ประสบการณ์ในการบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกปีพ.ศ.2546-2547 (1) นี้ ผมจะเล่าให้ฟังว่า ไข้หวัดนก คืออะไร/ ความร้ายแรงของสถานการณ์ไข้หวัดนกมีมากน้อยเพียงใด แนวคิดในการแก้ปัญหามีอย่างไร และการจัดตั้งองค์กรเพื่อแก้ปัญหา
1.โรคไข้หวัดนก คืออะไร
ไข้หวัดนก (Avian Influenza/Bird Flu) เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีผลกกระทบต่อนกและสัตว์ปีก
คนส่วนใหญ่จะติดเชื้อไข้หวัดนกจากการสัมผัสกับนกและสัตว์ปีกที่ติดเชื้อทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และตายแล้ว รวมทั้งการสัมผัสกับอุจจาระของสัตว์เหล่านี้ ไข้หวัดนกที่เกิดจากไวรัสสายพันธ์ H5N1 จะมีความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
อาการของคนเป็นโรคไข้หวัดนก คล้าย ๆ กับอาการของคนเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อปวดศีรษะ หรือปอดติดเชื้อ มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูกไหล และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
Table of Contents
2. ความร้ายแรงของสถานการณ์ไข้หวัดนก เมื่อปี พ.ศ.2547

ศาสตราจารย์ ดร.พิไลพันธ์ พุธวัฒนะ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้เขียนบทความ “ไข้หวัดนกจะกลายพันธ์สู่คนได้หรือไม่ สรุปใจความได้ว่า
ไข้หวัดนก เกิดขึ้นในไทยเมื่อปลายปี พ.ศ.2546 แต่มีรายงานการระบาดอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม 2547 โดยมีการระบาด 2 รอบ รอบแรกเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2547และรอบสองเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2547 มีผู้ป่วยติดเชื้อ 17 ราย เสียชีวิต 12 ราย
ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 พบครั้งแรกที่ฮ่องกงเมื่อปี พ.ศ.2540 แต่ครั้งที่เกิดระบาดใหญ่ทั่วเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสายพันธ์ H5N1 ที่รุนแรงกว่าเดิม แต่ประเทศที่มีผู้ป่วยคือไทย เวียดนาม และกัมพูชา เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เชื้อไข้หวัดนก สามารถถูกทำลายได้ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส ดังนั้น การต้ม ผัด นึ่ง จึงสามารถทำลายเชื้อได้หมดสิ้น
เนื่องจากคนไทยนิยมบริโภค ไข่ และเนื้อไก่ เป็นอาหารประจำวันณ เวลานั้น จึงทำให้เกิดความตระหนกไปทั่วประเทศ จนไม่กล้ากินไข่ และเนื้อไก่ อันส่งกระทบต่อเกษตรกรผู้มีอาชีพเลี้ยงไก่ทั่วประเทศ
3.แนวคิดในการแก้ปัญหา
เชื้อไวรัสที่ระบาดอยู่ในขณะนั้นยังไม่ได้กลายพันธ์ไปจนกระทั่งติดคนได้ง่าย ๆ เพราะเชื้อยังชอบเซลล์ของสัตว์ปีกมากกว่าเซลล์ของคน ดังนั้น การที่คนติดเชื้อไข้หวัดนก น่าจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญจากการสัมผัสโดยตรงกับเชื้อไข้หวัดนกในปริมาณมาก ๆ เช่น เชื้อที่อยู่ในมูลไก่ หรือในน้ำมูกไก่ป่วย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถควบคุมการะบาดของโรคไข้หวัดนกในสัตว์ได้ อาจจะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดไวรัสกลายพันธ์จนเกิดการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่คนติดเชื้อไข้หวัดใหญ่อยู่แล้ว หากได้รับเชื้อไข้หวัดนกซ้ำเข้าไปอีก อาจเกิดการติดเชื้อในเซลล์เดียวกันในร่างกายของมนุษย์ และมีโอกาสจะแลกเปลี่ยนชิ้นยีน จนได้ไวรัสลูกผสมซึ่งสามารถติดเชื้อเพิ่มได้ดีในเซลล์ของคน

หากการแพร่เชื้อจากคนไปสู่คนได้ง่ายแล้ว ก็จะทำให้เกิดระบาดใหญ่ขึ้น ดังนั้น การทำลายสัตว์ปีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่ทีคิดว่าน่าจะมีโอกาสติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก จึงเป็นแนวทางในการลดวงจรการแพร่เชื้อจากสัตว์ได้เป็นอย่างดี
4.ประสบการณ์ในการจัดตั้งองค์กร
ในระดับชาติเป็นงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ ในระดับจังหวัดมีการจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เอาชนะโรคไข้หวัดนก โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง นายอำเภอทุกอำเภอ เป็นกรรมการ และมีปศุสัตว์จงหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
ในระดับอำเภอ ก็มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติต่อสู้เอาชนะไข้หวัดนกเช่นเดียวกัน โดยมีนายอำเภอ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ มีปลัดอำเภออาวุโส เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการศูนย์ โดยมีปศุสัตว์อำเภอ เป็นกรรมการและเลขานุการศูนย์ โดยในขณะนั้น ผมเป็นนายอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
ในยุคนั้นเป็นระยะเวลาที่รัฐบาล นายก ฯ ทักษิณ ชินวัตร ได้ปรับระบบการบริหารจังหวัดใหม่ ให้เป็นระบบการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องทำหน้าที่คล้าย ๆ กับเป็นนายกรัฐมนตรีของจังหวัด ต้องสามารถผนึกกำลังของทุกภาคส่วนที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นพื้นที่ร่วมกัน มิใช่ต่างคนต่างอยู่เหมือนในอดีต
5.สรุป
ประสบการณ์ในการบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดปี พ.ศ.2546-2547 (1) ได้เล่าให้ท่านผู้อ่านฟังว่า โรคไข้หวัดนกที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2546-2547 เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ที่เกิดขึ้นในสัตว์ปีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่ ซึ่งเป็นอาหารประจำวันของคนไทย แม้ว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ดังกล่าวอาจจะยังไม่สามารถแพร่ระบาดถึงคนโดยตรงได้มากนัก แต่หากไม่หาทางยับยั้ง สกัดกั้นมิให้เชื้อระบาดไปในสัตว์ปีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งไก่ หากมีคนที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่อยู่แล้ว เกิดบังเอิญได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดนกเข้าไป อาจจะทำให้เชื้อไวรัสดังกล่าวกลายพันธ์ทำให้เชื้อสามารถแพร่ระบาดาจากคนไปสู่คนได้ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นระบาดไปทั่วโลก
ดังนั้น แนวคิดในการแก้ปัญหาคือ การทำลายไก่ ที่คิดว่ามีโอกาสจะติดเชื้อไข้หวัดนกให้ได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุด
ในยุคนั้น ผมอยากจะบอกท่านว่า ไม่มีใครกล้ากินไข่และเนื้อสัตว์ปีกกันเลย จนทำให้เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ร้องโอดครวญไปทั่วหน้า น่าเห็นใจจริง ๆ
พบกันใหม่วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563 นะครับ
ดร.ชา
วันพุธที่ 1 เมษายน 2563
เข้าใจเรื่องไข้หวัดนก ดียิ่งขึ้น แต่การแก้ปัญหาต้องติดตามตอนต่อไป ใช่ไหมคะ
ก็คงมีต่ออีกสัก 1-2 ตอน ต้องขอบคุณอาจารย์มาก ที่กรุณาให้กำลังใจเสมอ
เรื่องจริงค่ะอาจารย์ ไก่ะนบ้านที่เลี้ยงไว้เอง ยังโยปศุสัตว์ตามล้างตามเช๊ดเลยค่พ สงสารไก่จริงๆ สมัยนั้น
แตกต่างจากโรคโควิด-19 ชัดเจนเลยใช่ไหม ที่ต้องแก้ปัญหาที่ตัวคนทั้งผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ ผู้ต้องสงสัย และประชาชนทั้วไป