87 / 100

1.ความนำ

“ผู้ชนะ เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา อยู่ในกำมือของคนเพียง 538 คนเท่านั้น” เป็นบทความลำดับที่ 10 ของหมวด 8 เรื่องเล่า รัฐธรรมนูญอเมริกา

ในบทความที่แล้ว (9) ได้กล่าวถึง การเลือกตั้ง ประธานาธิบดีอเมริกา ทำไมจึงดูสลับซับซ้อนมาก โดยได้ชี้ให้เห็นว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา ดูสลับซับซ้อนมาก ก็เพราะไม่ใช่การเลือกตั้งโดยตรงแต่เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมตามที่รัฐธรรมนูญอเมริกาได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ให้สภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในเลือกผู้เลือกตั้ง (Elector) ประธานาธิบดีตามจำนวนสมาชิกสภาคองเกรสที่พึงมีของแต่ละมลรัฐ

หลังจากนั้น ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีของแต่ละมลรัฐจึงจะเป็นผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีในนามของแต่ละมลรัฐอีกครั้งหนึ่ง เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปี 2020 ได้มีการลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2020 และวันที่ 14 ธันวาคม 2020 จะเป็นวันที่ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีกชั้นหนึ่ง

ดังนั้น บทความนี้ จึงต้องการเล่าขยายความให้ท่านผู้อ่านทราบขัดเจนเกี่ยวกับความสำคัญของคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา จำนวน 538 คนในการตัดสินว่า ใครคือผู้ชนะในการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดี

2.ที่มาของคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี (Electoral College)เมื่อเริ่มแรก

          เดิมรัฐธรรมนูญอเมริกากำหนดให้สภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐเป็นผู้มีอำนาจเลือกคณะผู้เลือกตั้งของมลรัฐ ตามจำนวนสมาชิกสภาคองเกรสของแต่ละมลรัฐ หมายความว่า มลรัฐมีจำนวนสมาชิกผู้แทนราษฎรมาก ก็จะมีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีมาก เพราะจำนวนวุฒิสมาชิก ทุกมลรัฐมีจำนวนเท่ากัน คือ มลรัฐละ 2 คน  ดังนั้น หากมลรัฐใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงหนึ่งคน ก็จะมีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งของมลรัฐ จำนวน 3 คน

3.ที่มาของคณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาในปัจจุบัน

            เนื่องจากรัฐธรรมนูญอเมริกามาตรา 2 อนุมาตรา 1 วรรคสอง กำหนดไว้แต่เพียงว่า ให้สภานิติบัญญัติของแต่ละมลรัฐ เป็นผู้มีอำนาจเลือกผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาของแต่ละมลรัฐ ส่วนวิธีการเลือกจะทำอย่างไร ปล่อยให้เป็นดุลพินิจของแต่ละมลรัฐ

            แต่ภายหลังสงครามกลางเมือง (Civil War) ระหว่างปี ค.ศ. 1861-1865 ทุกมลรัฐได้เปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีจากการแต่งตั้งโดยสภานิติบัญญัติของมลรัฐ ให้เป็นวิธีการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน (popular vote) กล่าวคือ ในวันเลือกตั้งทั่วไป จะมีรายชื่อผู้สมัครเป็นผู้เลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอเมริกาติดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้งว่า ทีมผู้เลือกตั้ง ฯ ใดจะสนับสนุนผู้สมัครประธานาธิบดีคนใด

            หากผลการรวมคะแนนปรากฏว่า ผู้สมัครประธานาธิบดีคนใดได้คะแนนเลือกตั้งจากประชาชนมากที่สุดในแต่ละมลรัฐ ทีมผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีตามรายชื่อที่ได้ปิดประกาศไว้ ณ  ที่เลือกตั้ง ก็จะได้เป็นทีมผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาแบบยกทีม

            ตัวอย่าง

            มลรัฐ ก. มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ 50 คน หากผลการลงคะแนนในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ปรากฏว่า ประชาชนส่วนใหญ่เลือกผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน (โดนัลด์ ทรัมป์) จะทำให้ผู้เลือกตั้ง ฯ ที่สนับสนุนพรรครีพับลิกัน จำนวน 50 คนทั้งทีม ได้เป็นตัวแทนประชาชนมลรัฐ ก. ไปลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาในวันที่ 14 ธันวาคม 2563

            มีข้อยกเว้นจำนวน 2 มลรัฐ

          ในจำนวนมลรัฐทั้งหมด 50 มลรัฐ รวมทั้งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้ให้ประชาชนเลือกทีมผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาดังได้กล่าวมาข้างต้น แต่มีอยู่มลรัฐจำนวน 2 มลรัฐ ที่ได้ใช้วิธีการที่แตกต่างออกไป คือ มลรัฐเมน(Maine) และมลรัฐเนบราสกา (Nebraska) โดยแบ่งการเลือกผู้เลือกตั้ง ฯ ออกเป็น 2 วิธี คือเลือกตามเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนหนึ่ง และเลือกตามเขตเลือกตั้งวุฒิสภาอีกส่วนหนึ่ง

            มลรัฐเมนได้ใช้วิธีการนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1972 และมลรัฐเนบราสกา ได้ใช้วิธีการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1999

(Wikipedia, United States Electoral College)

3.จำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ แยกตามมลรัฐ

          ตามรัฐธรรมนูญอเมริกา มาตรา 2 อนุมาตรา 1 วรรคสอง จำนวนผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาของแต่ละมลรัฐ มีจำนวนเท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และจำนวนสมาชิกวุฒิสภาของแต่ละมลรัฐรวมกัน แสดงว่ามลรัฐที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรน้อยที่สุด คือ จำนวน 1 คน จะมีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ จำนวน 3 คน เพราะทุกมลรัฐมีจำนวนวุฒิสมาชิกได้ 2 คนเท่านั้น

                ดังนั้น มลรัฐใดเป็นมลรัฐใหญ่ มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาก ก็จะมีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ มาก เป็นเงาตามตัว

            จำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ ของแต่ละมลรัฐในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาปี 2563

            3.1 กลุ่มมลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ มากที่สุด 18 คนขึ้นไป (มีสมาขิกสภาผู้แทนราษฎร 15 คนขึ้นไป) มีอยู่จำนวน 7 มลรัฐ ได้แก่

            – คาลิฟอร์เนีย                55

          – เท็กซัส                        38

          – ฟลอริดา                      29

          – นิวยอร์ค                      29

          – อิลลินอยส์                     20

          – เพนซิลเวเนีย                20

          – โอไฮโอ                        18      

            3.2 กลุ่มมลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ ระหว่าง 12-16 คน มีจำนวน 6 มลรัฐ

          (มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระหว่าง 10-14 คน)

                – จอร์เจีย                        16

                – มิชิแกน                       16

            – นอร์ธ คาโรไลนา           15

            – นิวเจอร์ซี                     14

            – เวอร์จิเนีย                    13

            – วอชิงตัน                      12

                3.3 กลุ่มมลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ 8-11 คน (มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6-9 คน)

                                3.3.1 มลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ         11 คน มีอยู่ 4 มลรัฐ ได้แก่

                        อริโซนา อินเดียนา แมสซาจูเซตต์ และเทนเนสซี

                        3.3.2 มลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ         10 คน มีอยู่ 4 มลรัฐได้แก่

                        แมรีแลนด์ มินเนโซตา มิสซูรี และวิสคอนซิน

                        3.3.3 มลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ         9 คน มีอยู่ 3 มลรัฐ ได้แก่

                        อลามา โคโลราโด เซาธ์ คาโรไลนา

                        3.3.4 มลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ         8 คน มีอยู่ 2 มลรัฐ ได้แก่

                        เคนตั๊กกี หลุยส์เซียนา

                        3.3.5 มลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ         7 คน มีอยู่ 3 มลรัฐ ได้แก่

                        คอนเน็คติกัต โอกลาฮามา และออริกอน

                   3.3.6 มลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ         6 คน มีอยู่ 6 มลรัฐ ได้แก่

                        อาร์คันซอ ไอโอวา คันซัส มิสซิสซิปปี เนวาดา และยูทาห์

            3.4 กลุ่มมลรัฐทีมีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ 4-5 คน (มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2-3 คน)

                        3.4.1 มลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ 5 คน มีอยู่ 3 มลรัฐ ได้แก่

                        เนบราสกา นิวเม็กซิโก เวสต์ เวอร์จิเนีย

3.4.2 มลรัฐทีมีจำนวนผู้เลือกตั้ง 4 คน มีอยู่ 5 มลรัฐ ได้แก่

                        ฮาวาย ไอดาโฮ เมน นิว แฮมเชียร์ และโรด ไอสแลนด์

             3.5 กลุ่มมลรัฐที่มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ 3 คน (มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 คน) มีจำนวน 8   มลรัฐ รวมทั้งกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้แก่

                        อลาสกา เดลาแวร์ วอชิงตัน ดี.ซี. นอร์ธ ดาโกตา เซาธ์ ดาโกตา เวอร์มอนต และไวโอมิง

            รวมทั้งสิ้น 50 มลรัฐและกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มีจำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ ทั้งหมด 538 คน

4. ผู้ชนะ เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา อยู่ในกำมือของคนเพียง 538 คนเท่านั้น

            เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป ที่แต่ละมลรัฐได้จัดการให้มีเลือกตั้ง ผู้เลือกตั้ง ฯ พร้อมกับการเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และผู้ว่าการมลรัฐต่าง ๆ ที่ได้ครบวาระลง

            หลังจากนั้น ผู้เลือกตั้ง ฯ ของแต่ละมลรัฐจะได้ออกไปใช้สิทธิในนามของประชาชนของแต่ละมลรัฐในวันที่ 14 ธันวาคม 2563 เสร็จแล้วแต่ละมลรัฐจะส่งบัตรการลงคะแนนดังกล่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังรัฐบาลกลางในนามของประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการนับคะแนนบัตรเลือกตั้งต่อไป

            หากผลการนับคะแนนปรากฏว่า ผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงข้างมากไม่น้อยกว่า 270 คะแนน ผู้นั้นก็จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีอเมริกาอย่างเป็นทางการ

ผู้ชนะ การเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจากการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง วันที่ 14 ธันวาคมนี้ น่าจะเป็นโจ ไบเดน ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 46 ของอเมริกา
ผู้ชนะ การเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจากการลงคะแนนของคณะผู้เลือกตั้ง วันที่ 14 ธันวาคมนี้ น่าจะเป็นโจ ไบเดน วัย 78 ปี ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 46 ของอเมริกา

5.ทิศทางในการลงคะแนนของผู้เลือกตั้ง ฯ

          ในการเลือกตั้งวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ผู้เลือกตั้ง ฯ จำนวน 538 คน จากมลรัฐ 50 มลรัฐ และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.จะไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี รวมทั้งรองประธานาธิบดีอเมริกาในนามของประชาชนของแต่ละมลรัฐ ณ ที่เลือกต้ังของแต่ละมลรัฐ

ผู้ชนะ เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา อยู่ในกำมือของคนเพียง 538 คนเท่านั้น (10) 2
ผนที่แสดงมลรัฐต่าง ๆว่า ผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา ปี 2020 อยู่สังกัดพรรคใด

            ผู้เลือกตั้ง ฯ จากแต่ละมลรัฐ ย่อมจะตัดสินใจเลือกผู้สมัครตามที่พวกตนได้มีพันธะสัญญาไว้ เช่น มลรัฐ ก. มีผู้เลือกตั้ง ฯ   50 คน  ผู้สมัครในนามพรรครีพับลิกัน (โดนัลด์ ทรัมป์) ได้รับคะแนนเสียงข้างมากจากประชาชนในมลรัฐ ก. โดยประเพณีปฏิบัติ ผู้เลือกตั้ง ฯ จากมลรัฐ ก.ทั้ง 50 คน ย่อมต้องลงคะแนนเลือกผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน (โดนัลด์ ทรัมป์)

ตามแผนที่ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ผู้เลือกตั้ง ฯ จำนวน 306 คน (สีน้ำเงิน) จะเลือก โจ ไบเดน และ 232 คน (สีเลือดหมู) จะเลือกโดนัลด์ ทรัมป์

 

โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีอเมริกา คนที่ 45  ผู้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งโดยไม่เคยผ่านการดำรงตำแหน่งทาการเมืองใด ๆ มาก่อน
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีอเมริกา คนที่ 45 ผู้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งโดยไม่เคยผ่านการดำรงตำแหน่งทาการเมืองใด ๆ มาก่อน

ดังนั้น เมื่อผู้เลือกตั้ง ฯ จำนวน 538 คนจากมลรัฐ 50 มลรัฐ และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ได้ลงคะแนนเสร็จแล้ว ผลการนับคะแนนในการเลือกตั้งประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี ก็จะสอดคล้องกับผลการรวมคะแนนอย่างไม่เป็นทางการของการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563

หากไม่มีปัญหาในการฟ้องร้องคดีต่อศาลสูงว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เป็นไปโดยมิชอบ ก็จะมีการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการว่าใครคือผู้ชนะได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีอเมริกา คนที่ 46 ระหว่างโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกัน และ โจ ไบเดน จากพรรคดีโมแครต

5. สรุป

            ผู้ชนะ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม หรือการเลือกตั้งแบบสองชั้น โดยรัฐธรรมนูญอเมริกาให้อำนาจสภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐ ดำเนินการเลือกผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีตามจำนวนที่แต่ละมลรัฐจะพึงมี คือ ตามจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและจำนวนวุฒิสมาชิกของแต่ละมลรัฐรวมกัน และเมื่อรวมทั้งประเทศเรียกรวมกันว่า คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีมีจำนวนทั้งสิ้น 538 คน

              เมื่อมลรัฐได้ดำเนินการเลือกผู้เลือกตั้ง ฯ แล้ว ขั้นตอนต่อไป เป็นหน้าที่ของผู้เลือก ฯ จำนวน 538 คน ต้องไปเลือกตั้งประธานาธิบดี รวมทั้งรองประธานาธิบดี หากผลการนับคะแนนปรากฏว่า ผู้สมัครคนใดได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 270 เสียง ผู้นั้นก็เป็นผู้ชนะจะได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม ติดตามได้ใน คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

          คู่สนทนาของผมในวันนี้ คือ คุณเนรมิต (ชื่อสมมุติ) เช่นเคย

          “สวัสดีครับ คุณเนรมิต วันนี้เรามาคุยกันต่อจากคราวที่แล้วเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา” ผมทักทายเบา ๆ

          “ สวัสดีดร.ชา ด้วยความยินดี ขอเชิญเปิดประเด็นได้เลยครับ ” คุณเนรมิตทักทายผมตอบ

            “ในประเด็นแรก ผมขอทราบความเห็นว่า เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา เป็นวันเลือกตั้งทั่วไปของอเมริกา มีการเลือกตั้งหลายอย่าง คือ ผู้ว่าการมลรัฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และที่สำคัญคือการเลือกตั้งประธานาธิบดี

          แต่ประเด็นคำถาม คือ ทำไมการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาได้ผ่านไปเดือนเศษแล้ว จึงยังไม่สามารถประกาศได้ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ หรือ โจ ไบเดน ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีเสียที ” ผมถามด้วยความรู้สึกอึดอัดเต็มที

          “ ผมชอบคำถามนี้มากเลย ดร.ชา เพราะผมเชื่อว่า คนส่วนใหญ่ในโลกนี้ที่มิใช่คนอเมริกัน ก็คงรู้สึกสับสนมาก ถ้าเช่นนั้น ผมขอทำความเข้าใจดังนี้

            ก่อนยุคสงครามการเมืองอเมริกา สภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐ เป็นผู้แต่งตั้งบุคคลเป็นผู้เลือกตั้ง ฯ หลังจากนั้น ผู้เลือกตั้ง ฯ ของแต่ละมลรัฐก็จะไปใช้สิทธิเลือกประธานาธิบดีในนามของประชาชนของแต่ละมลรัฐ และเมื่อรัฐบาลกลางได้ตรวจบัตรและรวมคะแนนเสร็จแล้ว จึงจะทราบได้ว่า ใครได้คะแนนเสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่ง ผู้นั้นก็จะได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี

                แต่ภายหลังสงครามการเมือง กระแสประชาธิปไตยมาแรง แต่ละมลรัฐได้เปลี่ยนวิธีเลือกผู้เลือกตั้ง ฯ ใหม่ เป็นการให้ประชาชนเลือกตั้งผู้เลือกตั้ง ฯ โดยตรงแทนการแต่งตั้ง จึงเป็นสาเหตุทำให้ทราบผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีล่วงหน้าอย่างไม่เป็นทางการ ” คุณเนรมิตตอบแบบคนเคยอยู่อเมริกาหลายปี

            “ ที่ท่านว่ามา ผมพอเข้าใจ แต่เกรงว่า ท่านผู้อ่านส่วนใหญ่อาจจะยังงงอยู่ จึงขอถามท่านเป็นประเด็นที่สองเลยว่า เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป ประชาชนในแต่ละมลรัฐก็ไปใช้สิทธิเลือกผู้เลือกตั้ง ฯ แต่ทำไมจึงทราบผลล่วงหน้าแล้วว่า โจ ไบเดน จะชนะการเลือกตั้งคราวนี้ เพราะมีคะแนนจากคณะผู้เลือกตั้งเกินกว่า 270 คะแนนแล้ว ” ผมถามในสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่น่าจะคาใจ

          “ อ๋อ เรื่องนี้ ผมคงต้องอธิบายให้ดร.ชา เห็นภาพในวันเลือกตั้งทั่วไป 3 พฤศจิกายน 2563 ว่า ประชาชนผู้ไปสิทธิเลือกตั้ง เขาทำอะไรกัน

            ณ ที่เลือกตั้ง ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ใบแรก เป็นบัตรเลือกตั้งประธานาธิบดี และใบที่สอง เป็นบัตรเลือกตั้งรองประธานาธิบดี

            ประชาชนผู้เลือกตั้ง จะเห็นรายชื่อผู้เลือกตั้ง ฯ ประกาศให้เห็นว่า หากเขากาบัตรเลือกโดนัลด์ ทรัมป์ พรรครีพับลิกัน จะมีผู้ใดได้รับเลือกให้เป็นผู้เลือกตั้ง ฯ ของมลรัฐนั้น และถ้าเลือก โจ ไบเดน พรรคดีโมแครต จะมีผู้ใดได้รับเลือกให้เป็นผู้เลือกตั้ง ฯ ของมลรัฐนั้น

            หมายความว่า แต่ละพรรคจะนำเสนอรายชื่อบุคคลที่พรรคเห็นสมควรให้เป็นผู้เลือกตั้ง ฯ ที่สนับสนุนพรรคของตนให้ประชาชนทราบด้วย

            และเมื่อมลรัฐนั้น รวมคะแนนเสร็จ หากปรากฏว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะในมลรัฐนั้น ผู้เลือกตั้ง ฯ ตามรายชื่อที่ปิดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้ง ซึ่งเป็นฝ่ายของพรรครีพับลิกัน ก็จะได้เป็นผู้เลือกตั้ง ฯ ทั้งหมดขอมลรัฐ ส่วนรายชื่อผู้เลือกตั้ง ฯ ซึ่งสนับสนุน โจ ไบเดน ซึ่งผู้สมัครที่ได้คะแนนน้อยกว่า ก็จะไม่มีผู้ใดได้เป็นผู้เลือกตั้ง ฯ ของมลรัฐเลย

            หากทำเช่นนี้จนครบถ้วนทุกมลรัฐ ก็จะได้คะแนนออกมาอย่างไม่เป็นทางการว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะในมลรัฐใดบ้าง และโจ ไบเดน ชนะในมลรัฐใดบ้าง เมื่อเอาตัวเลขผู้เลือกตั้ง ฯ ของแต่ละมลรัฐที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับมารวมกัน ก็จะได้ตัวเลขออกมาอย่างไม่เป็นทางการว่า ใครคือผู้ชนะ” คุณเนรมิตอธิบายอย่างละเอียด

            “ ผมคิดว่า คุณเนรมิตอธิบายได้ชัดเจนดีมาก แต่อยากให้ลองยกตัวอย่างประกอบจะได้ไหม” ผมกระตุ้นให้นำเสนออย่างเป็นรูปธรรม

            “ ได้ดร.ชา ผมขอสมมุติตัวอย่าง ว่าได้มีการรวมคะแนนในการเลือกตั้ง เพื่อเลือกผู้เลือกตั้ง ฯ ของมลรัฐ จำนวน 3 มลรัฐ คือ

 ชื่อมลรัฐ        ผู้สมัครที่ชนะในการลงคะแนน        จำนวนผู้เลือกตั้ง ฯ  

มลรัฐ ก.            โดนัลด์ ทรัมป์                             50

มลรัฐ ข.            โจ ไบเดน                                   40

มลรัฐ ค.            โจ ไบเดน                                   30

            รวม จำนวน 3 มลรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะ 1 มลรัฐ ได้ผู้เลือกตั้ง ฯ มา 50 เสียง

            โจ ไบเดน ชนะ 2 มลรัฐ ได้ผู้เลือกตั้ง น มา 70 เสียง ” คุณเนรมิตอธิบายพอให้มองเห็นภาพ

“ประเด็นสุดท้าย ผมขอทราบความเห็นว่า ในเมื่อการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ก็ทราบแล้วว่า โดนัลด์ ทรัมป์ และโจ ไบเดน ชนะการเลือกตั้งในมลรัฐใดบ้าง ทำไมในขั้นตอนนี้ยังเรียกว่า เป็นผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ยังประกาศผลไม่ได้ ” ผมถามเพื่อให้ได้ความชัดเจน

          “ ดีมากครับที่ดร.ชา กรุณาถามผมในประเด็นนี้

            ตามรัฐธรรมนูญอเมริกา กำหนดให้ผู้เลือกตั้ง ฯ ที่สภานิติบัญญัติของมลรัฐเลือกมา เป็นผู้มีอำนาจเลือกประธานาธิบดี ไม่ใช่ประชาชน ดังนั้น ผลอย่างเป็นทางการ ต้องรอให้ผู้เลือกตั้ง ฯ ของแต่ละมลรัฐ รวมทั้งหมด จำนวน 538 คนไปออกเสียงลงคะแนนในวันที่ 14 ธันวาคม 2563 เสียก่อน และเมื่อได้มีการรวมคะแนนตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ จึงจะเรียกได้ว่า เป็นผลอย่างทางการ” คุณเนรมิตพยายามอธิบายอย่างใจเย็น

            “ ชัดเจนดีมาก คุณเนรมิต วันนี้ คงรบกวนเวลาเท่านี้นะ ขอบคุณมาก โอกาสหน้าค่อยคุยกันใหม่” ผมกล่าวยุติการสนทนา

            “ ด้วยความยินดีครับ ดร.ชา ”

ดร.ชา

14/12/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 3

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 5

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 6

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

6 COMMENTS

  1. จุดแข็งที่ทำให้ไปเดน ชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ อาจารย์มองอย่างไรคะ ขอบคุณค่ะ

  2. ไบเดนได้เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ความสัมพันธ์กับชาติตะวันออกกลางจะเป็นไปในทิศทางไหนคะอาจารย์

  3. นโยบายสนับสนุนความเป็นประชาธิปไตยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเียงใต้มีมากกว่าทรัมป์ อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรคะในเรื่องนี้

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: