88 / 100

คุณสมบัติ อัน พึงประสงค์บางประการ ของ ประธานาธิบดีอเมริกา เป็นบทความลำดับที 13 ของหมวด 8 เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญ อเมริกา โดยจะกล่าวถึง ความนำ คุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ อายุของผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี อาชีพก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ทางการเมือง คุณสมบัติและประสบการณ์ทางการเมืองของว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 46  วิเคราะห์ สรุป และคุยกับดร.ชา

Table of Contents

1.ความนำ

            ประธานาธิบดีอเมริกา ไม่เพียงแต่เป็นผู้นำของประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังมีฐานะเป็นผู้นำโลกโดยพฤตินัยด้วย ดังนั้น การศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับ คุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ ของประธานาธิบดีอเมริกา จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

            การหาข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์บางประการของประธานาธิบดีอเมริกา ในบทความนี้จะเน้นไปที่ข้อมูลเกี่ยวกับอายุ อาชีพ และประสบการณ์ทางการเมือง ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา จำนวน 45 คนที่ผ่านมา 

  การค้นหาข้อมูลดังกล่าวยิ่งน่าสนใจยิ่งขึ้น เมื่อมีข่าวว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งว่า โจ ไบเดน เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง ถึงขั้นมีการปลุกม็อบไปประท้วงการประชุมสภาคองเกรสเพื่อดำเนินการตรวจนับการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564

                                                                                                                  อายุ หมายถึง อายุขณะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

            อาชีพ หมายถึง อาชีพของบุคคลก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา

            ประสบการณ์ทางการเมือง หมายถึง การได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญทั้งระดับมลรัฐและระดับชาติที่ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาได้ผ่านมาก่อนจะได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี

2.คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเป็นประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญ

          ตามรัฐธรรมนูญอเมริกา ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเป็นประธานาธิบดีไว้ในมาตรา 2 อนุมาตรา 2 วรรคห้าไว้ 3 ประการ คือ

            2.1 ต้องเป็นคนมีสัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด

            การได้สัญชาติอเมริกัน มีอยู่ 2 วิธี คือ การได้สัญชาติอเมริกันโดยกำเนิด และการได้สัญชาติอเมริกันโดยการแปลงสัญชาติ

            ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นตำแหน่งเดียวที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องมีสัญชาติอมริกันโดยกำเนิด ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของชาติ

            2.2 อายุขั้นต่ำ

            ผู้จะสมัครเป็นประธานาธิบดีอเมริกาได้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี

            การกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีอเมริกา เป็นการกำหนดสูงกว่าอายุขั้นต่ำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งกำหนดขั้นต่ำไว้ 25 ปี และ 30 ปี ตามลำดับ

            2.3 ระยะเวลาอยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา

            ผู้จะสมัครเป็นประธานาธิบดีอเมริกา ต้องเป็นผู้ได้อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 ปี ในขณะที่ผู้จะสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องมีระยะเวลาเป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 7 ปี และผู้ที่จะสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา จะต้องมีระยะเวลาเป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 9  ปี

            คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็นรองประธานาธิบดีอเมริกา

          หลังจากได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการสมัครเป็นประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี แยกออกจากกัน ตามรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12/1804 จึงได้กำหนดให้ผู้สมัครเป็นรองประธานาธิบดีต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับประธานาธิบดีทุกประการ

3.อายุของผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

          ตามรัฐธรรมนูญอเมริกากำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็นประธานาธิบดีได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ซึ่งผมได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอายุผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาไว้อย่างละเอียดแล้วในบทความ (11) วิเคราะห์ อายุประธานาธิบดีอเมริกาขณะเข้าดำรงตำแหน่ง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

            3.1 กลุ่มประธานาธิบดีที่เข้าดำรงตำแหน่งขณะมีอายุมากว่า 60 ปี ขึ้นไป

            มีจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 21.74

            3.2 กลุ่มประธานาธิบดีที่เข้าดำรงตำแหน่งขณะมีอายุระหว่าง 50-60 ปี

            มีจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ     58.70

            3.3 กลุ่มประธานาธิบดีทีเข้าดำรงตำแหน่งขณะมีอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมา

            มีจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ       19.56

4.อาชีพก่อนดำรงตำแหน่ง

          ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารของสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีอเมริกามีที่มาจากหลายอาชีพ ดังจะนำเสนอดังนี้

            4.1 ประธานาธิบดีลำดับที่ 1-10

1.) จอร์จ วอชิงตัน (George Washington)-Planter, land surveyor                                                                                          นักเกษตรกรรม นักสำรวจที่ดิน

2.) จอห์น อดัมส์(John Adams)-Lawyer,farmer                                                                                                                                              

            3.)โทมัส เจฟเฟอร์สัน(Thomas Jefferson)-Planter, land surveyor, architect                                                                                                                  นัก เกษตรกรรม นักกฎหมาย นักสำรวจที่ดิน และสถาปนิก

นักกฎหมาย เกษตรกร

            4.)จมส์ เมดิสัน (James Madison)-Planter

                        นักเกษตรกรรม              

            5.)เจมส์ มอนโร(James Monroe)-Planter, lawyer

                        นักเกษตรกรรม นักกฎหมาย                                                         

            6.)จอห์น ควินซี อดัมส์(John Quincy Adams)-Lawyer         

                        นักกฎหมาย      

           7.) แอนดรู แจ็คสัน (Andrew Jackson)-Lawyer, military officer     

                        นักกฎหมาย และทหาร   

            8.)มาร์ติน แวน บุเรน (Martin Van Buren)-Lawyer

นักกฎหมาย                                                                                           9.)วิลเลียม เฮนรี แฮร์ริสัน (William Henry Harrison)-Military 

                        ทหาร                                                                                                             10.)จอห์น ไทเลอร์ (John Tyler)-Lawyer

                        นักกฎหมาย      

ข้อสังเกต 

            ประธานาธิบดีอเมริกา ลำดับที่ 1-10 ประกอบอาชีพนักกฎหมายมาก่อนจำนวน 7 คน นักเกษตรกรรม เกษตรกร และนักสำรวจ จำนวน 2 คน และทหารจำนวน 1 คน

            4.2 ประธานาธิบดี ลำดับที่ 11-20

            11.)เจมส์ เค.โพล์ค (James K. Polk) -Lawyer, Planter

                        นักกฎหมาย นักเกษตรกรรม

            12.)ซาคารี เทเลอร์ (Zachary Taylor)-Military

                        ทหาร

           13.) มิลลาร์ด ฟิลมอร์(Millard Fillmore)-Lawyer

                        นักกฎหมาย

            14.)แฟรงคลิน เพียซ(Franklin Piece )-Lawyer

                        นักกฎหมาย

            15.)เจมส์ บูชานัน (James Buchanan)-Lawyer

                        นักกฎหมาย

            16.)อับราแฮม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)-Lawyer, Land surveyor

                        นักกฎหมาย นักสำรวจที่ดิน

ลินคอล์น ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 16 เคยเป็นทนายความมากอ่น อาชีพทนายความถือเป็นคุณสมบัต อัน พึงประสงค์อย่างหนึง ของประธานาธิบดีอเมริกา
ลินคอล์น ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 16 เคยเป็นทนายความมากอ่น อาชีพทนายความถือเป็นคุณสมบัต อัน พึงประสงค์อย่างหนึง ของประธานาธิบดีอเมริกา

           17.) แอนดรู จอห์นสัน (Andrew Johnson)-(Tailor)

                        ช่างตัดเสื้อ

            18.)ยูลิสเสส เอ็ส. แกรนต์ (Ulysses S. Grant)-Military

                        ทหาร

           19.) รูเธอร์ บ. เฮส์ (Ruther B. Hayes)-Lawyer

                        นักกฎหมาย

            20.)เจมส์ เอ. การ์ฟีลด์ (James A. Garfield)-Ordained minister, lawyer, teacher

                        ศาสนาจารย์ นักกฎหมาย ครู

                        ข้อสังเกต

                        ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 11-20 เป็นนักกฎหมาย จำนวน 7 คน เป็นทหารจำนวน 2 คน และช่างตัดเสื้อ มีอยู่ 1 คน

            4.3 ประธานาธิบดีคนที่ 21-30

           21.) เชสเตอร์ เอ. อาร์เธอร์ (Chester A. Arthur)-Lawyer, Teacher, tariff collector

                        นักกฎหมาย ครู สรรพากร

            22.)กรูฟเวอร์ คลีฟแลนด์(Grover Cleveland)-Lawyer

                        นักกฎหมาย

           23.) เบนจามิน แฮร์ริสัน (Benjamin Harrison)-Court Reporter

                        ผู้สื่อข่าวประจำศาล

           24.) กรูฟเวอร์ คลีฟแลนด์ (Grover Cleveland)-Lawyer

                        นักกฎหมาย

            25.)วิลเลียม แม็คคินลีย์ (William McKinley)-Lawyer

                        นักกฎหมาย

            26.)ธีออดอร์ รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt)-Historian, public servant, military officer, policeman, rancher           

                        นักประวัติศาสตร์ ข้ารัฐการพลเรือน ทหาร ตำรวจ และเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์

            27.)วิลเลียม โฮวาร์ด ทัฟต์ (William Howard Taft)-Lawyer, dean

                        นักกฎหมาย คณบดี

            28.)วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)-Academic

                        นักวิชาการ

          29.)  วอร์เรน จี. ฮาร์ดิง (Warren G. Harding) -Journalist, publisher

                        นักหนังสือพิมพ์ ผู้พิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือ

           30.) แคลวิน คูลิดจ์ (Calvin Coolidge) –Lawyer

                        นักกฎหมาย

                        ข้อสังเกต

                   ประธานาธิบดีลำดับที่ 21-30 ประกอบอาชีพเป็นนักกฎหมาย จำนวน 6 คน นักสื่อสารมวลชน จำนวน 2 คน และนักวิชาการจำนวน 1 คน

            4.4 ประธานาธิบดี ลำดับที่ 31-40

           31.) เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ (Herbert Hoover) -Mining Engineer

                        วิศวกรเหมืองแร่

           32.) แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) –Lawyer

                        นักกฎหมาย

           33.) แฮร์รี เอ็ส. ทรูแมน (Harry S. Truman) -Business man, farmer

                        นักธุรกิจ เกษตร

            34.)ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาว (Dwight D. Eisenhower) – Military officer, university president

                        ทหาร ประธานมหาวิทยาลัย

            35.)จอห์น เอ็ฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) -Journalist, military officer

                        นักหนังสือพิมพ์ ทหาร

            36.) ลินดดอน บี. จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson) -Teacher, military officer

                        ครู ทหาร

            37.) ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) – Lawyer, naval officer

                        นักกฎหมาย ทหารเรือ

           38.) เจรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Ford) –Lawyer

                        นักกฎหมาย

           39.) จิมมี คาร์เตอร์ (Jimmy Carter) – Farmer, naval officer

                        เกษตรกร ทหารเรือ

           40.) โรนัลด์  รีแกน (Ronald Reagan) – Actor, Screen Actors Guild President

                        นักแสดง ประธานสหภาพแรงงานด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์ของสหรัฐอเมริกา

                        ข้อสังเกต

                   ประธานาธิบดีอเมริกาลำดับที่ 31-40 เคยเป็นนักกฎหมายมาก่อนจำนวน 3 คน วิศวกรเหมืองแร่  นักธุรกิจ ทหาร เกษตรกร นักหนังสือพิมพ์ ครู และนักแสดง อย่างละ 1 คน

            4.5 ประธานาธิบดี ลำดับที่ 41-46

           41.) จอร์จ เฮ็ช. ดบเบิลยู. บุช (George H. W. Bush) –  Businessman, Naval Aviator

                        นักธุรกิจ ทหารเรือ

            42.)บิล คลินตัน (Bill Clinton) – Lawyer, teacher

                        นักกฎหมาย ครูอาจารย์

            43.)จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) – Businessman, Air National Guard Pilot

                        นักธุรกิจ นักบินกองทัพอากาศ

           44.) บารัก โอบามา (Barrack Obama ) – Lawyer, teacher

                        นักกฎหมาย ครูอาจารย์

            45.)โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) – Businessman, real estate developer, reality television personality

                        นักธุรกิจ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของรายการโทรทัศน์เรียลิตีโชว์

            46.)โจ ไบเดน (Joe Biden)- Lawyer

                        นักกฎหมาย

ข้อสังเกต

          ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา ลำดับที่ 41-45 ประกอบด้วยผู้เคยเป็นนักกฎหมายมาก่อน 3 คน และนักธุรกิจ 3 คน

            4.6 รวมข้อมูลของประธานาธิบดีคนที่ 1-46

            สรุปได้ว่า ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 1-46 เป็นผู้ประกอบอาชีพก่อนจะได้เป็นประธานาธิบดีดังนี้

            นักกฎหมายหรือทนายความ มีจำนวน        26 คน คิดเป็นร้อยละ 56.52

            นักธุรกิจ                  มีจำนวน      4    คน คิดเป็นร้อยละ 8.69

            ทหาร                                  มีจำนวน     4   คน คิดเป็นร้อยละ 8.69

            นักเกษตรกรรมหรือเกษตรกร         มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 6.52

            อื่น ๆ มีจำนวน 9 คน เช่น ครู นักหนังสือพิมพ์ นักแสดง ช่างตัดเสื้อผ้า 19.56

5.ประสบการณ์ทางการเมือง (และการรับราชการทหาร)

          การเป็นประธานาธิบดีอเมริกา ซึ่งเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารของประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก ผู้ดำรงตำแหน่งจะสามารถทำหน้าที่และแสดงบทบาทได้ดีและโดดเด่นมากน้อยเพียงใด ประสบการณ์ทางการเมืองก่อนที่จะได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนับว่า มีส่วนสำคัญมาก

            ประธานาธิบดีอเมริกาส่วนใหญ่มักจะเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญของมลรัฐหรือของรัฐบาลกลาง เช่น ผู้ว่าการมลรัฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรี และรองประธานาธิบดี บางคนเคยผ่านการดำรงแทบจะทุกตำแหน่ง บางคนเคยผ่านมาบางตำแหน่ง แต่ก็มีบางคนที่เล่นการเมืองครั้งแรก ก็ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเลยโดยไม่เคยผ่านตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ มาก่อน

            นอกจากนี้ ประธานาธิบดีหลายคนเคยรับราชการทหารมาก่อน

            ประสบการณ์ทางการเมืองของผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา 45 คน   พอจะสรุปออกมเป็นภาพรวมได้ดังนี้

            5.1 การเคยรับราชการทหาร

            มีประธานาธิบดีอเมริกาจำนวน 32 คนที่เคยรับราชการทหาร และมีจำนวน 9 คนที่ได้ยศเป็นนายพลแห่งกองทัพบก

            ตัวอย่าง

            จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรก เคยเป็นผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาในช่วงทำสงครามปฏิวัติอเมริกา

            ซาคารี เทเลอร์ (Zachary Taylor) ประธานาธิบดีคนที่ 12  เคยเป็นผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาในช่วงทำสงครามกับเม็กซิโก

            ยูลิสเซส เอ็ส. แกรนต์(Ulysses S. Grant) ประธานาธิบดีคนที่ 18  เคยเป็นผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาในช่วงทำสงครามกลางเมือง

            ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาว (Dwight D. Eisenhower) ประธานาธิบดีคนที่ 34

 เคยเป็นผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

            5.2 การดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

            มีประธานาธิบดีอเมริกา จำนวน 18 คน ที่เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก่อน

            5.3 การดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐ

            มีประธานาธิบดีอเมริกา จำนวน 17 คน เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐ

            ตัวอย่าง

          วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ประธานาธิบดีคนที่ 28 เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐนิวเจอร์ซี (New Jersey)

            แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ประธานาธิบดีคนที่ 32 เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐนิวยอร์ก

            โรนัลด์ รีแกน (Ronald Reagan) ประธานาธิบดีคนที่ 40 เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐคาลิฟอร์เนีย

            บิล คลินตัน (Bill Clinton) ประธานาธิบดีคนที่ 42 เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐอาร์คันซอ

บิล คลินตั่น  เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐอาร์คันซอ ซึ่งเป็นคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ อย่างหนึ่ง ของผู้จะเป็นประธานาธิบดีอเมริกา
บิล คลินตัน ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 42 เคยเป็นผู้วาการมลรัฐอาร์คันซอ มาก่่อ่น

            จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ประธานาธิบดีคนที่ 43 เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมลรัฐเท็กซัส

            5.4 การดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี

            มีประธานาธิบดีอเมริกาจำนวน 15 คน (รวมทั้งว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 46 โจ ไบเดน) เคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีมาก่อน

            ตัวอย่าง

          จอห์น อดัมส์ (John Adams) ประธานาธิบดีคนที่ 2

            โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ประธานาธิบดีคนที่ 3

            แอนดรู จอห์นสัน (Andrew Johnson) ประธานาธิบดีคนที่ 17

            ลินดอน บี. จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson) ประธานาธิบดีคนที่ 36

            โจ ไบเดน (Joe Biden) ว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 46

            5.5 การดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา

            มีประธานาธิบดีอเมริกา 16 คน เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา

            ตัวอย่าง

            จอห์น เอ็ฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy) ประธานาธิบดีคนที่ 35

            บารัก โอบามา (Barack Obama) ประธานาธิบดีคนที่ 44

บารัก โอบามา ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 44 เคยเป็นวุฒิสมาชิกมลรัฐ อิลลินอยส์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติ พึง ประสงค์ อย่างหนึ่งของการเป็นประธานาธิบดีอเมริกา
บารัก โอบามา ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 44 เคยเป็นวุฒิสมาชิกมลรัฐ อิลลินอยส์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติ พึง ประสงค์ อย่างหนึ่งของการเป็นประธานาธิบดีอเมริกา

            5.6 การดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี

            มีประธานาธิบดีอเมริกา 14 คน เคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี

            5.7 การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี  

            มีประธานาธิบดีอเมริกา 8 คน เคยเป็นรัฐมนตรีมาก่อน ในจำนวนนี้มีอยู่ 6 คนที่เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

            5.8 การไม่เคยผ่านการเลือกตั้งมาก่อน

            มีประธานาธิบดีอเมริกา 5 คน ไม่เคยผ่านการเลือกตั้งมาก่อน ได้แก่

            ซาคารี เทเลอร์ (Zachary Taylor) ประธานาธิบดีคนที่ 12

            ยูลิสเซส เอ็ส. แกรนต์ (Ulysses S. Grant) ประธานาธิบดีคนที่ 18

            เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์  (Herbert Hoover) ประธานาธิบดีคนที่ 31

            ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาว (Dwight D. Eisenhower) ประธานาธิบดีคนที่ 34

            โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ประธานาธิบดีคนที่ 45

โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 45 ผู้ไม่เคยผ่านการดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ มาก่อน ทำให้ขาดประสบการณ์ในการบริหารภาครัฐ
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 45 ผู้ไม่เคยผ่านการดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ มาก่อนทำให้ขาดประสบการณ์ในการบริหารภาครัฐ

            แต่ประธานาธิบดี 4 คนแรกได้รับแต่งตั้งให้มีบทบาทสำคัญก่อนจะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี กล่าวคือ

            Herbert Hoover เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

            Zachary Taylor เป็นผู้นำกองทัพสหรัฐอเมริกาไปสู่ชัยชนะในสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน

            Ulysses S. Grant เป็นผู้นำกองทัพสหรัฐอเมริกาไปสู่ชัยชนะในสงครามกลางเมือง

            Dwight D. Eisenhower เป็นผู้กองทัพสหรัฐอเมริกาไปสู่ชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2

            ยกเว้น Donald Trump ที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งใด ๆ ในทางสาธารณะและไม่เคยรับราชการทหาร

          5.9 การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

          มีประธานาธิบดีอเมริกา 4 คน เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมาก่อน ได้แก่

            เจมส์ เอ.การ์ฟีลด์ (James A. Garfield) ประธานาธิบดีคนที่ 20

            วิลเลียม โฮวาร์ด ทัฟต์ (William Howard Taft) ประธานาธิบดีคนที่ 27

            วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ประธานาธิบดีคนที่ 28

            บารัก โอบามา (Barack Obama) ประธานาธิบดีคนที่ 44

6. คุณสมบัติและประสบการณ์ทางการเมืองของว่าที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน

          โจ ไบเดน (Joe Baiden) ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกา คนที่ 46 ซึ่งมีกำหนดการจะเข้ารับตำแหน่งวันที่ 20 มกรคม 2564  มีคุณสมบัติและประสบการณ์ทางการเมืองที่น่าสนใจ ดังนี้

            6.1 เป็นประธานาธิบดีทีมีอายุขณะเข้ารับตำแหน่งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา

            โจ ไบเดน เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 อายุย่างเข้าปีที่ 79

            6.2 เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาของมลรัฐเดลาแวร์ 7 สมัยติดต่อกัน เป็นเวลายาวนานถึง 37 ปี ระหว่างปีพ.ศ.2515-2552

            6.3 เคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 47 เป็นเวลา 8 ปี ระหว่างปีค.ศ.2552-2560 ในยุคสมัยประธานาธิบดีบารัก โอบามา

            6.4 เคยประกอบอาชีพนักกฎหมาย โดยได้รับปริญญาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University)

7.วิเคราะห์ข้อมูลหาคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ของประธานาธิบดีอเมริกา

          7.1 ด้านอายุ

          ประธานาธิบดีอเมริกาส่วนใหญ่จะมีอายุตัวในขณะเข้าดำรงตำแหน่งอยู่ระหว่างอายุ 50-60 ปี มีจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 58.70 ส่วนทีมีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 21.74 และทีมีอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมามีจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 19.56

            ข้อสรุปคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ ด้านอายุ ขณะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

          แสดงให้เห็นว่า คนอเมริกันนิยมเลือกประธานาธิบดีที่มีอายุอยู่ระหว่าง50-60 ปี มากกว่าช่วงอายุอย่างอื่น แต่การมีอายุอยู่ในช่วงมากกว่า 60 ปีขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมา ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำคัญอะไร

            7.2 ด้านอาชีพการงาน

            ตามข้อมูลในข้อ 4.6

            แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบอาชีพนักกฎหมายหรือทนายความ เป็นอาชีพที่ประสบความสำเร็จในการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมากที่สุด มีจำนวนมากถึง 26 คน (รวมทั้งว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 46 โจ  ไบเดน) คิดเป็นร้อยละ 58.69 ส่วนอาชีพนักธุรกิจ ทหาร นักเกษตรกรรมหรือเกษตรกร มีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 8.69, 8.69 และ 6.52 ตามลำดับ ส่วนที่เหลือร้อยละ 19.59 เป็นอาชีพอื่น ๆ

            ข้อสรุปคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ ด้านอาชีพก่อนจะเป็นประธานาธิบดี

          อาชีพนักกฎหมายหรือทนายความ เป็นอาชีพหลักของการจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา

            7.3 ด้านประสบการณ์ทางการเมือง

            ตามข้อมูลที่นำเสนอในหัวข้อ 5. แสดงให้เห็นว่าก่อนจะได้เป็นประธานาธิบดีอเมริกา ส่วนใหญ่จะต้องมีประสบการณ์ทางการเมืองด้วยการดำรงตำแหน่งสำคัญ คือ ผู้ว่าการมลรัฐ สมาชิกวุฒิสภาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรี และรองประธานาธิบดี ตลอดจนการเคยรับราชการทหาร

            มีประธานาธิบดีอเมริกาเพียง 5 คนเท่านั้นที่ไม่เคยผ่านการเลือกตั้งมาก่อนจะได้เป็นประธานาธิบดี ได้แก่

                        7.3.1ซาคารี เทเลอร์ (Zachary Taylor) ประธานาธิบดีคนที่ 12

เป็นผู้นำกองทัพสหรัฐอเมริกาไปสู่ชัยชนะในสงครามเม็กซิกัน-อเมริกัน

                        7.3.2ยูลิสเซส เอ็ส. แกรนต์ (Ulysses S. Grant) ประธานาธิบดีคนที่ 18

เป็นผู้นำกองทัพสหรัฐอเมริกาไปสู่ชัยชนะในสงครามกลางเมือง

                        7.3.3เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์  (Herbert Hoover) ประธานาธิบดีคนที่ 31

เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

                        7.3.4 ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาว (Dwight D. Eisenhower) ประธานาธิบดีคนที่ 34

เป็นผู้นำกองทัพสหรัฐอเมริกาไปสู่ชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2

                        7.4.5 โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ประธานาธิบดีคนที่ 45

            จะเห็นได้ว่า ประธานาธิบดี 4 คนแรก แม้ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งมาก่อนจะได้เป็นประธานาธิบดี แต่ก็ได้รับแต่งตั้งให้มีบทบาทสำคัญต่อชาติก่อนจะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี  

            ยกเว้น Donald Trump ที่ไม่เคยดำรงตำแหน่งใด ๆ ในทางสาธารณะและไม่เคยรับราชการทหาร

            ข้อสรุปคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ด้านประสบการณ์ทางการเมือง

            ก่อนจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอเมริกา จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทางการเมืองด้วยการเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญทั้งระดับมลรัฐ คือ ผู้วาการมลรัฐ ระดับชาติ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรี และรองประธานาธิบดี รวมทั้งการเคยรับราชการทหารมาก่อน

8.สรุป

          บทความ คุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ ของประธานาธิบดีอเมริกา เป็นนำข้อมูลเกี่ยวกับ อายุของประธานาธิบดีอเมริกาขณะเข้าดำรงตำแหน่ง อาชีพก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา และประสบการณ์ทางการเมือง ก่อนจะได้เป็นประธานาธิบดีอเมริกา โดยได้ข้อสรุป ดังนี้คือ

8.1ข้อสรุปคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ ด้านอายุ ขณะเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

          แสดงให้เห็นว่า คนอเมริกันนิยมเลือกประธานาธิบดีที่มีอายุอยู่ระหว่าง50-60 ปี มากกว่าช่วงอายุอย่างอื่น แต่การมีอายุอยู่ในช่วงมากกว่า 60 ปีขึ้นไป หรืออยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 50 ปีลงมา ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำคัญอะไร

            8.2 ข้อสรุปคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ ด้านอาชีพก่อนจะเป็นประธานาธิบดี

          อาชีพนักกฎหมายหรือทนายความ เป็นอาชีพหลักของการจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา

            8.3 ข้อสรุปคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ด้านประสบการณ์ทางการเมือง

            ก่อนจะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอเมริกา จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทางการเมืองด้วยการเคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญทั้งระดับมลรัฐ คือ ผู้วาการมลรัฐ ระดับชาติ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา รัฐมนตรี และรองประธานาธิบดี รวมทั้งการเคยรับราชการทหารมาก่อน

            การดำรงตำแหน่งดังกล่าว อาจจะเป็นการดำรงตำแหน่งหลายอย่างหรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ใน หัวข้อ คุยกับดร.ชาท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

          คู่สนทนาของผมในวันนี้ คือ คุณเนรมิต (ชื่อสมมุติ) เช่นเคย

          “สวัสดีคุณเนรมิต วันนี้ผมอยากชวนท่านคุยในหัวข้อ คุณสมบัติ อัน พึงประสงค์บางประการ ของประธานาธิบดีอเมริกา โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ

          ประเด็นแรก ความเห็นในภาพรวมของคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์บางประการของประธานาธิบดีอเมริกา

          ประเด็นที่สอง เปรียบเทียบคุณสมบัติของโดนัลด์ ทรัมป์ และโจ ไดเบน ในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา

          “สวัสดีครับ ดร.ชา ผมพร้อมแล้ว ผมขอเริ่มในประเด็นแรกเลย

          ในมุมมองของผม คนที่จะได้เป็นประธานาธิบดีอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจหมายเลขหนึ่งของโลก คุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ ต้องไม่ใช่ธรรมดาแน่ เพราะกว่าจะได้เป็นต้องต่อสู้ด้วยความยากลำบาก ต้องมีความตั้งใจและอดทนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าใจไม่สู้หรือไม่พร้อมจริง ๆ คงจะไม่ผ่านในขั้นตอนแรก คือการต่อสู้เพื่อให้ได้รับเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค ให้เป็นผู้สมัครในนามพรรค

          หลังจากได้เป็นตัวแทนพรรคแล้ว ก็ต้องขับเคี่ยวต่อสู้กับผู้สมัครจากพรรคคู่แข่ง โดยต้องต่อสู้กันถึง 50 มลรัฐ เพื่อให้ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอเมริกา

          ดังนั้น หากคุณสมบัติของแต่ละท่านไม่โดดเด่นจริง โอกาสจะชนะการเลือกตั้งย่อมไม่มีทางเป็นไปได้อย่างแน่นอน

          คุณสมบัติหลัก ๆ ก็ คือ อายุตัว อาชีพการงาน และประสบการณ์ทางการเมือง ”

คุณเนรมิตอธิบายภาพรวม

          “ ผมคิดว่า คุณเนรมิตอธิบายภาพรวมได้ดีแล้ว อยากจะให้เปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่าง โดนัลด์ ทรัมป์ และโจ ไบเดน ว่าใคร น่าจะมีคุณสมบัติ อัน พึงประสงค์ มากกว่ากันในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา ” ผมชี้จุดให้คุณเนรมิตแสดงความเห็นต่อ

            “ได้ครับ ดร.ชา

            ในประเด็นที่สองนี้ ผมมีความเห็นว่า โจ ไบเดน อาจจะเป็นรองโดนัลด์ ทรัมป์ ตรงอายุตัว เพราะโจ ไบเดน ปีนี้อายุย่างเข้า 79 ปี ในขณะที่ทรัมป์ อายุย่างเข้าปีที่ 75 ปี แต่ถ้ามองในแง่ประสบการณ์ทางการเมือง ผมคิดว่า ไบเดนน่าจะดีกว่า เพราะเคยผ่านงานสำคัญของประเทศมาก่อนในตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เป็นเวลา 7 สมัยติดต่อกัน คิดเป็นระยะเวลายาวนานถึง 37 ปี และยิ่งกว่านั้น ยังได้เป็นรองประธานาธิบดีสมัยประธานาธิบดี บารัก โอบามา ถึงสองสมัยติดต่อกันเป็นเวลา 8 ปี

            หากรวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับชาติ สองตำแหน่งรวมกันเป็นเวลายาวนานถึง 45 ปี อันนับเป็นเวลาที่ทรงคุณค่าในการสั่งสมประสบการณ์ในการตัดสินใจหรือการกระทำต่าง ๆ ในทางการเมือง

            ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่า หากไบเดน มีโอกาสได้เป็นประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 46 จริง น่าจะสร้างผลงานได้โดดเด่นไม่น้อยหน้าประธานาธิบดีคนอื่น ๆ แม้ว่าอายุตัวออกจะมากไปสักนิดหนึ่ง ” คุณเนรมิตตอบแบบคนผ่านโลกมานาน

            “ แล้วทรัมป์หละ ท่านคิดว่าเป็นอย่างไร ” ผมเตือนเพราะกลัวคุณเนรมิตหลงลืมไม่พูดถึง

            “ อ๋อ ทรัมป์เหรอ

            ผมมีความเห็นว่า ทรัมป์ แม้อาจจะดูมีจุดเด่นตรงเล่นการเมืองครั้งแรกได้เป็นประธานาธิบดีเลย โดยไม่เคยผ่านการดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ มาก่อน รวมทั้งไม่เคยผ่านการรับราชการทหารเหมือนอย่างประธานาธิบดีอเมริกาหลายคน

            แต่หากมองอีกอย่างหนึ่ง การที่ทรัมป์ไม่เคยผ่านการดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ รวมทั้งการไม่เคยรับราชการทหารมาก่อน อาจจะทำให้ทรัมป์ขาดความเข้าใจในการตัดสินใจทางด้านนโยบายสาธารณะ เพราะการตัดสินใจนโยบายด้านสาธารณะ ไม่เหมือนการตัดสินใจทางด้านธุรกิจที่ทรัมป์ถนัด

            ผมหมายความว่า การตัดสินใจทางด้านนโยบายสาธารณะ รัฐพึงคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก แม้ว่าหลายกรณี รัฐอาจจะต้องแบกภาระอุ้มค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลก็ตาม

            แต่ถ้าเป็นการตัดสินใจทางธุรกิจ เจ้าของธุรกิจจะคำนึงถึงการได้กำไรสูงสุดของบริษัทเป็นหลัก ไม่ได้คำนึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ ” คุณเนรมิตอธิบายตามหลักการบริหาร

            “เอาหละ ผมอยากให้คุณเนรมิตสรุปปิดท้ายสักหน่อย ” ผมเปิดโอกาสให้คุณเนรมิตแสดงความเห็นแบบเปิด

            “ ผมคิดอย่างนี้นะ ดร.ชา การบริหารประเทศหรือการบริหารราชการ แตกต่างไปจากการบริหารธุรกิจตรงเป้าหมาย

            การบริหารประเทศมีเป้าหมายอยู่ที่ความสงบสุขของสังคมหรือประชาชนเป็นส่วนรวม แต่การบริหารธุรกิจมีเป้าหมายอยู่ที่การทำกำไรสูงสุดให้บริษัท หากผู้นำประเทศคนใดที่เคยประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพธุรกิจ นำแนวคิดในการบริหารธุรกิจมาใช้ในการบริหารประเทศ แม้ว่าหลายอย่างอาจจะใช้ร่วมกันได้ แต่เป้าหมายแตกต่างกัน ดังนั้นแนวคิด หลักการ หรือกลยุทธ์บางอย่างของภาคธุรกิจอาจจะไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการบริหารประเทศ ” คุณเนรมิตกล่าวปิดท้ายได้อย่างน่าฟัง

            “ แหม วันนี้ คุณเนรมิตได้ให้ข้อคิดหลายอย่างเลย ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างมากทีกรุณาสละเวลามาสนทนากันในวันนี้ โอกาสหน้าค่อยเชิญมาคุยกันใหม่

            ดูแลตัวเองให้ดี ๆ นะ อย่าให้เสียท่าโรคโควิด-19 เสียชื่อนักเรียนนอกแน่ ” ผมกล่าวขอบคุณและปิดการสนทนา

            “ ด้วยความยินดีครับ ดร.ชา ขอบคุณที่เป็นห่วง  ท่านก็เช่นกันดูแลตัวเองให้ดี ๆ ด้วย ” คุณเนรมิตแสดงความเป็นห่วงผมเช่นกัน

                                           ดร.ชา

                                       7/01/21

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: