75 / 100

   บทความ (1) การแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดของประเทศสหรัฐอเมริกาล้มเหลวเป็นเพราะเหตุใด-มองจากมิติด้านการเมืองการปกครอง นี้ ต้องการจะมองสาเหตุแห่งความล้มเหลวในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมองจากมิติทางด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่ ความนำ  รัฐธรรมนูญกับรูปแบบการปกครองประเทศ  การบริหารมลรัฐของอเมริกาแตกต่างไปจากการบริหารจังหวัดของไทย สรุป และปิดท้ายด้วยการคุยกับ ดร.ชา

อนึ่ง ในบทความก่อนหน้านี้ ผมได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 จำนวน 10 ประการ

1.ความนำ

ขณะนี้ สหรัฐอเมริกา กำลังเผชิญปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดอย่างรุนแรงต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายเดือนโดยมียอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก อย่างสถิติเมื่อวันที่ 23 กรกฎกคม 2563 สหรัฐอเมริกามียอดผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 4,100,875 ราย และเสียชีวิต 146,183 ราย และไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลง

          คำถามคือ เป็นเพราะเหตุใด ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยการด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านการแพทย์มากที่สุดในโลก จึงไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด

2.รัฐธรรมนูญอเมริกากับรูปแบบการปกครองประเทศ

          พวกเราคงได้ยินได้ฟังความหมายของคำว่า รัฐธรรมนูญ คืออะไร มาตั้งแต่ตอนเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายหรือมัยยมศึกษาตอนต้น ดังนั้น หากอยากทราบว่ารูปแบบหรือโครงสร้างการปกครองของประเทศใดมีหน้าตาหรือรูปทรงอย่างใด ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการอ่านและศึกษารัฐธรรมนูญของประเทศนั้น

            รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้บังคับเมื่อปี ค.ศ.1789 โดยได้วางรูปแบบการปกครองประเทศเป็นระบบรัฐรวม มีรูปแบบการปกครองเป็นสาธารณรัฐและระบอบประชาธิปไตยในระบบแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจ

          รัฐรวมเกิดจากการที่มีรัฐหรือดินแดนอิสระหลายแห่งต้องการรวมกันให้เป็นประเทศเดียวกัน โดยสถาปนารัฐใหม่ซึ่งมีพื้นทีทับซ้อนรัฐหรือดินแดนอิสระต่าง ๆ เหล่านั้น ในขณะที่รัฐหรือดินแดนอิสระเหล่านั้นยังคงความเป็นรัฐอยู่ ดังนั้น รัฐรวมจึงมีรัฐบาลสองระดับ แต่ละระดับยังคงมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง เรียกว่า อำนาจอธิปไตยคู่ (Dual Sovereignty)

สหรัฐอเมริกาเป็นรัฐรวม มีอำนาจอธิปไตยคู่
สหรัฐอเมริกาเป็นรัฐรวม มีอำนาจอธิปไตยคู่

            2.1 รัฐบาลกลาง (Federal State)

รูปแบการปกครอง ประกอบด้วยอำนาจนิติบัญญัติเป็นของสภาคองเกรส อำนาจบริหารเป็นของประธานาธิบดี และอำนาจตุลาการเป็นของศาลสูง โดยแต่ละอำนาจเป็นอิสระต่อกัน แต่ก็มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน รัฐบาลกลางมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนสหรัฐอเมริกาทั้งหมดในส่วนที่รัฐธรรมนูญได้สงวนไว้ให้เป็นอำนาจของรัฐบาลกลาง

          อำนาจของรัฐบาลกลางหมายถึงอำนาจที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจของสภาคองเกรส ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ อำนาจที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่ามีอะไรบ้าง (enumerated powers) และอำนาจที่เกิดจากการตีความ (implied powers)

          การพิจารณาว่า อำนาจใดควรจะเป็นอำนาจของรัฐบาลกลาง อาจดูได้จากคำอารัมบทในตอนต้นของรัฐธรรมนูญซึ่งได้แสดงวัตถุประสงค์ในการสร้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า ประชาชนชาวอเมริกันได้ร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้ประเทศรวมกันได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สร้างความยุติธรรม รักษาความสงบเรียบร้อยภายใน สร้างระบบการป้องกันประเทศร่วมกัน ส่งเสริมสวัสดิการสังคม เชิดชูเสรีภาพและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศสหรัฐอเมริกา

รัฐรวมเปรียบได้กับระบบทางด่วนต่างระดับ ระดับบนคือตัวรัฐรวมที่เกิดใหม่ ระดับล่างเปรียบเสมือนมลรัฐที่มีอยู่ก่อน
รัฐรวมเปรียบได้กับระบบทางด่วนต่างระดับ ระดับบนคือตัวรัฐรวมที่เกิดใหม่ ระดับล่างเปรียบเสมือนมลรัฐที่มีอยู่ก่อน

            สำหรับอำนาจที่ระบุไว้ชัดเจนว่า อำนาจใดสงวนไว้ให้เป็นอำนาจของรัฐบาลกลาง ปรากฎตามรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกามาตรา 1 อนุมาตรา 8 มีจำนวน 17 ประการ

            นอกจากนี้ยังปรากฏตามรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 13,14,15 และ 16

          ฉบับที่ 13 ว่าด้วยอำนาจในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการเลิกทาส

            ฉบับที่ 14 ว่าด้วยอำนาจในการออกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของพลเมือง

            ฉบับที่ 15 ว่าด้วยอำนาจในการออกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในการเลือกตั้ง

            ฉบับที่ 16 ว่าด้วยอำนาจในการออกกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บภาษีเงินได้

          ส่วนอำนาจที่เกิดจากการตีความ ได้มาจากการตีความวรรคท้ายของมาตรา 1 อนุมาตรา 8 ซึ่งให้อำนาจสภาออกเกรสออกกฎหมายที่เห็นว่ามีความจำเป็นและเหมาะสมที่จะต้องใช้ในการบริหารประเทศ (Necessary and Proper Clause)

            2.2 รัฐบาลมลรัฐ (State Governments)

สหรัฐอเมริกาประกอบด้วยมลรัฐ จำนวน 50 มลรัฐ

            แต่ละมลรัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนตนเองในส่วนที่อยู่นอกเหนือไปจากอำนาจที่รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาสงวนไว้ให้เป็นอำนาจของรัฐบาลกลาง

            ส่วนที่รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้สำหรับมลรัฐ คือ รูปแบบการปกครองมลรัฐต่าง ๆ ต้องเป็นรูปแบบสาธารณรัฐ (Republic Government) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 4 อนุมาตรา 4 หมายความว่า แม้มลรัฐต่าง ๆ จะยังมีฐานะเป็นรัฐ (State) โดยชื่อเรียกมลรัฐที่เป็นภาษาอังกฤษ ก็ใช้คำว่า State เช่น State of New York, State of Texas, State of California เป็นต้น แต่รูปแบบการปกครองมลรัฐต้องสอดคล้องกับรูปแบบการปกครองของรัฐบาลกลาง คือ รูปแบบสาธารณรัฐเท่านั้น จะเป็นรูปแบบอื่นไม่ได้

            เล่าถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะงงว่า ในเมื่อมลรัฐได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว อำนาจอธิปไตยก็น่าจะหมดไป ทำไมจึงกล่าวว่า มลรัฐยังมีอำนาจอธิปไตยอยู่ 

             ผมขออธิบายดังนี้ ระบบรัฐรวมนี้ เกิดจากการที่มีรัฐหรือดินแดนอิสระต้องการรวมตัวกันให้มีประเทศอีกระดับหนึ่งที่มีพื้นที่ทับซ้อนพื้นที่ของมลรัฐต่าง ๆ  โดยให้รัฐที่อยู่ระดับบนหรือรัฐบาลกลางมีอำนาจจำกัดเท่าที่มลรัฐต่าง ๆ ที่อยู่ระดับล่างยินยอมพร้อมใจยกให้เป็นผู้ใช้อำนาจที่เป็นผลประโยขน์ร่วมกันของทุกมลรัฐ

          ขอให้ท่านผู้อ่านลองหลับตาดูภาพระบบทางด่วนและทางต่างระดับดู เช่น ถนนวิภาวดีให้คิดว่า ทางข้างล่างที่มีอยู่เดิมคือถนนวิภาวดีเปรียบเสมือนมลรัฐ ส่วนทางข้างบนที่สร้างขึ้นใหม่ คือถนนดอนเมืองโทลเวย์ เปรียบเสมือนรัฐบาลกลาง จะเห็นได้ว่า ถนนวิภาดีก็ยังคงมีอิสระ รถยนต์ที่ต้องการใช้เส้นทางถนนวิภาวดีก็ยังใช้ได้ตามปกติ จะเกี่ยวข้องกับถนนดอนเมืองโทลเวย์ตรงที่ต้องสละพื้นที่ส่วนหนึ่งสำหรับสร้างเป็นทางขี้นทางลง ถนนดอนเมืองโทลเวย์ ตามจุดต่าง ๆ

อนุสารีย์เสรีภาพ (Statue of Liberty)  ณ เกาะลิเบอร์ตี อ่าวนิวยอร์ค กรุงนิวยอร์ค มลรัฐนิวยอรฺ์ค
อนุสารีย์เสรีภาพ (Statue of Liberty) ณ เกาะลิเบอร์ตี อ่าวนิวยอร์ค กรุงนิวยอร์ค มลรัฐนิวยอรฺ์ค

อำนาจใดที่รัฐธรรมนูญไม่ได้สงวนไว้ให้เป็นอำนาจของรัฐที่อยู่ข้างบน คือรัฐบาลกลาง อำนาจที่เหลือทั้งหมดยังคงเป็นอำนาจของแต่ละมลรัฐที่จะดำเนินการได้ตามเดิม  ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายของแต่ละมลรัฐจะกำหนดไว้ เช่น

            – การปกครองส่วนท้องถิ่น

– การศึกษา

          – ระบบกฎหมายต่าง ๆ ที่มลรัฐมีอยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง

3.การบริหารมลรัฐของอเมริกาแตกต่างไปจากการบริหารจังหวัดของประเทศไทย

          หากท่านอยากเข้าใจว่า การบริหารมลรัฐของอเมริกา จำนวน 50 มลรัฐนั้น เขาบริหารงานกันอย่างไร ผมขอให้ท่านคิดว่า มลรัฐหนึ่งก็คือประเทศหนึ่ง ไม่ใช่จังหวัดหนึ่งอย่างของไทย ดังคำภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า State ที่แปลว่า รัฐ แต่เวลาแปลเป็นภาษาไทย นิยมใช้คำว่า มลรัฐ หรือรัฐเล็ก เพื่อให้เข้าใจว่า มีรัฐใหญ่หรือสหรัฐ (United States) อีกรัฐหนึ่ง

          รูปแบบการปกครองมลรัฐก็เหมือนรูปแบบการปกครองประเทศ เป็นแบบสาธารณรัฐ ประกอบด้วย  สภานิติบัญญัติของมลรัฐ ผู้ว่าการมลรัฐ และศาลมลรัฐ

            ขอให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่า อำนาจหน้าทีใดที่เป็นของมลรัฐ มลรัฐย่อมมีอิสระในการบริหาร รัฐบาลกลางจะไม่มีอำนาจในการสั่งการให้มลรัฐทำตามใจของตนเองไม่ได้

            เพื่อให้ท่านมองเห็นความแตกต่างระหว่างการบริหารมลรัฐของอเมริกากับการบริหารจังหวัดของไทย ผมขอเปรียบเทียบให้เห็นดังนี้

           3.1 สถานะ

            ก่อนที่จะเข้ามารวมเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยหลักการมลรัฐเป็นดินแดนหรือรัฐอิสระอยู่ก่อนแล้ว และเมื่อเข้ารวมเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาก็ยังมีความเป็นรัฐอยู่ เพียงแต่ยินยอมมอบอำนาจอธิปไตยบางส่วนให้รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของทุกมลรัฐร่วมกัน ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงไม่ใช่ผู้ก่อตั้งมลรัฐ แต่ในทางตรงกันข้าม มลรัฐต่าง ๆ ได้ร่วมกันก่อตั้งหรือสถาปนาสหรัฐอเมริกาขึ้นมา

            ส่วนจังหวัด เป็นหน่วยการปกครองระดับรองของประเทศไทย ที่รัฐไทยเป็นผู้จัดตั้งขึ้นด้วยการออกพระราชบัญญัติ โดยรัฐไทยมีอำนาจในการจัดตั้ง เปลี่ยนแปลงเขต และยุบจังหวัดได้

            3.2 รูปแบบการบริหารงาน

            การบริหารงานมลรัฐ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายของแต่ละมลรัฐ ดังนั้น มลรัฐของสหรัฐอเมริกา จำนวน 50 มลรัฐ จึงอาจมีรูปแบบการบริหารงานแตกต่างกัน

            ส่วนการบริหารงานจังหวัดไทย เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งใช้บังคับกับทุกจังหวัดของประเทศไทย ทำให้รูปแบบการบริหารงานจังหวัดของไทย เป็นรูปแบบเดียวกันทั่วประเทศ

            3.3 ความสัมพันธ์กับผู้บริหารสูงสุดของประเทศ

            กรณีสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีอเมริกา ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาของผู้ว่าการมลรัฐ จึงไม่มีอำนาจในการให้คุณให้โทษแก่ผู้ว่าการมลรัฐได้ ไม่มีอำนาจจะสั่งการให้ผู้ว่าการมลรัฐให้ทำตามใจของตนเองได้ และไม่มีอำนาจในการโยกย้ายสับเปลี่ยนหรือลงโทษผู้ว่าการมลรัฐ แม้ว่าผู้การมลรัฐบางคนอาจจะไม่ปฏิบัติสนองความต้องการของประธานาธิบดี อาจจะสืบเนืองมาจากอยู่สังกัดคนละพรรคการเมืองกันก็ตาม

            ผู้ว่าการมลรัฐ เป็นตำแหน่งทางการเมือง เป็นประมุขและผู้บริหารสูงสุดของมลรัฐตามรัฐธรรมนูญของ แต่ละมลรัฐ

            ส่วนกรณีประเทศไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตำแหน่งข้าราชการประจำสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นตำแหน่งเทียบเท่าอธิบดีในส่วนกลาง ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่ง โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรง ส่วนนายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งทีมีอำนาจตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ในการสั่งการข้าราชการทุกตำแหน่งในทุกกระทรวงทบงกรมได้โดยตรงอยู่แล้ว หากเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น การแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด

            ดังนั้น รัฐบาลไทยโดยนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงมีอำนาจในการสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลพร้อมกันทั่วประเทศได้ ในขณะที่ประธานาธิบดีอเมริกาไม่มีอำนาจดังกล่าวในการสั่งการผู้ว่าการมลรัฐ

4.สรุป

            ในบทความนี้ผมต้องการชี้ให้ท่านผู้อ่านเห็นว่า สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกและมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการต่าง ๆ รวมทั้งด้านการแพทย์เหนือกว่าทุกประเทศในโลก ไม่อาจจะต่อสู้เอาชนะปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดได้ จนทำให้มียอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก ก็เพราะรูปแบบการเมืองการปกครองประเทศของสหรัฐอเมริกาเป็นรัฐรวม ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดได้อย่างเป็นเอกภาพ

            ดูความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ใน คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา

          ในช่วงเวลาของการเป็นอาจารย์พิเศษ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี ผมมีลูกศิษย์คนหนึ่ง เป็นคนเก่งมาก สามารถทำคะแนนในวิชาที่ผมสอนได้สูงสุดตลอดกาล เวลาผมไปบรรยายที่ใด ผมมักจะเอ่ยชื่อท่านนี้ให้นักศึกษาฟังเสมอ ท่านผู้นี้คือ คุณวัชรินทร์ (ชื่อสมมุติ)

          ในการสนทนาวันนี้ ผมคิดว่าไม่มีใครเหมาะสมเท่ากับคุณวัชรินทร์

            “ คุณวัชรินทร์ คิดว่า การที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจอันหนึ่งของโลก และมีความเจริญด้านวิทยากรและเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งด้านการแพทย์สูงที่สุดในโลก กลับไม่ประสบความสำเร็จในการต่อสู้เอาชนะปัญหาโรคโควิด-19 ระบาด จนทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศทีมียอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลกในเวลานี้

            คุณวัชรินทร์มีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ” ผมถามด้วยควเมเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของคุณวัชรินทร์           

            “ ขอบคุณอาจารย์มาก ที่กรุณาให้เกียรติผมมาร่วมสนทนาในวันนี้ ในความเห็นของผม ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากที่ประเทศมหาอำนาจและเจริญก้าวหน้าที่สุดในโลกเวลานี้อย่างสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ สู้ประเทศไทยของเราก็ไม่ได้ ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังพยายามพัฒนาให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วตามโมเดลไทยแลนด์ 4.0 อย่างที่พวกเราได้ยินกัน ” คุณวัชรินทร์ตอบอารัมภบทก่อน

            “ ถ้าเช่นนั้น อาจารย์อยากให้คุณวัชรินทร์มองอย่างเจาะลึกสักหน่อยได้ไหมว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่ดูเผิน ๆ แล้วไม่น่าจะเป็นเช่นนั้นเลย ” ผมกระตุ้นให้คุณวัชรินทร์ใช้ความคิดวิเคราะห์ปัญหา

            “ ผมได้พิจารณาจากความสำเร็จของประเทศไทยแล้วเห็นว่า ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ การสั่งการและการปฏิบัติการต้องเป็นไปอย่างเป็นเอกภาพและไปในทิศทางเดียวกันทั่วประเทศ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ หรือไม่ใช่ปล่อยให้กระทรวงสาธารณสุขทำอย่างเดียวดาย แต่ทุกภาคส่วนต้องทำงานแบบบูรณาการ ไม่ว่าพลเรือน ทหาร ตำรวจ ภาคธุรกิจ และประชาชนทุกสาขาอาชีพ ” คุณวัชรินทร์ตอบในเชิงหลักการ

            “ อาจารย์ก็เห็นด้วยนะ แล้วประเทศไทยทำอย่างไรจึงประสบความสำเร็จและอเมริกาทำไมจึงไม่สามารถทำอย่างประเทศไทยได้ ” ผมจี้ให้คุณวัชรินทร์ตอบในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น

            “ ผมขอตอบกรณีประเทศไทยก่อน การที่นายกรัฐมนตรีด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้ใช้อำนาจพิเศษตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ได้ทำให้การบูรณาการสามารถทำได้ง่าย และอำนาจนี้ นายกรัฐมนตรีได้ส่งต่อไปยังระดับพื้นที่ด้วยการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ ใช้อำนาจในการบูรณาการในพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ

            ดังนั้น จึงทำให้การบริหารงานแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดของประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ” คุณวัชรินทร์ตอบด้วยความเชื่อมั่นในฐานะที่เขาเองก็เป็นคนหนึ่งที่ได้ปฏิบัติงานแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดในพื้นที่ของตนเอง

            “ อาจารย์คิดว่า คำตอบของคุณวัชรินทร์เป็นคำตอบที่คนไทยทั่วประเทศได้รับทราบกันดีอยู่แล้ว แต่กรณีประเทศอเมริกา คนไทยส่วนใหญ่น่าจะยังไม่เข้าใจหรือรับทราบ ” ผมกล่าวแย้งคุณวัชรินทร์เล็กน้อย

            “ อย่างอเมริกา เขาเป็นประเทศรัฐรวม ชีวิตประจำวันของคนอเมริกันผูกติดอยู่กับมลรัฐและท้องถิ่น ไม่ใช่รัฐบาลกลาง โดยมลรัฐแต่ละแห่งมีอิสระในการปกครองและการบริหารงานภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายของตน ดังนั้น อเมริกามีอยู่ 50 มลรัฐ การแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ระบาดจึงมีอยู่ 50 รูปแบบใหญ่ ๆ ไม่เป็นเอกภาพ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่มีอำนาจในการสั่งการผู้ว่ามลรัฐทั้ง 50 มลรัฐให้ปฏิบัติตามคำสั่งของตนได้ เลยแสดงความฉุนเฉียวให้คนทั้งโลกเห็น

            ผิดกับประเทศไทย นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงทบวง กรม และทุกจังหวัดให้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด หากใครไม่สนองตอบ ก็มีอำนาจสั่งการให้พ้นไปจากตำแหน่งเป็นการชั่วคราวได้ ” คุณวัชรินทร์ตอบตามความรู้สึกที่แท้จริงของตน

            “ ดีมากคุณวัชรินทร์ คำตอบของคุณวัชรินทร์คงจะช่วยให้คนไทยมีความเข้าใจในเรื่องนี้ดีขึ้น

แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ เรายังไม่ได้พูดถึงบทบาทของภาคประชาชนในการต่อสู้เอาชนะโรคโควิด-19 ซึ่งคนอเมริกันเขามีบทบาทและทัศคติแตกต่างไปจากคนไทยมาก เอาไว้คราวหน้าอาจารย์ขอเชิญคุณวัชรินทร์มาร่วมสนทนากับอาจารย์อีกครั้งหนึ่งนะ

            สำหรับวันนี้ อาจารย์ขอขอบคุณ คุณวัชรินทร์มาก ” ผมกล่าวชมเชยและขอบคุณ คุณวัชรินทร์ด้วยความจริงใจ

            “ ไม่เป็นไร ด้วยความยินดีครับอาจารย์ “

            หากบทความนี้ถูกใจท่าน และท่านอยากจะเผยแพร่ไปยังเพื่อน ๆ และบุคคลในเครือข่ายของท่าน กรุณากดไลค์ กดแชร์ กดคอมเมนต์ และกดติดตาม (subscribe) ด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

             ดร.ชา
            23/07/20

Dr.Char

Mr.Chartri DireksriMr.Chartri Direksriดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

RELATED ARTICLES

หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

Share on Social Media facebook email 68 / 100 Powered by Rank Math SEO การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ…

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***) 2

พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่ (16)(New***)

Share on Social Media facebook email 90 / 100 Powered by Rank Math SEO “พระพุทธเจ้า มีคาถารักษาโรคเรื้อรังได้หรือไม่” นับเป็นบทความลำดับที่ 16 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ มีเนื้อหาประกอบด้วย ความนำ  พระพุทธเจ้ามีหลักคำสอนว่าอย่างไร   ประเภทของโรค โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังที่น่าสนใจ แนวทางในการรักษาโรคเรื้อรัง คาถารักษาโรคทุกโรคของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงควรนำคาถานี้ไปใช้ในการรักษาโรคเรื้อรัง ประสบการณ์ในการนำคาถานี้มาใช้ ขั้นตอนและแนวทางในการนำคาถานี้ไปใช้ การบริกรรมคาถา การอธิษฐานจิต การสั่งจิตใต้สำนึก การสร้างมโนภาพ  ตัวอย่างการอธิษฐานจิตรวมทุกโรค ตัวอย่างการอธิษฐานจิตเฉพาะโรค สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369          …

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12) 4

ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด (12)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “ไต้หวัน มีความเจริญมากน้อยเพียงใด” เป็นบทความลำดับที่ 12 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก มีหัวข้อ ดังนี้ ความนำ  ประวัติความเป็นมาของไต้หวันโดยย่อ ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดพื้นที่ ประชากร (จำนวน เชื้อชาติ และศาสนา) การปกครอง เมืองหลวง ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  ตัวชี้วัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดความเจริญในด้านอื่น ๆ   สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 36           “ไต้หวันหรือจีนไทเป เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่า เป็นเสือตัวหนึ่งในบรรดาสี่ตัวของเอเชีย…

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11) 5

เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ (11)

Share on Social Media facebook email 87 / 100 Powered by Rank Math SEO “เกาหลีเหนือ เป็นประเทศเผด็จการสมบูรณ์แบบ” เป็นบทความลำดับที่ 11 ของหมวด 14 เรื่องเล่า ประเทศเอเชียตะวันออก  มีหัวข้อประกอบด้วย ความนำ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาหลีเหนือ  ขนาดพื้นที่ ประชากร ประวัติความเป็นมา การเมืองการปกครอง  อุดมการณ์ของชาติ ตระกูลคิม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ สิทธิมนุษยชน การทหาร สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 “ประเทศเกาหลีเหนือ แม้เป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรไม่มาก และมีฐานะยากจน แต่ก็สามารถเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และมีความแข็งแกร่งด้านการทหาร…

4 COMMENTS

  1. รัฐรวมแบบอเมริกาก็มีข้อเสียได้เยอะเหมือนกันนะคะอาจารย์

    1. ถูกต้อง แต่ถ้าเขาไม่ใช้รัฐธรรมนูญแบบนี้ ประเทศอเมริกาก็จะไม่เกิด แต่จะมีหลายประเทศเกิดขึ้นแทน เช่น ประเทศเท็กซัส ประเทศคาลิฟอร์เนีย เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีปัญหาขัดแย้งและอาจต้องสู้รบกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

  2. จริงๆแล้ว คนไทยมีนิสัยว่านอน สอนง่าย ถ้าให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน คนไทยก็ยอมปฏิบัติตามโดยง่าย การมี ศบค. เป็นศูนย์กลางการให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่ช่วยให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ชัดเจน ไม่สับสน ถ้าหากมีหลายๆฝ่ายต่างออกมาให้ข้อมูล อาจทำให้ประชาชนสับสน การแก้ปัญหาโควิด-19 ของประเทศไทยอาจไม่สำเร็จเหมือนปัจจุบัน ดังนั้น ผมคิดว่า รัฐบาลควรนำรูปแบบการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจแบบ ศบค. ไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่นๆ ก็จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ลุล่วงอย่างง่ายดาย

    1. ก่อนอื่น อาจารย์ต้องขอขอบคุณ คุณนิรันดร์ที่กรุณาสละเวลาในการมีส่วนร่วมด้วยการแสดงความเห็นในครั้งนี้ ผมเห็นด้วยกับความเห็นของคุณนิรันดร์
      มีโอกาสขอเชิญคุณนิรันดร์แสดงความคิดเห็นอีกนะ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Share on Social Media
%d bloggers like this: