หมอ พยายาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาคนติดเชื้อโรคโควิด-19

การบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19: ความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา(1)

การมองการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉินกรณรีโรคโควิด-19 ด้วยประสบการณ์การบริหารเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้หวัดนก ปีพ.ศ.2547  (1) อาจมองได้หลายมิติ ในตอนแรกนี้ จะขอกล่าวถึงมิติด้านความรุนแรงของสถานการณ์ และแนวคิดในการแก้ปัญหา 1.ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด อาจมองความรุนแรงของสถานการณ์โรควิด-19 ได้เป็น 2 ระดับโลก และความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย             1.1ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 ระดับโลก           ความรุนแรงของสถานการณ์โรคโควิด-19 (Covid-19) หรือโรคไวรัสโคโรนา (Virus Corona) ถือได้ว่า เป็นโรคระบาดจากคนไปสู่คนและแพร่กระจายไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากประเทศจีนไปสู่อีกหลายประเทศอย่างรวดเร็วทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มียอดผู้ติดเชื้อ และยอดผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกวัน จนไม่อาจจะพยากรณ์ได้ว่า จะจบลงเมื่อใดและอย่างไร                    เพราะแม้แต่ประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งชองโลกอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่อาจยับยั้งหรือแก้ปัญหาดังกล่าวได้ในขณะนี้ ตรงกันข้าม การระบาดของโรคโควิด-19 ในสหรัฐกลับมีตัวเลขพุ่งขึ้นสูงแซงหน้าทุกประเทศ ในด้านยอดผู้ติดเชื้อ และยอดผู้เสียชีวิตก็เป็นรองแค่อิตาลีและสเปน (10,096 คน) ดังตัวอย่างสถิติล่าสุด มีดังนี้…

รัฐ สมาชิกของสหภาพยุโรป มีประเทศอะไรบ้าง (3) 5

รัฐ สมาชิกของสหภาพยุโรป มีประเทศอะไรบ้าง (3)

“รัฐ สมาชิก สหภาพยุโรป มีประเทศอะไรบ้าง” เป็นบทความลำดับที่ 3 ของหมวด 15 เรื่องเล่า สหภาพยุโรปหรืออียู เนื้อหาประกอบด้วย ความนำ รัฐ สมาชิกรุ่นบุกเบิก หลักเกณฑ์ในการรับรัฐสมาชิกของสหภาพยุโรป  แรงจูงใจในการสมัครเข้าเป็นภาคีของสหภาพยุโรป การขยายตัวครั้งที่หนึ่ง การขยายตัวครั้งที่สอง การขยายตัวครั้งที่สาม การขยายตัวครั้งที่สี่ การขยายตัวครั้งที่ห้า การขยายตัวครั้งที่หกประเทศที่รอโอกาสเข้าเป็นภาคีของอียู วิเคราะห์ความยากง่ายในการเข้าเป็นภาคีของอียู สรุป ถาม-ตอบ สนุกกับดร.ชา 369 1.ความนำ           แม้การรวมตัวของรัฐต่าง ๆ ในทวีปยุโรปเข้าเป็นสหภาพยุโรป จะไม่ถึงขั้นทำให้เกิดรัฐรวมเหมือนอย่าง การรวมตัวของมลรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา แต่สหภาพยุโรปก็มีลักษณะผสมผสานระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล จึงทำให้สหภาพยุโรปมีเอกภาพในการขับเคลื่อนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะมีการจัดตั้ง สถาบันหลัก ของอียูขึ้นมาทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนดังกล่าว             สหภาพยุโรป มีจุดเริ่มต้นมาจากประชาคมยุโรป (European…

สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป มีอะไรบ้าง (2) 6

สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป มีอะไรบ้าง (2)

“สถาบันหลักแห่งสหภาพยุโรป เป็นบทความลำดับที่ 2 ของหมวด 15 เรื่องเล่า สหภาพยุโรป หรืออียู” โดยจะกล่าวถึง สหภาพยุโรปยุโรปคืออะไร สถาบันหลักของสหภาพยุโรป คณะมนตรียุโรปหรือการประชุมสุดยอดยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป รัฐสภายุโรป ศาลยุติธรรมยุโรป  สถาบันหลักอื่น ๆ  สรุปและข้อคิดเห็น ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 3 1. สหภาพยุโรปคืออะไร           ก่อนจะกล่าวถึงสถาบันหลักของสหภาพยุโรปว่า มีอะไรบ้าง จำเป็นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า สหภาพยุโรปคืออะไรกัน มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่             สหภาพยุโรปมิได้มีฐานะเป็นรัฐและไม่ได้มีฐานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ แต่มีคุณสมบัติบางประการคล้ายกับรัฐและองค์กรระหว่างประเทศ เพราะการรวมตัวของรัฐสมาชิกไม่ได้ทำให้เกิดรัฐใหม่ที่ทำให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจเบ็ดเสร็จของอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาคของรัฐอธิปไตย ที่มุ่งเน้นผลทางเศรษฐกิจและการเมือง             สหภาพยุโรป คือครอบครัวของประเทศประชาธิปไตยในยุโรปที่มาทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาชีวิตของพลเมือง และเพื่อสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่า สหภาพายุโรปมิได้มีเจตจำนงจะเข้ามาแทนที่รัฐที่มีอยู่ แต่เป็นมากกว่าองค์กรระหว่างประเทศ           สหภาพยุโรปมีลักษณะเฉพาะตัว…

การ ปล่อย วาง จะนำมาซึ่งการคลายทุกข์(15) (New***) 9

การ ปล่อย วาง จะนำมาซึ่งการคลายทุกข์(15) (New***)

“การ ปล่อย วาง จะนำมาซึ่งการคลายทุกข์ ” นับเป็นบทความลำดับที่ 15 ของหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ เนื้อหาประกอบด้วย ความนำ การ ปล่อย วาง  คืออะไร ความทุกข์ใจเข้ามาทางช่องใดบ้าง การเจริญสมาธิและสติเพื่อการ ปล่อย วาง  คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องนายกฯ 8 ปี  สรุป ถาม-ตอบสนุก กับดร.ชา 369 1.ความนำ           ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาปีที่แล้ว ผมได้เขียนบทความหมวด 7 เรื่องเล่า ประสบการณ์ ปฏิบัติธรรม เพื่อคลายทุกข์ ไว้ทั้งหมดจำนวน 14 บทความ            เนื่องจากขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่กี่วัน ก็จะถึงวันออกพรรษาประจำปี 2565 แล้ว…

นายกรัฐมนตรี มีผู้รักษาราชการแทน เพื่อประโยชน์อันใด (9) 10

นายกรัฐมนตรี มีผู้รักษาราชการแทน เพื่อประโยชน์อันใด (9)

นายกรัฐมนตรี มีผู้รักษาราชการแทน เพื่อประโยชน์อันใด เป็นบทความลำดับที่ 9 ของหมวด 5 เหตุการณ์ปัจจุบันที่น่าสนใจ  มีหัวข้อดังนี้ คือ ความนำ แนวคิดเบื้องต้นในการบริหารราชการแผ่นดิน นายกฯ คือ ใคร และมีความสำคัญอย่างไร  ทำไมต้องมีผู้รักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทนนายกฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ การรักษาราชการแทนนายกฯ คำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนนายกฯ วิเคราะห์แนวโน้มการใช้อำนาจของผู้รักษาราชการแทน นายกฯ สรุป ถาม-ตอบ สนุก กับดร.ชา 369 1.ความนำ           ในขณะนี้ข่าวสารการเมืองของประเทศไทยที่กำลังเป็นที่สนใจของคนไทยทั่วประเทศ คงไม่มีข่าวใดน่าสนใจเท่ากับข่าวศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้รับเรื่องวาระดำรงตำแหน่งครบ 8 ปีของนายกฯ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไว้พิจารณาตามที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชวน หลีกภัยได้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ พร้อมกับมีมติสั่งให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หยุดการปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะได้มีคำวินิจฉัย            …

ระบบตำรวจ อังกฤษ: ระบบไตรภาคี (8) (New***) 11

ระบบตำรวจ อังกฤษ: ระบบไตรภาคี (8) (New***)

“ระบบตำรวจ อังกฤษ: ระบบไตรภาคี” เป็นบทความลำดับที่ 8 ของหมวด 13 เรื่องเล่า หนังสือ อีบุ๊ค  หัวข้อประกอบด้วย ความนำ วัตถุประสงค์ของหนังสือระบบตำรวจ อังกฤษ เนื้อหาและขอบเขตของหนังสือ    ระบบไตรภาคี กลไกถ่วงดุลอำนาจเพื่อประชาชน การทดลองอ่าน สรุป ถาม-ตอบ สนุกกับดร.ชา 369           “ระบบตำรวจอังกฤษ เป็นระบบตำรวจพลเรือนสังกัดท้องถิ่น จึงมีกลไกยึดโยงกับประชาชนอย่างชัดเจน ภายใต้ระบบไตรภาคี” 1.ความนำ           เรื่องราวของตำรวจ เป็นเรื่องที่สังคมไทยให้ความสนใจตลอดมา เพราะตำรวจคือผู้ถืออำนาจรัฐในการจับกุมดำเนินคดีผู้ต้องสงสัยหรือผู้ต้องหา มาสอบสวนดำเนินคดี อันเป็นด่านแรกของกระบวนการยุติธรรม หากด่านแรกทำงานอย่างถูกต้อง มีคุณธรรม และเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนเชื่อได้ว่า ในที่สุดประชาชนก็ย่อมจะได้รับความเป็นธรรมอย่างแน่นอน           แม้ว่า รัฐสภาไทยจะได้ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติไปแล้วเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ซึ่งอีกไม่นานนักก็คงจะมีผลใช้บังคับ…

ต้องยึดเอา ประชาชน เป็นศูนย์กลาง การถ่วงดุลอำนาจตำรวจ จึงจะได้ผล(17) (New)*** 12

ต้องยึดเอา ประชาชน เป็นศูนย์กลาง การถ่วงดุลอำนาจตำรวจ จึงจะได้ผล(17) (New)***

สังคมประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตย เป็นของประชาชน ดังนั้น ต้องยึดประชาชน เป็นศูนย์กลางเสมอ

Share on Social Media
%d bloggers like this: