ฉุกเฉิน      1.ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้กำกับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติ             1.1ความสำคัญของผู้กำกับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติ ข้อกำหนดหรือมาตรการต่าง ๆ ที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการไว้ในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 จะไม่ทางสัมฤทธิ์ผล ถ้าขาดผู้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิดในระดับพื้นที่ทั่วราชกอาณาจักร นั่นคือผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร             การเป็นผู้กำกับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินทุกมิติของผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นบทบาทของผู้ว่าฯ ซีอีโอ ซึ่งเป็นบทบาทเดียวกันกับบทบาทผู้ว่า…

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การจัดตั้งองค์กร และการสร้างกลไกในการบริหาร(4) 6

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การจัดตั้งองค์กร และการสร้างกลไกในการบริหาร(4)

หลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ใช้พระราชกำหนด ฯ นายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ออกคำสั่งตั้งศูนย์บริหารโควิด-19 และออกคำสั่งสร้างกลไกในการบริหาร 1.การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน           หลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ใช้พระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มาใช้บังคับ นายกรัฐมนตรีจะต้องออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก่อน โดยนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในประกาศดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ให้ผลบังคับทุกท้องที่ทั่วราชกอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563             สาระสำคัญของประกาศดังกล่าว พอสรุปได้ดังนี้             – เหตุทีต้องออกประกาศดังกล่าวเพราะมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายและเป็นอันตรายอย่างมากต่อชีวิตของผู้ได้รับเชื้อ             – ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค และยังไม่มียารักษาโดยตรง             – องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการระบาดใหญ่            …

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: แนวคิด เหตุผล ความจำเป็น และคุณลักษณะพิเศษของการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ(3) 7

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: แนวคิด เหตุผล ความจำเป็น และคุณลักษณะพิเศษของการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ(3)

อาจจะมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์ ฯ โรคไข้หวัดนกระบาดปี พ.ศ.2547 ด้วยแนวคิด เหตุผล ความจำเป็น คุณลักษณะพิเศษ และข้อสังเกตของการใช้อำนาตตามพระราชกำหนด ฯ ดังนี้ 1.แนวคิดในการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ           การใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรงสาธารณสุขเป็นผู้รักษาการ มีขอบเขตการใช้อำนาจในการบริหารและสั่งการเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก จึงเหมาะกับกรณีเกิดโรคติดต่อระบาดแบบปกติทั่ว ๆ ไป ไม่อาจจะนำมาปรับใช้ในการแก้ปัญหากรณีเกิดโรคติดต่อระบาดอย่างร้ายแรงอย่างโรคโควิด-19 ได้             การแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ซึ่งกำลังระบาดไปทั่วโลกเวลานี้ ไม่เพียงแต่เป็นภาวะวิกฤตของประเทศไทยเท่านั้น แต่ถือเป็นภาวะวิกฤตของโลกด้วย ดังนั้น จึงต้องอาศัยอำนาจพิเศษในการแก้สถานการณ์ ด้วยการบูรณาการสรรพกำลังทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ภายใต้การสั่งการของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการบริหารคู่ขนานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเติมเต็มในส่วนที่อำนาจการบริหารหรืออำนาจสั่งการในส่วนที่อยู่นอกกรอบแนวคิด หลักการ และมาตรการของพระราชบัญญัติโรคติตต่อ พ.ศ.2558             ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงจำเป็นต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในการใช้อำนาจตาม พระราชกำหนด ฯ 2.เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้พระราชกำหนด ฯ…

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 - กฎหมายที่นำมาใช้บังคับ(2) 8

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 – กฎหมายที่นำมาใช้บังคับ(2)

การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิดข-19 ด้วยประสบการณ์ ฯ โรคไข้หวัดนกระบาด ปี พ.ศ.2547 อาจมองด้วยมิติทางด้านกฎหมายที่นำมาใช้บังคับ คือ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 พระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กฎหมายที่ใช้บังคับในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19             กฎหมายที่ใช้บังคับในการแก้ปัญหาโรควิด-19 มีอยู่ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558    และพระราชกำหนดในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 1.พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558                เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ กำหนดให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ  อธิบดีกรมควบคุโรคติดต่อ เป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการและเลขานุการ 2.พระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.254…

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ และยอดผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกวัน จนไม่อาจจะพยากรณ์ได้ว่า จะจบลงเมื่อใดและอย่างไร                    เพราะแม้แต่ประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งชองโลกอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่อาจยับยั้งหรือแก้ปัญหาดังกล่าวได้ในขณะนี้ ตรงกันข้าม การระบาดของโรคโควิด-19 ในสหรัฐกลับมีตัวเลขพุ่งขึ้นสูงแซงหน้าทุกประเทศ ในด้านยอดผู้ติดเชื้อ และยอดผู้เสียชีวิตก็เป็นรองแค่อิตาลีและสเปน (10,096 คน) ดังตัวอย่างสถิติล่าสุด มีดังนี้…

Share on Social Media
%d bloggers like this: