73 / 100
บทความนี้เป็นบทความแรกของชุดหรือหมวดเรื่องเล่า ระบบตำรวจ และรูปแบบการปกครอง ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างระบบตำรวจและรูปแบบการปกครองประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจ ซึ่งมีอยู่่ 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น

ในฐานะอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นเวลา 9 ปี ช่วงปี พ.ศ.2551-2560 ในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 2 หัวข้อวิชา คือ วิชารัฐ อำนาจ และการบริหารนโยบายสาธารณะ และวิชาสัมมนาการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ ทำให้ผมได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าหาองค์ความรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างระบบตำรวจและรูปแบบการปกครองของประเทศของประเทศที่พัฒนาแล้วดังกล่าวข้างต้น จึงอยากจะนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านที่สนใจได้ทราบไว้ประดับสติปัญญาบ้าง จะได้พอมีความรู้พื้นฐานคุยงกับเขารู้เรื่อง

ความจริงการบริหารกิจการตำรวจเป็นเรื่องที่สังคมไทยให้ความสนใจตลอดมาเป็นอย่างมาก เพราะตำรวจเป็นหน่วยงานหลักในการจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำความผิดทางอาญา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการปฏิรูปตำรวจและกระบวนการยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก็ยิ่งทำให้สังคมไทยสนใจการบริหารกิจการตำรวจมากยิ่งขึ้นว่า จะไปในทิศทางใด จะใช้แนวทางของประเทศมหาอำนาจที่พัฒนาแล้วประเทศใดเป็นงต้นแบบหรือไม่ อย่างใด

ผมเข้าใจว่า ท่านผู้อ่านคงอยากจะทราบเหมือนกันว่า ทิศทางในการปฏิรูปตำรวจของไทยน่าจะเป็นไปในทิศทางใด จะใช้ระบบตำรวจของประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศใดเป็นแม่แบบ เช่น ระบบตำรวจของประเทศสหรัฐอเมริก เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือญี่ปุ่นหรือไม่ เพียงใด ซึ่งทุกประเทศล้วนเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในยุคปัจจุบัน

หากท่านอยากทราบว่่า ทิศทางการปฎิรูปตำรวจไทยน่าจะเป็นไปในทิศทางใด ก็จำเป็นต้องศึกษาจากประเทศที่พัฒนาแล้วว่า เขาจัดรูปแบบการปกครองประเทศอย่างไร และใช้หลักการอะไรบ้างในการจัดรูปแบบการปกครองประเทศให้เป็นเช่นนั้น กล่าวคือ นอกเหนือไปจากหลักการรวมอำนาจที่ทุกประเทศจำเป็นต้องมีแล้ว ประเทศน้ันได้ใช้หลักการแบ่งและมอบอำนาจ และหรือหลักการกระจายอำนาจ หรือไม่ เพียงใด ทั้งนี้เพราะระบบตำรวจเป็นระบบย่อยภายใต้ระบบใหญ่ของประเทศ จำเป็นต้องจัดระบบตำรวจให้สอดคล้องกับรูปแบบการปกครองประเทศ

หากจัดระบบตำรวจไม่สอดคล้องกับรูปแบบการปกครองประเทศ ก็ย่อมจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงในแง่ของการสร้างกลไกถ่วงดุลอำนาจในสังคม

 

1.ระบบตำรวจของประเทศสหรัฐอเมริกา

            ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเกิดใหม่ก่อนการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพียง 6 ปี แต่ประเทศนี้ก็ได้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วจนได้กลายเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกในเวลานี้ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศรัฐรวม มีรัฐบาลสองระดับ คือรัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐอีก 50 มลรัฐ ส่วนรรูปแบบการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจ หรืออย่างที่เรานิยมเรียกว่า ระบบประธานาธิบดี การศึกษาระบอบการเมืองการปกครองและระบบตำรวจของประเทศนี้ ซึ่งเป็นประเทศรัฐรวม จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจระบบตำรวจในรูปแบบของประเทศรัฐรวมที่มีขนาดใหญ่

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ผมได้โพสต์บทความ ระบบตำรวจและรูปแบบการปกครองของสหรัฐอเมริกาอเมริกาอันสลับซับซ้อน (คลิกข้อความสีฟ้าเพื่อย้อนกลับไปอ่านบทความได้) หลังจากได้มีการพาดหัวข่าวตามสื่อต่าง ๆ ไปทั่วโลก กรณีตำรวจเมื่องมินนีแอโพลิส มลรัฐมินนีโซตา สหรัฐอเมริกา ได้ใช้เข่ากดคอผู้ต้องหาผิวสีคนหนึ่งลงกับพื้นและเป็นเหตุทำให้ผู้ต้องหาผิวสีคนนั้นถึงแก่ความตาย เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563 ดังนั้น จึงขอให้ท่านผู้อ่านลองย้อนกลับไปดูบทความดังกล่าวได้ เพราะในบทความชุด ระบบตำรวจของประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่น่าสนใจ ผมจะไม่ได้เขียนบทความ ระบบตำรวจสหรัฐอเมริกา อีก

นอกจากบทความดังกล่าวแล้ว ยังรวมถึงบทความฐานะพิเศษของกรุงวอชิงตัน ดี.ซ๊.ด้วย

2.ระบบตำรวจของประเทศสหพันธรัฐเยอรมัน

          สหพันธรัฐเยอรมันเป็นประทศรัฐรวมเช่นเดียวกับประทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยรัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐ จำนวน 16 มลรัฐ รูปแบบการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภามีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประนอกจากนี้ เยอรมันยังเป็นประเทศที่เป็นกำลังหลักของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรืออี.ยู.(European Union)

รถยนต์ยี่ห้อ บีเอ็มดับเบิ้ลยู เป็นรถยนต์ที่ตำรวจเยอรมันใช้ในการลาดตระเวน (patrol car
รถยนต์ยี่ห้อ บีเอ็มดับเบิ้ลยู เป็นรถยนต์ที่ตำรวจเยอรมันใช้ในการลาดตระเวน (patrol car)

          แม้เยอรมันเป็นประเทศผู้พ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง แต่หลังจากนั้นก็ได้มีการฟื้นฟูประเทศอย่างจริงจังจนสามารถก้าวขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจชั้นนำของโลกได้อีกครั้งหนึ่ง

            ประทศเยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศรัฐรวม เก่าแก่กว่าประเทศสหรัฐอเมริกา แต่มีขนาดเล็กกว่า ดังนั้น การศึกษาระบบตำรวจของเยอรมันจะทำให้ได้แนวคิดระบบตำรวจของประเทศรัฐรวมที่มีขนาดประเทศไม่ใหญ่มาก

3.ระบบตำรวจของประเทศอังกฤษ

          ประเทศอังกฤษ หรือชื่อเต็มคือประเทศสหราชอาณาจักรแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ(The United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland) เป็นประเทศรัฐเดี่ยวที่เน้นการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค  การศึกษาระบบตำรวจของอังกฤษจะทำให้เราได้แนวคิดว่า ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวที่ไม่การปกครองส่วนภูมิภาค จัดระบบตำรวจอย่างไร

ตำรวจม้ามหานครลอนดอนอันสงางาม (Wikipedia, Law enforecement in the United Kingdom, 9th July 2020)
ตำรวจม้ามหานครลอนดอนอันสง่างาม (Wikipedia, Law enforecement in the United Kingdom, 9th July 2020)

            แม้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศอังกฤษอาจจะไม่ยิ่งใหญ่เหมือนประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ประเทศนี้ก็ยังคงมีบทบาทต่อเวทีโลกในฐานะประเทศมหาอำนาจชั้นนำของโลกประเทศหนึ่ง

          ส่วนรูปแบบการปกครองประทศเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภามีสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ทรงเป็นประมุข อังกฤษเคยเป็นประเทศสมาชิกของกลุ่มประทศสหภาพยุโรป

4.ระบบตำรวจของประเทศฝรั่งเศส

          ประเทศฝรั่งเศส เป็นรัฐเดี่ยวที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและมีการปกครองส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับประเทศไทย และเป็นประเทศที่มีอิทธิพลทางความคิดในการปฏิรูปการปกครองของประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 มาก

          ส่วนรูปแบบการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา    การศึกษาระบบตำรวจของประเทศฝรั่งเศส น่าจะเป็นประโยชน์ต่อแนวทางในการปฏิรูประบบตำรวจไทยมาก เพราะมีรูปแบบการปกครองใกล้เคียงกับประเทศไทยมากที่สุด กล่าวคือ เป็นประเทศรัฐเดี่ยวที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและมีการปกครองส่วนภูมิภาค

ฝรั่งเศสเป็นประเทศเสาหลักให้แก่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป คู่่กับเยอรมัน และถือเป็นประเทศมหาอำนาจชั้นนำของโลกด้วยประเทศหนึ่ง

5.ระบบตำรวจของประเทศญี่ปุ่น

          ประเทศญี่ปุ่นมีประวัติศาสตร์ในการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยจักรพรรดิเมจิซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 5 พอดี โดยทั้งสองพระองค์ได้ทรงใช้แนวคิดในการปฏิรูปประเทศให้ทัดเทียมประเทศมหาอำนาจตะวันตก

          ส่วนรูปแบบการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่มีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข

          ญี่ปุ่นเป็นประเทศรัฐเดี่ยวที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและเคยมีการปกครองส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับไทยและฝรั่งเศส แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม จำต้องปฏิรูปการปกครองประเทศเสียใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศผู้ชนะสงครามคือสหรัฐอเมริกา จึงจำต้องยุบการปกครองส่วนภูมิภาค

ญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกับเยอรมัน แม้เป็นประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ก็ได้ฟื้นฟูและพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจชั้นนำของโลกได้อีกประเทศหนึ่ง

          การศึกษาระบบตำรวจของญี่ปุ่น จะทำให้ทราบว่า ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางควบคู่กับกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เพราะได้รับอิทธิพลของการเป็นรัฐเดี่ยวที่เคยมีการปกครองส่วนภูมิภาคมาก่อน ระบบตำรวจมีรูปร่างหน้าตาเป็นเช่นไร ระบบตำรวจไทยพอจะยึดถือเป็นตัวแบบได้หรือไม่

6.สรุปและข้อคิดเห็น

          ระบบตำรวจของแต่ละประเทศจะเป็นเช่นไร ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครองของแต่ละประเทศ ซึ่งพอจะสรุปได้ 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ

            รูปแบบการปกครองประเทศแบบรัฐรวม มีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมัน

            รูปแบบการปกครองแบบรัฐเดี่ยว มีรัฐบาลระดับเดียว ซึ่งอาจแบ่งรัฐเดี่ยวได้ 3 ประเภท คือ

            ●รัฐเดี่ยวที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์และมีการปกครองส่วนภูมิภาค  ซึ่งเป็นรูปแบบของรัฐเดี่ยวส่วนใหญ่ของโลก เช่น ฝรั่งเศส และไทย

            ●รัฐเดี่ยวที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางควบคู่กับการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาคอยู่ในปัจจุบัน แต่เคยมีการปกครองส่วนภูมิภาคในอดีต เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

            ●รัฐเดี่ยวที่เน้นการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค ได้แก่ อังกฤษหรือ สหราชอาณาจักร

            สำหรับประเทศไทย เป็นรัฐเดี่ยวที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มีการปกครองส่วนภูมิภาค สมควรใช้ระบบตำรวจของประเทศใด เป็นแม่แบบหรือไม่นั้น ก็อยากให้ท่านผู้อ่านคอยติดตามบทความชุดนี้ไปเรื่อย ๆ แล้วท่านคงจะหาคำตอบได้ด้วยตัวท่านเอง
หากบทความนี้ถูกใจท่าน และท่านเห็นว่า น่าจะเผยแพร่ให้เพื่อน ๆ ทราบ กรุณากดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม(Subscribe) หรือกดคอมเมนต์ด้วย จักขอบคุณยิ่ง

            ขอบคุณนะครับ

          พบกันใหม่ในบทความต่อไป “ ระบบตำรวจของประเทศอังกฤษ ”

          ดร.ชา

          8/07/20

“หากบทความนี้ถูกใจท่าน และท่านมีความประสงค์จะสนับสนุนให้บทความนี้แพร่หลายออกไป กรุณามีส่วนร่วมด้วยการกดไลค์ กดแชร์ไปยังกลุ่มบุคคลหรือบุคคลในเครือข่ายของท่าน หรือแสดงความคิดเห็น รวมทั้งสมัครเป็นผู้ติดตามได้ตามอัธยาศัย และขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

         กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเพจ การสมัครเป็นผู้ติดตามและการมีส่วนร่วม ของเว็บไซต์นี้ คือ รวมเรื่องเล่า สนุกและสร้างสรรค์ ชุดประสบการณ์นักปกครองที่น่าสนใจ (https://tridirek.com)

Dr.Char

Mr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***) 2

มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (13) (New***)

Share on Social Media facebook email 91 / 100 Powered by Rank Math SEO “มองโกเลีย เคยเป็นจักรวรรดิยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก” เป็นบทความลำดับที่ 13 หมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก จะกล่าวถึง ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของมองโกเลีย ข้อมูลมองโกเลียในปัจจุบันที่ควรทราบ   ประวัติย่อของมองโกเลีย  ยุคจักรวรรดิมองโกลอันยิ่งใหญ่  วิเคราะห์เปรียบเทียบอาณาจักรมองโกล กับจักรวรรดิบริติช สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369           บทความที่เกี่ยวข้อง ประวัติ จีน ก่อนจีนยุคใหม่ “ จักรวรรดิจักรมองโกล (1206-1368)  เป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกันใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 24,000,000…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16) 3

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 5

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

4 COMMENTS

  1. ไม่รู้ว่าดีสู้ระบบไทยได้หรือเปล่านะคะอาจารย์ คริคริ

    1. ก็ต้องดีกว่าแน่ เพราะประเทศของเขาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แถมยังเป็นประเทศมหาอำนาจด้วย

    1. ก็ไม่บ่อยเท่าใดดอก แต่ทุกองค์กรก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ตำรวจเองก็คงไม่ได้รับการยกเว้น
      หากองค์กรของเราหรือแม้แต่ตัวเรา ไม่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคม ย่อมยากที่จะอยู่่ได้

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: