87 / 100

หลักการและเหตุผล ในการต่อสู้เอาชนะโรควิด-19 ระบาดในไทยรอบใหม่ เป็นบทความลำดับที่ 13 ของหมวด 2 ประสบการณ์ ในการบริหารและแก้ปัญหาในภาวะวิกฤต ว่าด้วย หลักการและเหตุผล ตลอดจนกลยุทธ์ของรัฐบาลในการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ระบาดในไทยรอบใหม่ โดยจะกล่าวถึง สถานการณ์การระบาดของโรค  ทบทวนบทความที่เกี่ยวข้อง หลักการและเหตุผลในการต่อสู้ กลยุทธ์การกำหนดพื้นที่ในการควบคุม

Table of Contents

1.ความนำ

          ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของโลก แม้ว่าอาจมีข่าวดีที่สามารถคิดค้นและผลิตวัคซีนป้องกันและรักษาโรคโควิด-19 ได้บ้างแล้วก็ตาม

          ความรุนแรงของสถานการณ์ระบาดของโรคในประเทศในโซนยุโรปและอเมริกา ยังมีความรุนแรงมากอยู่ในด้านจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิดระบาด เป็นคนละสายพันธ์กับโซนเอเชีย

            สำหรับประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้งในด้านจำนวนที่ป่วยในประเทศมิได้เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ป่วยที่สามารรักษาหาย และจำนวนผู้เสียชีวิตที่คงที่ จนทำให้เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ และทำให้รัฐบาลเกิดความมั่นใจที่จะคลายล็อคข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

            แต่แล้วความหวังดังกล่าวกลับพังทลายลงทันที ทั้ง ๆ ที่ใกล้ถึงเวลาที่คนไทยกำลังจะได้เฉลิมฉลองปีใหม่ 2564 กันอย่างมีความสุข หลังจากปรากฏข่าวว่า พบผู้ติดเชื้อโรค โควิด-19 ที่แพกุ้งจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีแรงงานพม่าอยู่เป็นจำนวนมาก และขณะนี้ได้พบจำนวนผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ระบาดจากจังหวัดสมุทรสาครไปอีกหลายจังหวัดอย่างรวดเร็ว

            ปัญหา คือ เราคนไทยจะสามารถช่วยกันให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตรอบใหม่ได้อย่างรวดเร็วได้อย่างไร

2.ทบทวนบทความที่เกี่ยวข้อง

          เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีความเข้าใจในบทความนี้ได้ชัดเจน ผมอยากให้ท่านย้อนกลับไปอ่านไปบทความที่ผมได้เขียนไว้ จำนวน 2-3 บทความ คือ

            2.1  การบริหาร ในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: แนวคิด เหตุผล ความจำเป็น และคุณลักษณะพิเศษของการใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ(3)  

                                                                                                                           บทความนี้จะทำให้ท่านเข้าใจการใช้อำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  แก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด

            2.2 การบริหาร ในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: บทบาทผู้ว่าราชการจังหวัด ฝ่ายปกครอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(5)

            บทความนี้จะทำให้ท่านเข้าใจ อำนาจหน้าที่และบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19

           2.3 10+ ข้อคิดเห็นในการมองการบริหารสถานการณ์โควิด-19 (7)

               บทความนี้ จะทำให้ท่านทราบคำตอบในข้อสงสัยเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด

            2.4 10+ ข้อคิดเห็นในการมองการบริหารสถานการณ์โควิด-19(8)

          บทความนี้ จะทำให้ท่านทราบคำตอบในข้อสงสัยเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโรคติดต่อ-19 ระบาด ต่อเนื่องจากบทความ 2.3

3.สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 ของโลกในปัจจุบัน

          3.1 สถานการณ์ของโลก

            สถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดทั่วโลก ตัดยอดวันที่ 24 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. ปรากฏว่า มียอดผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 79,036,355 ราย (เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 683,204 ราย) รักษาหายแล้วรวม 55,609,314 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมจำนวน 1,736,659 ราย

            สำหรับประเทศทีมียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดทั่วโลก จำนวน 10 ประเทศ ได้แก่

            อันดับหนึ่ง สหรัฐอเมริกา              จำนวน 18,917,152 ราย

            อันดับสอง อินเดีย                       จำนวน 10,123,544 ราย

            อันดับสาม บราซิล                      จำนวน 7,366,677 ราย

            อันดับสี่ รัสเซีย                           จำนวน 2,933,753 ราย

            อันดับห้า ฝรั่งเศส                       จำนวน 2,505,875 ราย

            อันดับหก สหราชอาณาจักร          จำนวน 2,149,551 ราย

            อันดับเจ็ด ตุรกี                           จำนวน 2,082,610 ราย

            อันดับแปด อิตาลี                        จำนวน 1,991,278 ราย

            อันดับเก้า สเปน                          จำนวน 1,847,874 ราย

            อันดับสิบ เยอรมัน                       จำนวน 1,587,908 ราย

          3.2 สถานการณ์ของเอเชีย    

          ความรุนแรงของการระบาดของโรคโควิด-19 ในทวีปเอเชีย มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมเรียงอันดับ 1-10 ได้ดังนี้ คือ

            อันดับหนึ่ง อินเดีย                      10,123,544 ราย

            อันดับสอง ตุรกี                          2,082,610 ราย

            (ประเทศตุรกี เป็นประเทศที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ในสองทวีป คือ ยุโรป และเอเชีย)

            อันดับสาม อิหร่าน                      1,177,004 ราย

            อันดับสี่ อินโดนีเซีย                     685,639 ราย

            อันดับห้า อิรัก                             587,676 ราย

            อันดับหก ปังกลาเทศ                  504,868 ราย

            อันดับเจ็ด ฟิลิปปินส์                   464,004 ราย

            อันดับแปด ปากีสถาน                 462,814 ราย

            อันดับเก้า อิสราเอล                     385,022 ราย

            อันดับสิบ ซาอุดิอาระเบีย 361,536 ราย

3.3 สถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดในไทย

          สถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดในไทยได้หยุดนิ่งมาอยู่ในได้ในระยะเวลาหนึ่ง โดยหลายคนก็คงจะเตรียมฉลองปีใหม่กันอย่างมีความสุข แต่แล้วทุกคนก็ต้องฝันสลายหลังจากได้ปรากฏข่าวการระบาดของโรคโควิด-19 รอบใหม่ที่จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 โดยผู้ติดเชื้อรายแรกเป็นหญิงอายุ 67 ปี เจ้าของแพกุ้ง ในตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร และจากนั้นภายในเวลาไม่กี่วันเชื้อ  โควิด-19 ก็ได้ระบาดไปยังอีก 22 จังหวัดที่มีคนไปซื้อกุ้งและอาหารทะเลที่จังหวัดสมุทรสาคร ดังข้อมูลตัดยอดวันที่ 23 ธันวาคม 2563 สรุปได้ดังนี้ (ตัวเลขนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกวันจนกว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้)

            สมุทรสาคร                    จำนวน 1,086 คน (แรงงานต่างชาติ)

จังหวัดสมุทรสาคร จุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 รอบใหม่ ตามหลักการและเหตุผล ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สีแดง
จังหวัดสมุทรสาคร จุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 รอบใหม่ ตามหลักการและเหตุผล ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สีแดง

            กรุงเทพมหานคร             จำนวน 10 คน

            นครปฐม                        จำนวน  8 คน

            สมุทรปราการ                 จำนวน  7 คน

          สมุทรสงคราม                จำนวน 6 คน

            สระบุรี                           จำนวน 5 คน

            นนทบุรี                          จำนวน 4 คน

            ปทุมธานี                       จำนวน 3 คน

            นครราชสีมา                   จำนวน  3 คน

            กำแพงเพชร                   จำนวน 2 คน

            ปราจีนบุรี                       จำนวน 2 คน

            พระนครศรีอยุธยา           จำนวน 2 คน

          จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อ จำนวนจังหวัดละ 1 คน มีจำนวน 11 จังหวัด ได้แก่

            ประจวบคีรีขันธ์             

            ภูเก็ต                            

            ขอนแก่น

            กระบี่

            ชัยนาท

            เพชรบุรี

            เพชรบูรณ์

            อุตรดิตถ์

            ราชบุรี

            นครศรีธรรมราช

            ฉะเชิงเทรา                   

4.แนวคิดในการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่

          เนื่องจากรัฐบาลได้มีประสบการณ์ในการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ระบาดเมื่อคราวที่แล้ว ด้วยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและล็อคดาวน์ทั่วประเทศ ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของหลายพื้นที่ที่ไม่มีการระบาดของโรคหรือมีการระบาดเพียงเล็กน้อย

            ดังนั้น เพื่อให้การต่อสู้เอาชนะการระบาดของโรควิด-19 รอบใหม่ตรงเป้า รัฐบาลจึงได้ใช้ในแนวคิดในแบ่งพื้นที่ออกเป็นโซน ๆ ตามความรุนแรงของความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

5.หลักการและเหตุผล-การแบ่งพื้นที่ออกเป็นโซน

          รัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ชุดใหญ่ หรือ ศคบ. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 แล้วกำหนดหลักการและเหตุผลด้วยการมีมติแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 โซน ตามความเสี่ยงสูงไปหาความเสี่ยงต่ำ จำนวน 30 จังหวัด พร้อมกับกำหนดมาตรการรองรับในแต่ละพื้นที่ ประกอบด้วย

            5.1 พื้นที่สีแดง

            เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เนื่องจากเป็นพื้นที่ย่อยที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 พื้นที่ มีจำนวน 1 จังหวัด คือ สมุทรสาคร

            5.2 พื้นทีสีส้ม

            เป็นพื้นที่ควบคุม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ติดอยู่ติดกับพื้นที่สีแดง หรือเป็นพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อเกินกว่า 10 ราย และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก มีอยู่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (ฝั่งตะวันตก)  สมุทรสงคราม ราชบุรี และนคปฐม

            5.3 พื้นที่สีเหลือง

            เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื่อไม่เกิน 10 ราย และมีแนวโน้มที่จะสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ มีจำนวน 25 จังหวัด ได้แก่

            สระบุรี สมุทรปราการ สุพรรณบุรี นนทบุรี ปทุมธานี

            อุตรดิตถ์ ฉะเชิงเทรา กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ อยุธยา

            ภูเก็ต เพชรบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี กระบี่

            ขอนแก่น ชัยนาท อุดรธานี พิจิตร นครศรีธรรมราช

            สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ ชัยภูมิ นครสวรรค์ และอ่างทอง

            5.4 พื้นที่สีเขียว

            เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง มีจำนวน 37 จังหวัด หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อ และยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่า จะมีผู้ติดเชื้อ

6.มาตรการในการควบคุมโรคพื้นที่สีแดง และพื้นที่สีส้ม

          นอกจากแบ่งพื้นที่ออกเป็นพื้นที่ทีมีความเสี่ยงสูงไปหาพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ ออกเป็น 4 พื้นที่ดังกล่าว ศคบ. ยังได้กำหนดมาตรการรองรับในการควบคุมโรคในแต่ละพื้นที่ด้วย สรุปได้ดังนี้ คือ

            6.1 พื้นทีสีแดง กำหนดมาตรการรองรับ ดังนี้

            – กำหนดเวลาปิด-เปิด สถานประกอบการที่มีความจำเป็น

            – ปิดสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด

            – ห้ามแรงงานต่างด้าว เคลื่อนย้ายเข้า-ออก พื้นที่โดยเด็ดขาด

            – ควบคุมการเข้า-ออก ของยานพาหนะและคนไทย โดยไม่ให้กระทบต่อการค้าและอุตสาหกรรมมากเกินความจำเป็น

            – ให้มีการจัดตั้งด่านตรวจคัดกรอง จุดสกัดและสายตรวจ เพื่อให้มีการควบคุมการเข้า-ออก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

            – ใช้มาตรการทำงานที่บ้านอย่างเต็มขีดความสามารถ

            6.2 พื้นที่สีส้ม กำหนดมาตรการ ดังนี้

          – ให้หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมากทุกรูปแบบ

          – สถานประกอบการและโรงงานที่ยังเปิดดำเนินการ ให้เน้นมาตรการป้องกันโควิด-19 ทั้งในบริเวณโรงงานและที่พักคนงาน หากไม่สามารถดำเนินการตามที่ ศบค.กำหนด ให้พิจารณาหยุดการดำเนินการตามความเหมาะสม

            – เฝ้าระวังการลักลอบเข้มาในพื้นที่ของแรงงานต่างด้าวที่มาจากพื้นที่สีแดง หากพบให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ

            – ให้พิจารณากำหนดเวลาปิด-เปิด สถานประกอบการที่มีความจำเป็นตามความเหมาะสม

            – ให้พิจารณาปิดหรือจำกัดเวลาปิด-เปิด สถานประกอบการทีมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด

            – ห้ามแรงงานต่างด้าว เคลื่อนย้าย เข้า-ออก พื้นที่

          – ให้ประสานการจัดตั้งด่านคัดกรองกับจังหวัดที่มีพื้นทีสีแดงตามความเหมาะสม

            – ให้ใช้มาตรการทำงานที่บ้าน

          – สำหรับบุคคลที่เป็นนักเรียนนักศึกษามาจากพื้นที่สีแดง ให้สถานศึกษาหยุดการเรียนการสอน หรือให้มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์

7.การจัดกิจกรรมฉลองปีใหม่ 2564 และการจัดกิจกรรมงานวันเด็ก

            กำหนดให้ทั้งสี่พื้นที่ ดำเนินการดังนี้

          7.1 พื้นที่สีแดง

            ให้งดจัดกิจกรรมฉลองทุกชนิด เว้นแต่จัดเป็นกิจกรรมออนไลน์

            7.2 พื้นที่สีส้ม

            ให้งดจัดกิจกรรมที่เป็นสาธารณะ แต่ผ่อนผันให้จัดกิจกรรรมที่จำกัดผู้เข้าร่วมกิจกรรม หรือกิจกรรมเฉพาะผู้คุ้นเคย หรือพิจารณาจัดกิจกรรมออนไลน์

            7.3 พื้นที่สีเหลืองและสีเขียว

            ให้สามารถจัดกิจกรรมได้ แต่ต้องลดขนาดลงกว่าปกติ มีมาตรการลดความหนาแน่นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ทั้งนี้ให้หารือกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อของกทม.ได้

https://www.prachachat.net/general/news-581054

8.ข้อกำหนดสำหรับทุกพื้นที

          นอกเหนือไปจากการกำหนดมาตรการแยกออกตามพื้นที่สีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีเขียว ตามข้อ 6 และ 7 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว  รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรียังได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ( ฉบับที่ 15 ) ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชกาต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้

            8.1 การห้ามใช้หรือเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค

          โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าพนักงานควบคมโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558

            8.2 การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค

          โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558

            8.3 การห้ามชุมนุม

          ภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกำหนด

            8.4 มาตรการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว

          ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเฝ้าระวัง ตรวจและคัดกรองการเดินทางและการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว

            8.5 การปฏิบัติและบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค

          ให้ส่วนราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง กำเนินการเพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค

          8.6 การประสานงาน

          ให้ ศปก.ศบค. ซึ่งมีเลขาธิการสภาความมั่นคง เป็นผู้อำนวยการศูนย์  ทำหน้าที่เป็นหน่วยปฏิบัติการขับเคลื่อน เร่งรัด และติดตามการปฏิบัติงาน ภายใต้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19

          8.7 การออกประกาศ หรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ตามข้อ 8.1 และ8.2 ให้ดำเนินการตามมาตรการหรือแนวปฏิบัติทีนายกรัฐมนตรีหรือตามที่ ศบค.กำหนด

            การพิจารณาประเมินและกำหนดพื้นที่สถานการณ์เพิ่มเติมเพื่อการบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดใหม่

          ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงมหาดไทย ร่วมกันพิจารณาประเมิน เสนอต่อ ศปก.ศบค. และนายกรัฐมนตรี

            8.8 การรับรองให้บรรดาประกาศหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อเพื่อการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นคำสั่งตามข้อกำหนดนี้

          จะเห็นได้ว่า ข้อกำหนดทั้ง 8 ประการดังกล่าว ใช้บังคับกับทุกพื้นที่ เป็นการเติมเต็มและอุดช่องของมาตรการที่ได้กำหนดไว้รองรองเฉพาะพื้นที่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีเขียว ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 เป็นไปทิศทางเดียวกันและมีเอกภาพ

9.สรุป

          หลักการและเหตุผลในการกำหนดกลยุทธ์และมาตรการในการต่อสู้เอาชนะโรควิด-19 ระบาด รอบใหม่นี้  รัฐบาลได้เลือกใช้การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 โซน ตามระดับความรุนแรงของความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 คือ    

           พื้นที่สีแดง เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพราะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก มีจำนวน 1 จังหวัด คือ สมุทรสาคร  

          พื้นที่สีส้ม เป็นพื้นที่ควบคุม เพราะมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดพื้นที่สีแดง หรือมีจำนวนผู้ติดเชื้อเกินกว่า 10 ราย และมีแนวโน้มจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น มี 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร (ด้านทิศตะวันตก) สมุทรสงคราม ราชบุรี และนครปฐม

            พื้นที่สีเหลือง เป็นพื้นที่เฝ้าระวังสูง เพราะมีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 10 ราย และมีแนวโน้มที่จะควบคุมสถานการณ์ได้ มีจำนวน 25 จังหวัด

            พื้นที่สี่เขียว เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง เพราะยังไม่มีผู้ติดเชื้อ และยังไม่มีสิ่งบอกเหตุว่าจะมีผู้ติดเชื้อ

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ในหัวข้อ คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

          คู่สนทนาของผมในวันนี้ คือ คุณหมออาวุธ (ชื่อสมมุติ)

คุณหมออาวุธ คู่สนทนาของผมในวันนี้
คุณหมออาวุธ คู่สนทนาของผมในวันนี้

            คุณหมออาวุธ เคยเป็นเพื่อนร่วมงานกับผม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยดำรงตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอ  และได้เกษียณอายุราชการปีเดียวกันกับผม เป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอที่มีความคุ้นเคยกับผมมากที่สุดคนหนึ่ง เนื่องจากเรามีอุปนิสัยและอัธยาศัยสอดคล้องกันหลายอย่าง แม้ทุกวันนี้ที่ยังติดต่อกันอยู่

          ผมมีความเห็นว่า คุณหมออาวุธเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและมีภาวะผู้นำที่ดีมาก เป็นที่รักใคร่ของเพื่อนร่วมงาน ดังเห็นได้จากตอนเกษียณอายุราชการ เพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องร่วม 60-70 ชีวิต ได้มีน้ำใจเดินทางจากโคราชไปจัดงานเลี้ยงเกษียณอายุราชการให้ถึงประจวบคีรีขันธ์

คุณหมออาวุธ เป็นวิทยากรด้านสาธารณสุขผู้มีความรู้ความสามารถมาก ได้รับเชิญไปบรรยายทั่วราชอาณาจักรไทย
คุณหมออาวุธ เป็นวิทยากรด้านสาธารณสุขที่มีความรู้ความสามารถมาก ได้รับเชิญไปบรรยายทั่วราชอาณาจักรไทย

            “สวัสดี คุณหมออาวุธ เราไม่ได้พบกันเสียงาน จำได้ว่า เราได้พบกันครั้งสุดท้ายโดยบังเอิญเมื่อปลายปี 2554 ที่รีสอร์ตแห่งหนึ่ง แถวบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คุณหมออาวุธ จำได้ไหม “ ผมทักทายพร้อมกับทบทวนความหลังเล็กน้อย

            “สวัสดีครับ ดร.ชา ผมจำวันนั้นได้ดี ว่าแต่ดร.ชา สบายดีเหรอ ” คุณหมอาวุธทักทายผมตอบ

            “ สบายดี ขอบคุณ วันนี้ ผมอยากจะชวนคุยเรื่องปัญหาโรค โควิด-19 ระบาดรอบใหม่หน่อย

          ในฐานะเคยทำงานด้านนี้มาก่อน คุณหมออาวุธมองปัญหาการระบาดของดโรคโควิด-19 รอบใหม่อย่างไรบ้าง ” ผมเปิดประเด็นแรก

          “ ในประเด็นนี้ ผมมองว่า สาเหตุของการระบาดครั้งนี้เกิดจากแรงงานต่างด้าว คือแรงงานพม่า ซึ่งได้เข้ามาทำงานเป็นแรงงานอยู่ที่สมุทรสาคร

            เนื่องจากในประเทศพม่าก็มีปัญหาการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างรุนแรงอยู่แล้ว แรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานที่สมุทรสาครก็คงจะติดเชื้อมาจากพม่านั่นแหละ ต่างกับการระบาดครั้งแรก เกิดจากการติดเชื้อจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

            ผมพูดเช่นนี้ หมายความว่า ในประเทศไทยของเราในช่วงเวลาที่ผ่านมาทุกฝ่ายก็ได้ช่วยกันดูแลเป็นอย่างดี จนไม่มียอดผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นเลยต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายเดือน ” คุณหมออาวุธสาธยายกว้าง ๆ ก่อน

แม้แต่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คุณหมออาวุูธก็เคยเดินทางมาเป็นวิทยากร
แม้แต่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คุณหมออาวุูธก็เคยเดินทางมาเป็นวิทยากร

            “ ใช่ ผมเห็นด้วยกับคุณหมออาวุธ หากประเทศไทยเราไม่มีปัญหาขาดแคลนแรงงานค่อนข้างรุนแรงเหมือนอย่างทุกวันนี้ โรคโควิด-19 อาจจะไม่ระบาดรอบใหม่ก็ได้

            ในประเด็นที่สอง การที่รัฐบาลกำหนดหลักการและเหตุผลในการแก้ปัญหา โดยใช้ กลยุทธ์แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 พื้นที่ ตามระดับความเสี่ยงจากความรุนแรงของการแพร่ระบาดของเชื้อโรค แทนที่จะกำหนดเป็นพื้นที่อย่างเดียวกันทั่วประเทศเหมือนการกำหนดนโยบายต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ระบาด ในรอบแรก คุณหมออาวุธคิดว่า น่าจะมาถูกทางไหม ” ผมถามความในเชิงกลยุทธ์

            “ ผมคิดว่า การแก้ปัญหาใด ๆ ในระดับพื้นที่ หากเราสามารถแบ่งพื้นที่ของประเทศออกเป็นโซนตามระดับปัญหา ก็น่าจะได้ผลดีกว่า การไม่กำหนดพื้นที่เลย เพราะการไม่กำหนดพื้นที่เลยก็เท่ากับการเหวี่ยงแห

            การเหวี่ยงแหก็คือการไม่โฟกัสพื้นที่ เท่ากับถือว่า ทุกพื้นที่มีความสำคัญในการแก้ปัญหาเท่ากัน แต่ผมคิดว่าไม่ใช่ พื้นที่ใดปัญหาน้อยหรือไม่มีปัญหาเลย เราก็ไม่ควรจะเสียเวลาไปให้ความสนใจมาก สู้เอาเวลาไปทุ่มเทความสนใจกับพื้นที่ที่มีปัญหามากหรือปัญหารุนแรงจะดีกว่า หากขาดเหลืออะไรก็จะได้ทุ่มเทการสนับสนุนช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่และทันท่วงที ” คุณหมออาวุธตอบอย่างมีหลักการ

            “ ผมคิดว่า คุณหมออาวุธตอบได้ชัดเจนดีมาก ขอถามความเห็นในประเด็นที่สาม

            ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด ถือเป็นปัญหาระดับโลก และระดับขาติ การที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีมอบความไว้วางใจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อของจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี คิดว่า น่าจะเป็นการถูกต้องไหม ” ผมถามความเห็นในเชิงการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินหรือวิกฤตเลย

          “ ผมมีความเห็นในประเด็นนี้ว่า นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้กำกับการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกมิติ ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัด  รวมทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ย่อมมีอำนาจเต็มในการแก้ปัญหาในพื้นที่ของตนเองได้ตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ เสมือนหนึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของจังหวัดเลยทีเดียว

            อีกอย่างผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่ได้ทำงานคนเดียว ยังมีหัวหน้าส่วนราชการโดยเฉพาะทีมงานของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ตลอดจนนายอำเภอ เป็นต้น ย่อมเป็นกลไกหลักให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่แล้ว ท่านไม่โดดเดี่ยวแน่นอน” คุณหมออาวุธตอบแบบคนมีประสบการณ์ในการทำงาน

            “ ผมคิดว่า คุณหมออาวุธน่าจะพูดถึงการบริหารจัดการบ้างนะ ” ผมกำหนดประเด็นเพิ่ม

          “ได้ครับ ดร.ชา ถ้ามองในด้านการบริหารจัดการ ผมอยากจะบอกว่า กระทรวงสาธารณสุขของเรา เป็นกระทรวงที่มีเอกภาพในการบังคับบัญชามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนภูมิภาค เพราะสายงานสาธารณสุขจังหวัด-อำเภอ และโรงพยาบาลจังหวัด-อำเภอ ล้วนอยู่ในสังกัดเดียวกัน คือ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

            ยิ่งกว่านั้น เรายังมีมวลชนของเราอยู่ทุกตำบลหมู่บ้าน คือ อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน หรือ   อสม. ประกอบกับกระทรวงสารณสุขสามารถทำงานประสานกับกระทรวงมหาดไทยได้ดีมาก ผ่านทางกลไกของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ จึงทำให้กระทรวงสาธารณสุขประสบความสำเร็จในการทำงานเชิงรุกอยู่เสมอ

            รวมทั้งการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่นี้ เพราะในระดับชาติ ท่านนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาการในภาพรวมด้วยตัวท่านเอง ท่านไม่ได้ปล่อยให้กระทรวงสาธารณสุข ทำงานตามลำพังอย่างว้าเหว่

            “ ถ้าเช่นนั้น ขอทราบความเห็นประเด็นสุดท้ายก็แล้วกันว่า ลำพังภาครัฐหรือทางราชการคงเอาโควิด-19 ไม่อยู่ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน คุณหมออาวุธมองเรื่องนี้อย่างไร ” ผมถามเชื่อมโยงกับประชาชนบ้าง

          “ ผมชอบคำถามนี้ของ ดร.ชามากครับ

            ในฐานะผมได้รับราชการในสายงานของสาธารณสุขอำเภอ จนเกษียณอายุราชการ ผมเชื่อว่า ถ้าเป็นเรื่องความเป็นความตายอย่างการระบาดของโรคโควิด-19 นี้ ประชาชนของเราจะให้ความร่วมมือดีมาก ไม่ดื้อแน่นอน  หากทางราชการขอความร่วมมืออะไร ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัครมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.) กำนันผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกสภาท้องถิ่นเขาจะให้ความร่วมมือดีมาก ไม่เป็นปัญหาเลยในส่วนนี้ ”

            “แหม คุณหมออาวุธตอบคำถามนี้ดีมาก ขอชมเชยด้วยใจจริง สอดคล้องกับประสบการณ์ของผมเลย

            กล่าวคือ เมื่อกลางเดือนธันวาคมนี้ ผมมีความจำเป็นต้องเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร หลังจากที่ไม่ได้เข้ากรุงเทพมหานครเป็นเวลาร่วมปี เพราะมีปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด ผมพบว่า ทุกเส้นทางและทุกแห่งที่ผมได้ผ่านไป ได้มีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเป็นอย่างดี มีเครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ มีเจลสำหรับล้างมือ ประชาชนและเจ้าหน้าที่ล้วนสวมหน้ากากอนามัยด้วยกันทั้งสิ้น

            เส้นทาง สถานที่ และยานพาหนะที่ผมได้ใช้บริการ มีทั้งรถตู้ ท่าอากาศยาน เครื่องบิน รถแท็กซี่ รถเมล์ และรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน

            วันนี้ คงมีเรื่องคุยกันเท่านี้ ขอขอบคุณ คุณหมออาวุธมาก มีโอกาสค่อยคุยกันใหม่นะ ”

            “ด้วยความยินดีครับ ดร.ชา”

ดร.ชา

25/12/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

4 COMMENTS

  1. อาจารย์เขียนบทความตามเหตุการณ์ ค่ะ ได้ความรู้มากค่ะ เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องดูแลตนเองปฏิบัติตนตามกระทรวงสาธารณสุข แนะนำ

    1. นี่คือจุดประสงค์ของอาจารย์ในการเขียนบทความชุดนี้ จะได้เข้าใจสถานการณ์ ไม่ตื่นตระหนกตกใจกลัวมากจนเกินไป

  2. โควิดพบครั้งแรกมาจากภาคเหนือของประเทศไทย หญิงไทยไปเที่ยวในสถานบันเทิงแห่งหนึ่ง
    เหตุผลที่เกิดโควิดจากอาหารทะเลมาจากสาเหตุไหนคะอาจารย์ ขอบคุณค่ะ

    1. คงไม่ใช่อาหารทะเลทำให้คนติดเชื้อโรคโควิด แต่เป็นเพราะมีแรงงานที่รับจ้างทำอาหารทะเลนำเชิ้อโควิดมาแพร่เชิ้อมากกว่า ดัังนั้น หากใครได้สัมผัสบุคคลหรืออาหารทะเลจากแพกุ้งทีสมุทรสาคร จึงมีโอกาสติดเชื้อนั่นเอง

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: