การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ มีความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบที่สำคัญ พร้อมทั้งตัวอย่างการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ และเงื่อนไขความสำเร็จของการบูรณาการ ที่ผมอยากจะเล่าให้ท่านฟังดังนี้
Table of Contents
1. ความหมายของการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ (Creative Integration)
การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การผนึกกำลังของทุกฝ่ายหรือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันทำงานหรือขับเคลื่อนหรือผลักดันงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีลักษณะสลับซับซ้อน เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ ซึ่งเป็นการยุ่งยากเกินกว่าที่บุคคลเดียวหรือหน่วยงานเดียวจะทำสำเร็จได้ภายในเวลาที่กำหนด
อย่างที่ทุกวันนี้ เรียกว่า “พลังประชารัฐ ” นั่นแหละ

การบูรณาการเชิงสร้างสร้างสรรค์ ต้องเป็นความคิดในทางบวกเท่านั้น หากเป็นความคิดทางลบ จะไม่ถือเป็นการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เช่น การวาแผนทุจริตเงินหลวงร่วมกัน การวางแผนหลอกลวงคนอื่นร่วมกัน
2.ควมสำคัญของการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์
การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ มีความจำเป็นและความสำคัญต่อการบริหารงานหรือการทำงาน ดังนี้
2.1 การบริหารงานในปัจจุบัน มีลักษณะสลับซับซ้อนกว่าการบริหารงานในอดีตมาก เพราะมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ มีทั้งปัจจัยนอก และปัจจัยภายใน มีทั้งปัจจัยที่มองเห็น และปัจจัยที่มองไม่เห็น
2.2 ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในสังคมยุคปัจจุบันมีอยู่ตลอดเวลาและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมมีอัตราความเจริญเปลี่ยนแปลงไปในทางที่มีลักษณะสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
2.3 ปัจจุบัน คือ ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) โลกทั้งโลกมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด เหตุเกิดที่ประเทศหนึ่ง แต่อาจส่งผลไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากกรณีโรคโคงวด-19 ได้เริ่มต้นมี่เมืองอู๋ฮั่น ประเทศจีน หลังจากนั้น ก็ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
การบริหารงานเพื่อแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน เกี่ยวข้องกับสังคมในวงกว้าง หากไม่มี การบูรณาการในเชิงสร้างสรรค์ ย่อมไม่อาจจะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
3.องค์ประกอบของการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์
การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

3.1 เสนอแนวคิดที่เป็นแกนหลักซึ่งเป็นแนวคิดด้านบวกในการสร้างผลงานอันมีลักษณะสลับซับซ้อน อันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สังคม และประเทศชาติ เพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับ
3.2 กำหนดงานที่ต้องทำทั้งหมดในภาพรวมตามแนวคิดที่เป็นแกนหลักก่อน แล้วจึงแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ อย่างเหมาะสม
3.3 กำหนดบุคคลหรือองค์กรที่จะต้องรับผิดชอบงานในภาพรวมก่อน แล้วจึงค่อยกำหนดบุคคล หรือองค์กรที่ให้รับผิดชอบงานในแต่ละส่วน โดยบุคคลหรือองค์กรดังกล่าวไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้หน่วยงานสังกัดเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ขาด
3.4 ผู้บริหารหรือหัวหน้าจะต้องใช้ภาวะผู้นำเป็นอย่างสูง ในการบูรณาการหรือเชื่อมต่องานส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้งานในภาพรวมทั้งหมดบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้
4.ตัวอย่างของการบูณณาการเชิงสร้างสรรค์
เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ได้ชัดเจนขึ้น จึงขอยกตัวอย่างประกอบ ดังนี้
ตัวอย่างการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ในการทอดกฐินสามัคคี
- แนวคิดที่เป็นแกนหลัก คือ การทอดกฐินสามัคคี โดยมีหลายฝ่ายเข้าร่วม
- กำหนดเป้าหมาย จะหาเงินทอดกฐินให้ได้ไม่น้อยกว่า 200,000 บาท แบ่งงานออกเป็น 20 กอง
- คณะกรรมการอำนวยการทอดกฐิน รับผิดชอบในภาพรวม และมีกองกฐินย่อย 20 กอง กองละ 10,000 บาท ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อยแต่ละชุด
- มีประธานกรรมการอำนวยการทอดกฐิน เป็นผู้รับผิดชอบในภาพรวม และมีประธานกองกฐินย่อย รับผิดชอบในแต่ละกอง
5.เงื่อนไขความสำเร็จของการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์
ความสำเร็จของการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ มิใช่อยู่ที่ระบบอย่างเดียว แต่อยู่ที่คนด้วย แม้ระบบดี แต่ถ้าคนที่เกี่ยวข้องกันไม่ยอมบูรณาการกัน ความสำเร็จก็จะไม่เกิด ดังนั้น คนจึงจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อย่างที่เรียกว่า มีมนุษยสัมพันธ์ การบูรณาการที่แท้จริงจึงจะเกิด
หากมีการวางระบบไว้อย่างดี ทั้งระบบใหญ่ และระบบย่อย แต่ถ้าคนทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร ขาดความจริงใจต่อกัน มีความขัดแย้งกัน การบูรณาการที่แท้จริงก็จะไม่เกิด เพราะต่างคนต่างอยู่ ดังนั้น คนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการบูรณาการ มิใช่เครื่องจักร หุ่นยนต์ หรือระบบ
ยิ่งกว่านั้น ตัวผู้นำเอง ก็ต้องใช้ภาวะผู้นำแบบบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ด้วย จึงจะทำให้ การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ประสบความสำเร็จ
5.สรุป
การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ หมายถึงการผนึกกำลังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาที่มีลักษณะสลับซับซ้อนได้
องค์ประกอบสำคัญของการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ คือ ความคิดที่เป็นแกนกลาง การสร้างภาพใหญ่และภาพย่อยของงาน การกำหนดผู้รับผิดชอบงานในภาพใหญ่ และการกำหนดผู้รับผิดชอบงานในภาพย่อยหรือภาพรอง
ปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้การบูรณาการสำเร็จ คือ คน มิใช่ตัวระบบอย่างเดียว
หวังว่า ท่านผู้อ่านคงเข้าใจเรื่องการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์มากขึ้นนะครับ
ดร.ชา
วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563
ของคุณครับอาจารย์