78 / 100

หากจะจบลงโดยไม่มีข้อคิดเห็นเลย ผมก็เกรงว่า ท่านผู้อ่านอาจจะอารมณ์ค้าง โดยผมจะขอแสดงข้อคิดเห็นไปในเชิงการบริหารจัดการและภาวะผู้เชิงยุทธศาสตร์เป็นหลัก และใช้แนวคิดที่เป็นบวกในการมองปัญหา

            การแสดงความเห็นของผม เป็นการแสดงในฐานะนักวิชาการอิสระ ที่เคยรับราชการเป็นนักปกครอง เคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษหลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมีพื้นฐานความรู้ทางรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ และภาวะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ โดยได้เลือกประเด็นที่คิดว่า น่าจะอยู่ในความสนใจของคนทั่วไป จำนวน 10+1 ประเด็น ดังนี้

Table of Contents

*ต่อจากบทความตอน (7) ว่าด้วยข้อคิดเห็น 10 ประการประจำวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2563

7. ทำไมประเทศที่เจริญก้าวหน้า เป็นประเทศมหาอำนาจของโลก จึงไม่สามารถแก้ปัญหาโควิด-19 สู้ประเทศไทยได้

            ผมคิดว่า การที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก ไม่สามารถแก้ปัญหาโควิด-19 สู้ประเทศไทยได้น่าจะมีสัก 6 ประการ คือ

            ประการแรก ผู้นำของประเทศสหรัฐอเมริกา และผู้นำของประเทศยุโรปตะวันตกประเมินสถานการณ์โรควิด-19 ระบาดผิดพลาด กล่าวคือประเมินสถานการณ์ไว้ต่ำเกินไป  จึงทำให้การ เตรียมการไว้สู้สถานการณ์ไม่ดีพอหรือผิดพลาดนั่นเอง

            ประการที่สอง เชื้อโรคไวรัสโควิด-19 อาจจะอยู่ในอากาศหนาวได้ยาวนานกว่าอากาศร้อน ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปตะวันตกมีอากาศหนาวเย็น จึงทำให้เชื้อโรคโควิด-19 ดำรงอยู่ในอากาศได้นานกว่าประเทศที่มีอากาศร้อนอย่างเช่นประเทศไทย ทำให้เชื้อโรคมีเวลาแพร่กระจายได้นานกว่าประเทศที่มีอากาศร้อน

            ประการที่สาม คนอเมริกันและคนยุโรปตะวันตกไม่นิยมสวมหน้ากากอนามัยไว้ป้องกันตนเอง เว้นแต่เจ็บป่วย ดังนั้น เมื่อเชื้โรคโควิด-19 ระบาด คนอเมริกันและคนยุโรปตะวันตกจึงสามารถติดเชื้อโรคได้โดยง่ายและแพร่เชื้อโรคได้อย่างรวดเร็ว

ประการที่สี่ วัฒนธรรมการในการทักทายกันของคนตะวันตก แตกต่างไปจาคนเอเชีย กล่าวคือ คนตะวันตกเมื่อเจอกัน นอกจากกล่าวสวัสดีกันแล้ว ยังนิยมสัมผัสร่างกายกัน อย่างน้อยที่สุดคือจับมือ ถ้าสนิทกันหน่อยอาจเข้าสวมกอด หรือจุมพิตที่หน้าผาก

ด้วยวัฒนธรรมดังกล่าว ทำให้คนตะวันตกมีโอกาสได้รับเชื้อไวรัสโดควิด-19 ได้ง่าย ถ้าคนที่ได้สัมผัสร่างกายกันนั้น มีเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 อยู่่

          ประการที่ห้า กรณีสหรัฐอเมริกา รัฐบาลกลางมีอำนาจจำกัด หากอำนาจใดไม่ปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาว่าเป็นอำนาจของรัฐบาลกลาง รัฐบาลกลางก็จะไม่มีอำนาจสั่งการในเรื่องนั้น เพราะอำนาจในการสั่งการในส่วนที่อยู่นอกเหนือไปจากรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา จะเป็นอำนาจของแต่ละมลรัฐ และเป็นอำนาจของประชาชน หากมีความขัดแย้งกัน ก็ต้องไปศาล ให้ศาล

            สหรัฐอเมริกามี 50 มลรัฐ แต่ละมลรัฐมีรัฐธรรมนูญของตนเองต่างหาก คำว่า มลรัฐ ภาษาอังกฤษ คือ State ไม่ใช่ Province ที่แปลว่า จังหวัดนะท่านผู้อ่าน ดังน้้น ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่สามารถสั่งผู้ว่าการมลรัฐได้เหมือนอย่างพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยื่ง ผู้ว่าการมลรัฐที่สังกัดพรรคการเมืองคู่แข่ง คือพรรคดีโมแครต

            ประการสุดท้าย นอกจากนี้ อดุมการณ์และวัฒนธรรมทางการเมืองของคนอเมริกา ได้มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 กล่าวคือ คนอเมริกันเป็นคนที่ยึดมั่นในเสรีภาพ ความเป็นปัจเจกชน ความเสมอภาค และการปกครองตนเอง (Liberty, Individualism, Equality, and Self-Government)

            อะไรก็ตามที่ประชาชนเห็นว่า คำสั่งของรัฐบาลกลางก็ดี คำสั่งของมลรัฐก็ดี หรือคำสั่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ดี  ขัดต่ออุดุมการณ์หรือวัฒนธรรมทางการเมืองของชาวอเมริกัน  ประชาชนจะไม่สนองตอบหรือไม่ให้ความร่วมมือ และนำไปสู่การฟ้องคดีต่อศาลฐานละเมิดรัฐธรรมนูญ

            ตัวอย่างของความเป็นปัจเจกชนหรือความเป็นตัวของตัวเองของคนอเมริกัน เช่น หากผู้ใดต้องการจะใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้นั้นต้องไปลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ก่อน หากไม่ไปก็ถือว่า สละสิทธิเลือกตั้ง ในวันเลือกตั้ง จะไม่มีชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

            เรื่องนี้ ตรงข้ามกับบ้านเราเลยใช่ไหม ท่านผู้อ่าน บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หากใครมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ทางราชการจัดพิมพ์ให้หมด และถือว่า การไปลงคะแนนเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ไม่ใช่สิทธิ                 

             หากบ้านเราใช้ระบบอเมริกา เวลาเขาให้ไปลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก็จะไม่ค่อยมีใครไป อ้างว่าไม่มีเวลา แต่พอวันเลือกตั้ง ไม่มีชื่อในบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก็จะโวยวายว่า ทางราชการทำบัญชีรายชื่อของเขาตกหล่น แถมออกสื่อให้เป็นเรื่องใหญ่โตทีเดียว

          ท่านผู้อ่านเห็นด้วยกับผมไหม

8.การที่กรุงเทพมหานครได้ประกาศปิดเมืองในบางส่วนอย่างที่เรียกว่า ล็อคดาวน์ (Lockdown) เป็นเหตุทำให้คนต่างจังหวัดบางส่วนที่ไม่มีงานทำเพราะผลของการล็อคดาวน์นั้น ต้องกลับไปอยู่ภูมิลำเนาต่างจังหวัด อาจจะทำให้มีบางคนที่ติดเชื้อโควิด-19 บางคน นำเชื้อไปติดคนในตำบลหมู่บ้าน ไม่น่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง น่าจะให้อยู่รวมกันที่กรุงเทพแห่งเดียว จะได้บริหารจัดการได้ง่าย

          หากปล่อยให้คนเหล่านี้รวมตัวกันอยู่ที่กรุงเทพ ฯแห่งเดียว กรุงเทพ ฯ ก็จะมีสภาพไม่แตกต่างไปจากกรุงนิวยอร์ค ของอเมริกาที่มีคนอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ร่วม 19 ล้านคน ทำให้การแพร่ระบาดของเชื้อโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนเป็นเหตุทำให้มีคนติดเชื้อโรคและล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่ฝังศพมีไม่พอจนต้องฝังศพรวมกัน จะเห็นว่า แค่กรุงนิวยอร์คแห่งเดียวก็มียอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากกว่าหลายประเทศ จนจำเป็นต้องใชีวิธีฝังศพผู้เสียชีวิตแบบฝังหมู่ไง

ตัวเลขเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 แค่กรุงนิวยอร์คแห่งเดียว มียอดผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 ถึง 136,816 คน และเสียชีวิต 14,347 คน (ตุัวเลขนี้อาจเพิ่มขึ้นได้เป็นรายวัน) ท่านผู้อ่านคิดว่า ตัวเลขน่ากลัวไหม

            คนกรุงเทพ ฯ ตามทะเบียนบ้าน มีประชากรร่วม 6 ล้านคน แต่มีประชากรแฝงจากจังหวัดปริมณฑลและจังหวัดอื่น ๆ มาอาศัยอยู่และประกอบอาชีพอีกร่วม 4 ล้านคน รวมเป็นจำนวนที่อาศัยและใช้ชิวิตประจำวันในกรุงเทพฯ ประมาณ 10 ล้านคนในแต่ละวัน

            หากมีคนติดเชื้อโควิด-19 รวมตัวอยู่กรุงเทพ ฯ มาก ๆ เหมือนอย่างกรุงนิวยอร์ค ประเทศอเมริกา ท่านผู้อ่าน ลองหลับตานึกภาพดูว่า จะโกลาหลวุ่นวายแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงพยาบาบาลต่าง ๆ ในกรุงเทพ ฯ และจังหวัดใกล้เคียง ก็จะไม่สามารถรับมือได้ และอาจจำเป็นต้องปฏิเสธการรับคนป่วยเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น เพราะมีคนป่วยมากจนล้นโรงพยาบาลนั่นเอง

9.การที่นายกรัฐมนตรีได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้กำกับสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19 ทุกมิติ จะสามารถแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดได้อย่างไร

          ในปัจจุบันนี้ การบริหารงานจังหวัด เป็นการบริหารแบบบูรณาการ อย่างที่เรียกว่า ระบบผู้ว่า ฯ ซีอีโอ ซึ่งเป็นระบบทีได้ใช้มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2546 โดยพื้นฐานในการแก้ปัญหานี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 อยู่แล้ว แต่พอได้รับมอบอำนาจเพิ่มเติมจากนายกรัฐมนตรี ตามพระราชกำหนด ฯ ย่อมทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจและมีศักยภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยอาศัยเครือข่ายต่าง ๆ ที่มีอยู่ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน หรือพลังประชารัฐ นั่นเอง

ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งการไปยังอำเภอ นายอำเภอมอบหมายให้ปลัดอำเภอออกตรวจตราว่าได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศไว้หรือไม่(ขอขอบคุณปลัดอนณ คำทองแก้ว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ที่เอื้อเฟื้อภาพประกอบ)
ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งการไปยังอำเภอ นายอำเภอมอบหมายให้ปลัดอำเภอออกตรวจตราว่าได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศไว้หรือไม่ (ขอขอบคุณปลัดอนณ คำทองแก้ว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ที่เอื้อเฟื้อภาพประกอบ)

            แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมีอำนาจของตนเองอยู่แล้ว ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 แต่การใช้อำนาจปิดสถานที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว เป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ หากไม่ได้รับความคุ้มครองจากการถูกฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ภายใต้พระราชกำหนด ฯ ฐานออกคำสั่งทางปกครองโดยมิชอบ แถมฟ้องเรียกค่าเสียหายอย่างที่เรียกว่า ความรับผิดในทางละเมิดอีกเป็นจำนวนมาก ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมทั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คงไม่กล้าใช้อำนาจประกาศปิดสถานที่เสี่ยงเป็นแน่แท้

             เรื่องนี้ ท่านผู้อ่านคงพอจะเห็นการเชื่อมโยงคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนด ฯ กับอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ให้เป็นอำนาจเดียวกันได้อย่างกลมกลืน

10.มีบางคนกล่าวว่า การที่นายกรัฐมนตรีใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ ออกประกาศ และคำสังต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาโรคโควิด-19 คือการยึดอำนาจอย่างหนึ่ง ใช่ไหม

          ไม่จริงหรอก เพราะการใช้อำนาจตามพระราชกำหดน ฯ  นายกรัฐมนตรีจะใช้เองตามลำพังไม่ได้ ต้องมีการประชุมขอมติคณะรัฐมนตรี หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีจึงจะสามารถใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จัดตั้งองค์กรขึ้นมาแก้ปัญหา และออกข้อกำหนดต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา

            การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว นายกรัฐมนตรีอาจออกประกาศเฉพาะบางพื้นที่หรือออกประกาศทั่วราชอาณาจักรก็ได้ การออกประกาศครั้งหนึ่งต้องมีกำหนดเวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ถ้าจะขยายเวลาต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบก่อน

อย่างเช่น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งแรกนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำหนดเวลาไว้ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม-30 เมษายน 2563 หากนายกรัฐมนตรีต้องการใช้อำนาจต่อ ก็ต้องนำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีก่อน หากคณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบ ก็ต้องจบ

การใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ ของนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่การยึดอำนาจ
การใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ ของนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่การยึดอำนาจ

            ยิ่งกว่านั้น การใช้อำนาจตามพระราชกำหนด ฯ ของนายกรัฐมนตรีดังกล่าว จะใช้ไปในเรื่องอื่น ๆ ไม่ได้ จะใช้ได้เฉพาะในเรื่องการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไว้เท่านั้น

            ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี ไม่ได้อิสระไปจากการกำกับดูแลของคณะรัฐมนตรีอีกชั้นหนึ่ง

10+1.การที่นายกรัฐมนตรีประกาศว่า จะทำจดหมายเปิดผนึกถึงมหาเศรษฐี 20 อันดับแรกของไทย เพื่อให้ช่วยรัฐบาลแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องหยุดชะงักลงเพราะโรคโควิด-19 น่าจะเป็นการชอบด้วยหลักการไหม

          ท่านผู้อ่าน คงพอจะรู้จักอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง คือ ประธานาธิบดี จอห์น เอ็ฟ.เคนเนดี (John F. Kennedy) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา ได้มีคำกล่าวหนึ่งที่อาจถือได้ว่า เป็นอมตวาจา คือ

            “ จงอย่าถามว่า ประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามว่า ท่านจะให้อะไรแก่ประเทศชาติได้บ้าง” (Ask not for the country do for you…ask what you can do for your country.

การทำจดหมายเปิดผนึกถึงมหาเศรษฐี สอดคล้องกับแนวคิดของการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์
การทำจดหมายเปิดผนึกถึงมหาเศรษฐี สอดคล้องกับแนวคิดของการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์

            ท่านนายกรัฐมนตรีของเราก็อาจจะได้แนวคิดจากกคำกล่าวข้างต้นของประธานาธิบดี จอห์น เอ็ฟ.เคนเนดี ก็ได้  เมื่อเห็นว่า สถานการณ์การแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ในภาพรวมดีขึ้นแล้ว ท่านคงอยากเปิดเกมรุกไปในด้านการฟื้นฟูบ้างโดยการดึงภาคเอกชนที่เป็นมหาเศรษฐีเข้ามามีส่วนร่วม การดึงเอาภาคเอกชนเข้ามาร่วมด้วย ถือได้ว่าสอดคล้องกับแนวคิดการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ หรือหลักพลังประชารัฐ ส่วนผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร พวกเราก็คอยติดดูเอาเองก็แล้วกันนะ

ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า การแสดงข้อคิดเห็นทั้ง 10+1 ข้อดังกล่างข้างต้นของผม เป็นการแสดงความคิดเห็นด้วยแนวคิดที่เป็นบวก ซึ่งอาจจะไม่ตรงใจหรือถูกใจท่านที่ชอบใช้แนวคิดทางลบมองปัญหาหรือสถานการณ์

            ขอบคุณทุกท่าน ที่กรุณาติดตามบทความชุดโควิด-19 มาโดยตลอด

            ขอให้ทุกท่านโชคดี พบกันใหม่ในคราวต่อไป

              ดร.ชา

            วันเสาร์ที่ 24 เมษายน 2563

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

8 COMMENTS

  1. 10+1ทำให้สิ่งธรรมดาอย่างประเทศไทย มีชื่อเสียงระดับโลกได้ ชอบแนวคิด ในการวิเตราะห์คะ ตรงใจคะ

    1. ขอบคุณดร.กาญจณา มากที่ชอบการวิเคราะห์ครั้งนี้ของผม ผมก็วิเคราะห์แบบธรรมาดา ๆ ๆ นี่แหละ

  2. เห็นด้วยค่ะอาจารย์เอาเข้าจริงๆ เหมือน USA ไม่มีเอกภ่พในการสั่งการจริง

    1. รูปแบบการปกครองของอเมริกา เป็นระบบถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การถ่วงดุลอำนาจระหว่างรัฐบาลกลาง กับรัฐบาลมลรัฐ อำนาจใดที่รัฐธรรมนูญอเมริกามิได้กำหนดไว้ว่า เป็นอำนาจ
      ของรัฐบาลกลาง อำนาจที่เหลือเหล่านั้น จะเป็นอำนาจของมลรัฐและประชาชนทั้งหมด ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะใช้อำนาจสั่งผู้ว่าการมลรัฐเหมือนนายกรัฐมนตรีไทย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ได้
      ชีวิตประจำวันของคนอเมริกันผูกพันอยู่กับการบังคับใช้กฎหมายของมลรัฐและท้องถิ่นมากกว่าการบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลกลาง

  3. ขอบคุณครับอาจารย์ ที่เปรียบเทียบสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโควิดด 19 ระหว่างไทยกับต่างประเทศ โดยเฉพาะอเมริกา ทำให้ทราบถึงทำไมประเทศไทยถึงได้ป้องกันและควบโรคได้มีประสิทธิภาพกว่า เพราะธรรมชาติที่เอื้อต่อการแพร่เชื้อ/หยุดเชื้อ และบริบทแต่ละแห่ง มันแตกต่างกันนี้เองครับ

    1. ถูกต้องแล้ว นอกจากนี้ยังมีเรื่องวัฒนธรรมการทักทายกันของคนตะวันตก ที่ชอบทักทายกันด้วยการสัมผัสร่างกายกัน ซึ่งถือเป็นการขัดต่อหลักการทิ้งระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อย่างชัดเจน

  4. ชอบมุมมองท่านอาจารย์ข้อ10+1 ค่ะ จากที่เรามองท่านนายก ว่าทำไมต้องมีจดหมายไปถึงมหาเศรษฐี 20 ท่าน เหมือนรัฐฯไม่มีศักยภาพและ… ทำให้มุมมองของหนูเปลี่ยนไป จริงค่ะ อย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรกับท่าน จงถามว่าท่านจะให้อะไรแก่ประเทศชาติบ้าง…แค่เรามองอีกมุมหนึ่งค่ะ. ลูกศิษย์ รัฐศาสตร์ยโสธร รุ่น 8

    1. อาจารย์ดีใจที่ คุณoattalent มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ดีขึ้น ขอขอบคุณในความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ โอกาสหน้าขอเชิญเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นไดีอีกเรื่อย ๆ นะครับ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: