69 / 100

บทความ ระบบ ตำรวจแห่งชาติ ญี่ปุ่น กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น (14)  จะได้กล่าวถึงการจัดโครงสร้างของระบบตำรวจญี่ปุ่น การจัดองค์กรในระดับชาติ  และระดับเขต สรุป และคุยกับดร.ชา

  1.ความนำ

           บทความที่แล้ว คือบทความที่ (13) ตำรวจแห้งชาติได้เล่าเรื่องจุดหักเหของระบบตำรวจญี่ปุ่นว่า ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญีปุ่นเป็นผู้แพ้สงครามโลก ทำให้ต้องปฏิรูปการปกครองประเทศใหม่ตามความต้องการของฝ่ายสัมพันธมิตร นำโดยสหรัฐอเมริกา จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่สมเด็จพระจักรพรรดิ เป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่มีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข  พร้อมกับยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค คงเหลือเฉพาะการปกครองส่วนกลางและการปกครองส่วนท้องถิ่น และในส่วนระบบตำรวจก็ต้องปรับใหม่จากระบบตำรวจแห่งชาติสังกัดกระทรวงมหาดไทยตามแบบยุโรป เป็นระบบตำรวจแห่งชาติ ที่กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นนวัตกรรมของญี่ปุ่นเอง

            สำหรับบทความนี้ จะได้เล่าในรายละเอียดของระบบตำรวจญี่ปุ่น ว่า มีการจัดโครงสร้างของระบบตำรวจญี่ปุ่นในปัจจุบัน องค์กรตำรวจในระดับชาติและระดับเขตอย่างไร

2.โครงสร้างของระบบตำรวจญี่ปุ่นในปัจจุบัน

            ระบบตำรวจญี่ปุ่นในปัจจุบันเป็นไปตามกฎหมายตำรวจ Police Act 1947และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 1951,1954 โดยถือหลักผสมผสานระหว่างการรวมอำนาจและการกระจายยอำนาจไปสู่จังหวัด (a mix of centralization and decentralization in that police administration is the responsibility of prefectural governments) 

              หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบบตำรวจญี่ปุ่นในปัจจุบัน อาศัยหลักการปกครองด้วยกฎหมายและหลักการปกครองตนเอง เพื่อทำให้เกิดโครงสร้างตำรวจที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของประชาธิปไตย (rule of law and local autonomy, aims at providing an efficient police structure on a democratic base)  ดังนั้น โครงสร้างตำรวจ  ญี่ปุนจึงประกอบด้วย 2 ส่วน คือ  ตำรวจแห่งชาติ (national police) และตำรวจจังหวัด (prefectural police)

                ระบบตำรวจญี่ปุ่นไม่มีหน่วยปฏิบัติการพิเศษเหมือนอย่างในบางประเทศ แต่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะทำหน้าที่ในการสร้างมาตรฐานและนโยบายให้ตำรวจจังหวัดนำไปปฏิบัติ  แม้อาจจะมีเหตุฉุกเฉินระดับชาติ (national emergencies) หรือภัยพิบัติร้ายแรงขนาดใหญ่ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ปัญหาก็ยังคงเป็นกองกำลังตำรวจจังหวัด

3.องค์กรตำรวจระดับชาติ (National Police Organizations)

            องค์กรตำรวจระดับชาติ ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

3.1 สำนักงานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ (National Public Safety Commission of the Cabinet Office of the Cabinet of Japan: NPSC )   

จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้การบริหารงานตำรวจสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ในขณะเดียวกันก็ให้ปลอดการเมือง   โดยนายกรัฐมนตรีไม่ได้มีอำนาจในการควบคุมคณะกรรมการดังกล่าวโดยตรง ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันในการเป็นกลางทางการเมืองของคณะกรรมการ ( the political neutrality of the Commission)

        คณะกรรมการฯ จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และนโยบายพื้นฐาน ประสานงานการ บริงานตำรวจในเรื่องสำคัญระดับชาติ สร้างมาตรฐานในการฝึกอบรม การสื่อสาร การพิสูจน์อาชญากรรม (criminal identification) การจัดทำสถิติอาชญากรรมและการจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือ

            คณะกรรมการฯเป็นผู้แต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (Commissioner of the NPA) และหัวหน้าตำรวจจังหวัด (Chiefs of prefectural police organizations) และมีอำนาจในการควบคุมตำรวจจังหวัดโดยทางอ้อมผ่านทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

            คณะกรรมการ ฯ มีจำนวน ๕ คน โดยจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรีภายใต้ความเห็นชอบจากสภาไดเอ็ตทั้งสองสภา  และเพื่อเป็นหลักประกันความเป็นกลางทางการเมือง กรรมการจะสังกัดพรรคการเมืองเดียวกันได้ไม่เกิน ๒ คน  ผู้ที่เคยรับราชการตำรวจหรืออัยการในช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมาจะไม่มีสิทธได้รับแต่งตั้ง โดยคณะกรรมการฯอยู่ในวาระ ๕ ปี

มีการประชุมคณะกรรมการ ฯ ทุกสัปดาห์ โดยมีรัฐมนตรีคนหนึ่งที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม ทั้งนี้ เพื่อให้เชื่อมโยงในการรับผิดชอบต่อความปลอดภัยสาธารณะของคณะรัฐมนตรี

3.2 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (National Police Agency)

             สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (National Police Agency: NPA) ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ (National Public Safety Commission) ซึ่งเป็นองค์กรที่ปลอดจากการเมือง (apolitical body) และมีอิสระจากการควบคุมของรัฐบาลโดยตรง (free of direct central government executive control)  แต่ก็ถูกตรวจสอบโดยศาลยุติธรรมและสื่อมวลชนที่เข้มแข็ง

อาคารสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น
(Wikipedia, National Police Agency(Japan), 18th September 2020)
อาคารสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น
(Wikipedia, National Police Agency(Japan), 18th September 2020)

            ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (Commissioner General) ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ (NPSC) โดยการอนุมัติของนายกรัฐมนตรี

          ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดูแลการปฏิบัติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน และบริหารองค์กรตำรวจจังหวัด (manages prefectural police organizations)  สร้างระบบตำรวจและควบคุมการปฏิบัติการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ บริหารงานอันเป็นพื้นฐานของตำรวจ เช่น การศึกษาอบรมของตำรวจ การสื่อสารของตำรวจ การพิสูจน์ทางอาชญากรรม และพัฒนาการบริหารงานตำรวจ

          สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีหน่วยงานขึ้นตรงทีสำคัญ คือ

  • สถาบันวิชาการตำรวจแห่งชาติ (National Police Academy)
  • สถาบันวิจัยตำรวจแห่งชาติ
  •  สำนักงานใหญ่ในการถวายความปลอดภัยแก่สมเด็จพระจักรพรรดิ (Imperial Guard Headquarters) ซึ่งทำหน้าที่ในการถวายความปลอดภัยของสมเด็จพระจักรพรรดิ พระราชวงศ์ และบุคคลในครอบครัว

4. สำนักงานตำรวจเขต (Regional Police Bureaus: RPB)

สำนักงานตำรวจเป็นหน่วยงานขึ้นต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งประเทศมีจำนวน ๗ แห่ง  โดยตั้งอยู่ตามเมืองขนาดใหญ่ แต่สำนักงานตำรวจมหานครโตเกียว (Tokyo Metropolitan Police Department) และสำนักงานตำรวจจังหวัดฮอกไคโด (Hokkaido  Prefectural Police Headquarters) ไม่ได้ขึ้นต่อสำนักงานตำรวจเขต

            แต่ละเขตมีอธิบดีเขต (Director General) เป็นหัวหน้า มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของตำรวจจังหวัดที่อยู่ภายในเขตอำนาจ และขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

เรือตำรวจญี่ปุ่น มีทั้งหมด 150 ลำ ทั่วประเทศ
(Wikipedia, Nationa; Police Agency, 18 th September 2020)
เรือตำรวจญี่ปุ่น มีทั้งหมด 150 ลำ ทั่วประเทศ
(Wikipedia, Nationa; Police Agency, 18 th September 2020)

            นอกจากนี้ในแต่ละเขต มีโรงเรียนตำรวจประจำเขต (Regional Police School) ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมบุคลากรในเขต

สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบ่งเป็นเขตปกครองออกเป็น ๗ เขต คือ

เขตชิโกกุ (Shikoku)

เขตกิวชิว (Kushu)

เขตโตโฮกุ (Tohoku)

เขตแคนโต (Kanto)

เขตชุบุ (Chubu)

เขตคินคิ (Kinki)

เขตชุโกคุ (Chugoku)

นอกจากนี้ยังมีเขตพิเศษอีก ๒ เขต คือ

เขตตำรวจมหานครโตเกียว (Tokyo Metropolitan Police)

เขตตำรวจฮอกไกโด (Hokkaido Prefecture Police)

5.สรุป

          บทความนี้ ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า ระบบตำรวจของญี่ปุ่นในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการปฏิรูปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  เป็นระบบตำรวจแห่งชาติ ที่มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น  มีโครงสร้างและการจัดองค์กรในระดับชาติ และในระดับเขตอย่างไร

          โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะทำให้ท่านผู้อ่านมองเห็นภาพการสร้างกลไกให้ตำรวจญี่ปุ่นปลอดจากการเมืองแทรกแซง หรือมีความเป็นกลางทางการเมืองได้อย่างแท้จริงในทางหลักการและทางปฏิบัติว่า ทำได้อย่างไร

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม ขอเชิญติดตามได้ในหัวข้อ คุยกับดร.ชา

เอกสารอ้างอิง

           1.Wikipedia, Law Enforcement in Japan, 18th September 2020.

           2.Wikipedia, National Police Agency (Japan), 18th September 2020.

           3.Wikipedia, National Police Agency (NPA),18th September 2020.

คุยกับดร.ชา

          เพื่อความต่อเนื่อง คู่สนทนาของผมยังเป็นคุณพสุธา (นามสมมุติ) เหมือนเดิม

          “ สวัสดี คุณพสุธา วันนี้เรามาคุยกันในเรื่องระบบตำรวจของญี่ปุ่นกันต่อนะ

ประเด็นแรก คือ ตามความเข้าใจของคุณพสุธา ตกลงว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ขึ้นตรงต่อใคร ระหว่าง สำนักนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการความปลอดภัยแห่งชาติ ” ผมถามเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจน

          “ สวัสดีครับอาจารย์ สำหรับคำถามในประเด็นแรก ผมขอตอบว่า ถ้าจะตอบให้ตรงตามกฎหมายและข้อเท็จจริง ก็ต้องตอบว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการความปลอดภัยแห่งชาติญี่ปุ่น คณะกรรมการ ฯ  คือผู้มีอำนาจในการบริหารงานตำรวจของญี่ปุ่นอย่างแท้จริง ส่วนนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องไม่กี่อย่าง ที่สำคัญ คือเป็นผู้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยแห่งชาติ หลังจากที่รัฐสภา ไดเอ็ตได้ให้ความเห็นชอบแล้ว

            ส่วนการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งผู้บัญชาการตำรวจมหานครโตเกียว นายกรัฐมนตรีเป็นเพียงผู้ให้การอนุมัติ ส่วนผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งคือคณะกรรมการ ฯ  ” คุณพสุธาตอบอย่างนักกฎหมายมือฉมัง

            “ ตามที่คุณพสุธาว่ามา แสดงว่าคนไทยส่วนใหญ่น่าจะเข้าใจผิดใช่ไหม ”ผมซักถามต่อ

            “ ใช่ครับอาจารย์ เพราะคนไทยก็อาจจะนึกเปรียบเทียบกับตำรวจไทยในปัจจุบันที่ เห็นนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการและบังคับบัญชาตำรวจไทยโดยตรง ก็เลยอาจจะสรุปง่าย ๆ ว่า ตำรวจญี่ปุ่นคงขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ” คุณพสุธายอมรับตามตรง

            “เยี่ยมเลย คุณพสุธา อธิบายได้ดีมาก อาจารย์ขอชมเชย

ประเด็นที่สอง อยากจะถามว่า เวลาประชุมคณะกรรมการ ฯ ทำไมรัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องมอบหมายรัฐมนตรีคนหนึ่งไปร่วมประชุม และต้องทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมด้วย ” ผมถามเจาะลึกเข้าไปหน่อยหนึ่ง

          “ เรื่องนี้ หากมองดูอย่างผิวเผิน ก็อาจจะทำให้เข้าใจผิดว่า ตำรวจญี่ปุ่นก็หนีไม่พ้นการเมือง แต่แท้จริง  รัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการ ฯ ก็เข้ามาประชุมในฐานะตัวแทนรัฐบาล เพื่อประโยชน์ในการประสาน จะได้มีโอกาสรับทราบผลงานและปัญหาอุปสรรคในการบริหารงานตำรวจของคณะกรรมการ ฯ

            เพราะถ้ามีปัญหาอะไร ที่คณะกรรมการ ฯ ไม่อาจแก้ไขด้วยตนเองได้ เช่น การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนกิจการตำรวจให้เพียงพอแก่ความต้องการ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพราะรัฐบาลเป็นผู้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณต่อสภาไดเอ็ต แต่อำนาจในการตัดสินใจในการประชุมคณะกรรมการ ฯ ก็ยังคงเป็นเรื่องของคณะกรรมการ ฯ ” คุณพสุธาอธิบายอย่างชัดเจน 

              “ เอาล่ะ เรามาพูดถึงประเด็นสุดท้าย ซึ่งอาจารย์คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ ตกลงว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่นมีอำนาจหน้าที่อะไรกันแน่ มีมากเหมือนสำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทยไหม ” ผมถามเพื่อป้องกันไม่ให้คนเข้าใจผิด

            “ โอ! อาจารย์ คำถามนี้ผมว่าสำคัญที่สุดเลย ตามระบบตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่น ตัวสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่มีอำนาจหน้าที่อะไรมากมายอย่างที่หลายคนคิดเอาเอาเอง กล่าวคือ อำนาจหน้าที่หลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่น น่าจะแตกต่างจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทยในปัจจุบันนี้อย่างสิ้นเชิงที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จทุกอย่างในมือ

            สำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ไม่มีอำนาจหน้าทีในการสอบสวนดำเนินคดีอาญา เพราะอำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจของตำรวจจังหวัด 47 จังหวัด

            อำนาจหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น คือดูแลการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศในภาพรวม เช่น วางกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติเพื่อให้ตำรวจจังหวัดทั่วประเทศนำไปปฏิบัติ จัดการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถของตำรวจ การพัฒนาระบบงาน เป็นต้น

            แต่งานที่ผมคิดว่าโดดเด่นที่สุดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น คือ การถวายการดูแลความปลอดภัยและอารักขาสมเด็จพระจักรพรรดิและพระราชวงศ์ และบุคคลในครอบครัว ”คุณพสุธาตอบได้อย่างชัดเจนเพราะเคยไปศึกษาดูงานประเทศญี่ปุ่นมาแล้ว

          “คำตอบของคุณพสุธาในประเด็นสุดท้ายนี้น่าสนใจมาก แสดงให้เห็นว่า ระบบตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่นได้กระจายอำนาจไปให้ตำรวจจังหวัดอย่างแท้จริง ไม่ได้หวงเอาอำนาจสำคัญคืออำนาจในการสอบสวนคดีอาญาไว้ที่ตนเองเลย

          เรื่องตำรวจญี่ปุ่น ยังไม่จบ คราวหน้าอาจารย์ต้องขอรบกวนอีกครั้ง เพื่อเราจะได้คุยเกี่ยวกับการบริหารงานตำรวจจังหวัดของญี่ปุ่นว่าเขาทำกันอย่างไร  วันนี้อาจารย์ขอขอบคุณมาก

          “ ด้วยความยินดีครับอาจารย์” คุณพสุธาตอบรับคำเชิญของผมอีกครั้งหนึ่ง

ดร.ชา

18/09/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

4 COMMENTS

  1. คุณพสุธาก็นเป็นตำรวจไหมคะอาจารย์ ความเห็นดีมากค่ะ

    1. คุณพสุธา ไม่ได้เป็นตำรวจ แต่เป็นนักกฎหมาย มีความรอบรู้ทั้งกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน จบเนติบัณฑิตและปริญญาโททางกฎหมาย

  2. โอกาสหน้า เชิญคนพสุธา มาคุยกับอาจารย์อีก สนุกดีค่ะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: