87 / 100

Table of Contents

1.ความนำ

          คะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง เป็นตัวตัดสินว่า ใครจะได้เป็นประธานาธิบดีอเมริกา เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา โดยจะกล่าวถึงสถิติในการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาที่ผ่านมาจำนวน 59 ครั้ง เพื่อชี้ให้เห็นว่า ผู้ได้รับเลือกตั้งได้เสียงของคณะผู้เลือกตั้งมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ ยังจะชี้เห็นว่า มีครั้งใดบ้างที่ผู้ได้รับเลือกตั้งได้เสียงความนิยมจากประชาชนน้อยกว่า ผู้แพ้เลือกตั้ง

การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาเป็นที่สนใจของคนทั้งโลก ดังเช่นข่าวของบีบีซีนี้ เพราะประธานาธิบดีอเมริกามีบทบาทเป็นผู้นำโลก ดังนั้น การศึกษาวิธีได้มาซึ่งตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกาจึงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจสำหรับชาวโลกเสมอ

2.ทบทวนบทความที่เกี่ยวข้อง

          เพื่อความเข้าใจอันดี ท่านผู้อ่านอาจจะย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ คือ บทความ ผู้ชนะ เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา อยู่ในกำมือของคนเพียง 538 คนเท่านั้น  (10)

          บทความนี้จะทำให้ท่านทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา (Electoral College) ได้แก่ ที่มาของคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา จำนวนผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา แยกตามมลรัฐ และทิศทางในการออกเสียงของผู้เลือกตั้ง ฯ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2020

3.จำนวนผู้เลือกตั้งของแต่ละมลรัฐ ไม่คงที่อาจเปลี่ยนแปลงได้

            จำนวนผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีของแต่ละมลรัฐ จำนวนไม่คงที่ หากมลรัฐใด มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้น จำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ ของมลรัฐนั้นก็มีจะมีจำนวนมากขึ้นไปด้วย ในทางตรงกันข้าม หากมลรัฐใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลดลงตามสัดส่วนของจำนวนประชากรของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งจะมีการสำรวจสำมะโนประชากรใหม่ทุก 10 ปี จำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ ที่พึงมีของมลรัฐนั้นก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกัน

            นอกจากนี้ จำนวนผู้เลือกตั้งทั้งหมดในระยะเริ่มแรก มีจำนวนน้อยกว่าจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ ในปัจจุบัน แปรผันตามจำนวนมลรัฐที่เพิ่มขึ้น จากจำนวน 13 มลรัฐ เมื่อเริ่มแรก จนเป็นจำนวน 50 มลรัฐในปัจจุบัน โดยครั้งแรกมีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ ทั้งหมดเพียง 69 คน เพราะมีมลรัฐจำนวน 13 มลรัฐ แต่ละมลรัฐมีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ 3 คน แต่ปัจจุบันนี้ จำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ ทั้งหมดหยุดนิ่งอยู่ที่ 538 คน

            การคำนวณจำนวนผู้เลือกตั้งของแต่ละมลรัฐ ให้เอาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของมลรัฐที่พึงมี รวมกับจำนวนสมาชิกวุฒิสภา มลรัฐละ 2 คน ทั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญอเมริกา มาตรา 2 อนุมาตรา 1 วรรคสอง

4.วิธีการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีของผู้เลือกตั้ง (Elector)

            วิธีการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีของผู้เลือกตั้งแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ

            4.1 ยุคเริ่มแรก

            ยุคเริ่มแรก นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญของอเมริกามีผลบังคับใช้ เมื่อปีค.ศ.1789 จนถึงเวลาก่อนที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติม ฉบับที่ 12/1804

            การออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาในยุคแรกนี้ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญอเมริกา มาตรา 2 อนุมาตรา 1 กล่าวคือ ผู้เลือกตั้ง ฯ คนหนึ่งให้ออกเสียงเลือกประธานาธิบดีได้สองคน และเมื่อมีการรวมคะแนนเสร็จแล้ว ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้เป็นประธานาธิบดี และผู้ได้คะแนนรองลงมาจะได้เป็นประธานาธิบดี หมายความว่า ในยุคแรกนี้ ไม่ได้มีการให้สมัครเป็นรองประธานาธิบดีต่างหาก

            การให้ผู้เลือกตั้ง ฯ คนหนึ่งออกเสียงเลือกประธานาธิบดี 2 คน โดยให้ผู้ที่ได้เสียงมากที่สุดเป็นประธานาธิบดี และผู้ได้เสียงรองลงมาเป็นรองประธานาธิบดี ทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน เพราะคนได้เป็นประธานาธิบดีและคนได้เป็นรองประธานาธิบดีอาจทำงานเข้ากันไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้สมัครเป็นทีมเดียวกันมาก่อน

            4.2 ยุคหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12/1804

            ตามรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12/1804 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีใหม่ จากเดิมที่กำหนดให้ผู้เลือกตั้ง ออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีจำนวน 2 คน เปลี่ยนเป็นให้ผู้เลือกตั้งออกเสียงเป็น 2 ใบ ใบแรก เป็นการเลือกประธานาธิบดี และใบที่สอง เป็นการเลือกตั้งรองประธานาธิบดี หมายความว่า การสมัครเลือกตั้ง ผู้สมัครต้องสมัครเป็นทีม ประกอบด้วยผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีคนหนึ่ง และสมัครเป็นรองประธานาธิบดีอีกคนหนึ่ง

5.คะแนนของผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี

          ผู้สมัครชิงชัยในตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกา จะต้องได้รับเสียงของคณะผู้เลือกตั้ง ฯมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป

อนึ่ง แม้ประธานาธิบดีอเมริกา นับจากอดีตจนปัจจุบันมีจำนวน 46 คน (นับรวมโจ ไบเดน ด้วย) แต่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกามาแล้ว 59 ครั้ง และประธานาธิบดีบางคนได้รับเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งสมัย

เพื่อให้สามารถมองเห็นภาพการได้เสียงของคณะผู้เลือกตั้ง ฯ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีทั้ง 59 ครั้งได้ชัดเจน จะขอแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือกตั้ง ด้วยเสียงร้อยละ 90 ขึ้นไป

กลุ่มที่ 2 ประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือกตั้ง ด้วยเสียงระหว่างร้อยละ 80-90

กลุ่มที่ 3 ประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือกตั้ง ด้วยเสียงระหว่างร้อยละ 70-80

กลุ่มที่ 4 ประธานาธิบดีผู้ได้รัยเลือกตั้ง ด้วยเสียงระหว่างร้อยละ 60-70

กลุ่มที่ 5 ประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือกตั้ง ด้วยเสียงระหว่างร้อยละ 50-60

รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจศึกษาเพิ่มเติมไดจากเว็บไซต์ Wikipedia, List of United States presidential elections by Electoral Margin

6.กลุ่มที่ 1 ประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือกด้วยเสียงตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป มีจำนวน 10 คน คือ

(ตัวเลขหลังเครื่องหมาย / หมายถึงจำนวนคณะผู้เลือกตั้งที่มีอยู่ในขณะนั้น)

            กลุ่มนี้ จัดเป็นกลุ่มที่ได้รับเลือกด้วยเสียงอย่างท่วมท้น ร้อยละ 90-100 คิดเป็นร้อยละ 16.95 ของจำนวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาทั้งหมด 59 ครั้ง

6.1 จอร์จ วอชิงตัน (George Washington)          เมื่อปี ค.ศ.1788-1989

69/69 เสียง              คิดเป็นร้อยละ 100    

           6.2จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เมื่อปี ค.ศ.1792                             69/69 เสียง              คิดเป็นร้อยละ 100

จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา ได้รับคะแนนของคณะผู้เลือกตั้งร้อยละ 100 ทั้งสองสมัยติดต่อกัน
จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา ได้รับคะแนนของคณะผู้เลือกตั้งร้อยละ 100 ทั้งสองสมัยติดต่อกัน

6.3 เจมส์ มอนโร (James Monroe)         เมื่อปี ค.ศ.1820

131/132 เสียง          คิดเป็นร้อยละ 99.57

6.4 แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt)          เมื่อปีค.ศ.1936

523/531 เสียง          คิดเป็นร้อยละ 98.49    

 

แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 32 เป็นประธานาธิบดีถึงสี่สมัย เคยได้รับคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งมากถึงร้อยละ 98.49
แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 32 เป็นประธานาธิบดีถึงสี่สมัย เคยได้รับคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งมากถึงร้อยละ 98.49

6.5 โรนัลด์ รีแกน (Ronald Reagan)        เมื่อปีค.ศ.1984

525/538      คิดเป็นร้อยละ 96.65

6.6 ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon)         เมื่อปีค.ศ.1972

520/538      คิดเป็นร้อยละ 96.65

6.7 โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson)        เมื่อปีค.ศ. 1804

162/176      คิดเป็นร้อยละ 92.05

6.8 อับราแฮม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) เมื่อปีค.ศ.1864

212/233      คิดเป็นร้อยละ 90.99

6.9 โรนัลด์ รีแกน(Ronald Reagan)         เมื่อปีค.ศ.1980

489/538      คิดเป็นร้อยละ    90.89

6.10 ลินดอน บี. จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson)              เมื่อปีค.ศ.1964

486/538      คิดเป็นร้อยละ    90.33

            ข้อสังเกต

          กลุ่มนี้ นำโดยจอร์จ วอชิงตัน ซึ่งเป็นประธานาธิบดีอเมริกาคนแรก ซึ่งได้เสียงสนับสนุนจากคณะผู้เลือกตั้ง ฯ ร้อยละ 100

7. กลุ่มที่ 2 ผู้ได้รับเลือก ด้วยเสียง ร้อยละ 80-90 มีจำนวน     10 คน

            กลุ่มนี้ ถือได้ว่าได้รับเสียงสนับสนุนจากคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีมาก คิดเป็นร้อยละ 16.95 ของจำนวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาทั้งหมด 59 ครั้ง

            7.1 แฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt)          เมื่อปีค.ศ.1932

472/531      คิดเป็นร้อยละ    88.89

            7.2 ดไวต์ ไอเซนฮาว (Dwight Eisenhower)         เมื่อปีค.ศ.1956

457/531      คิดเป็นร้อยละ    86.06

            7.3 แฟรงคลิน เพียซ (Franklin Piece)     เมื่อปีค.ศ.1852

254/296      คิดเป็นร้อยละ    85.81

            7.4 แฟรงคลิน ดี.รูสเวลต์(Franklin D. Roosevelt)            เมื่อปีค.ศ.1940

449/531      คิดเป็นร้อยละ    84.56

            7.5 เจมส์ มอนโร (James Monroe)         เมื่อปีค.ศ.1816

183/217      คิดเป็นร้อยละ    84.33

            7.6 เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ (Herbert Hoover)              เมื่อปีค.ศ.1928

444/531      คิดเป็นร้อยละ    83.62

            7.7 ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาว (Dwight D. Eisenhower)            เมื่อปีค.ศ.1952

442/531      คิดเป็นร้อยละ 83.24

            7.8 ยูลิซีส เอ็ส.แกรนต์ (Ulysses S. Grant)           เมื่อปีค.ศ.1872

286/352      คิดเป็นร้อยละ    81.95

            7.9 วูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson)     เมื่อปีค.ศ.1912

435/531      คิดเป็นร้อยละ    81.92

            7.10 แฟรงคลิน ดี.รูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt)         เมื่อปีค.ศ.1944

432/531      คิดเป็นร้อยละ    81.36

8. กลุ่มที่ 3 ประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือก ด้วยเสียง ร้อยละ 70-80 มีจำนวน 8 คน

            กลุ่มนี้ ถือได้ว่า ได้รับเสียงสนับสนุนจากคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาค่อนข้างมาก คิดเป็นร้อยละ 13.56 ของจำนวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีทั้งหมด 59 ครั้ง

            8.1 วิลเลียม เฮนรี แฮร์ริสัน (William Henry Harrison)    เมื่อปีค.ศ.1840

234/294      คิดเป็นร้อยละ    79.59

            8.2 จอร์จ เฮ็ช .ดับเบิลยู.บุช (George H.W. Bush)            เมื่อปีค.ศ.1988

426/538      คิดเป็นร้อยละ    79.18

            8.3 แอนดรูว์ แจ็คสัน (Andrew Jackson)             เมื่อปีค.ศ.1832

219/286      คิดเป็นร้อยละ    76.57

            8.4 วอร์เรน จี. ฮาร์ดิง (Warren G. Harding)       เมื่อปีค.ศ.1920

404/531      คิดเป็นร้อยละ    76.08

            8.5 ยูลิสเซส เอส. แกรนต์ (Ulysses S. Grant)       เมื่อปีค.ศ.1868

214/294      คิดเป็นร้อยละ    72.79

            8.6 แคลวิน คูลิดจ์ (Calvin Coolidge)                 เมื่อปีค.ศ.1924

382/531      คิดเป็นร้อยละ    71.94

            8.7 ธีโอดอร์ รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt)       เมื่อปีค.ศ.1904

336/476      คิดเป็นร้อยละ    70.59

            8.8 บิล คลินตัน (Bill Clinton)                เมื่อปีค.ศ.1996

379/538      คิดเป็นร้อยละ    70.45

บิล คลินตัน (Bill Clinton) ประธานาธฺิบดีอเมริกา คนที่ 42  เป็นสองสมัยติดต่อกัน
บิล คลินตัน (Bill Clinton) ประธานาธฺิบดีอเมริกา คนที่ 42 เป็นสองสมัยติดต่อกัน

9. กลุ่มที่ 4 ประธานาธิบดี ผู้ได้รับเสียง ร้อยละ 60-70 มีจำนวน 10 คน

            กลุ่มนี้ ถือว่า ได้รับการสนับสนุนจากคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 16.95 ของจำนวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา 59 ครั้ง

9.1 เจมส์ เมดิสัน (James Madison) เมื่อปีค.ศ. 1808 

122/175           คิดเป็นร้อยละ    69.71

9.2 บิล คลินตัน (Bill Clinton) เมื่อปีค.ศ.1992     

370/538           คิดเป็นร้อยละ    68.77

        9.3 แอนดรูว์ แจ็คสัน (Andrew Jackson) เมื่อปีค.ศ.1828 

178/261           คิดเป็นร้อยละ    68.20

9.4 บารัค โอบามา (Barack Obama) เมื่อปีค.ศ.2008

 365/538          คิดเป็นร้อยละ    67.84

9.5 วิลเลียม โฮวาร์ด ทัฟต์ (William Howard Taft) เมื่อปีค.ศ.1908  

 321/383          คิดเป็นร้อยละ    66.46

     9.6 วิลเลียม แม็คคินเลย์ (William McKinley) เมื่อปีค.ศ.1900

292/447           คิดเป็นร้อยละ    65.32

     9.7 โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ (Grover Cleveland) เมื่อปีค.ศ.1892

277/444           คิดเป็นร้อยละ    62.39

9.8 เจมส์ เค.โพล์ค (James K. Polk) เมื่อปีค.ศ.1844        

  170/275         คิดเป็นร้อยละ    61.82

9.9 บารัค โอบามา (Barack Obama) เมื่อปีค.ศ.2012   

 332/538          คิดเป็นร้อยละ    61.71

9.10 วิลเลียม แม็คคินเลย์ (William McKinley)   เมื่อปีค.ศ.1896 

 271/4447        คิดเป็นร้อยละ    60.63

10. กลุ่มที่ 5 ประธานาธิบดีผู้ได้รับเลือก ด้วยเสียง ร้อยละ 50-60 มีจำนวน 21 คน

          กลุ่มนี้ นับว่ามีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.59 ของจำนวนการเลือกตั้งประธานาธิบดีทั้งหมด 59 ครั้ง โดยจะขอยกตัวอย่างเฉพาะประธานาธิบดีที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักกันดี

          10.1 อับราแฮม ลินคอล์น (Abraham Lincoln)    เมื่อปีค.ศ.1860

180/303      คิดเป็นร้อยละ 59.41

          10.2 เจมส์ เมดิสัน (James Madison)      เมื่อปีค.ศ.1812                     128/217     คิดเป็นร้อยละ58.99

          10.3 แฮร์รี เอส. ทรูแมน (Harry S. Truman) เมื่อปีค.ศ.1948     303/531 คิดเป็นร้อยละ 57.08

          10.4โจ ไบเดน (Joe Biden) เมื่อปีค.ศ.2020                                     306/538          คิดเป็นร้อยละ 56.88

          10.5 (Donald Trump)  เมื่อปีค.ศ.2016                                       304/538   คิดเป็นร้อยละ 56.51

          10.6 จอห์น เอ็ฟ. เคนเนดี(John F. Kennedy) เมื่อปีค.ศ.1960                303/538  คิดเป็นร้อยละ 56.42

          10.7 ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) เมื่อปีค.ศ.1968                                   301/538   คิดเป็นร้อยละ         55.95

          10.8 จิมมี คาร์เตอร์ (Jimmy Carter) เมื่อปีค.ศ.1976 

297/538          คิดเป็นร้อยละ    55.20

          10.9 จอร์จ ดับเบิลยู. บุช(George W. Bush)  เมื่อปีค.ศ.2004               286/538    คิดเป็นร้อยละ 53.16

          10.10 วูดโรว์ วิลสัน(Woodrow Wilson) เมื่อปีค.ศ.1916                   277/531   คิดเป็นร้อยละ 52.17

10.11 จอร์จ ดับเบิลยู. บุช(George W. Bush) เมื่อปีค.ศ.2000

 271/538   คิดเป็นร้อยละ 50.37

11.ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงของคณะผู้เลือกตั้ง กับเสียงความนิยมของประชาชน

          ในวันเลือกตั้งทั่วไป อย่างเช่นการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปี 2020 วันเลือกตั้งทั่วไป คือวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของแต่ละมลรัฐ จะไปเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี หลังจากได้มีการรวมคะแนนเสร็จแล้ว ผู้สมัครพรรคใดได้รับเสียงจากประชาชนมากกว่า จะทำให้ได้ผู้เลือกตั้ง ฯ ที่สนับสนุนพรรคนั้นตามจำนวนที่แต่ละรัฐจะพึงมี แบบยกทีม

            คะแนนเสียงที่ผู้สมัครจากแต่ละพรรคได้รับ เรียกว่า เสียงความนิยมของประชาชน (Popular vote) ของผู้สมัครของพรรคในมลรัฐนั้น และเมื่อเอาคะแนนดังกล่าวรวมกันทุกมลรัฐ ก็จะได้คะแนนนิยมของผู้สมัครคนนั้น

            เสียงความนิยมจากประชาชน มิได้ใช้ในการตัดสินว่า ใครเป็นผู้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี เป็นเพียงตัวเลขทางสถิติเท่านั้น

            ตัวอย่าง

          การเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2020 ระหว่างผู้สมัครจากสองพรรคการเมือง คือ

            โจ ไบเดน (Joe Biden) จากพรรคดีโมแครตได้รับเสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง จำนวน 306 เสียง ในขณะที่โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน ได้ 232 เสียง และได้รับเสียงความนิยมจากประชาชนทั้งประเทศรวม 81,281,502 เสียง คิดเป็นร้อยละ 51.32 มากกว่า โดนัลด์ ทรัมป์ 7,058,909 เสียง

          เสียงที่ใช้ตัดสินว่า ใครได้เป็นประธานาธิบดี คือ เสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง โดย โจ ไบเดน ได้รับ 306 เสียง ชนะโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ได้เพียง 232 เสียง

12. ผู้ชนะได้เป็นประธานาธิบดี แต่ได้เสียงจากประชาชนน้อยกว่าก็เคยมี

            เมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา ส่วนใหญ่ผู้ชนะได้เป็นประธานาธิบดี จะได้เสียงสนับสนุนจากคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี (Electoral College) และเสียงความนิยมจากประชาชนมากกว่า ผู้แพ้เลือกตั้ง

            แต่อย่างไรก็ตาม เคยมีเป็นบางครั้งที่ผู้ชนะได้เป็นประธานาธิบดี แต่ได้รับเสียงความนิยมจากประชาชนน้อยกว่าผู้แพ้เลือกตั้ง ได้แก่

            12.1 การเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ กับ ฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton)

          12.2 การเลือกตั้งเมื่อปี 2000 ระหว่าง จอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) และอัล กอร์ (Al Gore)

          12.3 การเลือกตั้งเมื่อปี 1888 ระหว่าง โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ (Grover Clevelnd) และเบนจามิน แฮร์ริสัน (Benjamin Harrison)

         12.4 การเลือกตั้งเมื่อปี 1876 ระหว่าง รูเธอร์ฟอร์ด บี. เฮย์ (Rutherford B. Hayes) และแซมูเอล เจ. ทิลเดน (Samuel J. Tilden)

          12.5 การเลือกตั้งเมื่อปี 1824 ระหว่างแอนดรู แจ็คสัน (Andrew Jackson) จอห์น  ควินซี (John Quincy) วิลเลียม เฮ็ช. ครอว์ฟอร์ด (William H. Crawford) และเฮนรี เคลย์ (Henry Clay)

          12.6 การเลือกตั้งเมื่อปี 1800 ระหว่าง โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) และจอห์น อดัมส์ (John Adams) ได้เสียงจากคณะผู้เลือกตั้งเท่ากัน จึงต้องให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ตัดสินตามรัฐธรรมนูญ

(The Electoral Vote and Popular Vote Explained)

13.สรุป

            บทความนี้ เป็นการนำบทความ (10) ผู้ชนะ เลือกตั้ง ฯ มาขยายความให้ท่านผู้อ่านมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม กล่าวคือ ประชาชนเป็นผู้เลือก ผู้เลือกตั้งฯ (Elector)ของแต่ละมลรัฐขึ้นมา ตามจำนวนสมาชิกสภาคองเกรสที่แต่ละมลรัฐจะพึงมี และเมื่อรวมยอดทั้งประเทศ จะได้จำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ ทั้งหมดหรือคณะผู้เลือกตั้ง มีจำนวน 538 คน

            คณะผู้เลือกตั้ง ฯ จำนวน 538 คน เป็นผู้มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีในฐานะตัวแทนของประชาชนของแต่ละมลรัฐ

            ส่วนเสียงความนิยมของประชาชน เป็นเพียงตัวเลขทางสถิติ มิได้นำมาเป็นตัวตัดสินว่า ผู้ใดจะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแต่อย่างใด

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม ขอเชิญติดตามได้จาก หัวข้อ คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

          คู่สนทนาของผมวันนี้ คือ คุณเนรมิต (ชื่อสมมุติ) เช่นเคย

            “สวัสดีครับ คุณเนรมิต วันนี้ เรามาคุยกันในเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาต่อดีกว่า” ผมทักทายเบา ๆ

            “สวัสดีครับ ดร.ชา ขอเชิญท่านเปิดประเด็นเลย ผมพร้อมเสมอ ” คุณเนรมิตทักทายผมตอบ

            “ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา จะมีตัวเลขอยู่ 2 อย่าง คือ จำนวนเสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง กับจำนวนเสียงความนิยมจากประชาชน ท่านคิดว่า ตัวเลขสองอย่างนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร ” ผมกำหนดประเด็นสนทนาที่คิดว่าเหมาะสม

          “ อ๋อ พูดถึงตัวเลขสองอย่างดังกล่าวตามที่ดร.ชา ว่ามา ผมคิดว่า มีส่วนทำให้คนชาติอื่นที่มิใช่คนอเมริกัน เข้าใจสับสนในผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกามาก เพราะคงไม่มีชาติอื่นใดเลือกผู้นำประเทศด้วยวิธีการนี้

            ผมขอพูดอย่างนี้ว่า ในวันเลือกตั้งทั่วไป อย่างเช่นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา คนอเมริกันผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เขาไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ผลของการเลือกตั้งวันนั้น จะยังไม่ใช่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่จะเป็นการเลือกตั้งว่า ในมลรัฐนั้นจะได้ ผู้ใดเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีในนามของประชาชนของมลรัฐนั้น หลังจากนั้น ผู้เลือกตั้ง ฯ ของแต่ละมลรัฐจะไปออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจริง ๆ ในวันที่ 14 ธันวาคม 2563

            แต่ละมลรัฐมีจำนวนผู้เลือกตั้งเท่ากับ จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดของมลรัฐ รวมกับจำนวนสมาชิกวุฒิสภา มลรัฐละ 2 คน ” คุณเนรมิตอธิบายอย่างคล่องแคล่ว เพราะเคยไปอยู่อเมริกามาหลายปี

            “ ตามคุณเนรมิตว่ามา หมายความว่า จำนวนผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาทั้งประเทศมี 538 คน ประชาชนแต่ละมลรัฐ จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีตามจำนวนที่แต่ละมลรัฐจะพึงมีในวันเลือกตั้งทั่วไป ถูกต้องไหม ” ผมถามย้ำเพื่อให้คุณเนรมิตยืนยัน

            “ ถูกต้อง ดร.ชา ” คุณเนรมิตตอบยืนยัน

            “ในประเด็นที่สอง เสียงความนิยมของประชาชนที่มีต่อผู้สมัครแต่ละคน ได้มาอย่างไร ”ผมถามจี้ลงไป

          “ ถ้าเข้าใจว่า ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีของแต่ละมลรัฐได้มาอย่างไรแล้ว การได้มาซึ่งเสียงความนิยมของประชาชนก็ไม่น่าจะเข้าใจยาก

            ในวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไปนั้น การจะประกาศว่ามลรัฐใด ได้ผู้ใดบ้างเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาในนามประชาชนขอมลรัฐ ต้องมีการรวมผลการหย่อนบัตรเลือกตั้งว่า ผู้สมัครแต่ละพรรคได้รับเสียงเท่าใด เสียงที่ผู้สมัครแต่ละพรรคได้ เมื่อรวมทั้งประเทศ จะเรียกว่า เสียงความนิยมของประชาชน ” คุณเนรมิตอธิบายให้ชัดเจนขึ้น

            “ ผมขอถามย้ำอีกทีนะ เสียงความนิยมของประชาชน เป็นเพียงตัวเลขทางสถิติ ไม่ใช่เป็นตัวตัดสินว่า ผู้สมัครคนใดจะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ใช่ไหม” ผมถามย้ำ

          “ ถูกต้อง ดร.ชา เพราะคนจะมีสิทธิเลือกว่า ผู้สมัครคนใดจะได้เป็นประธานาธิบดี คือ คณะผู้เลือกตั้ง จำนวน 538 คนเท่านั้น ไม่ใช่ประชาชนทั้งประเทศ ” คุณเนรมิตตอบยืนยัน

            “ประเด็นสุดท้าย เคยมีบ้างไหมว่า แม้ผู้ชนะเลือกตั้งเพราะได้เสียงจากคณะผู้เลือกตั้งมากกว่าผู้แพ้ แต่ผู้แพ้กลับได้เสียงความนิยมจากประชาชนทั้งประเทศมากกว่า ” ผมถามในสิ่งที่หลายคนอาจจะสับสนอยู่

          “ ก็เคยมีอยู่บ้าง อย่างเช่นการเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์จากพรรครีพับลิกัน กับ ฮิลลารี คลินตัน จากพรรคดีโมแครต ผลปราฏว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะ เพราะได้เสียงจากคณะผู้เลือกตั้ง 304 เสียง ในขณะที่ฮิลลารี คลินตัน ได้ 227 เสียง

            แต่เมื่อดูเสียงความนิยมของประชาชน อย่างที่เรียกว่า popular vote ฮิลลารี กลับได้เสียงมากกว่าถึง 2,868,686 ” คุณเนรมิตอธิบายโดยยกตัวอย่างประกอบชัดเจน

            “ ผมต้องขอชมเชย คุณเนรมิต ที่ได้พยายามอธิบายเรื่องนี้อย่างชัดเจน สมศักดิ์ศรีของคนจบปริญญาโททางรัฐศาสตร์จากอเมริกา

            ขอขอบคุณเพื่อนอีกครั้งหนึ่ง ที่ได้สละเวลามาสนทนากัน เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ดีขึ้น

            โอกาสหน้า ค่อยคุยกันใหม่ ” ผมกล่าวขอบคุณพร้อมกับยุติการสนทนา

            “ด้วยความยินดีเสมอครับ ดร.ชา”

                                                ดร.ชา

                                        23/12/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

4 COMMENTS

  1. อ่านแล้วบ้านเขาก็สับสนเหมือนกันน้อค่ะท่นอาจารย์

  2. หนูเข้าใจถูกต้องไหมคะ อาจารย์
    คะแนนเสียงจากประชาชนไม่สามารถชี้ขาดได้ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดี
    ผู้ที่ตัดสินเลือกตั้ง คือตัวแทนแต่มลรัฐ แล้วคะแนนเสียงของประชาชนมีไว้ทำไม?
    ขอบคุณค่ะ

    1. คะแนนเสียงของประชาชน เป็นคะแนนที่เกิดจากการเลือก ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีของอเมริกา(Elector) หากผู้สมัครพรรคใดได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนในวันเลือกตั้งทั่วไป
      มากกว่าผู้สมัครจากอีกพรรคหนึ่ง ผู้เลือกตั้งฯ จะเป็นคนของพรรคนั้นทุั้งหมด หน้าที่ของประชาชนก็จบเพียงนี้ หลังจากนั้น จะเป็นหน้าที่ของผู้เลือกตั้ง ฯ ของแต่ละมลรัฐที่ประชาชนได้เลือกตั้งไว้
      จำง่าย ๆ ก็แล้วกันว่า ประชาชนเลือก ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี ส่วนประธานธิิบดี ผู้เลือกตั้ง ฯ ของแต่มลรัฐเป็นคนเลือก โดยมีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ ทั้งหมด 538 คน

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: