81 / 100

“สหภาพยุโรปหรืออียู มีความเป็นมาอย่างไร  ” เป็นบทความลำดับที่ 1 ของหมวด 15 เรื่องเล่า สหภาพยุโรปหรืออียู โดยจะกล่าวถึง ความนำ สหภาพยุโรปหรืออียู คืออะไร ความเป็นมาของอียู แนวคิดเบื้องต้น ขั้นเตรียมการ สนธิสัญญาโรม สนธิสัญญามาสทริชท์  สนธิสัญญาลิสบอน สรุป และถาม-ตอบ สนุกกับดร.ชา 369

อนึ่ง บทความสุดท้ายก่อนหน้านี้ที่ผมได้นำลงโพสต์คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ยากแค่ไหน กว่าจะได้เป็น (9) ซึ่งเป็นบทความลำดับที่ 9 ของหมวด 1 เส้นทางสู่อาชีพนักปกครอง

1.ความนำ

          นับตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน มาตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นมาจนกระทั่งทุกวันนี้ และยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงเมื่อใด ทำให้สหภาพยุโรปหรืออียู เป็นที่จับตามองของชาวโลก  เพราะหลายประเทศในอียู เป็นสมาชิกของนาโต ซึ่งเป็นกองกำลังหลักในการสนับสนุนยูเครนให้สามารถสู้รบกับประเทศมหาอำนาจอย่างรัสเซียได้

            ดังนั้น เรื่องราวของสหภาพยุโรปในขณะนี้จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งไม่น้อยกว่าเรื่องราวของกลุ่มประเทศนาโตและรัสเซีย

            ในบทความนี้ ต้องการจะปูพื้นฐานให้ท่านผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเป็นมาของอียู นับตั้งแต่แนวคิดเบื้องต้น ขั้นเตรียมการ สนธิสัญญาโรม สนธิสัญญามาสทริชท์ และสนธิสัญญาลิสบอน

2.สหภาพยุโรปหรืออียู คืออะไร

          สหภาพยุโรปหรืออียู (European Union/EU) เป็นองค์กรระหว่างประเทศ (international organization) ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ที่มีนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงร่วมกัน ประกอบด้วยสมาชิก 27 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป

            อียูมีพื้นที่ทั้งหมด 4,233,255.3 ตร.กม. และมีประชากรราว 447 ล้านคน

3.ความเป็นมาของอียู

          ภายหลังการล่มสลายของกรุงโรมเมื่อปีค.ศ.476 นับเป็นเวลาหลายร้อยปีที่ชาติยุโรปหลายชาติมองว่า ตนเป็นผู้สืบต่ออำนาจ (transfer of rule) ของจักรวรรดิโรมันที่ได้ล่มสลายไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจักรวรรดิแฟรงคิช (Frankish Empire 481-843) จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Roman Empire 481-843) ดังนั้น จึงทำให้เกิดความคิดจะรวมยุโรปให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง

              โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลสะเทือนที่เกิดจากการปฏิวัติอเมริกาช่วงปี 1765-1791 และการปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศสช่วงปี 1789-1799  ภายหลังยุคของจักรวรรดิ นโปเลียน (Napoleon Empire 1804-1815)  ได้มีแนวคิดที่จะทำให้เกิดสหรัฐยุโรป (United States of Europe) ในทำนองเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา

          ความเป็นมาของอียู อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วง คือ

            3.1 ช่วงของการเตรียมการ (Preliminary 1945-1957)  

          3.2 สนธิสัญญาโรม (1957-1992)

          3.3 สนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty 1992-2007)

          3.4 สนธิสัญญาลิสบอน (Treaty of Lisbon 2007-ปัจจุบัน)

4. ช่วงของการเตรียมการ (Preliminary 1945-1957)

          ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดแนวคิดในการรวมตัวของยุโรป (European integration) ซึ่งเป็นแนวคิดที่อยู่ตรงกันข้ามกับลัทธิชาตินิยมอย่างสิ้นเชิง อันเป็นเหตุทำให้ยุโรปต้องแตกแยก

            วินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ  มหาวิทยาลัย ซูริค (University of Zurich) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 1946 และเป็นผู้นำเสนอแนวคิดในการจัดตั้งสหรัฐยุโรป (United States of Europe) 

            การประชุมสภาคองเกรส ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 1948 นับเป็นจุดสำคัญในประวัติศาสตร์ของการจัดตั้งสหรัฐยุโรป (European federal history) เพราะการประชุมดังกล่าวได้นำไปสู่การจัดตั้งขบวนการยุโรปนานาชาติ (European Movement International) และการจัดตั้งวิทยาลัยยุโรป(College of Europe) เพื่อให้ผู้นำในอนาคตของยุโรปได้มาอยู่และศึกษาด้วยกัน

            นอกจากการจัดตั้งขบวนการยุโรปนานาชาติ และวิทยาลัยยุโรปแล้ว การประชุมดังกล่าวยังได้นำไปสู่การจัดตั้ง สภายุโรป (Council of Europe) เมื่อปี 1949 ซึ่งนับเป็นความพยายามที่ยิ่งใหญ่ครั้งแรก ในการนำชาติยุโรปให้มารวมกัน โดยเริ่มต้นจากสมาชิก 10 ประเทศ

            สภายุโรปให้ความสนใจในเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยมากกว่าเรื่องเศรษฐกิจหรือปัญหา การค้า และเป็นเวทีให้รัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยได้มีโอกาสมาทำงานร่วมกัน โดยไม่มีองค์กรเหนือระดับชาติ (supra-national authority) เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเป็นการสร้างความหวังอันยิ่งใหญ่ ในการผนึกกำลังของยุโรปในอนาคต

            อย่างไรก็ดี การจัดตั้งสภายุโรปมิได้เจริญก้าวหน้าอย่างที่ควรจะเป็น เพราะเมื่อปี 1951 ชาติยุโรปจำนวน 6 ชาติ ได้ตัดสินใจจัดลงนามในสนธิสัญญาปารีส ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal  and Steel Community/ECSC) เพื่อให้เป็นก้าวแรกในการจัดตั้งสหพันธรัฐยุโรป  (Federation of Europe) เพราะเห็นว่าอุตสาหกรรมถ่านหินและเหล็กกล้าเป็นอุตสาหกรรมที่จำเป็น ในการผูกมัดอุตสาหกรรมชองชาติต่าง ๆ เข้าด้วยกัน  อันจะเป็นผลทำให้โอกาสในการเกิดสงครามระหว่างกันเองลดน้อยลง    

            การจัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า เป็นการรวมตัวให้ยุโรปสามารถรับความช่วยเหลือกจากกองทุนแผนมาร์แชล (Marshall Plan funds) จากสหรัฐอเมริกา และนี่คือจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งสหภาพยุโรป                                                                                                                           

5.สนธิสัญญาโรม (Treaty of Rome 1957-1992)

          หลังจากการจัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรปเมื่อปี 1951 แล้ว ต่อมาเมื่อปี 1957 ชาติยุโรปจำนวน 6 ชาติ ประกอบด้วย เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ และเยอรมันตะวันตก ได้ลงนามในสนธิสัญญาโรม ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community/EEC) และจัดตั้งสหภาพด้านภาษี (customs  union)

          นอกจากนี้ ยังได้ลงนามในสนธิสัญญาการจัดตั้ง ประชาคมพลังงานอะตอมแห่งยุโรป (European Atomic Energy Community/Euratom ) เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์

            ทั้งสองสนธิสัญญาได้ผลใช้บังคับในปี 1958 โดยเป็นสนธิสัญญาที่แยกออกต่างหากจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป  

          ในช่วงทศวรรษ 1960 ได้เกิดความตรึงเครียด โดยฝรั่งเศสต้องการจำกัดอำนาจเหนือรัฐ (supranational power) จนในที่สุดได้นำไปสู่การรวมสนธิสัญญาทั้งสามเข้าด้วยกันเมื่อปี 1967 จัดตั้งให้อยู่ภายใต้สถาบันเดียวกัน เรียกชื่อว่า ประชาคมยุโรป (European Community) โดยมีจัง เรย์ (Jean Rey) เป็นประธานคนแรก

            ต่อมาเมื่อปี 1973 ได้มีการขยายจำนวนสมาชิกเพิ่มเติมอีก 3 ประเทศ คือ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ส่วนนอรเวย์มีความประสงค์สมัครเข้าเป็นสมาชิกด้วย แต่การลงประชามติไม่ผ่าน

            เมื่อปี 1979 ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรป (European Parliament) เป็นครั้งแรก

            เมื่อปี 1981 กรีซได้เข้าเป็นสมาชิก ปี 1986 โปรตุเกส และสเปนได้เข้าเป็นสมาชิก

            ปี 1985 ได้ทำข้อตกลงเชงเกน (Schengen Agreement) เพื่อนำไปสู่การเดินทางข้ามพรมแดนประเทศโดยไม่ต้องใช้พาสปอร์ต ระหว่างประเทศสมาชิกอียูส่วนใหญ่ และประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอียูอีกบางประเทศ

            ปี 1986 ได้มีการใช้ธง EEC เป็นครั้งแรก และได้มีการลงนามในกฎหมายยุโรปเดียว (Single European Act)

          ปี1990 ภายหลังที่การล่มสลายของค่ายตะวันออก (East Bloc) เยอรมันตะวันออกได้รวมเข้ากับเยอรมันตะวันตก ทำให้เยอรมันตะวันออกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ EEC ด้วย

6.สนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht 1992-2007)

แผนที่ตำแหน่งที่ตั้งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
(Wikipedia, European Union, 8th May 2022.)
แผนที่ตำแหน่งที่ตั้งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
(Wikipedia, European Union, 8th May 2022.)

          สหภาพยุโรปได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อได้มีการลงนามในสนธิสัญญา  ณ เมืองมาสทริชท์ ประเทศเนเธอแลนด์ เรียกชื่อว่า สนธิสัญญามาสทริชท์  เมื่อปี 1992 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1993 โดยมี ฮอร์สต์ โคเลอร์ (Horst Kohler) อดีตประธานาธิบดีเยอรมนี เฮลมุต โคห์ล (Helmut Kohl) อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมนี และฟร็องซัว มิแตร็อง (Francois Mitterrand) อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นหัวเรี่ยวแรงสำคัญ

          หลังจากนั้น สหภาพยุโรปได้ขยายจำนวนสมาชิกไปยังประเทศอดีตคอมมิวนิสต์แห่งยุโรปกลางและตะวันออก (Central and Eastern Europe) รวมทั้งไซปรัส และมอลตา

            ส่วนหลักเกณฑ์ในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกอียูนั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์โคเปนเฮเกน (Copenhagen criteria) เมื่อเดือนมิถุนายน 1993

          เมื่อปี 1995 ประเทศออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดน ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย

            เมื่อปี 2002 ได้มีการประกาศใช้เงินยูโรแทนที่เงินประจำชาติของประเทศสมาชิก 12 ประเทศ และต่อมาได้ขยายออกไปอีกเป็น 19 ประเทศ ทำให้เงินยูโรกลายเป็นเงินสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับสองในโลก รองลงมาจากเงินดอลลาร์สหรัฐ

            เมื่อปี 2004 อียูได้มีประเทศเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ค  เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา โปแลนด์ สโลวาเกีย และสโลวีเนีย

7.สนธิสัญญาลิสบอน (Treaty of Lisbon 2007-ปัจจุบัน)

    ภาพการลงนามในสนธิสัญญาลิสบอน ณ       
 กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส (Wikiprdia, Treaty of Lisbon, 8th May 2022.)
ภาพการลงนามในสนธิสัญญาลิสบอน ณ
กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส (Wikiprdia, Treaty of Lisbon, 8th May 2022.)

          การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างครั้งสำคัญของอียู ได้เกิดขึ้นเมื่อได้มีการทำสนธิสัญญา ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส จึงเรียกชื่อว่า สนธิสัญญาลิสบอน  

            สนธิสัญญาลิสบอนได้มีผลบังคบใช้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2009 ซึ่งได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปอียูครั้งใหญ่ในหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้มีการเปลี่ยนโครงสร้างตามกฎหมายของอียู โดยการรวมระบบหลัก (pillar system) ของอียูเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียวกัน มีการกำหนดให้มีตำแหน่งประธานสภาอียูเป็นการถาวร ผู้ดำรงตำแหน่งคนแรกคือ เฮอร์แมน แวน รอมพาย (Herman Rompuy) และมีการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตำแหน่งผู้แทนระดับสูงของอียูในด้านกิจการต่างประเทศและนโยบายความมั่นคง

            เมื่อปี 2012 อียูได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize) ในการมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพ การฟื้นฟูประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชนในยุโรป

เมื่อปี 2007 บัลกาเรีย และโรมเนีย ได้เข้าเป็นสมาชิกอียู ในปีต่อมา สโลวีเนีย ได้ใช้เงินยูโร  ตามด้วยไซปรัสและมอลตาเมื่อปี 2008  สโลวาเกียเมื่อปี 2009 เอสโตเนียเมื่อปี 2011 ลัตเวียเมื่อปี 2014 และลิทัวเนีย เมื่อปี 2015

            ปี 2013 โครเอเชียได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 28

นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 2010 อียูได้ผ่านการทดสอบความแข็งแกร่งด้วยปัญหาวิกฤตหลายปัญหา รวมทั้งปัญหาวิกฤตหนี้สินของบางประเทศในยูโรโซน การอพยพของประชากรจากแอฟริกาและเอเชีย และการถอนตัวออกจากอียูของสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2020 จึงทำให้จำนวนประเทศสมาชิกในปัจจุบันเหลืออยู่ 27 ประเทศ

8.สรุป

          สหภายุโรปหรืออียู เป็นองค์กรระหว่างประเทศด้านการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป จำนวน 27 ประเทศ

            แนวคิดในการจัดตั้งอียู คือความต้องการให้รวมประเทศในยุโรปเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทำนองเดียวกันกับประเทศสหรัฐอเมริกา

            จุดกำเนิดของอียูมาจากการที่ประเทศยุโรปจำนวน 6 ชาติ คือ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ และเยอรมันตะวันตก ได้ร่วมกันจัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community/ECSC) ตามสนธิสัญญาปารีส เมื่อปี 1951   และได้ร่วมกันจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community/EEC) ตามสนธิสัญญาโรมเมื่อปี 1957

          จนกระทั่งได้มีการลงนามในสนธิสัญญามาสทริชท์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 1992 ได้รวมประชาคมทั้งสองเข้าด้วยกัน จัดตั้งเป็นสหภาพยุโรป  และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1993 หลังจากนั้นได้มีประเทศต่าง ๆ สมัครเข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติมอีก 21 ประเทศ

            อียูมีสกุลเงินเป็นของตนเอง เรียกว่า เงินยูโร และมีการทำข้อตกลงในการเดินข้ามเขตประเทศสมาชิกรวมทั้งประเทศข้างเคียงบางประเทศโดยไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง เรียกข้อตกลงเชงเกน

            สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ ถาม-ตอบ สนุก กับดร.ชา 369

ถาม-ตอบ สนุก กับดร.ชา 369

          ถาม-แนวคิดในการจัดตั้งอียูได้มาจากอะไร

          ตอบ- แนวคิดในการจัดตั้งอียูมาจากการเห็นอาณาจักรโรมันที่เคยรุ่งเรืองในอดีต และได้ล่มสลายไปเมื่อปีค.ศ.476 ทำให้หลายชาติในยุโรปเกิดแนวคิดในการรวมยุโรปเข้าด้วยกันเหมือนอย่างที่อาณาจักรโรมันเคยทำมาแล้ว

            นอกจากนี้ยังเห็นตัวอย่างการจัดตั้งประเทศสหรัฐอเมริกาขึ้นมา จึงเกิดแนวคิดที่จะจัดตั้งประเทศสหรัฐยุโรปขึ้นมาบ้าง

            ถาม-การจัดตั้งอียูขึ้นมา มีจุดเริ่มต้นเมื่อใด อย่างไร และมีชาติใดเป็นผู้เริ่มต้น

          ตอบ-การจัดอียูมีจุดเริ่มต้นมาจากสนธิสัญญาของชาติยุโรป 6 ชาติ (เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนีตะวันตก) จำนวน 2 ฉบับ คือ

สนธิสัญญาปารีสปี 1951 ทำให้เกิดประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community/ECSC) และสนธิสัญญาโรมปี 1957 ทำให้เกิดประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community/EEC)

          ถาม-สหภาพยุโรปได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อใด ตามสนธิสัญญาอะไร

          ตอบ- สหภาพยุโรปได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 1993 ตามสนธิสัญญามาสทริชท์ (Treaty of Maastricht) ปี 1992 ด้วยการรวมประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป และประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าด้วยกัน เป็นองค์กรใหม่ขึ้นมา เรียกชื่อว่า สหภาพยุโรป (European Union)

          ถาม-สนธิสัญญาลิสบอนคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

          ตอบ-สนธิสัญญาลิสบอน เป็นสนธิที่ได้ลงนาม ณ กรุงลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส เมื่อปี 2007 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2009 เพื่อปฏิรูปโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ของอียูออกมาให้ชัดเจน เช่น มีตำแหน่งประธานสภายุโรป และเสริมสร้างตำแหน่งผู้แทนอียูด้านกิจการต่างประเทศและด้านนโยบายความมั่นคง ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

            ถาม-ปัจจุบันอียูมีประเทศสมาชิกกี่ประเทศ

          ตอบ- ปัจจุบันอียูมีประเทศสมาชิก 27 ประเทศ ก่อนหน้ามีประเทศ สหราชอาณาจักรรวมอยู่ด้วย แต่ได้ขอถอนตัวออกไปแล้วเมื่อปี 2020

          ถาม-ข้อตกลงเชงเกน (Schengen Agreement) คืออะไร ใช้บังคับในกี่ประเทศ อะไรบ้าง

หมู่บ้านเชงเกน ประเทศลักเซมเบอร์ก สถานที่ทำข้อตกลงเชงเกน (Wikipedia, Schengen Agreement. 8th May 2022.)
เมืองเชงเกน ประเทศลักเซมเบอร์ก สถานที่ทำข้อตกลงเชงเกน (Wikipedia, Schengen Agreement. 8th May 2022.)

          ตอบ- ข้อตกลงเชงเกน เป็นข้อตกลงของประเทศในอียู 22 ประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่นอกอียูอีกจำนวน 4 ประเทศ ให้สามารถเดินทางข้ามพรมแดนของแต่ละประเทศโดยไม่ต้องใช้หนังสือเดินทาง เพื่อให้สามารถเดินทางไปมาในการประกอบอาชีพได้โดยสะดวกเสมือนหนึ่งอยู่ในประเทศเดียวกัน นอกจากนี้ สำหรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติที่ไม่ใช่ประเทศสมาชิกเชงเกน ก็จะสามารถใช้วีซาฉบับเดียวกันผ่านเข้าทุกประเทศที่อยู่ในพื้นที่เชงเกน

            ข้อตกลงเชงเกน (Schengen Agreement) ได้มีการลงนามที่เมืองเชงเจน ประเทศลักเซมเบอร์ก เมื่อปี 1985

          ประเทศสมาชิกอียู จำนวน 5 ประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมข้อตกลงเชงเกนได้แก่ บัลเกเรีย โครเอเชีย ไซปรัส โรมาเนีย และไอร์แลนด์

            มีประเทศที่อยู่ในกลุ่มการค้าเสรียุโรป 4 ประเทศ ที่เข้าร่วมข้อตกลงเชงเกนด้วยได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอรเวย์ และสวิสเซอร์แลนด์

            นอกจากนี้ยังมีรัฐเล็ก ๆ ในยุโรปที่เข้าร่วมข้อตกลงเชงเกนในทางพฤตินัยด้วย ได้แก่ โมนาโค ซาน มาริโอ และนครรัฐวาติกัน

            ถาม-เงินยูโร คืออะไร เกี่ยวข้องกับยูโรโซนอย่างไร

แผนที่แสดงยูโรโซน (Eurozone, 8th May 2022.
แผนที่แสดงยูโรโซน (Eurozone, 8th May 2022.

          ตอบ- เงินยูโร คือสกุลเงินของอียู ที่ประเทศสมาชิกอียูตกลงร่วมกันที่จะใช้เป็นเงินสกุลหลักแทนเงินสกุลเดิมของประเทศตน เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 1999

            ประเทศสมาชิกที่ยอมรับจะใช้เงินยูโรแทนเงินสกุลเดิมของประเทศตน เรียกว่า ยูโรโซน (Eurozone) หรือพื้นที่ยูโร (euro area) ปัจจุบันมีสมาชิก 19 ประเทศ ยังคงมีประเทศสมาชิกอียูอีก 8 ประเทศ ที่ยังไม่ยอมใช้เงินยูโรแทนเงินสกุลเดิมของประเทศตน

            นอกจากนี้ยังมีประเทศที่มิใช่สมาชิกอียูอีก 4 ประเทศที่ทำความตกลงขอใช้เงินยูโรด้วย ได้แก่ แอนโดรา โมนาโค ซาน มาริโอ และนครวาติกัน

ดร.ชา 369

8/05/22

แหล่งอ้างอิง

1. Wikipedia, European Union, 8th May 2022.

2. Wikipedia, History of Italy, 8th May 2022.

3. Wikipedia, Schengen Area, 8th May 2022.

4. Wikipedia, Eurozone, 8th May 2022.

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

2 COMMENTS

  1. ที่ EU คิดไว้ดีหมดเลยนะคะ แต่คนเปลี่ยน เวลาเปลี่ยน เหตุก่รณ์แวดล้อมเปลี่ยน ก็ควรต้องทบทวนกันใหม่

    1. ความจริง อียูวันนี้ กับอียูเมื่อก่อน เจตนารมณ์ในการจัดตั้งก็มิได้แตกต่างกัน คือ การสร้างความยิ่งใหญ่ให้ยุโรป โดยมีอาณาจักรโรมันโบราณ และสหรัฐอเมริกาเป็นตัวแบบ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: