67 / 100

บทความ (12) รูปแบบการปกครอง ญี่ปุ่น-รูปแบบการปกครองเคยคล้ายไทย จะกล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นของญี่ปุ่นที่น่าสนใจ รูปแบบการปกครองก่อนจะแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 รูปแบบการปกครองหลังสงครมโลกครั้งที่ 2 รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น สรุป และคุยกับดร.ชา (เปรียบเทียบรูปแบบการปกครอง ญี่ปุ่น-ไทย)

            ในบทความก่อนหน้านี้ (11) รูปแบบการปกครอง ได้เล่าถึงการปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นยุคจักรพรรดิเมจิ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดจนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจชั้นนำประเทศหนึ่งของโลกอยู่ในปัจจุบันนี้

Table of Contents

1.ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศญี่ปุ่นที่ควรทราบ

          ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศญี่ปุ่นที่ควรทราบ ได้แก่ ทำเลที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ จำนวนประชากร รายได้รวมประชาชาติ และรายได้เฉลี่ยต่อหัว

            1.1 ทำเลที่ตั้ง

            ญี่ปุ่นเป็นประเทศในเอเชียตะวันออก เป็นหมู่เกาะ มีจำนวน 6,852 เกาะ  ตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิกทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมีจีน และเกาหลี เป็นประเทศเพื่อนบ้านบนแผ่นดินใหญ่ (Wikipedia, Japan, 10th September 2020)

แผนที่ประเทศญี่ปุ่น (Wikipedia, Japanese maps, 11th September 2020)
แผนที่ประเทศญี่ปุ่น (Wikipedia, Japanese maps, 11th September 2020)

            1.2 ขนาดพื้นที่

            ญี่ปุ่นมีพื้นที่ 377,975 ตารางกิโลเมตร   มากเป็นอันดับ 61 ของโลก รองลงมาจากซิมบับเว ส่วนไทยมีพื้นที่ 513,120 ตารางกิโลเมตร มากเป็นอันดับที่ 50 ของโลก  (Wikipedia, List of Countries by Area, 10th September 2020) 

            1.3 จำนวนประชากร

            ญี่ปุ่นมีประชากร ปี 2020  จำนวน 126,476,461 คน มากเป็นอันดับ 11 ของโลก รองลงมาจากเม็กซิโก และมีความหนาแน่น จำนวน 344 คน ต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร นับมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก ส่วนไทยมีประชากร ปี 2020 จำนวน 69,799,978 คน มากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก

(Worldmeter, Population by Country (2020), 10th September 2020)

          1.4 รายได้รวมประชาชาติหรือจีดีพี ปี 2019

          ตามข้อมูลของธนาคารโลก ญี่ปุ่นมีจีดีพี ปี 2019 จำนวน 5,081,770 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับที่สามของโลก รองลงมาจากสหรัฐอเมริกา และจีน

            ส่วนไทยมีจีดีพี ปี 2019 จำนวน 543,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 22 ของโลก รองลงมาจากไต้หวัน (Wikipedia, List of Countries by GDP(nominal), 9th September 2020)           

            1.5 รายได้เฉลี่ยต่อหัว (Per capita income) ปี 2019

          ตามข้อมูลของธนาคารโลก ประชากรญี่ปุ่นมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว ปี 2019 จำนวน 40,494 ดอลลาร์สหรัฐ นับสูงเป็นอันดับที่ 27 ของโลก รองลงมาจากฝรั่งเศส

            ส่วนประชากรไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว ปี 2019 จำนวน 7,808 ดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 82 ของโลก รองลงมาจากประเทศบอตสวานา (Botswana)

(Wikipedia, List of Countries by GDP Per Capita,10th September 2020)    

2.รูปแบบการปกครองประเทศญี่ปุ่นก่อนที่จะแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

          ผมได้เล่าในบทความ(11) แล้วว่า ญี่ปุ่นได้มีการปฏิรูปประเทศให้เป็นประเทศสมัยใหม่แบบตะวันตกในยุคจักรพรรดิเมจิ ช่วง ปีค.ศ.1868-1912 รวมเป็นระยะเวลา 44 ปี จนทำให้ญี่ปุ่นมีความเจริญก้าวหน้าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ทัดเทียมมหาอำนาจตะวันตก จนกระทั่งสามารถจัดงานแสดงอุตสาหกรรมโตเกียวได้เมื่อปีค.ศ.1907 (1907 Tokyo  Industrial Exhibition)

          ในด้านรูปแบบการปกครองประเทศในยุคจักรพรรดิเมจิ ได้มีการรื้อฟื้นอำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิให้เป็นศูนย์กลางในการปกครองประเทศตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จัดรูปแบบการบริหารประเทศแบบตะวันตก ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยในส่วนภูมิภาคให้ยกเลิกระบบไดเมียว (daimyo) ซึ่งเป็นตำแหน่งขุนนางผู้ปกครองหัวเมืองในยุคสังคมฟิวดัลหรือศักดินา  แล้วจัดตั้งเป็นจังหวัด (prefecture) มี ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นผู้แต่งตั้งไปปกครองแทน เพื่อให้สามารถรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้สมบูรณ์

รูปแบบการปกครองดังกล่าวได้ใช้เรื่อยมาจนกระทั่งปี ค.ศ.1946 ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเสียใหม่จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่มีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข

3.รูปแบบการปกครองประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนปัจจุบัน

          ภายหลังแพ้สงครามแปซิฟิก (Pacific War) และถูกทิ้งระเบิดปรมาณูจำนวน 2 ลูก ที่เมืองนางาซากิและเมืองฮิโรชิมา ญี่ปุ่นได้ยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปีค.ศ.1945 และอยู่ภายใต้การครอบครองของฝ่ายสัมพันธมิตร (Under an Allied occupation) ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา

            หลังจากนั้น ญี่ปุ่นจำเป็นต้องปฏิรูปการปกครองประเทศใหม่อีกครั้งหนึ่งด้วยการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่แทนรัฐธรรมนูญสมัยเมจิ (Constitution of the Empire of Japan/Meiji Constitution) ซึ่งได้ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1889 โดยร่างตามความต้องการของฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงคราม

            รัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับนี้ได้ประกาศใช้บังคับมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1946 ตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ โดยกำหนดให้ญี่ปุ่นเป็นรัฐเดี่ยว มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่มีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข (Unitary parliamentary constitutional monarchy) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

            3.1 สมเด็จพระจักรพรรดิ (The Emperor)

          สมเด็จพระจักรพรรดิเป็นสัญลักษณ์ของรัฐ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน (มาตรา 1)

          3.2 การสละสิทธิทำสงคราม (Renunciation of War)

          เพื่อความสงบของนานาชาติ ญี่ปุ่นต้องไม่ก่อสงครามและต้องไม่ใช้กำลังทหารในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ญี่ปุ่นจะต้องไม่มีกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกองทัพบก (มาตรา 9)

          3.3 รัฐสภา (The Diet)

          รัฐสภาเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร (The House of Representatives) และวุฒิสภา (The House of Councillors)  สมาชิกของทั้งสองสภาได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง

รัฐสภาญี่ปุ่น (Diet) (Wikipedia, Japan, 11th   September 2020)
รัฐสภาญี่ปุ่น (Diet) (Wikipedia, Japan, 11th September 2020)

            สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีวาระดำรงตำแหน่ 4 ปี ส่วนสมาชิกวุฒิสภา มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี (มาตรา 41-45)

          3.4 คณะรัฐมนตรี (The Cabinet)

          อำนาจในการบริหารเป็นของคณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่าง ๆ  ต้องเป็นพลเรือน โดยนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ส่วนรัฐมนตรีต่าง ๆ  นายกรัฐมนตรีต้องเลือกจากผู้ที่เป็นสมาชิกรัฐสภาเป็นส่วนใหญ่ (มาตรา 65-68)

          3.5 การปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Self-Government)

          หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดองค์กรและการปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเป็นไปตามหลักของความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของท้องถิ่น (principle of local autonomy) โดยฝ่ายบริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง

            ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิในการจัดการทรัพย์สิน กิจการ การบริหาร และการออกข้อบัญญัติของตนเองภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย  นอกจากนี้ การจะออกกฎหมายจัดให้มีการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นด้วย (มาตรา 92-95)

4.รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น

          ภายใต้หลักเกณฑ์ที่วางไว้ตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้น  รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดไว้เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแบบสองชั้น ชั้นบน คือ จังหวัด และชั้นล่าง คือเทศบาล

            4.1 จังหวัด (Prefecture) มีจำนวน 47 จังหวัด

          ให้ยุบจังหวัดที่เป็นส่วนภูมิภาคอยู่เดิม ให้เป็นจังหวัดในรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายบริหารคือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง แทนการแต่งตั้งจากสมเด็จพระจักรพรรดิ  ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สภาจังหวัด สมาชิกสภาจังหวัดได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงเช่นเดียวกัน

            4.2 เทศบาล

            เป็นเทศบาลที่เคยมีอยู่แล้ว โดยแบ่งเทศบาลออกเป็น 3 ระดับ คือ

            เทศบาลนคร(ชิ)  เทศบาลเมือง(โช) และเทศบาลตำบล(ชอน)

            สมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี ต่างได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

            4.3 กรุงโตเกียว (Tokyo Metropolis)

            กรุงโตเกียว หรือมหานครโตเกียว เป็นเมืองหลวงและเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดของญี่ปุ่น  การปกครองท้องถิ่นระดับบนอยู่ในรูปของจังหวัดแบบมหานคร ส่วนการปกครองท้องถิ่นระดับล่างแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือ

                        4.3.1 พื้นที่ชั้นใน (special wards) มีจำนวน 23 แห่ง บริหารงานในรูปแบบพิเศษ มีประชากร ปี 2020 จำนวน 13,929,280 คน

                        4.3.2 พื้นที่ชั้นนอก บริหารงานในรูปแบบเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล เหมือนในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ

            มหานครโตเกียว มีประชากรทั้งหมด  35,237,000 คน  นับเป็นมหานครที่มีประชากรมากที่สุดในโลก เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านการคลังของโลกเป็นอันดับสามรองลงมาจากกรุงนิวยอร์ค และกรุงลอนดอน

(Wikipedia, Tokyo,11th September 2020)

5.สรุป

          รูปแบบการปกครองประเทศญี่ปุ่นก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 คล้ายกับรูปแบบการปกครองประเทศไทยในปัจจุบัน กล่าวคือ เป็นประเทศรัฐเดี่ยวที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มีการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด

            แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ต้องปฏิรูปการปกครองประเทศใหม่ตามความต้องการของฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยอเมริกา ให้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา พร้อมกับยุบการปกครองส่วนภูมิภาค ให้ไปรวมเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยจังหวัดจำนวน 47 จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงแทนการแต่งตั้งจากส่วนกลางคือสมเด็จพระจักรพรรดิ

            ส่วนความคิดเห็นเพิ่มเติมขอเชิญติดตามได้ใน คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

          คู่สนทนาของผมวันนี้ คงเป็นคุณพสุธาคนเดิม

“คุณพสุธา วันนี้ เรามาคุยกันต่อในเรื่องของประเทศญี่ปุ่น                      ประเด็นแรก คือ รูปแบบการปกครองประเทศญี่ปุ่นก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

          อาจารย์ขอถามความเห็นสักนิดหนึ่งว่า ทำไมจึงกล่าวว่า รูปแบบการปกครองประเทศญี่ปุ่นก่อนสิ้นสุดสงครามโลก คล้ายกับรูปแบบการปกครองของประเทศไทยในปัจจุบัน” ผมถามเข้าประเด็นเลย

            “ ผมเข้าใจว่า สยามประเทศในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 5 และสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ทั้งสองพระองค์ทรงมีแนวคิดตรงกันว่า จะเอาตัวรอดจากนักล่าอาณานิคมตะวันตกได้ ก่อนอื่นต้องศึกษาดูก่อนว่า รูปแบบการปกครองของเขาเป็นอย่างไร ทำไมจึงมีความเข้มแข็ง สามารถล่าอาณานิคมไปทั่วโลกได้

            หากเป็นรัฐเดี่ยว รูปแบบที่เป็นแม่แบบที่ดีในยุคนั้น คือ รูปแบบการปกครองของฝรั่งเศส ตามที่สมเด็จพระเจ้านโปเลียนมหาราชได้ทรงวางรากฐานไว้ในช่วงปีค.ศ.1804-1814 นั่นคือการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง พร้อมกับแบ่งการปกครองเป็นส่วนภูมิภาค และแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจากส่วนกลางไปดำรงตำแหน่งเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการปกครองประเทศ” คุณพสุธาตอบตามความรู้สึกและความรู้ที่เคยศึกษามา

            “ คุณพสุธาตอบได้ตรงประเด็นดี ในประเด็นที่สอง อาจารย์ขอทราบความเห็นว่า พอสงครามโลกครั้งที 2 สิ้นสุดลง ทำไมญี่ปุ่นจึงยุบการปกครองส่วนภูมิภาคเสีย ทั้ง ๆ ที่ก็เป็นรูปแบบการปกครองที่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้แก่ญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำให้ญี่ปุ่นรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้สำเร็จ แทนที่อำนาจจะกระจัดกระจายไปอยู่ในมือขุนนางตามหัวเมืองต่าง ๆ เหมือนสมัยโชกุน ” ผมถามต่อโดยนำเสนอข้อเท็จจริงบางอย่างประกอบคำถาม

            “ ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ที่ว่า รูปแบบการปกครองรัฐเดี่ยวที่มีส่วนภูมิภาคนับตั้งแต่ยุคการปฏิรูปสมัยจักรพรรดิเมจิ ได้มีส่วนทำให้ญี่ปุ่นเข้มแข็งขึ้นมาจนกลายเป็นมหาอำนาจประเทศหนึ่งในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2

          แต่เมื่อญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายผู้ชนะคือฝ่ายสัมพันธมิตร ก็ต้องหาลดความเข้มแข็งของญี่ปุ่นให้น้อยลง เพื่อป้องกันมิให้ญี่ปุ่นสามารถก่อสงครามได้อีก เช่น ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของฝ่ายสัมพันธมิตร โดยให้ปฏิรูปการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่มีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข

รวมทั้งห้ามญี่ปุ่นก่อสงคราม ห้ามมีกองทัพไว้รุกรานประเทศอื่น ๆ  คงมีได้เฉพาะกองกำลังเพื่อป้องกันตนเอง   

            ยิ่งกว่านั้น ยังให้ยุบการปกครองส่วนภูมิภาคเสีย ให้เหลือเฉพาะการปกครองส่วนกลางและการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อลดอำนาจรัฐให้น้อยลง ให้อำนาจไปอยู่ในมือประชาชนแทน เหมือนอย่างทุกวันนี้” คุณพสุธาตอบด้วยความมั่นอกมั่นใจ

            “ อาจารย์คิดว่า คุณพสุธาตอบได้ชัดเจนและตรงประเด็นดีมาก ขอถามเป็นประเด็นสุดท้ายคือ ญี่ปุ่นเองเพิ่งเปลี่ยนระบอบการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาเมื่อปี ค.ศ.1946 ภายหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เอง

            คำถามคือ ทำไมการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาของญี่ปุ่นจึงดูมั่นคง มีเสถียรภาพ ไม่มีการปฏิวัติรัฐประหาร ไม่มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อาจจะกล่าวได้ว่า ร่างขึ้นตามความต้องการของอเมริกาในฐานะผู้ชนะสงคราม ” ผมถามในสิ่งที่หลายคนอยากจะทราบ

            “ คืออย่างนี้ครับอาจารย์ แม้ญี่ปุ่นจะเพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาเมื่อปี ค.ศ.1946 หรือพ.ศ.2489 หลังไทยเป็นเวลา 14 ปี ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปีพ.ศ.2475  แต่อาจารย์ต้องไม่ลืมว่า ญี่ปุ่นได้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมมาตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเมจิแล้ว แสดงว่า คนเขาต้องมีคุณภาพพร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับระบอบการปกครองใหม่ได้ไม่ยากเลย

            ผิดกับประเทศไทย แม้เวลานี้ก็ยังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่เลย แสดงว่าคุณภาพคนยังไม่เข้าขั้นหรือเปล่า ผมไม่แน่ใจ ” คุณพสุธาตอบอย่างใช้ความคิดอย่างลึกซึ้ง

            “เยี่ยมมาก คุณพสุธา เป็นคำตอบที่ลึกซึ้งมาก วันนี้อาจารย์คงรบกวนเท่านี้ ขอบคุณมาก เอาไว้คราวหน้าพบกันอีกครั้งหนึ่ง เราจะได้คุยกันเรื่องระบบตำรวจญี่ปุ่นโดยตรง” ผมกล่าวขอบคุณพร้อมยุติการสนทนา

            “ด้วยความยินดีครับ ผมพร้อมจะเคลียร์งานมาคุยกับอาจารย์ให้ได้ ” คุณพสุธาตอบรับด้วยความกระตือรือร้น

                                                ดร.ชา

                                                11/09/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18) (New***) 3

ชาว ไทยกับกฎหมายอุ้มหาย: มีระบบและกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจอันมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้จริงหรือไม่ เพียงใด (18) (New***)

ชาว ไทย ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอุ้มหาย

รัฐ สมาชิกของสหภาพยุโรป มีประเทศอะไรบ้าง (3) 4

รัฐ สมาชิกของสหภาพยุโรป มีประเทศอะไรบ้าง (3)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “รัฐ สมาชิก สหภาพยุโรป มีประเทศอะไรบ้าง” เป็นบทความลำดับที่ 3 ของหมวด 15 เรื่องเล่า สหภาพยุโรปหรืออียู เนื้อหาประกอบด้วย ความนำ รัฐ สมาชิกรุ่นบุกเบิก หลักเกณฑ์ในการรับรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรป  แรงจูงใจในการสมัครเข้าเป็นภาคีของสหภาพยุโรป การขยายตัวครั้งที่หนึ่ง การขยายตัวครั้งที่สอง การขยายตัวครั้งที่สาม การขยายตัวครั้งที่สี่ การขยายตัวครั้งที่ห้า การขยายตัวครั้งที่หกประเทศที่รอโอกาสเข้าเป็นภาคีของอียู วิเคราะห์ความยากง่ายในการเข้าเป็นภาคีของอียู สรุป ถาม-ตอบ สนุกกับดร.ชา 369 1.ความนำ           แม้การรวมตัวของรัฐต่าง ๆ…

สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป มีอะไรบ้าง (2) 5

สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป มีอะไรบ้าง (2)

Share on Social Media facebook email 86 / 100 Powered by Rank Math SEO “สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป เป็นบทความลำดับที่ 2 ของหมวด 15 เรื่องเล่า สหภาพยุโรป หรืออียู” โดยจะกล่าวถึง สหภาพยุโรปยุโรปคืออะไร สถาบันหลักของสหภาพยุโรป คณะมนตรียุโรปหรือการประชุมสุดยอดยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป รัฐสภายุโรป ศาลยุติธรรมยุโรป  สถาบันหลักอื่น ๆ  สรุปและข้อคิดเห็น ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 3 1. สหภาพยุโรปคืออะไร           ก่อนจะกล่าวถึงสถาบันหลักของสหภาพยุโรปว่า มีอะไรบ้าง จำเป็นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า สหภาพยุโรปคืออะไรกัน มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่            …

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: