91 / 100

“กรุงโซล เกาหลีใต้- มหานครระดับโลก” เป็นบทความลำดับที่ 10 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก จะกล่าวถึง ความนำ กรุงโซลมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ตำแหน่งที่ตั้ง และภูมิอากาศ ขนาดพื้นที่ และประชากร  รูปแบบการปกครองของนครพิเศษโซล  ความสำคัญของโซล     เปรียบเทียบกรุงโซลกับกรุงเทพมหานครในบางมิติ สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369

          “เมื่อปีค.ศ.2014 กรุงโซล ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหานครด้านเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ (metropolitan economy) ของโลก รองลงมาจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น    มหานครนิว ยอร์ค (New York City)  และนครลอสแอนเจลิส (Los Angeles) ประเทศสหรัฐอเมริกา”

Table of Contents

1.ความนำ

          ในบทความที่แล้วได้เล่าว่า  เกาหลีใต้ เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสูง (highly developed country) ซึ่งได้รับการยอมรับจากองค์การ OECD หรือกลุ่มประเทศการพัฒนาและความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศหนึ่ง ในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก จำนวน 38 ประเทศ โดยในเอเชียมีอยู่เพียง 3 ประเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศ OECD ดังกล่าว คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอิสราเอล

            สำหรับบทความนี้ ต้องการนำเรื่องราวกรุงโซล หรือโซลซิตี้ หรือนครพิเศษโซล เมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้มาเล่าในแง่มุมต่าง ๆ คือ

                      ประวัติความเป็นมา

                        ตำแหน่งที่ตั้ง

                        ขนาดพื้นที่และประชากร

                   รูปแบบการปกครองของโซล

                        ความสำคัญของโซล

                        การคมนาคม

                        วิเคราะห์เปรียบเทียบกรุงโซลกับกรุงเทพมหานคร

2. กรุงโซลมีประวัติความเป็นมาอย่างไร

          กรุงโซลหรือโซลซิตี้ คือเมืองหลวงของประเทศเกาหลีใต้ มีประวัติความเป็นมายาวนานเกือบ 1,800 ปี โดยอาณาจักรแพ็กเจ (Baekje)  ในยุคของสามอาณาจักรได้สถาปนาเมืองโซลให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเมื่อปีค.ศ.234 และได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงของเกาหลีในยุคราชวงศ์โชชอน(Joseon dynasty) เมื่อปีค.ศ.1394 จนกระทั่งปัจจุบัน

3.ตำแหน่งที่ตั้งและภูมิอากาศ

ทัศนีภาพสองฝั่งแม่นำ้ฮัน กรุงโซล อันสวยงามในยามค่ำคืน (Wikipedia, Han River, 17th April 2023)

ทัศนีภาพสองฝั่งแม่นำ้ฮัน กรุงโซล อันสวยงามในยามค่ำคืน (Wikipedia, Han River, 17th April 2023)


โซล มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า นครพิเศษโซล (Seoul Special City) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเกาหลีใต้ โดยมีแม่น้ำฮันไหลผ่านตรงกลาง แบ่งเมือง ออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่อยู่เหนือแม่น้ำฮัน และส่วนที่อยู่ใต้แม่น้ำฮัน   

นอกจากนี้ โซลยังเป็นเมืองที่มีภูเขาและเชิงเขาล้อมรอบ โดยมีภูเขา พุขาน (Bukhan Mountain) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ

            โซล เป็นศูนย์กลางของเมืองปริมณฑล (Seoul Capital Area) ซึ่งเป็นเขตมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  โดยล้อมรอบด้วยมหานครอินชอน (Incheon metropolis) และจังหวัดคย็องกี (Gyeonggi province)

            ในด้านภูมิอากาศ มีภูมิอากาศแบบอบอุ่นภาคพื้นทวีป (humid continental climate) ในฤดูร้อน มีอุณหภูมิระหว่าง 22.4-29.6 องศาเซนติเกรด ส่วนฤดูหนาวอุณหภูมิ อยู่ระหว่าง -5.9 ถึง 1.5 องศาเซนติเกรด มีหิมะตกเฉลี่ย 28 วัน

4.ขนาดพื้นที่ และประชากร

สะพานข้ามแม่น้ำฮัน กรุงโซล (Wikipedia, Han River,17th April 2023)

สะพานข้ามแม่น้ำฮัน กรุงโซล (Wikipedia, Han River,17th  April 2023)

          4.1 ขนาดพื้นที่

                   โซลซิตี้ มีขนาดพื้นที่ 605.25 ตร.กม.

          4.2 จำนวนประชากร

                   ตามสถิติประชากรเมื่อเดือนตุลาคม 2022

                   โซล มีประชากรจำนวน  9,443,722 คน  ถือได้ว่า มีจำนวนประชากรเกือบหนึ่งในห้าของเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซล กล่าวคือ จำนวนประชากรของเกาหลีใต้เมื่อปี 2021 มีจำนวนทั้งหมด 51,745,000 คน

                        และหากรวมกับเมืองปริมณฑล จะมีประชากร 26,037,000 คน หรือคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ     

          4.3 ความหนาแน่นของประชากร

กรุงโซลและเขตพื้นที่ปริมณฑลโดยรอบ
(Wikipedia, Seoul, 17th April 2023)

กรุงโซลและเขตพื้นที่ปริมณฑลโดยรอบ
(Wikipedia, Seoul, 17th April 2023)

คิดเป็นความหนาแน่นของประชากร 16,492 คน ต่อหนึ่งตร.กม. และเมื่อรวมกับเมืองปริมณฑล คิดเป็นความหนาแน่นของประชากร 2,053 คนต่อหนึ่งตร.กม.

                        ความหนาแน่นของประชากรของโซล นับเป็นสองเท่าของกรุงนิว ยอร์ค (New York City) สหรัฐอเมริกา และมากกว่ากรุงโรม  8 เท่า

                        เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกัน โซลมีความหนาแน่นของประชากรของเมืองหลวงมากที่สุดในบรรดาประเทศเอเชีย และมากเป็นอันดับสองของโลกรองลงมาจากกรุงปารีสฝรั่งเศส

            4.3 เชื้อชาติ

                   ผู้ที่อาศัยอยู่ในโซล เกือบทั้งหมดเป็นคนเชื้อชาติเกาหลี มีชาวญี่ปุ่นและชาวจีนอาศัยอยู่เล็กน้อย

            4.4 ศาสนา

                        ศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ เป็นสองศาสนาหลักที่มีผู้นับถือในโซล นอกจากนี้ยังมีศาสนาเซมัน(ลัทธิพื้นเมืองของเกาหลี) และลัทธิขงจื๊อ

5.รูปแบบการปกครองของโซล

          รูปแบบการปกครองของนครพิเศษโซลหรือเรียกสั้นว่า โซล  คือ การปกครองมหานครโซล (The Seoul Metropolitan Government) เป็นการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบ สภาท้องถิ่น และนายกเทศมนตรี  โดยสมาชิกสภา และนายกเทศมนตรีของโซล ต่างได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง

           มีอำนาจหน้าที่ รับผิดชอบในการบริหารและการบริการด้านต่าง ๆ ของนคร รวมทั้ง หน่วยงานราชทัณฑ์ (correctional institutions) การศึกษา ห้องสมุด การรักษาความปลอดภัยสาธารณะ การนันทนาการ การสุขาภิบาล การประปา และการสวัสดิการ

          ผู้รับผิดชอบสูงสุดของฝ่ายบริหารคือ นายกเทศมนตรี (mayor) โดยมีรองนายกเทศมนตรีจำนวน 3 คน        

โซลแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตปกครองตนเอง (autonomous district) จำนวน 25 เขตหรือกุ (gu) แต่ละกุมีขนาดพื้นที่ระหว่าง 10-47 ตร.กม. และมีประชากรระหว่าง 140,000-630,000 คน แต่ละกุ แบ่งออกเป็น ดอง (dong/neighborhood) หรือแขวง บางกุ มีเพียง 2-3 ดอง แต่บางกุมีหลายดอง โซลมีจำนวนกดองหรือแขวงทั้งหมดจำนวน 423 ดอง

            นอกจากนี้แต่ละดองยังแบ่งออกเป็นตอง (tong)  หรือชุมชน โดยโซลมีตองทั้งหมดจำนวน 13,787 ตอง

6.ความสำคัญและความโดดเด่นของโซล

          โซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้รวมทั้งเขตปริมณฑล มีความสำคัญและความโดดเด่นหลายด้าน คือ

            6.1 เป็นที่ตั้งแหล่งมรดกโลกหลายแห่ง

พระราชวังชังด็อก (Wikipedia, Seoul, 17th April 2023)

พระราชวังชังด็อก (Wikipedia, Seoul, 17th April 2023)

                   โซล เป็นที่ตั้งแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโก 5 แห่ง คือ พระราชวังชังด็อก (Changdeok Palace)  ป้อมฮวาช็อง(Hwaseong Fortress) ศาลเจ้าชงมโย (Jongmyo Shrine) สุสานนัมฮันซันซอง และสุสานหลวง ของราชวงศ์โชชอน       

            6.2 เป็นที่ตั้งของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง

                   โซล เป็นที่ตั้งของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น หอคอยเอ็นโซล อาคาร 63 ลอตเต้เวิลด์ ทาวเวอร์ ทุงแดมุนดีไซน์พลาซา  และลอตเต้เวิลด์

            6.3 ได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในเมืองที่น่าอยู่ที่สุดของทวีปเอเชีย

                   โซลได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในทวีปเอเชียในแง่ของคุณภาพชีวิตของประชากร ด้วยอัตราจีดีพีเฉลี่ยต่อคนสูงถึง 40,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 1,280,000 บาท)

            6.4 เป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีที่สำคัญของประเทศ

                   โซล เป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีที่สำคัญของประเทศ โดยเป็นที่ตั้งของเขตกังนัม (Gangnam) และเมืองสื่อดิจิทัล (Digital Media City) รวมทั้งเป็นสถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทชั้นนำของโลกมากกว่า 15 แห่ง (จากจำนวนบริษัทชั้นนำของโลกโดยฟอร์จูน โกลบอล 500 อันดับแรกของโลก) รวมทั้งซัมซุง แอลจี และฮุนได

                        โซลอยู่ในอันดับที่เจ็ดตามดัชนีเมืองมหาอำนาจของโลก (Global Power City Index) และดัชนีการแข่งขันทางด้านการเงิน (Global Financial Centers Index)

            6.5 เป็นหนึ่งในห้าของสถานที่การจัดการประชุมระดับโลก

ภาพพิธีปิดกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ปี 19888 (Wikipedia, Summer Olimpic Games 1988, 17th April 2023)

กรุงโซล เกาหลีใต้ – มหานครระดับโลก (10)(New***) 2

                   โซล เป็นเมืองที่มีอิทธิพลเป็นอย่างสูงในการจัดกิจกรรมระดับโลก อย่างเช่น เคยเป็นเจ้าภาพจัดแข่งกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ปี 1986 เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน ปี 1988 และเป็นเจ้าภาพจัดแข่งฟุตบอลโลกปี 2002 และการประชุมสุดยอด จี 20 ปี 2010

            6.6 เป็นเมืองแห่งการออกแบบ  

                   สมาคมนักออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาติ ยกย่องให้โซล เป็นเมืองแห่งการออกแบบปี 2010

          6.7 เป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมประชานิยมสมัยใหม่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดกระแสเกาหลีในศตวรรษที่ 21

                   โซล เป็นแหล่งกำเนิดของ เค-ป๊อป (K-pop) และกระแสเกาหลี (Korean wave) และเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมเกาหลีและสื่อสารมวลชน กิจการความบันเทิงต่าง ๆ

            6.8 เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางรถไฟและทางอากาศของประเทศ

                    โซล เป็นศูนย์กลางคมนาคมของประเทศทางรถไฟและทางอากาศ โดยการขนส่งมวลชน รวมเอาพื้นที่เขตปริมณฑลเข้าด้วย

                        ในด้านทางรถไฟ โซลเป็นสถานีหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ็กซ์ และสถานีรถไฟใต้ดินโซลนั้น เป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับสองของโลก มีทางรถไฟใต้ดินยาวจนสุดสายเป็นอันดับสองของโลก

                    ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟใต้ดิน เชื่อมต่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน ซึ่งได้รับการยกย่องจากสภาการท่าอากาศยานนานาชาติให้เป็นท่าอากาศยานยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2005

7.เศรษฐกิจของโซล

          โซล เป็นศูนย์กลางด้านการเงินและธุรกิจของเกาหลีใต้ แม้โซลจะมีพื้นที่เพียงร้อยละ 0.6 ของพื้นที่ประเทศ แต่กิจกรรมด้านการธนาคารเมื่อปี 2003 คิดเป็นร้อยละ 48.3 ของประเทศทำในโซล และโซลสามารถสร้างรายได้คิดเป็นร้อยละ 23 ของจีดีพีทั้งประเทศเมื่อปี 2012

          ดัชนีการค้าของศูนย์การค้าโลก (Worldwide Centers of Commerce Index) ปี 2008 ได้จัดให้โซลอยู่ในลำดับที่ 6 ของเมืองที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการเงินของโลก

            หน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจ Economist Intelligence Unit ได้ให้โซลเป็นเมืองที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมปี 2025 (Overall 2025 City Competitiveness) เป็นลำดับที่ 15 ของโลก

8.การคมนาคม

          โซล เป็นเมืองหลวงที่มีโครงข่ายการคมนาคมที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างดีแล้ว โดยเริ่มมีการพัฒนาสร้างถนนขึ้นมาตั้งแต่ยุคจักรวรรดิเกาหลี โซลเริ่มมีรถไฟฟ้าใต้ดินเมื่อต้นทศวรรษที่ 1970 จนกระทั่งปัจจุบัน โซลมีรถไฟฟ้าใต้ดิน สายหลักจำนวน 9 สาย คิดเป็นระยะทาง 250 กิโลเมตร

            8.1 รถโดยสารประจำทาง (Bus)

                   โซลมีระบบรถโดยสารภายใต้การบริหารของหน่วยการปกครองมหานครโซล (Seoul Metropolitan Government) มีรถโดยสารประจำทางครอบคลุมทุกพื้นที่ของโซล นอกจากนี้ โซลยังมีสถานีรถโดยสารเชื่อมต่อระหว่างเมืองทั่วประเทศ

            8.2 รถไฟในเมือง (Urban rail)

                   โซลมีโครงข่ายรถไฟครอบคลุมเต็มพื้นที่ของเมือง ประกอบด้วยรถเร็ว  (rapid transit) รถไฟฟ้าใต้ดิน (metro line) และรถไฟธรรมดา (commute line) โดยเชื่อมต่อทุกเขตของโซล และเมืองปริมณฑล มีผู้โดยสารมากกว่าวันละ 8 ล้านคน

                        รถไฟฟ้าใต้ดินของโซล นับเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีผู้โดยสารคับคั่งและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก คิดเป็นระยะทางยาวของเส้นทางที่วิ่ง  (track length) ร่วม 940 กิโลเมตร

            8.3 รถไฟ (Train)

                    โซลมีระบบรถไฟเชื่อมต่อเมืองสำคัญของประเทศทุกเมือง โดยเป็นระบบรถไฟความเร็วสูงในอัตราความเร็วมากกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

            8.4 ท่าอากาศยาน (Airport)

ภาพถ่ายท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน อาคาร 1 ถ่ายจากมุมสูง

(Wikipedia, Inchoen n\Inernational Airport, 17th April 2023)

กรุงโซล เกาหลีใต้ – มหานครระดับโลก (10)(New***) 3

                   โซลมีท่าอากาศยานนานาชาติ จำนวน 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน (Incheon International Airport) และท่าอากาศยานนานาชาติกิมโป (Gimpo International Airport)

                   ท่าอากาศยานนานาชาติกิมโป ได้เปิดดำเนินการเมื่อปีค.ศ.1939 โดยใช้เป็นท่าอากาศยานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และใช้เป็นท่าอากาศยานพลเรือนเมื่อปีค.ศ.1957

                      ส่วนท่าอากาศยานานาชาติอินชอน ตั้งอยู่บนเกาะยองชง (Yeongjong) ได้เปิดใช้เมื่อปีค.ศ.2001 นับเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารหนาแน่นเป็นอันดับแปดของเอเชีย เป็นท่าอากาศยานที่มีการขนส่งสินค้าหนาแน่นเป็นอันดับสี่ของโลก และเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารระหว่างประเทศหนาแน่นเป็นอันดับแปดของโลกเมื่อปีค.ศ.2014 โดยมีผู้โดยสารจำนวน 57,765,397 คนและได้เปิดใช้อาคารผู้โดยสารที่ 2 เมื่อปี 2018

                   มีรถไฟด่วนเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานทั้งสองแห่ง

            8.5 การปั่นจักรยาน (Cycling)

                   การปั่นจักรยานกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในโซลและทั่วประเทศ มีการสร้างทางจักรยานริมฝั่งแม่น้ำฮันทั้งสองฝั่ง

9. เปรียบเทียบนครพิเศษโซลกับกรุงเทพมหานคร

ภาพถ่ายสถานที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร (Wikipepdia, Bangkok, 17th April 2023)

ภาพถ่ายสถานทีสำคัญในกรุงเทพมหานคร (Wikipedia, Bangkok, 17th April 2023)

          เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นภาพการเป็นมหานครระดับโลกของนครพิเศษโซล ผมขอเปรียบเทียบกับกรุงเทพมหานครในบางมิติ ดังนี้

            9.1 ความเก่าแก่ของเมือง

                                โซลมีประวัติความเป็นมาในฐานะเป็นเมืองหลวงของเกาหลีในยุคสามอาณาจักร โดยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักร Baekje เมื่อปีค.ศ.234   หลังจากราชวงศ์คุรยอล่มสลาย ราชวงศ์โชชอน ได้มีอำนาจแทนและได้สถาปนาโซลเมื่อปีค.ศ.1394  เป็นเมืองหลวงของเกาหลีนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน

                                ส่วนกรุงเทพมหานคร ได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวงของไทยในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 (ค.ศ.1782)

                9.2 ตำแหน่งที่ตั้ง

                   โซลตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ มีภูเขาล้อมรอบ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 125 ฟุต โดยมีจุดสูงสุด 2,744 ฟุต มีแม่น้ำฮันไหลผ่านกลางเมือง แบ่งโซลออกเป็นสองฝั่งแม่น้ำ คือ โซลทางทิศเหนือ และโซลทางทิศใต้   แม่น้ำฮันมีความยาว 497.5 กิโลเมตร ไหลลงสู่ทะเลเหลือง

                        ส่วนกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของประเทศ อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านตรงกลาง ไหลลงสู่อ่าวไทย  แบ่งกรุงเทพมหานครออกเป็นสองฝั่งแม่น้ำ คือ ฝั่งตะวันออก และฝั่งตะวันตก  แม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาว 372 กิโลเมตร

            9.3 ขนาดพื้นที่

                   โซลมีขนาดพื้นที่ไม่มากเพียง 605.21 ตร.กม. แต่เมื่อรวมกับเมืองปริมณฑลจะมีพื้นที่ 12,685 ตร.กม.

                        ส่วนกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ใหญ่กว่าโซล คือ มีพื้นที่ 1,568.37 ตร.กม. และเมื่อรวมกับเมืองปริมณฑลจะมีพื้นที่ 7,761.6

            9.4 จำนวนประชากร

                   โซลมีจำนวนประชากรเมื่อเดือนตุลาคม 2022 จำนวน 9,443,722 คน คิดเป็นความหนาแน่น 16,000 คน ต่อหนึ่งตร.กม.และเมื่อรวมกับเมืองปริมณฑลจะมีจำนวนประชากร 26,037,000 คน คิดเป็นความหนาแน่นของประชากร 2,053 คน ต่อหนึ่งตร.กม.

                        ส่วนกรุงเทพมหานคร มีประชากรตามทะเบียนบ้าน ปี 2565 ราว 5,494,932 คน แต่เมื่อรวมกับจำนวนแฝงจะมีจำนวนประชากร 10,820,921 คน คิดเป็นความหนาแน่นของประชากร 6,900 คน ต่อหนึ่งตร.กม.

                        หากรวมกับเมืองปริมณฑลจะมีประชากร 15,624,700 คน คิดเป็นความหนาแน่นของประชากร 2,000 คน ต่อหนึ่งตร.กม.

            9.5 รูปแบบการปกครอง

                   โซลมีรูปแบบการปกครอง เป็นการปกครองท้องถิ่นแบบสองชั้น ชั้นบนคือ ตัวมหานครโซล สภาโซล และนายกเทศมนตรีกรุงโซล ต่างมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ส่วนเขตต่าง ๆ จำนวน 25 เขตหรือกุ มีฐานะเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นระดับล่าง (autonomous district)

โซล มีการปกครองท้องถิ่นสองชั้นในทำนองเดียวกันกับการปกครองมหานครลอนดอน (Greater London) และการปกครองกรุงปารีส

                   ส่วนกรุงเทพมหานคร เป็นการปกครองท้องถิ่นแบบชั้นเดียว คือตัวกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ต่างมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน กรุงเทพมหานครแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 50 เขต ขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่ได้มีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเหมือนเขตของกรุงโซล

            9.5 การคมนาคม

                   ระบบการคมนาคมขนส่งมวลชนของโซลถือได้ว่า มีความสมบูรณ์ครบถ้วนทั้งในด้านรถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกับหัวเมืองใหญ่ ๆ ของประเทศ นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานนานาชาติสองแห่ง โดยมีรถไฟด่วนเชื่อมต่อสนามบินทั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน

                        ส่วนกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน ระบบคมนาคมขนส่งมวลชนถือได้ว่า ได้พัฒนามากกว่าเดิมมาก มีทั้งรถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้า และรถไฟฟ้าใต้ดิน เกือบจะครอบคลุมเต็มพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งมีการสร้างเชื่อมต่อไปยังเมืองปริมณฑล     

                       ยิ่งกว่านั้น กำลังจะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อท่าอากาศยานนานาชาติสามแห่งเข้าด้วยกัน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา

                        นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังมีการคมนาคมขนส่งทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนการคมนาคมขนส่งจากท่าเรือคลองเตยออกไปอ่าวไทย

            9.6 การท่องเที่ยว

                   โซล ในฐานะเมืองหลวงของเกาหลีใต้ เป็นศูนย์รวมทุกสิ่งทุกอย่างของประเทศ ดังนั้น จึงมีสถานที่ท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวเลือกเที่ยวชมได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ห้างสรรพสินค้าสมัยใหม่ และด้านอื่น ๆ

                        ส่วนกรุงเทพมหานครนั้น เป็นศูนย์กลางความเจริญก้าวหน้าทุกอย่างของประเทศเช่นเดียวกัน มีสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเลือกเที่ยวชมหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์ พระราชวัง วัดวาอาราม ห้างสรรพสินค้า และด้านอื่น ๆ  ยิ่งกว่านั้น กรุงเทพมหานครยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวอยากจะเดินทางมาเที่ยวมากที่สุดในโลก ต่อเนื่องกันหลายปี

            การเปรียบเทียบโซลกับกรุงเทพมหานครทั้ง 6 ด้านดังกล่าว ต้องการเปรียบเทียบในบางมิติเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างเมืองทั้งสองอย่างกว้าง ๆ เท่านั้น

10. สรุป

          กรุงโซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ นับเป็นมหานครระดับโลกอย่างแท้จริง เพราะเป็นเมืองที่มีความเจริญสมัยใหม่และเทคโนโลยีอย่างสูง จนได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองในแถวหน้าของโลก ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการคมนาคมขนส่งทางบกและทางอากาศ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตของโลกสมัยใหม่ จนได้รับยกย่องให้เป็นเมืองหนึ่งที่น่าอยู่ที่สุดในเอเชีย

          โซล เป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จำนวนราว 10 ล้านคน คิดเป็นจำนวนประชากรราวหนึ่งในห้าของประชากรเกาหลีใต้

            ด้วยความพร้อมในด้านต่าง ๆ ดังกล่าว ทำให้โซลได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลกมาแล้ว 2 ครั้ง คือ กีฬาโอลิมปิก และการแข่งขันฟุตบอลโลก

          สำหรับข้อมูลและความคิดเห็นอื่น ๆ กรุณาติดตามได้ใน หัวข้อ ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 ท้ายบทความนี้

ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369

          1.ถาม-โซล เมืองหลวงของเกาหลีใต้ มีอายุเก่าแก่มากน้อยเพียงใด

                   หากนับเฉพาะเมื่อโซลเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่องในยุคราชวงศ์โชชอน เมื่อปีค.ศ.1394 จนกระทั่งปัจจุบัน เป็นระยะเวลายาวนานร่วม 629 ปี

          2.ถาม-เมื่อเปรียบเทียบกับกรุงเทพมหานคร โซลหรือกรุงเทพมหานคร เมืองใดมีอายุเก่าแก่มากกว่ากัน

                   กรุงเทพมหานครได้รับการสถาปนาเมื่อปีพ.ศ.2325 นับจนกระทั่งปัจจุบัน มีอายุเพียง 241 ปี นับว่าเป็นระยะเวลาที่น้อยกว่าโซล 388 ปี

            3.ถาม-รูปแบบการปกครองของโซล เหมือนหรือแตกต่างจากรูปแบบการปกครองของกรุงเทพมหานคร หรือไม่อย่างไร

                    โดยหลักการ โซลและกรุงเทพมหานคร มีรูปแบบการปกครองแบบเดียวกัน คือ รูปแบบสภา และนายกเทศมนตรี (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) แตกต่างในระดับเขต เขตของโซล มีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทำนองเดียวกับเขตของกรุงโตเกียว ส่วนเขตของกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นหน่วยการบริหารที่ขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

            4.ถาม-มองในแง่การคมนาคมขนส่ง โซลและเมืองปริมณฑล   กับกรุงเทพมหานคร ที่ใดมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่ากัน

                   โซลและเมืองปริมณฑล มีความเจริญก้าวหน้าในด้านการคมนาคมมากกว่ากรุงเทพมหานคร ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านรถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟ และรถไฟความเร็วสูง อย่างไรก็ดี ในกรุงเทพมหานครมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มเติมหลายสาย ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา

          5.ถาม- รายได้เฉลี่ยต่อหัวของชาวโซล เกาหลีใต้ กับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนกรุงเทพมหานคร แตกต่างกันมากน้อยเพียงใด

          ชาวโซล มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงดึง 39,558 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1,265,856  บาท ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ของคนกรุงเทพมหานคร มีเพียง 45,572 บาท หรือปีละ 546,864 ต่อครัวเรือน

          6.ถาม- มองในแง่การท่องเที่ยว โซล และกรุงเทพมหานคร เมืองใดมีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากกว่ากัน

                   มองในแง่การท่องเที่ยว กรุงเทพมหานครน่าจะมีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างประเทศมากกว่าโซล เพราะในกรุงเทพมหานครมีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายแบบมากกว่าโซล เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดวาอารามต่าง ๆ ทั่วพื้นที่กรุงเทพ ฯ  ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และทันสมัยหลายแห่ง อาหารไทย อาหารริมถนน (Street foods) หรือแม้แต่มวยไทย

          7.ถาม-พอจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ไหมว่า โซล เกาหลีใต้มีขีดความสามารถของเมืองเหนือกว่ากรุงเทพมหานครแน่นอน

                   สิ่งที่พอจะชี้ให้เห็นได้ว่า โซล เกาหลีใต้ มีขีดความสามารถของเมืองเหนือกว่ากรุงเทพมหานครแน่นอน คือ โซลเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลก คือ กีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อนเมื่อปีค.ศ.1988 และฟุตบอลโลกปี 2002 ในขณะที่กรุงเทพมหานครเคยแค่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เท่านั้น

ดร.ชา 369

17/04/23

Dr.Char

Mr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***) 6

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***)

Share on Social Media facebook email 91 / 100 Powered by Rank Math SEO “มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” เป็นบทความลำดับที่ 13 หมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก จะกล่าวถึง ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของมองโกเลีย ข้อมูลมองโกเลียในปัจจุบันที่ควรทราบ   ประวัติย่อของมองโกเลีย  ยุคจักรวรรดิมองโกลอันยิ่งใหญ่  วิเคราะห์เปรียบเทียบอาณาจักรมองโกล กับจักรวรรดิบริติช สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369           บทความที่เกี่ยวข้อง ประวัติ จีน ก่อนจีนยุคใหม่ “ จักรวรรดิจักรมองโกล (1206-1368)  เป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกันใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 24,000,000…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16) 7

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 9

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: